ถอดบทเรียนความรู้



 ตรงนี้จึงขออนุญาตเรียนเพิ่มเติมตรงนี้นิดหนึ่งว่าทุกคนมีความดี อาจารย์ต้องเค้นความดีตรงนั้น ถามว่าอาจารย์วารินนำความดีตรงนี้ไปใช้ไหมคะ ใช้คะ กลับไปเขียนใบงานเลยคะ ใบงานของนักเรียน ให้นักเรียนกลับไปเขียนทุกคน แบบบันทึกปฏิบัติธรรมความดีและทักษะการนำเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้อย่างไร เบื้องต้นคือการรักษาศีล ให้แต่ละวันเขาบันทึก วันที่ 1 เขาบันทึกว่าเขาผิดศีลข้อไหน ให้เขามีความซื่อสัตย์ ถ้าผิดข้อนั้นให้กากบาทและเหตุผลที่ผิดข้อนั้นเพราะอะไรให้เขียนไว้ข้างๆ แต่เขาไม่รู้หรอกว่าอาจารย์ ใช้ทำอะไรจนกระทั่งครบไปแล้ว 1 เดือน ถึงจังหวะที่เราจะสอนคณิตศาสตร์ เราจึงนำใบเหล่านี้ออกมา ถ้าครูจะเปลี่ยนจากบันทึกความดีมาเป็นบันทึกการสะสมบุญบารมี วันไหนที่นักเรียนไม่ทำผิดเลยศีลใน 5 ข้อ ครูจะให้ 20 คะแนน ถ้าผิดข้อหนึ่งก็เหลือ 8 เรามาดูกันว่าเราสะสมบารมีกันได้กี่คะแนน นักเรียนเขาก็เอามาตีช่อง ให้เขาคิด คิดว่าเขาจะหาอย่างไรให้เขามีบุญบารมีในแต่ละเดือน จนกระทั่งเขาก็คิดออกว่าอันนี้อาจารย์สอนเรื่องความถี่สะสม ถ้าครูคณิตศาสตร์ตรงนี้ก็จะทราบ หลังจากนั้นเราก็มาสะท้อนพูดคุยกันถึงเรื่องคุณความดีต่างๆ ทีนี้ขอยกตัวอย่างอีกประเด็นหนึ่งที่สามารถนำไปใช้ได้จริงๆ เมื่อเช้าได้เห็นการบันทึกรายจ่าย อาจารย์วารินเน้นการบันทึกการออม เราให้เด็กทำบัญชีรายรับรายจ่ายอย่างนี้มาทุกเดือนๆ ในชั่วโมงที่เราจะสอนค่าเฉลี่ยเลขคณิต เราจะบอกเขาก่อนนะ เราก็จะบอกนักเรียนให้เอาบัญชีการออมมา นักเรียนจะเลือกวันไหนก็ได้ กี่วันก็ได้ ทดลองเอามาเขียนรายรับรายจ่ายเงินออม แต่อาจารย์สนใจว่าใน การออมของนักเรียน บางคนเลือก 8 วัน บางคน 10 วัน บางคนก็เดือนหนึ่ง เราก็มาหาเหตุผลว่าทำไมใช้ 8 วัน 10 วัน หรือเดือนหนึ่ง เป็นเรื่องการสอนเรื่องประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ปรากฏว่านักเรียนก็ได้มาและนำมาให้ แล้วอาจารย์ก็ถามต่อว่าเฉลี่ยแล้วนักเรียนแต่ละคนมีเงินออมเท่าไร เขาก็หาค่าเฉลี่ยมา แปลว่าเราสอนเรื่องค่าเฉลี่ยเลขคณิต



ที นี้ถ้าอาจารย์สอนอยู่แค่นี้มันก็จบแค่นั้น อาจารย์เพียงเปิดประเด็นนิดเดียวถามว่า เงินออมที่นักเรียนเก็บในแต่ละวัน สมมติเก็บได้วันละ 8 บาท เก็บไว้ ถามว่าอีกกี่วันนักเรียนจะได้มีเงินเก็บมากเพื่อจะซื้ออะไร นักเรียนจะต้องเก็บเงินกี่วัน บางคนเก็บออม 2 บาทก็มี 3 บาทก็มี เราก็ถามว่า แล้วเงินแค่นี้จะไปซื้ออะไรได้ ถ้าเราอยากซื้อแต่เราออมแค่นี้เราพอไหม เพราะฉะนั้นการเปลี่ยนนิสัยในเรื่องการออมนี้เด็กเขาไม่เข้าใจ ทีนี้บอกว่าการออมคือการใช้ๆๆ เหลือเท่าไหร่ถึงออม มันไม่ใช่ การปลูกฝังการออมของเด็ก เขาต้องรู้จักคิด วางแผนการใช้เงิน อยากออมเท่าไหร่ เก็บเงินตรงนั้นไว้ก่อน ตรงนี้ถ้าอาจารย์โยงเอาไว้นิดหนึ่ง ไม่ว่าอาจารย์จะสอดเรื่องอะไรก็ตาม อาจารย์โยงแทรกเข้าไป นี่คือคำว่า Why กระบวนการที่เราจะแทรกเข้าไปว่าสอนอย่างไรเพื่อจะทำให้เด็กเขาได้คิด ส่วน How ก็คงเหมือนท่านอื่นๆ ว่าการเรียนรู้จากสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว เรียนรู้จากประสบการณ์ เรียนรู้จากภูมิปัญญา เพราะฉะนั้นตรงนี้อาจารย์ก็สามารถจัดเข้าไปไม่ว่าจะเป็นโครงงานอะไรก็ตามแต่ แต่พยายามดึงและสอดแทรกเข้าไปนิดเดียว เรื่องการบูรณาการมันไม่ใช่เรื่องยากไม่ว่าจะเป็นวิชาคณิตศาสตร์หรือวิชา อะไรก็ตาม ดิฉันคิดว่าสามารถลงเข้าได้หมดเลย ถ้าคุณครูคิดว่าคุณครูเป็นครูที่พอเพียงแล้ว