การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี

“โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเสริมพลังผู้บริหารศูนย์การเรียน รู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา”  วันที่  27  พฤษภาคม 255 ณ ศูนย์ฝึกอบรมธนาคารไทยพาณิชย์ หาดตะวันรอน ชลบุรี
 

 

ครู พรไพรสนได้รับมอบหมายให้จัดกิจกรรม “ค่ายเสริมสร้างการเรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ให้กับนักเรียนใหม่ชั้น ม.1 และม.4  โดยมีนักเรียนชั้นม.6 เป็นคนออกแบบกิจกรรมและจัดกิจกรรมให้กับน้องๆ เพื่อปูพื้นฐานหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง  ไม่เน้นการสอนตรงๆ แต่ให้เด็กเรียนรู้จากกระบวนการทำงานของเขาเอง
 

การ ออกแบบการเรียนรู้: ในฐานะหัวหน้าหน่วยขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอ เพียง หน้าที่ของตนคือการจัดกิจกรรม “ค่ายเสริมสร้างการเรียนรู้หลักปรัชญาของ เศรษฐกิจพอพียง” ให้ กับนักเรียนเข้าใหม่ชั้น ม.1 และ ม.4  ในแต่ละปีการศึกษา  โดยให้นักเรียนชั้น ม.6 ทั้งระดับชั้นเป็นคนจัดกิจกรรมให้กับน้อง ซึ่งมีเด็กแกนนำอยู่ประมาณ 20 คน  เด็กๆ จะใช้วิธีพูดคุยกันในกลุ่มและแบ่งกันออกแบบกิจกรรมเพื่อนำมาประชุมรวมกันอีก ครั้งหนึ่ง หลังออกแบบกิจกรรมเสร็จ ก็จัดทำกำหนดการค่ายทั้ง 3 วันว่าจะใช้กิจกรรมอะไรบ้าง ทั้งขั้นตอน กระบวนการ และผลของการทำกิจกรรม เสร็จแล้วเสนอให้ผู้อำนวยการพิจารณา
 

กิจกรรม ค่าย 3 วัน วันที่ 1 เน้นเรื่องทฤษฎี ผ่านฐานกิจกรรมย่อย 10 ฐาน วันที่ 2 เป็นกิจกรรม 8 กลุ่มสาระที่ครูแต่ละกลุ่มสาระเป็นคนคิด มีเด็กแกนนำเข้าร่วม โดยครูต้องบอกได้ว่ากิจกรรมนั้นๆ ให้ความรู้เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงอย่างไร ซึ่งทุกกลุ่มวิชาจะร่วมมือกัน วันที่ 3 พานักเรียนไปที่ "โครงการชั่งหัวมัน" และสรุปงานโดยการประเมินผลงานเป็นความเรียง ตอบคำถาม ใช้ตัวนับประเมิน ซึ่ง ค่ายนี้เป็นการปูพื้นฐานความรู้ของแต่ละกลุ่มวิชา เพราะจัดขึ้นในสัปดาห์แรกของการเปิดเรียน  หลังจบค่ายนักเรียนแกนนำชั้น ม.6 จะมาสะท้อนให้ครูฟังว่าเขาได้เห็นกระบวนการ หน้าที่ ความรู้สึก ฯลฯ อย่างไรบ้าง  ถ้าเรานำ 3 ห่วง 2 เงื่อนไข มาลงเราจะเห็นการทำงานของเขาอย่างชัดเจน  ขึ้นอยู่กับความสามารถของตัวเขาเอง จากนั้นก็ประชุมรวมและพูดคุยสรุปงานกัน

 

นอก จากการร่วมกิจกรรมในค่ายแล้ว เด็กๆ ยังตั้งเป้าหมายไว้  เวลาเข้าร่วมกิจกรรม เขาจะถ่ายรูปเก็บไว้เป็นผลงานเพื่อสอบชิงทุน "เศรษฐกิจพอเพียง" ส่วนการไปเรียนรู้ดูงานที่โครงการชั่งหัวมัน  เมื่อเด็กเข้าไปเด็กจะรู้สึกภาคภูมิใจว่าที่นี่เป็นที่ของพ่อ เราจะใช้ตรงนี้เป็นกรอบให้เขาภูมิใจเสมอ  เราสามารถสร้างเด็กให้มีหลักคิด กระบวนการ ทำอะไรก็คิดถึงคนอื่น เพราะเป็นโรงเรียนประจำ เราสามารถพูดคุยกับเขาได้ตลอดเวลา ในแต่ละหอเราจะจัดให้นักเรียนอยู่คละกัน ทั้งม.1 และ ม.4 มีพี่ ม.6 อยู่ 3 คน ทุกคนต้องผ่านกระบวนการเรียนการสอนจากแต่ละกลุ่มสาระ เพื่อมาวัดว่าสิ่งที่เขาเรียนได้อะไร  และให้เด็ก ม.6 เป็นวิทยากรในแต่ละระดับชั้น มีการประชุมกันทุกวันพฤหัสบดี  ให้ครูทุกคนจะจับสลากและนำเสนองานของตน

นอก จากนี้ยังได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบนักเรียนหญิงชั้น ม.6 จึงคิดกิจกรรมกรรมการเรียนรู้  2 แบบคือ 1. งานวิชาการ เป็นการติว  O-NET ให้เด็กรู้ว่าเขาต้องเตรียมตัวอย่างไร  2. งานศิลปะหัตถกรรม เรียนรู้การทำอาหาร งานเย็บปักถักร้อย  โดยเชิญวิทยากรท้องถิ่นมาสอน มีการติดตามผล  และมีการสรุปขั้นตอนกระบวนการว่ามีอะไรบ้าง  โดยไม่ได้บอกไว้ก่อน  ส่วนงบประมาณที่ใช้ในการจัดกิจกรรมนั้นหากโรงเรียนมีไม่พอ ก็จะนำเงินจากการทำกิจกรรมของเด็กๆ มาใช้ เช่น  กิจกรรมตลาดนัดอินดี้ ดนตรีเปิดหมวก ที่เขาจะเก็บไว้เพื่อทำอนุสรณ์ให้กับโรงเรียนมาใช้แทน  ผลที่เกิดขึ้นนอกจากเด็กๆ จะได้เรียนรู้เรื่องการทำอาหารแล้ว อาหารที่เด็กๆ ทำก็สามารถนำไปใส่กระทงใบตองขายได้ ถือเป็นผลพลอยได้ แต่ที่สำคัญคือเด็กๆ ได้กระบวนการเรียนรู้ โดยเราให้ เขาสรุปเป็นเอกสารการเรียนรู้ขึ้นมาก่อน แล้วเราจะเชื่อมให้เขาเห็นหลัก 3 ห่วง 2 เงื่อนไข เพื่อให้เขาไม่หลุดกรอบ เราจะไม่สอนเขาตรงๆ แต่จะให้เขาเรียนรู้ผ่านกระบวนการทำงาน ที่ นี่นักเรียนสามารถคิดทำโครงการอะไรก็ได้ส่งให้ผู้อำนวยการพิจารณา ไม่เว้นแม้แต่กิจกรรม เราไม่ได้เป็นคนกำหนดกิจกรรม แต่จะใช้การโหวต ให้เด็กๆ โหวตกันเองว่าพวกเขาอยากทำอะไร เช่น รายการอาหาร ก็ใช้วิธียกมือเลือกอาหารที่สามารถทำเสร็จในคาบเรียน จุด เด่นของโรงเรียนจุฬาภรณฯ อยู่ที่ครูจะออกแบบการเรียนรู้ร่วมกับเด็ก โชคดีที่โรงเรียนมีจิตอาสา  ให้เด็กได้คิดขึ้นมาแล้วครูจะกรองให้เขาอีกครั้งหนึ่ง  การที่โรงเรียนจุฬาภรณฯ ขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจเพียงได้ดีเพราะผู้อำนวยการสนับสนุน ทำให้เรามีแรงที่จะทำต่อไป
 

แรงบันดาลใจในการทำเศรษฐกิจพอเพียง: เริ่ม จากการเปิดใจรับเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงก่อน เพราะเป็นคนที่ไม่อยู่นิ่ง เมื่อเปิดใจแล้วรู้สึกว่าเราสามารถนำหลักปรัชญาฯ มาเล่นได้เยอะ  สามารถนำมาเชื่อมโยงได้หลายทาง โดยเฉพาะวิชาภาษาไทยที่เกี่ยวกับการพูด การเขียน บทกลอน ฯลฯ  และอาจ เป็นเพราะระหว่างทำงานไม่เจออุปสรรคที่ทำให้หมดกำลังใจ ประกอบกับเป็นเด็กที่มีโอกาสมากกว่าคนอื่น  หากเราได้ปลูกฝังเขา เขาน่าจะนำไปเผยแพร่ต่อได้ จึงเป็น “แรงกระตุ้น” ให้เราได้ทำต่อไป ปัจจัยเริ่มจากตัวเราก่อน ว่าเราอยากทำ อยากถ่ายทอด ปัจจัยจากภายนอกคือตัวเด็ก ผู้อำนวยการ ทำให้เรายังมีแรงที่อยากจะเล่นเรื่องนี้ต่อไปเรื่อยๆ
 

ผล สัมฤทธิ์ที่เกิดจากเด็กนักเรียน: นักเรียนมีปัญหาพฤติกรรมลดลง  ทำให้ครูมีเวลาสอน  ไม่ต้องมานั่งแก้ปัญหาเรื่องทะเลาะวิวาทของเด็กเหมือนก่อน การ ปลูกฝังหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเหมือนเป็นการติดอาวุธทางปัญญาให้เด็ก คิดดี คิดได้ คิดเป็น  ซึ่งบนฐานหลักคิดตรงนี้ทำให้ผลผลิตของเราเป็นไปในแนวทางเดียวกันหมด คือมีความสามัคคีและรักสถาบัน เด็กเขาจะคุยกันเองว่าจะไม่ทำตัวให้เป็นภาระ ให้กับโรงเรียน ดังนั้นกิจกรรมต่าง ๆ เขาจะมีกระบวนการบริหารจัดการของเขาเอง

ผู้บริหารกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง: การ ขยายผลผู้อำนวยการจะแบ่งวันรับคณะเรียนรู้ดูงาน 2 วัน โดยแต่ละวันจะมีหัวหน้ารับผิดชอบ  เมื่อมีหนังสือราชการเข้ามาบอกว่าจะมีคณะมาศึกษาดูงาน ครูจะพูดคุยกันก่อนว่าเป้าหมายของกลุ่มที่มาต้องการเน้นเรื่องอะไร เพื่อให้ได้ผลสัมฤทธิ์ที่สุด นอกจากนี้ยังจัดให้มีนักเรียนแกนนำในแต่ละวัน  แต่หากมีคณะศึกษาดูงานมาก เราอาจจะมีเด็กหลายกลุ่ม เพื่อไม่ให้เขาเสียเรื่องการเรียน เมื่อคณะเรียนรู้ดุงานมาถึงจะให้เรียนรู้ทฤษฎีก่อนแล้วจึงลงมือปฏิบัติ  นอกจากนี้ยังทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงให้กับโรงเรียนที่เตรียมตัวสำหรับการ ประเมินสถานศึกษาพอเพียงรุ่นที่ 3 โดยจะออกไปแนะนำให้เขาตลอด

  ......................................................................

                         

ประกายความคิดในวันเริ่มต้น

เมื่อ ปี พ.ศ. 2548เอกสารให้ความรู้เรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงยังไม่แพร่หลายมากนัก ประกอบกับสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน)(สมศ .) ต้องการจัดทำสื่อการเรียนรู้ เพื่อวางรากฐานเศรษฐกิจพอเพียง จึงให้ครูส่งผลงานเข้าประกวด เพื่อวัดผลว่าครูมีความรู้ความเข้าใจหรือมีสื่อการสอนที่
เกี่ยวข้องหรือไม่อย่างไร ครูพรไพรสนจึงทำสื่อวิดีทัศน์ความยาว 40 นาที โดยเป็นเนื้อหาเกี่ยวกับการทำความเข้าใจว่าปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร พร้อมแบบทดสอบก่อนเรียน (Pre–test)เมื่อนักเรียนชมวิดีทัศน์ไป 25 นาที จึงให้นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน (Post–test)เพื่อวัดผลว่าหลังชมวิดีทัศน์นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจมาก ขึ้น
หรือไม่ ผลงานของอาจารย์พรไพรสนได้รับการตัดสินให้ได้รับรางวัลเหรียญทองในระดับช่วงชั้นที่ 4


“เนื้อหา ในวิดีทัศน์จะพูดถึงปัญหาเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2540 ว่าทำไมคนต้องฆ่าตัวตาย งาน ธุรกิจล้มละลาย พร้อมกับนำเสนอว่าคนเราต้องตั้งสติ หรือหาหลักยึดเหนี่ยวจิตใจให้ได้ โดยเฉพาะหลักธรรมคำสอนของพุทธศาสนา และนอกจากหลักธรรมแล้วยังมีอีกหลักหนึ่งคือ “หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” ซึ่งเป็นภาพในหลวงทรงงานหนักตรากตรำ แล้วให้นักเรียนดูภาพชีวิตของคนรุ่นใหม่ที่กำลังหลงแสงสี แต่หน้าตาไม่มีความสุข ในขณะที่ชาวบ้านในชนบทที่มีบ้านหลังเล็กๆ แต่กลับมีความสุขในครอบครัว ผูกโยงมาเรื่อยๆ จนไปถึงปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงใน 3 ห่วง 2 เงื่อนไข ส่วนแบบทดสอบก็จะให้เด็กทำแบบทดสอบก่อนที่จะให้ดูเนื้อหาในวิดีทัศน์ แล้วให้คะแนนก่อนว่าเด็กมีความรู้เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงแค่ไหน บางคนได้ 3 คะแนนจาก 20 คะแนน แต่หลังจากที่ดูวิดีทัศน์แล้วก็จะประเมินใหม่อีกครั้งว่าเด็กมีความรู้เพิ่ม ขึ้นหรือไม่ นี่คือจุดเริ่มต้น...”

แนวทางในการปฏิบัติ


“ผม จะพูดเสมอเวลาไปบรรยายหรือพูดให้กับคนที่มาดูงานที่โรงเรียนรู้ว่าการสอนให้ เด็กใช้หลักคิดเศรษฐกิจพอเพียงนั้นเราไม่สามารถที่จะปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เด็กแค่ชั่วข้ามวัน แต่ผมจะบอกว่าเด็กโรงเรียนผมมีประมาณ 600 คน ถ้ามีสักคนหนึ่งได้ซึมซับ ได้เรียนรู้แล้วเขาสามารถใช้ในชีวิตประจำวันของเขาได้ คือ ถ้าเกิดสักคนผมก็ภูมิใจแล้ว ส่วนพวกที่เหลือสักวันหนึ่งเขามีวุฒิภาวะสูงขึ้น เมื่อเขาจบ ม.3 ม.6 เขาต้องออกไปผจญโลกภายนอกไปเจอสังคมในสภาพจริงอีกมากมาย ฉะนั้นสิ่งที่ครูปลูกฝังให้เขาน้อมนำพระราชดำรัสของในหลวงที่พระองค์ห่วงใย ประชาชนคงต้องตกตะกอนอยู่ในใจเขาบ้าง หากเขาไปเจอปัญหาที่แก้ไม่ได้แล้วเขาฉุกคิดขึ้นมาถึงวิธีแก้ปัญหาโดยใช้หลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในตอนที่เขาได้เรียนรู้จากโลกจริง โลกกว้างของเขาเอง ถึงตอนนั้นสิ่งที่ครูปลูกฝังให้เขาไว้จะเหมือนตะกอนที่ผุดขึ้นมา


การ ให้ทางความคิดมันใช้เวลา เพราะการเริ่มต้นมันต้องระเบิดจากภายใน ให้เขาสนใจที่จะเรียนรู้ด้วยตัวเขาเอง ผมก็ไม่ได้สอนให้เขารู้เทคนิคการทำข้อสอบภาษาไทย หรือทำโอเน็ต เอเน็ตได้ แต่ผมสอนให้เขารู้สึกสนุกกับภาษาไทย และมองเห็นว่าภาษาไทยมีคุณค่า”

รู้หลักการเขียน

ใน ด้านการเรียนการสอนรายวิชาภาษาไทย ระดับชั้น ม.ปลาย โดยเฉพาะทักษะการเขียนและการอ่าน ครูพรไพรสน ได้นำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสอดแทรกเข้าไป ซึ่งภายหลังจากการสอนนักเรียนให้มีความรู้เรื่อง “หลักการเขียน” ตามหลักสูตรแล้ว จึงมอบหมายงานให้นักเรียนไปค้นคว้าพระราชดำรัสเกี่ยวกับความพอเพียงของพระ บาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจากสื่อต่างๆ ทั้ง อินเทอร์เน็ต หนังสือ โฆษณา วิทยุ โทรทัศน์ ตามความสามารถของนักเรียน ทั้งคัดลอก อ้างอิง หรือวาดรูปหลักคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามหลัก 3 ห่วง 2 เงื่อนไข จากนั้นให้นักเรียนคัดเลือกบุคคลในชุมชนของตนเองที่น่าจะนำมาเป็นแบบอย่างใน การดำเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง ไม่ว่าจะเป็น เพื่อนบ้าน ญาติ พ่อแม่ ผู้ใหญ่บ้าน นักการเมืองท้องถิ่น พ่อค้า แม่ค้า หรือข้าราชการก็ได้ พร้อมอธิบายถึงวิถีชีวิตของบุคคลเหล่านั้น ผ่าน 4 มิติว่า บุคคลดังกล่าวมีผลงานด้านสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อมอย่างไร


 “... ผมให้นักเรียนแบ่งกลุ่มกัน 2-4 คนต่อ 1 กลุ่มสมาชิกในกลุ่มต้องอาศัยอยู่ในชุมชนใกล้กันหรืออำเภอเดียวกัน เพื่อความสะดวกในการเก็บข้อมูล พบว่าผลงานที่นักเรียนทำมาส่งมีทั้งพระสงฆ์ เกษตรกรดีเด่น นายกเทศมนตรี พ่อเพลง - แม่เพลงพื้นบ้าน โดยในกลุ่มจะช่วยกันคัดเลือกมาเพียง 1 คน พร้อมกับเขียนเหตุผลว่าเพราะเหตุใดจึงเลือกบุคคลดังกล่าว จากนั้นให้นักเรียนไปสัมภาษณ์เก็บข้อมูลว่าบุคคลดังกล่าวทำอะไรบ้าง ซึ่งช่วงท้ายนักเรียนต้องวิเคราะห์สรุปพฤติกรรมของคนคนนั้นว่า ตรงกับหลัก 3 ห่วง 2 เงื่อนไขอย่างไร อะไรคือจุดเด่น จากนั้นจึงให้นักเรียนแสดงความคิดเห็นว่า จากวิถีชีวิตของบุคคลตัวอย่างนั้นนักเรียนจะนำมาพัฒนาตนเอง ในการดำเนินชีวิตประจำวันอย่างไร เราก็จะได้ผลงานนักเรียนหนึ่งชิ้น...”

 


สำหรับ เกณฑ์การให้คะแนน อันดับแรกคือต้องถูกหลักการใช้ภาษา รูปแบบการเขียน สำนวนโวหารงดงาม ภาษาที่เขียนต้องสละสลวย สะกดคำถูกต้อง ให้นักเรียนเขียนเป็นลายมือเพื่อให้คะแนนความสะอาด ซึ่งเป็นคะแนนตามหลักการประเมินวิชาภาษาไทย ลำดับต่อมาจะวัดผลในเรื่องความเข้าใจ และความลึกซึ้งในการถ่ายทอดเรื่องราวว่ามีความน่าสนใจ น่าอ่าน สร้างความประทับใจหรือไม่ ตีโจทย์เรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้ถูกต้องหรือไม่


รียนหลักการอ่าน


“การ อ่าน” คือทักษะหนึ่งที่นักเรียนชั้น ม.5 ต้องเรียนรู้ ครูพรไพรสนจึงนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปสอดแทรกกับหน่วยการเรียนรู้ เรื่องการวิเคราะห์ตัวละครจากนวนิยายเรื่องยาวอย่างน้อย 5 ตัว เพื่อชี้ให้เห็นว่า ตัวละครแต่ละตัวนั้น ดำเนินชีวิตสอดคล้องหรือขัดแย้งกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในเรื่อง อะไรบ้าง ตามหลัก 3 ห่วง 2 เงื่อนไข


การ สอดแทรกปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมิใช่อยู่ที่การวิเคราะห์ตัวละครเท่านั้น แต่ยังสอดแทรกอยู่ในชีวิตจริงของนักเรียนด้วย เช่น เรื่องการ “เลือกหนังสือนิยาย” ของนักเรียน ที่ครูพรไพรสนจะให้ความสำคัญกับ “หลักเหตุผล” ว่านักเรียนมีหลักในการเลือกอ่านหรือไม่อ่านนวนิยายเรื่องนั้นๆ ด้วยสาเหตุใด ซึ่งก่อนที่นักเรียนจะเริ่มอ่าน ต้องลงมือวิเคราะห์ตัวละครก่อนโดยจะให้นักเรียนปรึกษาหารือกับครูก่อนว่า ตัดสินใจอ่านหนังสือเรื่องอะไร เพราะเหตุใด เช่น บางคนที่เป็นนักอ่านส่วนใหญ่จะเลือกนวนิยาย 2-3 เล่มจบ ส่วนนักเรียนที่ไม่ชื่นชอบการอ่าน มักเลือกอ่านนวนิยายเล่มเดียวจบ หรือบางคนบอกว่านิยายเรื่องนี้มีอยู่แล้วที่บ้านไม่ต้องซื้อใหม่ บางคนบอกว่าเรื่องนี้กำลังออกอากาศทางโทรทัศน์บ้าง เป็นการเน้นย้ำให้นักเรียนเข้าใจในเรื่องหลักเหตุผล และความพอประมาณกับศักยภาพของตนเอง และการวางแผนการทำงานให้สำเร็จ ทั้งนี้นอกจากจะทำให้ทราบถึงเหตุผลในการเลือกหนังสือของนักเรียนแล้ว ยังพบว่าวิธีการนี้เป็นวิธีคัดกรองหนังสือที่นักเรียนควรหรือไม่ควรอ่านได้ อีกด้วย เพราะบางเรื่องที่นักเรียนเลือกมาอาจไม่เหมาะสมกับช่วงวัยครูพรไพรสนก็จะชี้ แจงเหตุผลแล้วแนะนำเรื่องอื่นให้เลือก ถือเป็นการสร้างภูมิคุ้มกันให้นักเรียนและการสอนของผู้สอนอย่างสร้างสรรค์ อีกด้วย


การ ที่ครูพรไพรสนพยายามค้นหาเหตุผลของนักเรียนว่ามีเหตุผลอย่างไรในการเลือก อ่านนวนิยายพบว่านักเรียนส่วนใหญ่มีเหตุผลในการเลือกอ่านนวนิยายได้อย่าง เหมาะสมกับศักยภาพของตัวเอง ทั้งด้านความสามารถ และความพร้อมในการจัดหาหนังสือ ซึ่งมีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่อาจจะเลือกอ่านหนังสือที่มีเนื้อหาไม่เหมาะ สมกับช่วงวัย
 

อย่าง ไรก็ตามเมื่อนักเรียนเลือกหนังสือที่จะอ่านได้แล้ว จึงให้นักเรียนกลับไปอ่านหนังสือในช่วงปิดเทอม เมื่อเปิดเทอมใหม่ครูพรไพรสนจะได้นำนักเรียนเข้าสู่บทเรียนเรื่องการวิ เคราะห์ วิจารณ์นิยาย ทั้งแนวสังคม แนวจิตวิทยา เพื่อทบทวนความรู้เรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยให้นักเรียนเขียนเรื่องย่อ 2-3 หน้ากระดาษ จากนั้นเริ่มวิเคราะห์วิจารณ์ตัวละครทีละตัว โดยมีหัวข้อบังคับคือ“การวิเคราะห์การดำเนินชีวิตของตัวละคร” ว่าตรงกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงหรือไม่ อย่างไร คำพูดหรือพฤติกรรมไหนที่บ่งบอกว่าตัวละครนั้นใช้ชีวิตด้วยความพอประมาณ มีเหตุผล และตัวละครสร้างภูมิคุ้มกันให้กับตนเองอย่างไร เป็นต้น และหลังจากที่นักเรียนวิเคราะห์เรียบร้อยแล้ว ให้นักเรียนสรุปในตอนท้ายว่านักเรียนได้เรียนรู้อะไร


สิ่ง ที่น่าสนใจคือ “การจัดเวทีให้นักเรียนนำเสนอผลงานร่วมกัน” ด้วยการให้นักเรียนนำผลงานการวิเคราะห์ตัวละครมานำเสนอในเวทีที่ถูกจัดขึ้น เพื่อให้นักเรียนชั้น ม.5 และนักเรียนคนอื่นๆ ในโรงเรียนได้เรียนรู้ร่วมกัน “..1 คน 5 ตัวละคร 5 ตัวอย่างคูณจำนวนนักเรียน 60 คน เท่ากับการอ่านหนังสือ 60 เล่ม ผ่านการฟังจากเพื่อน และยังเป็นการเน้นย้ำความเข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอีกรูปแบบหนึ่ง ที่สำคัญในเวทีนำเสนอผลงานดังกล่าว ครูพรไพรสนจะทำหน้าที่เป็นพิธีกรด้วยตนเอง คำถามที่ป้อนให้นักเรียนตอบ จึงเป็นคำถามเพื่อให้ผู้นำเสนอได้ไตร่ตรองแล้วคิดเชื่อมโยงเข้าว่าตนจะนำ หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้อย่างไรเช่น ถ้านักเรียนเป็นพระเอกในเรื่องนี้ จะแก้ปัญหาอย่างที่พระเอกทำหรือไม่ เพราะเหตุใด หรือ หากนักเรียนไปเจอผู้ร้ายแบบนี้ นักเรียนจะทำอย่างไร และจะปรับเปลี่ยนตนเองอย่างไร เพื่อให้นางเอกยอมรับ เป็นต้น”


ส่วน เกณฑ์การให้คะแนนนั้นพิจารณาจาก 4 ทักษะ คือ การฟัง พูด อ่าน และเขียน ซึ่งเด็กบางคนวิเคราะห์ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้ไม่ชัดเจนนัก แต่ครูพรไพรสนจะช่วยสร้างความกระจ่างให้กับเด็ก เช่น ถามคำถามให้อธิบายว่าหากตัวละครมีพฤติกรรมชอบโกหก ตรงกับห่วงในหลัก 3 ห่วงของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในเรื่องใด และตรงกับห่วงใดมากกว่ากัน เนื่องจากทั้ง 3 ห่วงล้วนเกี่ยวพันกันหมดไม่ได้แยกกันเป็นเอกเทศ


 ครู พรไพรสนบอกว่า เป้าหมายในการสอดแทรกหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ดำเนินการอยู่นั้น ไม่ใช่เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักเรียนเท่านั้น แต่มุ่งหวังเพื่อปลูกฝังให้นักเรียนเกิดความจงรักภักดีต่อสถาบันพระมหา กษัตริย์ ซึ่งครูพรไพรสนมิได้บูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับทุกๆหน่วยการเรียน เพราะมีเพียงบางหน่วยการเรียนเท่านั้นที่เหมาะสมในการเชื่อมโยงกับหลัก ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างน่าสนใจ แต่สิ่งที่ครูพรไพรสนทำอย่างสม่ำเสมอคือการกระตุกเตือน โดยการตั้งคำถาม เพื่อให้นักเรียนเกิดความคิดและนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ อาทิ ภายหลังจากมอบหมายงาน ครูพรไพรสนจะเปิดโอกาสให้นักเรียนได้คิดว่า จะใช้เวลาในการทำงานให้แล้วเสร็จพร้อมส่งเมื่อใด แล้วมาพูดคุยกันภายในชั้นเรียนว่า นานไปหรือไม่ พอประมาณกับความยากง่ายของชิ้นงานหรือไม่ หรือกรณีการบริหารจัดการเวลา นักเรียนมีเหตุผลในการทำงานโดยใช้เวลา 1 สัปดาห์อย่างไร 


ดัง นั้นวิธีการสอดแทรกหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของครูพรไพรสน จึงไม่ได้อยู่ในรูปแบบการให้นักเรียนคิดวิเคราะห์ออกมาเป็นลายลักษณ์อักษร เท่านั้น แต่ยังอยู่ในกระบวนการเรียนการสอนทั่วไปด้วย