การขับเคลื่อนปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร
“โครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเสริมพลังผู้บริหารศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา”
วันที่ 27 พฤษภาคม 255 ณ ศูนย์ฝึกอบรมธนาคารไทยพาณิชย์ หาดตะวันรอน ชลบุรี
โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร เป็นโรงเรียนเล็กในโรงเรียนใหญ่ นโยบายหลักของโรงเรียนคือ เน้นให้เด็กๆ รักโรงเรียน มีกิจกรรมเด่นคือ กิจกรรมหน้าเสาธง โรงเรียนแห่งนี้จะไม่มีเสียงออด หรือสัญลักษณ์ใดๆ บ่งบอกว่าถึงเวลาที่จะต้องเข้าแถว แต่จะให้เด็กๆ ดูจากนาฬิกา เมื่อถึงเวลาเด็กจะเข้าแถวตามใต้ถุนของโรงเรียน มีกิจกรรมเคารพพี่ เคารพน้อง ให้น้องไหว้พี่ เพื่อนไหว้เพื่อน คุณครูวิไลจะเน้นเรื่องคุณธรรมเป็นหลัก โดยก่อนสอนจะให้เด็กสวดมนต์ นั่งสมาธิ พร้อมกับใช้คำถามให้เด็กนักเรียนรู้จักคิด และถามนำให้เด็กตอบ เน้นการปลูกฝังให้เด็กได้ทำดี ได้ช่วยเหลือสังคม
โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร เป็นโรงเรียนเล็กในโรงเรียนใหญ่ โดยผู้อำนวยการโรงเรียนมีนโยบายให้แต่ละโรงเรียนบริหารกันเอง ด้วยการกระจายอำนาจให้ครูใหญ่แต่ละโรงเรียน ในโรงเรียนจะมี 4 โรงเรียนเล็ก คืออ โรงเรียนผกากรอง (ปฐมวัย) โรงเรียนอินทนินทร์ (ประถม) โรงเรียนพวงชมพู (ประถมต้น) โรงเรียนชัยพฤกษ์ (มัธยม)
นโยบายของโรงเรียนคือ “รักโรงเรียนเสมือนบ้าน รักลูกหลานเสมือนญาติ” ครูทุกคนเป็นเหมือนญาติ และเด็กนักเรียนเป็นเหมือนหลาน ผู้อำนวยการมีนโยบายให้ผู้เรียนทำชีวิตในโรงเรียนตั้งแต่ก้าวเข้ามาในโรงเรียนจนถึงกลับบ้าน โดยเริ่มปลูกฝังจากครูก่อน บางครั้งก็อาจจะขัดใจครูใหม่บ้างที่ไม่เข้าใจ แต่ครูเก่าก็จะให้กำลังใจครูใหม่ให้โอกาสเขาได้ทำงาน เวลาที่ผู้อำนวยการมีนโยบายจะประชุมเฉพาะครูใหญ่ บางครั้งที่ครูไม่เข้าใจก็จะเรียกประชุมทั้งโรงเรียน กิจกรรมที่ร่วมกันทำทั้งโรงเรียน ทั้งครู นักเรียนและนักการภารโรงต้องทำตั้งแต่เช้าจรดเย็นคือ ลงเวลาเข้าเรียนของตัวเอง ถ้ามาสายก็จะมีการพูดคุยถามเหตุผล แต่ไม่มีการลงโทษ เมื่อลงเวลาแล้ว เด็ก ๆ ก็จะมีการฝากเงินออมทรัพย์ในโรงเรียน ธนาคารเยาวชน กิจกรรมที่เพื่อน ๆในห้องช่วยกันคือ การทำความสะอาดบริเวณที่รับผิดชอบ มีการให้คะแนน เป็นการปลูกฝังให้เด็กมีความรับผิดชอบ และจะไม่มีสัญลักษณ์ในการเรียกเข้าแถว แต่ใช้นาฬิกาเป็นเครื่องเตือนว่าถึงเวลาทำกิจกรรมหน้าเสาธง เด็ก ๆ ก็จะไปรวมที่ตึกของตนเอง โดยมีเสาธงที่เดียวที่ตึกชัยพฤกษ์ ทำกิจกรรมพร้อมกันหน้าชั้นเรียนของตนเอง ครูใหญ่แต่ละโรงเรียนก็จะพูดคุยกับเด็กของตนเอง มีกิจกรรมไหว้พี่ไหว้น้อง โดยการเชิญน้องไหว้พี่ก่อน น้องผกากรองไหว้พี่ น้องพวงชมพูไหว้พี่ และเพื่อนไหว้เพื่อน เป็นต้น โรงเรียนเราตั้งอยู่ในวัด มีพื้นที่ แบ่งให้ใช้อย่างคุ้มค่า
การออกแบบการเรียนรู้และกิจกรรม : เราจะทำตัวให้เป็นแบบอย่าง และคอยให้คำแนะนำกับครูคนอื่นๆ ด้วย ครูแต่ละคนก็จะไม่เหมือนกัน แต่ก็ใช้หลักการครูรุ่นน้องเคารพรุ่นพี่ เราต้องทำ ถ้าเราไม่ทำเขาก็จะไม่ทำ เราก็ต้องพยายามทำตัวให้ทันกับครูและเด็กๆ เน้นในเรื่องคุณธรรม สอนให้เด็กสวดมนต์ นั่งสมาธิ ก่อนจะนำเข้าสู่บทเรียนให้เขาคิดก่อน ใช้คำถามกระตุ้นให้เขาคิดก่อนว่า วันนี้นักเรียนทำอะไรบ้าง แค่คิดว่าสิ่งที่คุณทำเป็นสิ่งที่ดี ก็คิดแต่ยังไม่ต้องบอกครูว่าทำอะไรในสิ่งที่ดี จากนั้นก็สุ่มตัวอย่างให้เขาพูด ว่าเป็นอย่างไร ภูมิใจไหมในสิ่งที่ทำ เราก็จะไม่สุ่มซ้ำ ให้เขาได้แลกเปลี่ยนความคิด สอนให้เขาเป็นแบบอย่างที่ดีกับรุ่นน้อง เวลาเข้ากลุ่มจะให้เขาคิดก่อนให้จับกลุ่มกัน แล้วคิดว่าจะทำอย่างไร ในเรื่องการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ เราใช้การถามซ้ำ ๆ และเป็นการถามนำ โดยไม่บอกให้เขารู้ว่านำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ ทำซ้ำๆ ทำบ่อยๆ เด็กนักเรียนจะรู้หน้าที่ มีความรับผิดชอบ และเมื่อรู้ว่าตัวเองผิดและยอมรับผิด มีความอ่อนน้อมถ่อมตน ไม่อวดตัว
ในส่วนของชุมชนจะให้ชุมชนเข้ามาสอนในโรงเรียน หรือบางครั้งก็พานักเรียนออกไปเรียนรู้ภายในชุมชน ไปร่วมกิจกรรมในชุมชน ไปช่วยกันทำความสะอาดชุมชน นอกจากนี้ยังให้เด็กออกไปศึกษาเรียนรู้นอกโรงเรียน เรื่องสิ่งแวดล้อมเพื่อให้เด็กรักสิ่งแวดล้อม โดยทุกเรื่องผู้อำนวยการจะเริ่มด้วยการกำหนดเป็น “นโยบาย” พร้อมกับทำตัวให้เป็นแบบอย่างในหลายๆ เรื่อง เพื่อให้ครูน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ โดยไม่รู้ตัว นอกจากนี้ผู้อำนวยการยังให้ความสำคัญกับทุกคน แม่ครูป่วยก็จะพากันไปเยี่ยม ลูกครูป่วยก็จะพาไปหาหมอ ไม่เลือกคนทำงาน แต่จะกระจายอำนาจออกไป ใช้วิธีทำเป็นแบบอย่างและดูตามความถนัดของแต่ละคน
ส่วนเด็กๆ จะปล่อยให้เขาทำงานที่ได้รับมอบหมาย ปล่อยให้เขาทำ และใช้เวลาหลังเลิกเรียนไปตรวจสอบ ถ้าเขาทำแสดงว่าเขามีความรับผิดชอบ และคอยให้คำแนะนำเขาว่า หากเขาไม่ทำเพื่อนๆ จะเสียระบบกันหมด หรือเวลาที่เด็กๆ ร่วมกันทำความสะอาดในช่วงเช้า ก็จะสอนให้เด็กช่วยเหลือกันในกรณีที่เพื่อนที่รับผิดชอบพื้นที่ตรงนั้นยังไม่มา โดยใช้วิธีติดตามประเมินผล พ่อแม่บางคนก็ภูมิใจในตัวลูกว่าถึงลูกจะไม่เก่งแต่ว่าลูกก็มีความรับผิดชอบ รู้หน้าที่โดยที่พ่อแม่ไม่ต้องบอก เพียงแค่นี้พ่อแม่ก็ภูมิใจแล้ว
ผู้อำนวยการเริ่มประกาศใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตั้งแต่ปี พ.ศ.2549 จากนั้นก็เริ่มชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ ท่านจะให้ครูทุกคนรับประทานอาหารร่วมกับเด็กๆ และคอยบอกว่าอาหารแบบไหนที่มีประโยชน์ พร้อมกับสอดแทรกความรู้เข้าไปด้วย โดยจะมีครูนักพัฒนาคอยให้คะแนนด้วย หากครูไม่มาทานอาหารร่วมกับนักเรียนก็จะไม่ได้คะแนน นอกจากนี้ท่านยังมีแนวคิดเรื่องอื่นๆ ทั้งการไม่ปล่อยเวลาให้สูญเปล่า การใช้สิ่งของในโรงเรียนให้คุ้มค่า และความฟุ่มเฟือย ตัวอย่างเช่น กรณีของการใช้นาฬิกาในการเข้าแถว เริ่มจากการประชุมร่วมกันว่าจะเริ่มใช้นาฬิกาเป็นสัญลักษณ์ในการเข้าแถว โดยใช้นาฬิกาเรือนใหญ่เป็นศูนย์กลางเพียงเรือนเดียวเท่านั้น