วันที่ 27 พฤษภาคม 255 ณ ศูนย์ฝึกอบรมธนาคารไทยพาณิชย์ หาดตะวันรอน ชลบุรี
วิชา
ชุมนุมเป็นกลุ่มสาระที่ 9 ถือเป็นหัวใจสำคัญของโรงเรียน
เพราะเป็นรายวิชาที่จะช่วยต่อยอดให้กับนักเรียนได้
โดยเด็กอาจจะรวมตัวกันเอง หรืออาจารย์ตั้งขึ้นมาก็ได้
โดยใช้แบบการเขียนแผนที่ยึดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นตัวกำหนดในการ
เขียนแผนกิจกรรมและกระบวนต่างๆ ให้อาจารย์ที่ปรึกษาช่วยกันขัดเกลาแผน
และส่งต่อถึงผู้อำนวยการเป็นลำดับสุดท้าย
เพราะทางโรงเรียนมีเป้าหมายที่จะทำ “ตลาดนัดวิชาการ” เมื่อครบใน 1
ภาคปีการศึกษา เพื่อให้เด็กนักเรียนนำผลการทำโครงงานมานำเสนอ
ให้เด็กทำหน้าที่เหมือนครูคนหนึ่งที่เขียนแผนการสอนของเขาเอง
การออกแบบการเรียนรู้และกิจกรรม : ผม
รับผิดชอบในส่วนของกิจกรรมชุมนุม ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของโรงเรียน
เพราะเป็นรายวิชาที่ช่วยค้นหาสมรรถนะหรือความสามารถของเด็ก
เพื่อต่อยอดความรู้ให้เด็ก โดยที่
มาของชุมนุมอาจจะเกิดจากการรวมตัวกันเองของเด็กก็ได้
หรืออาจารย์เป็นคนตั้งชุมนุมให้เด็กเลือกเอง
ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงซึ่งเป็นเป้าหมายหลักของโรงเรียน
โดยเราจะมีแบบฟอร์มการเขียนแผนไว้ให้เด็กดู เพื่อให้เด็กเขียนแผนได้เอง
โดยมีหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นตัวกำหนด ส่วนครูที่ปรึกษาจะช่วยขัดเกลา
ก่อนจะส่งแผนต่อไปให้ผู้อำนวยการคัดเลือกว่าผ่านหรือไม่ซึ่งหากแผนดังกล่าว
ไม่สอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงก็ไม่ผ่าน ทั้ง
นี้เพราะในขั้นตอนสุดท้ายโรงเรียนมีเป้าหมายว่าเมื่อครบ 1
ภาคการศึกษาจะเปิด “ตลาดนัดวิชาการ” ให้เด็กๆ นำผลิตภัณฑ์ของแต่ละกลุ่ม
แต่ละชุมนุมที่มีการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์นำนวัตกรรมของเขามานำเสนอ
หรืออาจจะร่วมมือกับชุมชนหรือผู้สนใจมาร่วมกันนำเสนอก็ได้
แต่ต้องเป็นเรื่องที่สามารถนำเข้าสู่การร่วมมือกับชุมชนด้วย
ซึ่งกระบวนการเช่นนี้เป็นการฝึกฝนเด็กนักเรียนให้ทำหน้าที่เหมือนครูที่
ต้องออกแบบการเรียนรู้ด้วยตัวเอง
มีอาจารย์ที่ปรึกษาคอยแนะนำแนวทางการเขียนให้ ซึ่งปัจจุบันมีทั้งหมด 60
แผนการเรียน
เรา
ในฐานะครูที่ดูแลต้องพยายามผลักดันให้เขาทำผลิตภัณฑ์ออกมา
เพราะจะมีการจัดตลาดนัดความรู้เพื่อให้เขามีผลิตภัณฑ์ของเขามานำเสนอ
และเขาก็จะเกิดความภาคภูมิใจ
ซึ่งในรายวิชาชุมนุมสามารถนำไปบูรณาการกับรายวิชาอื่นๆ ได้
โดยที่เขาไม่ต้องทำกิจกรรมซ้ำซ้อน ชุมนุมจะเน้นเรื่องการถอดบทเรียนมากกว่า
โดยเราจะมาพูดคุยซักถามสิ่งที่เขาเรียนรู้ในรายวิชาว่าสิ่งที่เขาเรียนไป
สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้มากน้อยเพียงไร เด็กเขาจะรู้ว่าเพื่อนคนไหนเก่ง
เขาก็จะดึงเข้ามาเผื่อแผ่กับเพื่อนในกลุ่มต่อไป
วิชา
ชุมนุมถ้าเราไม่เปิดโอกาสให้เขา เขาก็จะไม่มีโอกาสได้พบปราชญ์ชาวบ้านเลย
เมื่อเราตั้งชุมนุมขึ้นมาแล้ว
เราอยากได้วิทยากรก็สามารถไปหาจากปราชญ์ในท้องถิ่นได้
งบประมาณสามารถเขียนเป็นโครงการนำเสนอได้
โดยตั้งเป็นโครงการที่มองเห็นถึงการพัฒนา คำนึงถึงเหตุและผล
บางชุมนุมไม่จำเป็นต้องของบประมาณ เขาก็จะไม่เขียนเสนอ
เพราะบางอย่างหาได้ในท้องถิ่น เช่น การสานปลาตะเพียน
เด็กก็ไปหาวัสดุมาจากบ้าน โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
กิจกรรมหลายเรื่องเป็นการตอบโจทย์ปัญหาในห้องเรียน เช่น
ปัญหาเรื่องแรงดันน้ำ เด็กจะมาคำตอบว่าควรจะใช้วิธีการใดที่จะแก้ปัญหา
ด้วยการสร้างนวัตกรรมหรือผลิตภัณฑ์ออกมาแก้ปัญหา
เด็กจะเห็นว่าสิ่งที่เขาเรียนสามารถนำไปใช้ได้จริง
สำหรับ
ชุมนุมแต่ละชุมชนจะรับเด็กนักเรียน 25 คนต่อครู 1 คนเท่านั้น
บางครั้งเด็กอาจจะเข้ามาขอให้ครูตั้งชุมนุมขึ้นมาใหม่ เช่น
เด็กบางคนพูดไม่ค่อยเก่งก็จะมาขอให้ครูตั้งชุมนุมขึ้นมาใหม่ได้ โดยเด็กๆ
สามารถเลือกได้เองตามอิสระ แต่ต้องอยู่ภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง