ไครีย๊ะห์ ระหมันยะ : บ้านสวนกง หมู่บ้านเล็กๆ ที่ปกป้องทะเลมากว่า 24 ปี: หลักฐานว่าทำไม ‘ไครียะห์’ ต้องยื่นหนังสือถึงนายกฯ

เรื่อง The Potential

  • เรื่องราวของ ‘บ้านสวนกง’ หมู่บ้านเล็กๆ ติดชายฝั่งทะเลอ่าวไทย จังหวัดสงขลา กับการต่อสู้ของชาวบ้านในการทำประมงพื้นบ้านและความยั่งยืนทางอาชีพและวิถีชีวิต เขียนโดยกลุ่มรักเด็กบ้านสวนกง
  • เล่าตั้งแต่การต่อสู้ของชาวบ้านในปี 2536 ถึง ปัจจุบัน, วิถีชีวิตคนหาและฟังเสียงปลา ‘ดูหลำ’, การทำ ‘อูยัม’ หรือบ้านปลา), การทำปลาเส้น (ต่อยอดการทำปลาเค็ม), ภาพเรือเกยหาด ที่เป็นทั้งการจอดเพื่อพักผ่อนและกีฬา, คนเดินเต่า ภูมิปัญญาชุมชนสมัยก่อนเกี่ยวกับฤดูการวางไข่ของเต่า และอื่นๆ
  • “ชาวบ้านได้เริ่มปกป้องตั้งแต่ปี 2536 – 2560 และชาวบ้านจะใช้ทะเลแห่งนี้เป็นแหล่งผลิตอาหารของคนสงขลาและอาเซียน บ้านสวนกงเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ที่ปกป้องทะเลมาเป็นเวลา 24 ปี ทะเล (…) จะนะเปรียบเสมือนตู้ ATM หน้าบ้าน เบิกถอนเมื่อไหร่ก็ได้ไม่มีวันหมด และทะเลก็ไม่เคยทอดทิ้งคนในชุมชน”
เรื่อง: กลุ่มเด็กรักหาดสวนกง
บรรณาธิการต้นฉบับ: อภิศักดิ์ ทัศนี

12 พฤษภาคมที่ผ่านมา เราได้รู้จักผู้หญิงที่เข้มแข็งและกล้าหาญอีกคนในชื่อ ‘ลูกสาวแห่งจะนะ’ หรือ ไครีย๊ะห์ ระหมันยะ อายุ 17 ปี ปักหลักที่ศาลากลางจังหวัดสงขลา เพื่อขอยื่นหนังสือถึงพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ผ่านผู้ว่าราชการจังหวัด คัดค้านการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมในพื้นที่ และขอให้ยุติเวทีรับฟังความเห็นในโครงการในวันที่ 14-20 พฤษภาคม 2563 ความมุ่งมั่นของเธอในวันนั้นได้รับเเรงสนับสนุนจากสังคม และแรงนั้นมากพอที่จะเลื่อนเวทีรับฟังความคิดเห็นออกไป วันนี้เธอเดินทางขึ้นมาเมืองกรุง เพื่อส่งเสียงเรียกร้องแทนชาวบ้านอีกครั้ง เพื่อขอยุติเวทีรับฟังความคิดเห็นที่จะเกิดขึ้นในวันที่ 11 กรกฎาคม 2563 นี้

เหตุการณ์ทั้งหมดนี้สืบเนื่องจากวันที่ 12 มกราคมที่ผ่านมา หลังคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติงบประมาณก้อนแรกจำนวน 18,680 ล้านบาท เพื่อพัฒนาโครงการพัฒนาพื้นที่เป็นที่ตั้งนิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมีในพื้นที่ อ.จะนะ จ.สงขลา ท่ามกลางเสียงคัดค้านของชาวบ้านในพื้นที่ตลอดมาด้วยเหตุผลต้องการปกป้องแหล่งผลิตอาหารทางทะเลและปัญหาสิ่งแวดล้อม ล่าสุดเมื่อต้นเดือนพฤษภาคม ชาวเน็ตได้ร่วมกิจกรรมคัดค้านการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมดังกล่าวทางโซเชียลมีเดียพร้อมติดแฮชแทก #SAVECHANA

ไครียะห์ ในฐานะพลเมืองผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย บ้านเกิด อาชีพ และครอบครัวอยู่ที่นั่น เธอนำข้อมูลทั้งหมดที่มีในตัวเอง ตั้งใจสื่อสารให้ถึงคณะรัฐมนตรี

หลายคนตั้งคำถามว่าเธอเป็นใคร ออกมาทำไม ช่วงเวลาและอายุเท่านี้ เธอควรปล่อยให้เรื่องนี้เป็นการจัดการของผู้ใหญ่ แต่เธอไม่ได้คิดเช่นนั้น มากกว่าชีวิตและความเป็นอยู่ นี่คือพื้นที่เธอทำการศึกษา เธอและเพื่อน – กลุ่มเด็กรักหาดสวนกง ทำงานศึกษาอย่างเกือบเต็มเวลากับเรื่องนี้ บทความชิ้นนี้ คืองานวิจัยและเขียนโดย กลุ่มเด็กรักหาดสวนกง ดูแลต้นฉบับและการทำงานโดย อภิศักดิ์ ทัศนี ที่จะบอกเล่าถึงชีวิต ความเป็นอยู่ ระบบนิเวศน์ ของบ้านสวนกง เหตุผลและหลักฐานว่าทำไม ‘ไครียะห์’ ต้องอยู่ตรงนั้น

(ประวัติ)บ้านสวนกง หมู่บ้านเล็กๆ ที่ปกป้องทะเลมาเป็นเวลา 24 ปี

บ้านสวนกงตั้งอยู่ ณ หมู่ 11 ต.นาทับ อ.จะนะ จ.สงขลา ซึ่งอยู่ติดกับชายฝั่งทะเลอ่าวไทย และอยู่ระหว่าง ต.นาทับและต.ตลิ่งชั่น เป็นหมู่บ้านที่มีทะเลที่อุดมสมบูรณ์เต็มเปียมไปด้วยสัตว์น้ำในทะเลกว่า 144 ชนิด และมีเนินทราย 6,000 ปี ที่นักวิชาการได้มาสำรวจ ก็ว่ากว่า 7,000 ปี หมู่บ้านแห่งนี้อยู่กันมาทั้งหมด 4 ชั่วอายุคน เริ่มแรกชาวจีนมาอาศัยอยู่ก่อน บ้านสวนกงมาจากคนจีนเรียกพ่อของพ่อเป็นอาก๋อง จึงมีชื่อเรียกเป็นสวนกงมาจนถึงปัจจุบันนี้

แต่ก่อนคนส่วนใหญ่จะทำนาและออกประมงเป็นบางครั้ง หากชาวบ้านมีประมงก็จะเอาปลาที่ได้มาไปทำปุ๋ยเพื่อเอาไปทำนา อยู่ๆ ชาวบ้านเห็นว่าการทำประมงได้ดีกว่าการทำนา ชาวบ้านจึงเลือกทำประมง 100% แทนนามาจนถึงปัจจุบัน

แต่ก่อนชาวบ้านออกทะเลไม่มีเครื่องมือใดๆ ที่ทันสมัย ชาวบ้านจึงเลือกใช้ภูมิปัญญาแทนเครื่องมือต่างๆ พอถึงยุคที่ทันสมัย ก็เริ่มมีเรืออวนลากอวนรุนมาบุกรุกในเขตรัศมี 3,000 เมตร จนกระทั่งทรัพยากรและหน้าดินเสียหายจนไม่เหลือทรัพยากรให้ชาวบ้านได้ทำมาหากิน ชาวบ้านต้องตัดสินใจออกไปหากินนอกบ้าน (ประมงนอกบ้าน) แต่ด้วยความลำบากในการออกไปหากินนอกบ้าน เนื่องจากต้องแบ่งเป็น 2 หม้อข้าว หมายถึง คนที่ทำประมงจะต้องออกไปนอกบ้าน ได้กลับบ้านสัปดาห์ละหนึ่งครั้ง (เพื่อมาประกอบพิธีละหมาดวันศุกร์) และคนที่อยู่บ้านคือภรรยาและลูกต้องอยู่บ้านเลี้ยงลูกเอง

จากการออกไปหากินนอกบ้าน ชาวบ้านบอกว่าได้ดีก็จริงแต่มันไม่ไหว และนอกจากถูกแบ่งเป็นสองหม้อ ยังโดนเพื่อนบ้านด่าว่า ‘ทะเลบ้านคุณก็มีทำไมไม่ไปประมงที่บ้านคุณ’ จากนั้นชาวบ้านเลยคิดวิธีการทำอูยัม (การสร้างบ้านปลา) ขึ้นมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2536 และทำอย่างต่อเนื่องทุกๆ ปี จนกระทั่งทะเลกลับมาฟื้นฟูและอุดมสมบูรณ์ ชาวบ้านจึงกลับมาทำประมงใกล้บ้านไม่ต้องออกไปไหนไกลบ้านอีกเลย

พอมาอีกช่วงหนึ่ง ทหารมาซ้อมยิงปืน ทำให้บ้านปลาที่สร้างพังและทำให้สัตว์ปลาหนีหายไป ชาวบ้านได้ไปเจรจา ว่าการซ้อมปืนเท่ากับเป็นการทุบหม้อข้าวของชาวบ้าน บ้านบ้านเจรจาสำเร็จ ทหารก็ได้ไปซ้อมยิงปืนที่อื่น

อยู่ไปอยู่มามีนายทุนจากสตูลมาทำโป๊ะ ซึ่งเป็นเครื่องมือผิดกฎหมายในตอนนั้น จึงทำให้ชาวบ้านไม่ยอม เลยมีการส่งหนังสือเพื่อเจรจากับนายทุนสตูล แต่นายทุนไม่กลัวเพราะอ้างว่าตนมีทั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แต่ชาวบ้านเป็นเพียงชาวบ้านธรรมดาจะไปสู้อะไรเขาได้ ชาวบ้านก็เลยคิดใช้วิธีสู้ด้วยการตั้งกลุ่มสมาพันธ์ประมงพื้นบ้านภาคใต้ ชาวบ้านแจ้งกรมประมงหลังจากแจ้งกรมประมง 2-7 วัน กรมประมงก็มารื้อโป๊ะออก

ต่อมามีเรือลากสายเคเบิลเป็นเรือใหญ่ขนาดตึก 3-4 ชั้น ชาวบ้านได้ออกไปขับไล่ แต่เขาส่งนักการเมืองมาเจรจาต่อรองแต่ไม่เห็นผล เพราะชาวบ้านบอกว่าทะเลแห่งนี้เป็นปากท้องของชาวบ้าน และเขาได้รับปากกับชาวบ้านว่าจะไปทำอีกแล้ว แต่พอถึงช่วงฤดูมรสุมเขาก็ไปแอบทำแต่ชาวบ้านทำอะไรไม่ได้ ได้แต่ยืนดู และต่อมามีทหารมาขุดเนินทราย 6,000 ปี เพื่อไปทำบังเกอร์ แต่ชาวบ้านไปเจรจาให้เหตุผลว่า เนินทรายแห่งนี้เป็นเนินทรายธรรมชาติ ทหารเชื่อฟังเลยตัดสินใจที่จะไม่ขุดต่อ

ปัจจุบันล่าสุดชาวบ้านโดนรังแกเนื่องจากมีบริษัทมาขุดเจาะดินเพื่อสร้างท่าเรือน้ำลึกสงขลาแห่งที่ 2 ชาวบ้านได้ออกไปขับไล่เช่นเคย และมีผลสำเร็จ ในขณะที่ต่อสู้ ชาวบ้านได้ปกป้องและฟื้นฟูธรรมชาติเป็นระยะๆ และชาวบ้านจะสร้างบ้านปลาเป็นระยะๆ และพร้อมดูแลมิให้เครื่องมือผิดกฎหมายเข้ามา

ชาวบ้านได้เริ่มปกป้องตั้งแต่ปี 2536 – 2560 และชาวบ้านจะใช้ทะเลแห่งนี้เป็นแหล่งผลิตอาหารของคนสงขลาและอาเซียน บ้านสวนกงเป็นหมู่บ้านเล็กๆ ที่ปกป้องทะเลมาเป็นเวลา 24 ปี

ดูหลำ: คนฟังเสียงปลา

ดูหลำ หรือ คนฟังเสียงปลา การดำน้ำฟังเสียงปลาภูมิปัญญาของชาวประมง ซึ่งไม่ธรรมดาเลย แม้เป็นส่วนหนึ่งของอาชีพชาวประมง แต่ชาวประมงถือว่าเป็นการมีเกียรติสำหรับเขา มีน้อยคนที่จะสามารถฟังเสียงปลาได้ แต่น่าเสียดายที่ดูหลำกำลังจะสูญหายไปจากท้องถิ่น

คุณรุ่งเรือง ระหมันยะ หรือ บังนี ดูหลำแห่งบ้านสวนกง อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา บังนีได้เล่าถึงเรื่องราวของการเป็นดูหลำให้ฟังอย่างภาคภูมิใจว่า การดำปลาต้องใช้ทั้งประสบการณ์ ลองผิดลองถูกด้วยตนเอง บวกกับการเอาใจใส่ในการถามคนที่มีประสบการณ์มากกว่า ดังนั้นต้องค่อยๆ เรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การเรียนรู้เรื่องดูหลำไม่สามารถเรียนรู้ได้ในห้องสี่เหลียม จึงต้องใช่ทะเลเป็นห้องเรียน หากจะทำให้ ได้ยินเสียงปลาดีจะต้องดูน้ำตั้งแต่เช่ามืด ประมง ตี 4 ตี 5 เพราะช่วงนี้ปลาจะออกเสียงดีกว่าช่วงอื่น

เพราะว่าตั้งแต่ช่วงค่ำ ปลาจะร้องหลายตัว จะร้องออกเสียงพร้อมกันหมด ทำให้รู้ว่ามีปลา แต่จับจุดไม่ถูก ปลาจะออกเสียงพร้อมกันหมด พอค่อยๆ จะสว่างมันจะค่อยๆ เงียบเสียงจนกระทั่งเหลือตัวสองตัว แต่ปลาก็ยังร่วมกันเป็นฝูง ซึ่งการรวมหรือไม่รวมฝูงปลานี้ขึ้นอยู่กับทิศทางลมด้วย

ส่วนใหญ่แล้วหากเป็นลมพัดอยู่(ลมตะวันตก) ปลาก็จะร้อง แต่ปลาจะเงียบไปเรื่อยๆ จะทำได้จนทั่งถึงตอนเที่ยงก็จะเป็นลมนอก(ลมตะวันออก) ปลาก็จะแตกฝูงกันออกไป เวียนอยู่แบบนี่ตลอดปกติแล้ว ปลาจะร้องเสียงไม่ดังมาก จะร้องเหมือนหุงข้าวแล้วข้าวกำลังจะเดือด บางทีเสียงดัง ‘ปอกแป๊ก’ แต่ปลาแต่ละชนิดจะดังไม่เหมือนกัน แต่คนที่ดำจะบอกได้ว่าเสียงที่ฟังจะเป็นเสียงปลาอะไร มีปลาอะไรบ้าง รู้แม้กระทั่งปลาที่ไม่ออกเสียง เช่น ปลาทู แต่ดูหลำสามารถเดาได้ เดาได้สองทาง คือ ไม่ใช่ปลาทู หรือ ปลาโคก

ดูหลำจะใช้เรียกปลาที่ไม่มีเสียง ว่า “ปลาบา” คือปลาที่มาพลอย(พึ่งพา/อาศัย)อยู่ในฝูงปลาที่มีเสียง ปลาเป็นพันตัวจะขยับพร้อมกัน หันหัวพร้อมกัน ได้ยินเสียง ‘วูม’ จะรู้ได้เลยว่าปลาอยู่ตรงนั้น เมื่อรู้ว่าปลาอยู่ตรงไหน ดูหลำต้องดำปลา การดำปลาต้อ มีเรือสองลำขึ้นไปลำเดียวได้ แต่จะได้ปลาน้อยเพราะปลาจะเดิน ทำให้ล้อมไม่ได้ ดังนั้นเวลาล้อมต้องใช้เรือ 2-5 ลำ แต่ลำเดียวจะเอาไม่อยู่ บางทีได้ยินเสียงปลาอยู่ตัวเดียวเท่านั้น แต่พอขึ้นมากลับได้ปลาเป็น 400-500 กิโลกรัม หรืออาจถึง 1,000 กิโลกรัมเลยหากว่าใช้เรือ 4-5 ลำ

คนทำปลานั้นจะมีอุปกรณ์ บางคนใช้แกลลอน 5 ลิตร แล้วก็ว่ายน้ำไป บางคนก็ใช้เรือลำเล็กที่ทำกับโฟม การส่งสัญญาณระหว่างคนที่อยู่ในน้ำเพื่อฟังเสียงปลากับคนที่อยู่บนเรือ คนดำน้ำจะสาดน้ำเพื่อแสดงว่าให้เรือวาง คือ เรือที่อยู่กันเป็นวงกลม คนละด้านกัน 2 ลำก็ 2 ด้าน ถ้า 3 ลำก็ 3 ด้าน แล้วแต่จำนวนเรือ เมื่อคนสาดน้ำ หมายความว่าให้วางอวนได้เลย หากปลาเดินเร็วก็จะสาดน้ำเร็ว พอติดเครื่องแล้วเสียงเรือมันก็จะดัง

เมื่อเสียงเรือดัง ปลาก็จะเดิน พอเดินพร้อมกันปลาก็จะงง ทิศเหนือก็ดัง ทิศใต้ก็ดัง ปลาจะอยู่ที่เดียว ว่ายน้ำกันอยู่ตรงนั้น ซึ่งการวางเรอพร้อมกัน 2 ลำไปจะเร็ว จะปิดปลาแน่นอน การลงดำแต่ละครั้งนั้นใช้เวลาไม่นาน ดำแค่พอให้รู้ว่าปลาอยู่ทิศไหน ก็ดำตามต่อไปเรื่อยๆ ลงไปแค่พอจมหูไม่ต้องลึก ดำพอได้ยินเสียง เพราะในทะเลจะเสียงดังกว่าบนฝั่ง 3-4 เท่า อยู่เป็นกิโลเมตร ก็ยังได้ยินและใช้เวลาในการจับจุด ก็ไม่นาน ประมาณครึ่งชั่วโมง แต่ก็ปลาสองซี่ เคาะดังๆปลาก็จะวิ่ง เคาะลำละ 2-3 ปลาก็จะวิ่งหมด

คุณรุ่งเรือง ระหมันยะ หรือบังนี ทิ้งท้ายอย่างภาคภูมิใจ ว่า “คุณค่าของดูหลำนี่ ไม่เพียงแต่เป็นการทำงานที่สร้างรายได้ แต่เป็นการทำงานที่มีเกียรติ “เกียรติ” จากวันเวลาที่ได้สืบทอดกันมารุ่นต่อรุ่น การลองผิดลองถูก สะสมประสบการณ์กันมาจนเกิดเป็นองค์ความรู้ ไม่ใช่แค่การฟังเสียงปลาหากรวมถึงการสังเกต การจดจำ และการเรียนรู้จากธรรมชาติ หวังว่าจะมีผู้สนใจ สืบทอดภูมิปัญญานี้ต่อไปนี้ เพื่อไม่ให้ดูหลำกลายเป็นเพียงภูมิปัญญาในความทรงจำของบ้านสวน

อูยัม (การสร้างบ้านปลา)

ย้อนกลับไปเมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว ชาวประมงพื้นบ้านในอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ประสบปัญหา ความเสื่อมโทรม และการลดลงของทรัพยากรสัตว์น้ำ อันเนื่องมาจากปัญหาเครื่องมือประมงพาณิชย์ขนาดใหญ่ของนายทุนและนักการเมือง เช่น อวนลากอวนรุน ขนาดใหญ่ เรือปั่นไฟปลากระตัก และโป๊ะของนายทุนที่มาจากจังหวัดสตูล เข้ามารุกล้ำพื้นที่หากินของชาวประมงพื้นบ้านของ อำเภอจะนะ ให้เกิดปัญหาตามมามากมาย รวมทั้งผลกระทบต่อชุมชนและครอบครัวด้านเศรษฐกิจและสังคมเป็นอย่างมาก

ทำให้ชาวบ้านที่สวนกง อำเภอจะนะต้องออกไปหากินนอกบ้าน โดนเพื่อนด่า ว่า “ทะเลบ้านตัวเองมี ทำไมต้องออกมาหากินบ้านเพื่อน” จนกระทั่งวันหนึ่งเขาก็ได้เห็นทางมะพร้าวลอยอยู่ ซึ่งมีปลาอยู่ด้วย เขาก็ได้คิดว่าเอาทางมะพร้าวสร้างเป็นบ้านปลา ซึ่งต้องอาศัยไม้ไผ่กับทางมะพร้าว ซึ่งเป็นอุปกรณ์ทางธรรมชาติ เพื่อหลอกให้ปลามาเล่น มาอาศัย เพื่อที่จะได้จับปลา

การสร้างบ้านปลาเกิดมานานรุ่นสู่รุ่น เป็นภูมิปัญญา การสร้างบ้านปลาทำให้ปลาทั้งเล็กใหญ่มาอาศัยพึ่งพาได้ อูยัมชนิดทางมะพร้าวส่วนใหญ่จะได้ปลากระบอก ปลาซา เป็นต้น ส่วนอูยัมชนิดไม้ไผ่ได้ปลา เก๋า อินทรีย์ ปลาหมึก และอื่นๆ เป็นต้น

การที่เขาจะตั้งจุดว่าจะตั้งอูยัมตรงไหนดูจาก มีฝูงปลาขึ้นมาเป็นฝูง เช่น ปลาลัง ปลาทู หากมีปลาเล็กก็ย่อมมีปลาใหญ่ หากตรงไหนที่มีทั้งโลมาและเต่าตรงนั้นก็มีลูกปลามากเช่นเดียวกัน เพระโลมาจะกินสัตว์เล็ก เขาก็ได้บอกอีกว่าการทำอูยัมจะได้อยู่ใกล้บ้าน จะได้ไม่ต้องออกจากบ้านไปไกลๆ เหมือนแต่ก่อนเพราะบ้านสวนกง อำเภอ จะนะ บ้านของเขาเป็นทะเลที่อุดมสมบูรณ์

ชาวบ้านได้บอกเทคนิคที่จะทำอูยัม คือ การดูสถานที่ที่เหมาะสม หลังจากนั้นก็ทิ้งไม้ไผ่ลงน้ำแล้วเอาเชือกผูกลูกหินกับไม้ไผ่แล้วก็ทิ้งลูกหินลงไปในน้ำ ส่วนแบบทามะพร้าว คือ เอากะลาผูกกับทางมะพร้าวและทิ้งกะลาลงไปในน้ำและหลังจากนั้นทรายจะดูดตามธรรมชาติของมันเอง และนอกจากนี้ยังเป็นงานที่สะดวก คือ ตั้งอูยัมเวลาใดก็ได้ เก็บเวลาใดก็ได้ เป็นอาชีพที่อิสระ การจับจุดเพื่อความจำเราต้องอาศัยทุ่นสีแดงขนาดใหญ่ลอยอยู่เหนือผิวน้ำ ระยะ เวลาในการใช้ประโยชน์ คือ ตั้งวันนี้จะได้พรุ่งนี้ อายุการใช้งานของอูยัมคือ ปี/ปี มีรายได้เฉลี่ยวันละ 3,000 บาท อูยัมจะตั้งได้เฉพาะทุกที่ที่มีทะเลที่อุดมสมบูรณ์

การทำปลาเส้น

ทะเลจะนะอุดมสมบูรณ์ไปด้วยสัตว์น้ำมากมายนาๆ ชนิด มีทั้งปลาเล็กและปลาใหญ่ แต่มีปลาชนิดหนึ่งที่เป็นตัวเล็ก เหมาะแก่การทำปลาเส้นแดดเดียว การทำปลาเส้นมีมากมายหลายชนิด เช่น ปลาเส้นแบบผสมง่า แบบเค็ม ซึ่งเป็นการต่อยอดในการทำปลาเค็มแบบธรรมดาทั่วไป คือ การนำมาแปรรูป ปลาที่มีรสนิยมส่วนใหญ่ คือ ปลาม้าว ปลาบาง ปลาโคก ปลาส่วนใหญ่ที่เอามาทำปลาเส้นเอามาจากทะเลบ้านสวนกง อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ปลาเส้นสามารถทำได้ทุกฤดู ได้ตลอดปี ยกเว้นฤดูฝนเพราะการที่จะทำปลาเส้นต้องแห้งมาก ดังนั้นจึงต้องอาศัยแดดมากที่จะตากให้แห้ง ปลาที่ซื้อมาลงทุนไป กิโลกรัมละ 10-15บาท แต่หากทำสำเร็จรูปแล้วกิโลกรัมละ 300 บาท ราคาแตกต่างกันสิ้นเชิง

ทะเลจะนะเปรียบเสมือนตู้ ATM หน้าบ้าน สามารถเบิกถอนได้เมื่อไหร่ก็ได้ล่ะ ไม่มีวันหมด และทะเลก็ไม่เคยทอดทิ้งคนในชุมชน

การทำปลาเส้นทำได้ด้วยการนำปลามาขอดเกล็ดแล้วผ่าเอาไส้ออก เอาไปล้างน้ำ 2 ครั้ง หลังจากนั้นก็แช่น้ำเกลือประมาณ 10 นาที แล้วล้างออกด้วยการใส่ตะกร้าแล้วราดน้ำผ่าน หลังจากนั้นก็นำไปตากให้แห้งภายในแดดเดียว

วิธีการทำปลาเส้นทำเหมือนทำปลาเค็มทุกขั้นตอน จะแตกต่างกันตรงที่เมื่อปลาแห้งสนิท เอาตัดเป็นเส้นๆ คล้ายๆ ปลาฟิชโช ซึ่งก่อนที่จะทำปลาเส้นต้องเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อม นั่นก็คือ มีด เขียง ถาด กะละมัง น้ำสะอาดและเกลือ

การทำปลาเส้นไม่เป็นเพียงแค่การทำปลาเส้น แต่เป็นการสร้างรายได้ในการเดินทางไปปกป้องทะเลอ่าวไทย-อันดามัน จากโครงการแลนบริจด์สงขลา-สตูล หรือเป็นการเอากำไรไปปรับปรุงหรือทำกิจกรรมต่างๆในการเรียนรู้เรื่องหาดทรายและทะเลนอกจากนี้ยังนำเอาไปจ่ายค่าอาหารในการประชุมแต่ละครั้งของกลุ่ม

เรือเกยหาด: การแข่งขันเรือเกยที่แรกของประเทศไทยและว่าน่าจะมีที่นี่ที่เดียว

ถ้าพูดถึงบ้านสวนกงอำเภอจะนะ ต้องนึกถึงสิ่งนี้เป็นสิ่งแรก คือ หาดทรายบ้านสวนกงที่เป็นทรายที่ละเอียดและงดงาม หาดทรายเป็นแนวกันชนตามธรรมชาติ และเป็นพื้นที่แห่งความสุข พื้นที่ชีวิตของคนในชุมชน เช่น การจอดเรือ เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจ และยังเป็นที่แข่งขันกีฬาเรือเกยหาด เป็นต้น

คุณกอดีรี ชายเห หรือ บังกอดีรี หนึ่งในกรรมการแข่งเรือเกยหาด ได้เล่าว่าที่จัดการแข่งขันกีฬาชนิดนี้ก็เพื่อให้คนอื่นได้เห็นถึงหาดททรายที่อุดมสมบูรณ์และแสดงให้เห็นว่าบ้านสวนกงยังมีหาดทรายอยู่ ซึ่งบางพื้นที่ในภาคใต้ก็ไม่มีหาดทรายที่สวยงาม เนื่องจากโดนเอาโครงสร้างแข็งต่างๆ มาวาง เช่น การวางกระสอบหน้าหาดทำให้หาดถูกทำลาย ในที่สุดหาดก็พัง ก

การแข่งขันเรือเกยนับว่าเป็นที่นี่ที่แรกของประเทศไทย และคิดว่าน่าจะมีที่นี่ที่เดียว การแข่งขันกีฬาชนิดนี้เป็นการแข่งขันกีฬาที่แฝงไปด้วยความสนุกและแสดงให้คนที่มาดูเห็นคุณค่าของหาดทรายอีกด้วย จัดขึ้นครั้งแรกเมื่องานอะโบ๊ยหม๊ะครั้งที่3 พ.ศ. 2558 ที่สำคัญคือ เมื่อจะตัดสินแพ้/ชนะ ต้องดูเรือลำที่อยู่สูง ไม่ได้วัดกันที่ความเร็ว คือ เรือที่วิ่งเร็วกว่าไม่สำคัญ แต่ที่สำคัญนั้นเรือจะต้องขึ้งมาอยู่บนหาดสูงกว่าก็ถือว่าเรือลำนั้นชนะไป

การแข่งขันมีอยู่สามประเภท คือ เป็นเรือความยาว 7 เมตร มี่กระดูกงู เรือความยาว 7 เมตรไม่มีกระดูกงูและเรือ 6 เมตร แต่ละประเภทนั้นจะมีกฏิกาที่เหมือนกัน ระยะทางก็เหมือนกัน โดยมีระยะทางประมาณ 400 เมตร เวลาแข่งจะแยกประเภทแต่ละประเภท จะมีรอบชิงเพียงรอบเดียวเท่านั้น แต่ละครั้งก็จะมีรางวัลแต่รางวัลจะไม่เหมือนกัน หากแพ้ก็จะมีรางวัลชมเชยให้ คือ คนที่มาแข่งกีฬาชนิดนี้จะไม่มีคนใดกลับไปมือเปล่า จะมีรางวัลให้ทุกลำ แต่ต้องตามลำดับ

คนเดินเต่า

การเดินเต่าเป็นภูมิปัญญาของชุมชนสมัยก่อน ซึ่งปัจจุบันนี้ภูมิปัญญานี้จะหายไปจากชุมชนแล้ว เพราะไม่มีคนสืบต่อภูมิปัญญา หาดทรายไม่มีเต่ามาวางไข่ และการเดินเต่าเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมาย เมื่อก่อนมีคนชำนาญเดินเต่า ชื่อว่านายดีน และแระ แต่ตอนนี้ก็ได้เสียชีวิตแล้ว

เล่ากันว่า สมัยก่อน การเดินเต่าต้องดูดินฟ้าอากาศ คืนที่น้ำขึ้นและมีเสียงฟ้าร้องฟ้าแลบเขาจะคาดเดาว่าจะมีเต่าขึ้นมาไข่ เหตุผลที่ต้องดูจากตรงนี้ ก็เพราะเวลาน้ำขึ้น น้ำจะลบรอยเต่าที่เดินมาไข่ไว้ได้ การเดินเต่าแต่ก่อนจะต้องคอยเฝ้าว่าเต่าจะขึ้นต้องไหน

แต่หากเต่ารู้ตัวก่อนเต่ามันก็จะไม่ขึ้น หรือบางคนอาจจะไปพบรอย คือ มันมีหลายวิธีแล้วแต่ภูมิปัญญาของใคร แต่พอพบรอยแล้ว กว่าจะไปถึงรังก็ต้องใช้เวลามาก เพราะเต่ามันมีความฉลาดมาก

คือ เต่ามันจะทำรอยหลอกไว้ ที่จริงมันไข่อีกที่หนึ่งแต่มันจะทำรอยอีกทีหนึ่ง ความลึกรังก็ประมาณหนึ่งเมตร ซึ่งเป็นการยากที่จะขุด ต้องอาศัยภูมิปัญญาจริงๆ ที่จะหาพบ แต่ละรังจะต้องมีไข่ 120-130 ลูก คนแต่ก่อนเขาจะเก็บไข่มาไม่หมด คือ ใน 100 ลูก เขาจะเอาไว้สัก 20 ลูก

เต่าจะมีสองชนิด คือ เต่าบก กับ เต่าทะเล รอยเท้าเต่าทะเลจะใหญ่ แบน คล้ายพายหรือคล้ายๆ กับรอยเท้าที่เราบิดไม้พาย แต่รอยเท้าเต่าบกจะเป็นนิ้ว เราจะรู้ว่าเต่าทะเลจะขึ้นบก ก็ด้วยวิธีการเดินเต่า คือ การเอาไม้มาตำๆ ดู หากเป็นที่วางไข่ของเต่า เมื่อทิ่มไม้ลงไปก็จะพบไข่เต่า เต่าที่มาวางไข่บนชายหาด คือ เต่าตะนุ เต่าจะขึ้นมาวางไข่ในช่วงเดือนมีนาคม-มิถุนายน เต่าจะวางไข่ปีละครั้ง 70-80 ลูก ซึ่งที่วางไข่ของเต่าจะอยู่ห่างจากชายหาดประมาณ 5-7 เมตร เต่าจะวางไข่ปีละครั้ง จะมีรอยให้เห็น เต่าจะเดินขึ้นมาจากทะเลมาวางไข่บนชายหาด แล้วจะกลบหลุมยัดทรายให้แน่น และบางตัวจะทำรอยหลอกไว้จนดูได้ยาก

หากไม่มีความชำนาญในด้านนี้จริงๆ จะหาไม่เจอ หลังจากที่เต่าวางไข่เสร็จ เต่าก็จะลงสู่ทะเล หลังจากนั้น 1 เดือน เต่าจะฟักออกมาเป็นตัว และเดินเรียงแถวกันลงสู่ทะเลต่อไป

สมัยก่อนที่ริมชายหาดบ้านสวนกง คนนิยมหาไข่เต่ากันเยอะมากจนเรียกได้ว่าเดินไหล่ชนกันเลยทีเดียว เต่าจะมีลักษณะพิเศษอย่างหนึ่ง คือ จะวางไข่ในที่ประจำ ปีนี้วางไข่ไว้ที่ไหน ปีต่อไปก็จะกลับมาวางไข่ไว้ที่เดิมอีก โดยวัน/เดือน/ปี ที่เต่าวางไข่ก็จะใกล้เคียงกันมาก หากมีการคลาดเคลื่อนก็จะไม่เกิน 3 วัน ปัจจุบันนี้หาได้ยากขึ้นเนื่องจากรอยบนชายหาดมีหลายรอย ทำให้สังเกตได้ยากว่าอันไหนเป็นรอยเต่า อันไหนเป็นรอยจากมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นรอยเรือ รอยเดิน รอยเส้น รอยต่างๆ มีหลากหลายต่อหลายรอย จึงทำให้ไม่มีใครสืบทอด’การเดินเต่า จึงทำให้คนในปัจจุบันไม่-รู้จักวิธีการเดินเต่าที่ถูกต้อง

การดักปลากระบอก

การดักปลากระบอกเป็นภูมิปัญญาหนึ่งที่ควบคู่ไปกับการทอดแห เป็นงานที่สะดวกสบาย เป็นงานอิสระ และอีกอย่าง ยังเป็นงานสำรองอีกต่างหาก ตื่นมาตอนเช้ามืดมาทอดแหและมาเอาปลาตอนเช้า เป็นงานที่สะดวกสบาย พอดักเสร็จก็นอนต่อ

คนในการดักปลากระบอกใช้คนดักเพียงคนเดียว โดยจะเลือกดักตรงที่หน้าหาดตื่นๆ เพราะปลาส่วนใหญ่จะเล่นหาด ปลาจะคล้ายๆ กับเด็ก คือ ชอบสิ่งไหนก็เล่นสิ่งนั้น ซึ่งคนที่ไม่รู้จริงจะทำไม่ได้ การดักปลากระบอกไม่เพียงแต่ได้ปลากะบอก แต่ระหว่างตั้งดักปลากระบอก จะติดปลาอื่นๆ มาด้วย เช่น แม่หลุมพรุก ปลาซา นอกจากนี้ยังติด ปู หมึก กุ้ง มาด้วย แต่จะติดมาไม่มากนัก ส่วนใหญ่จะเป็นปลากระบอก ช่วงที่นิยมดักปลากระบอก คือ เดือนมิถุนายน-พฤศจิกายน รายได้แต่ละวันอย่างน้อยได้ถึง 500-1,000 บาท

วิธีการปัก คือ เอาไม้หลักปักลงให้เป็นแถวจากหาดลงไปในทะเลให้เป็นแนว หลังจากนั้นก็ผึ่งอวนแล้วก็เอาเชือกผูกแขวนไปตามไม้ ไม้หลักที่ใช้ปักต้องมี 12 ด้าม/อวน 1 หัว ซึ่งอวนแต่ละหัวมีความยาวประมาณ 60 เมตร การใช้ปักต้องใช้ไม้ที่มีขนาดเท่าข้อมือประมาณ12ด้าม

นายเส็น หมัดเหล็ม หรือบังเส็น ได้บอกถึงอาชีพอย่างภาคภูมิใจว่า “นี้เป็นเพียงอาชีพสำรองที่ทำควบคู่ไปกับการทอดแห่ เป็นที่ไม่เกิน1

เจ้าทะเล

บ่าว ระหมันยะ หรือ บังเหตุ ชาวประมงในชุมชนและชาวบ้านสวนกง ยกฉายา ‘เจ้าทะเล’ ให้เขา เพราะ บังเหตุมีความรู้ ประสบการณ์ และเชี่ยวชาญเกี่ยวกับทะเลและการหาปลาบังเหตุสามารถสังเกตการเปลี่ยนแปลงทางธรรมชาติและรู้ว่าจะเกิดภัยทางธรรมชาติขึ้น วิธีการสังเกต สามารถดูได้หลายทาง ได้แก่ปูลม

ปกติปูลมจะอยู่ที่บริเวณชายหาด แต่หากว่าจะเกิดคลื่นใหญ่ ปูลมจะหนีขึ้นมาอยู่แถวชายคาบ้านหรือหากเอาเท้าย่ำลงไปบนทราย ทรายจะทรุดตัวลงอย่างไร้สาเหตุ และหากเริ่มมืดฟ้าครึ้มขึ้นมา นั่นแปลว่าไม่ควรออกเรือ ควรกลับฝั่งโดยเร็ว เมื่อออกทะเลไปแล้วมันจะมีสัญชาติญาณ มีคลื่นเดิ่ง หมายความว่ามีคลื่นที่สูง เมื่อก่อนออกทะเลไปกลางคืนมืดไม่มีไฟ ไม่มีเครื่องมือใดๆ เขาจะดูจากดาวเหนือ แต่เหตุการณ์นี้ ณ บ้านสวนกงไม่มีการหลงเพราะออกทะเลไปไม่ไกล ส่วนมากเมื่อมีฟ้าลั่นฟ้าแลบ ควรระวังจะมีพายุเข้า บังเหตุเคยนอนริมชายหาด เพราะ หนึ่ง-บังเหตุจะสามารถสังเกตธรรมชาติได้ง่ายขึ้น สอง-เนื่องจากปล่อยเรืออยู่ในน้ำทอดสมอ สาม-เวลาปวดเมื่อยขา ขุดดินฝั่งขาให้จมอีกประมาณหนึ่งชั่วโมง เอาเท้าขึ้นมาจะรู้สึกสบายขึ้น

วิธีการหาปลา ต้องรู้ดินปลา สมมุติว่าหาปลาอินทรีย์ เพราะปลาใหญ่ส่วนมากจะอยู่เป็นที่ๆ ปีนี้อยู่ตรงนี้ ปีหน้าก็อยู่ตรงนี้ นี่เป็นสาเหตุที่ชาวบ้านห่วงหนักห่วงหนา เพราะทะเลแหล่งนี้เป็นที่ปลาอยู่อาศัย ก่อนจะหาปลาต้องดูน้ำดูลม วิธีที่ดีที่สุดคือการดูค่ำ 2 ค่ำและยังมีวิธีการเกี่ยวเบ็ด ใช้วิธีปกติแต่ต้องดูว่าปลากินเหยื่ออะไร เช่น ปลาอินทรีย์ใช้เหยื่อปลาหลังเขียว เพราะสีของมันทำให้ปลาอินทรีย์เห็นได้ชัด บังเหตุได้ลองใช้ปลาอื่นแล้วแต่อินทรีย์ไม่กินเหยื่อ บังเหตุบอกว่าเบ็ดสามารถทำเองได้ เราถามต่อว่าสามารถทำได้ทุกคนไหม? บังเหตุบอกว่าไม่สามารถทำได้ คนที่ทำได้มีไม่กี่คน เนื่องจากการทำเบ็ดอันตราย สาเหตุที่บังเหตุชอบวิธีนี้ ก็เพราะเป็นวิธีที่ทำกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ

บังเหตุได้กล่าวทิ้งท้ายอย่างภาคภูมิใจว่า ภูมิปัญญาดังกล่าวนี้ไม่ใช่ทำได้กันทุกคน แต่ต้องใช้ใจรักเป็นอันดับหนึ่ง จึงจะทำได้

เดินหาหอยเสียบ

หาดทรายบ้านสวนกง ต.นาทับ อ.จะ นะ จ.สงขลา ซึ่งมีอยู่เพียงไม่กี่ผืนในประเทศไทย อีกทั้งเป็นทั้งที่อยู่อาศัยของสัตว์น้ำเล็กๆ หนึ่งในสัตว์น้ำที่พบริมหาดทราย คือ หอยเสียบ

นิห๊ะ คนหาหอยเสียบริมทะเล บ้านสวนกง บอกเล่าว่า การหาหอยเสียบเป็นภูมิปัญญาหนึ่งของคนสวนกง อีกทั้งยังเป็นอาชีพของเขาเลยก็ว่าได้ การหาหอยเสียบนี้จะหาได้ในที่ที่มีหาดอยู่เท่านั้น การหาหอยเสียบสามารถหาได้ตลอดทั้งปี แต่หากเป็นช่วงฤดูมรสุมจะหาค่อนข้างได้น้อย เนื่องจากคลื่นจะสัดขึ้นมาสู่ฝั่ง จึงทำให้ไม่เห็นรูหอย การหาหอยสามารถหาได้หลากหลายวิธี เช่น บ้านสวนกง จะหาด้วยวิธีการเดินรู ซึ่งช่วงที่หอยเสียบจะหาได้ในเวลาช่วงสายๆจนไปถึงช่วงบ่าย 4 ช่วงนี้จะเป็นช่วงที่หอยเปิดรู แต่ถ้าเกินช่วงเวลานั้นแล้วหอยอาจจะปิดรูได้เนื่องจากน้ำอาจจะซัดขึ้นมาสู่ฝั่งได้ รูหอยจะปิดและจมไปกับน้ำได้ การเดินดูรูหอยก้มดูครั้งหนึ่งอาจเห็นได้หลายรู ถ้าจับรูหอยได้หลายรูหรือได้ไม่มากขึ้นอยู่กับความชำนาญของเจ้าของภูมิปัญญา กว่าน้ำจะซัดขึ้นสู่ฝั่ง

ระยะเวลาที่ใช้ในการหาหอย ใช้เวลาประมาณ 3-4 ชั่วโมง เก็บหอยได้ถึงกว่า 4-5กิโลกรัม แล้วนำไปขายกิโลกรัมละ 100 บาท ในแต่ละวันได้ถึง 300 ถึง 500 ต่อวัน หรือหากไม่นำไปขาย ก็เอามาแช่เกลือใส่กระปุก แช่เกลือประมาณ 2-3วัน ก็สุกแล้ว แต่จะมีรสชาติเค็มหน่อยๆ จากนั้นก็สามารถนำไปรับประทานกับข้าวได้ ดังที่กล่าวมานี้เป็นการแปรรูปเพื่อไม่ให้เสียของเช่นกัน

ภูมิปัญญาเรื่องการทำปลาอินทรีย์เค็ม

การทำปลาอินทรีย์เค็มฝั่งดินเป็นภูมิปัญญาของหมู่บ้านสวนกงที่ไม่เหมือนที่อื่นทำกัน การเอาปลามาทำเค็มเป็นการแปรรูปเพื่อไม่ให้ปลาเสียของ คือ การคัดเลือกปลาที่ใช้ไม่ได้แล้วเอามาทำเค็มเพื่อไม่ให้สูญเปล่า หากทิ้งไปก็จะไม่ได้เงินสักบาท แต่ถ้าเอามาทำเค็มได้แล้ว หนึ่งตัว 5 กิโลกรัม ได้ถึง 1,500บาท เมื่อนำไปขาย ขายชิ้นละ 20 บาท เพราะสมัยก่อนไม่มีการชั่งกิโลขาย

การทำปลาอินทรีย์เค็มฝังดินจะได้รสชาติหอมถูกหลักอาณามัย แมลงวันจะไม่ตอมเพราะเราฝังทรายไว้แล้ว ปลาอินทรีย์ที่พองจะมีน้ำหนัก 6-7 กิโลกรัม หากเอามาทำเค็มจะมีน้ำหนัก 2-3 กิโลกรัมต่อปลาอินทรีย์หนึ่งตัว การทำปลาเค็ม หากใช้วิธีการแบบแควน จะทำให้หนีไม่พ้นแมลงวัน และจะต้องใช้ยาหนอน การฝังดินนับว่าเป็นวิธีที่ง่ายที่สุด โดยจะใช้เกลือแช่อย่างเดียว

การทำปลาเค็มจะต้องทำปลาอินทรีย์ให้พองก่อน หลังจากนั้นก็ดึงไส้ปลาดึงพุ่งปลาออกให้หมด แล้วนำเกลือใส่ในท้องปลาให้เต็ม แล้วปูกระดาษหนังสือพิมพ์ตั้งและเอาเกลือทับอีกครั้ง เสร็จแล้วก็ห่อให้เป็นชิ้นๆ และหลังจากนั้นก็เอากระสอบมา ไม่ว่าจะเป็นกระสอบไหนก็ได้หมดสอบอะไรก็ได้ แล้วนำมาล้างน้ำให้สะอาด นำไปห่อตัวปลาให้เป็นชิ้น โดยการเอาเชือกมามัดทั้งหัวและท้าย นำไปฝั่งดิน ใช้เวลาประมาณหนึ่งเดือน พอครบหนึ่งเดือนแล้วก็เอามารับประทานได้เลย โดยการนำไปผัดกับผักคะน้าเอาไปคุกกับข้าวนอกจากนี้ยังนำไปทอด ปรุงกับหอมแดง พริก และเมื่อทอดเสร็จก็นำมะนาวบีบใส่ตัวปลา

บ่อน้ำจืด ริมทะเล

การขุดบ่อน้ำจืด มีมาเนิ่นนานสืบต่อมารุ่นสู่รุ่นและมีในบางพื้นที่ในตอนนี้ที่มีน้ำจืดกว่าจะมีการขุดบ่อน้ำจืดมันมีเหตุผลที่ทำให้ขุด คือ เมื่อก่อนชาวบ้านไม่มีน้ำ น้ำแห้งแล้งจึงลองขุดดูที่ชายหาดและย้อนไปเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ชาวบ้านประสบกับปัญหา ไม่มีปลาเล็ก ไม่มีปลาใหญ่ เนื่องจากเรือประมงพาณิชย์เข้ามารุกล้ำพื้นที่และนี้จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ชาวประมงทำอาชีพหน้าบ้านของตนเองไม่ได้ จึงออกไปหากินที่บ้านเพื่อน จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้ชาวประมงคิดว่าหากกลับบ้านไปจะได้ไม่คุ้มเสีย จึงอยู่ต่อจนเกิดการขุดบ่อน้ำจืดขึ้นมา น้ำจืดที่ได้มานั้น สามารถนำมากิน นำมาหุงข้าว นำมาใช้ได้ทุกอย่าง โดยไม่ต้องผ่านการต้ม เพราะว่าบ่อน้ำที่จุดลงไปมันจะมีกรวดทรายทำหน้าที่กรองน้ำให้สะอาด

การขุดบ่อน้ำจืดจะขุดหน้าหาด ต้องขุดห่างจากบ่อหน้าทะเล ไม่เกิน 2 เมตร หากจะขุดน้ำให้ลึกจะต้องดูน้ำหากน้ำทะเลขึ้นสูงขุดไม่เกิน 1 เมตร มองง่ายๆ หาดจะสั้น เวลาน้ำทะเลลงต้องขุดลึกไม่เกิน 1.5 เมตร ขุดได้ตลอดทั้งปี ยกเว้นช่วงมรสุม

ปัจจุบันนี้มีหาดทรายเหลืออยู่เพียงไม่กี่ผืนในประเทศ จึงเกิดแรงบันดาลใจให้เก็บหาดทรายผืนนี้

ไซปลา

บ้านสวนกงมีความอุดมสมบูรณ์มีปลามากมายหลายชนิด ชาวประมงจึงได้คิดวิธีการหาปลาด้วยการทำไซปลาเพื่อให้สะดวกแก่การหาปลา น้อยคนในหมู่บ้านสวนกงแห่งนี้ที่จะทำได้เพราะเป็นความสามารถเฉพาะตัว

การทำไซปลาคือเริ่มแรกจากการตั้งในทะเล และจะได้ปลามามากมายหลายชนิด เช่น ปลาอังจ้อ ปลาดอกไม้ ปลาการ์ตูน ปลาโฉมงาม และปลาอื่นๆ อีกมากมาย เทคนิคในการตั้งไซปลาของแต่ละคนก็จะเหมือนกัน วิธีการตั้งก็จะตั้งข้างๆ ปะการังเพื่อที่จะได้ปลาเยอะๆ ช่วงมรสุมก็จะตั้งได้แต่จะต้องถ่วงกับแกลลอนที่ใส่ทรายการตั้งไซปลา ไซปลาจะตั้งได้ตลอดทั้งปี แต่ช่วงคลื่นสงบก็จะได้ปลามาเยอะกว่าช่วงมรสุม ก่อนถึงช่วงมรสุมเขาก็จะดูคลื่นและลม ช่วงมรสุมคลื่นก็จะใหญ่กว่าปกติและลมจะแรงกล่าวปกติ วิธีการตั้งไซปลาเขาก็จะโยนลงไปในน้ำทะเลการตั้งไซปลาจะตั้งได้ 1-2 วัน เวลาตั้งไซปลาควรตั้งคนเดียวเพราะจะได้สะดวกและคล่องแคล่วในการตั้งไซปลา

การทำปลาเค็มตากแห้ง

การทำปลาเค็มตากแห้ง คือ การนำเอาปลามาแปรรูปเพื่อไม่ให้เสียของปลาที่ได้มาจากทะเลปลาใหญ่แม่ค้าจะนำไปขายสะส่วนใหญ่ ส่วนปลาเล็กจะนำมาทำปลาเค็มและเอาไปตากแห้ง โดยส่วนใหญ่การทำปลาเค็มจะทำได้ 2 วิธี คือ การทำปลาเค็มในช่วงฤดูปกติจะทำได้โดยวิธีและขั้นตอน เช่น เตรียมปลา ขั้นตอนแรกของการทำปลาเค็ม

ต้องผ่าปลาหากจะทำให้เป็นแบบแผ่นหรือตัดหัวหากจะทำให้เป็นปลากลม เมื่อทำปลาเสร็จล้างให้สะอาดและนำไปแช่เกลือประมาณ10-15 นาที แล้วแต่เทคนิคของแต่ละคน พอแช่เกลือเสร็จล้างอีกสามน้ำให้สะอาดแล้วนำไปตากแดดให้แห้งนอกจากนี้ทำปลาเค็มตากแห้งยังทำได้ในช่วงฤดูมรสุมจะทำได้โดยวิธีการนำไปอบที่โรงอบการอบมี 2 แบบ

แบบแรก-จะอบแบบคนจน คือ อบใช้แบบใช้ราน โดยใช้พัดลมพัดใช้งบประมาณไม่มากจะทำให้ปลาเหม็นควันไฟ และแบบที่สอง-การอบแบบคนรวย คือ อบโดยการใช้เตาแก๊สซึ่งจะมีงบประมาณค่อนข้างเยอะ แต่กำไรที่ได้จากการทำปลาเค็มจะได้เยอะกว่า สรุปง่ายๆ ถือว่าคุ้มทุน

ปลาจวดที่ยังไม่นำมาแปลรูปจะกิโลละ 10 บาท แต่หากปลาที่แปลรูปเสร็จแล้ว จะขายกิโลกรัมละ 100-300 บาท เนื่องจากปลาที่ผ่านการตากแห้งแล้ว ปลามันจะเบา

การสะเดาะเคราะห์หน้าบ้าน

เป็นความเชื่อของคนสมัยก่อนที่เมื่อมีคนเจ็บไข้ได้ป่วยหรือไม่สบาย จะทำพิธีการ ‘สะเดาะเคราะห์’ คือ นำเล็บหรือเส้นผมใส่ไว้ในแพ แล้วปล่อยแพออกไปกับเกลียวคลื่นและสายลม เหลือไว้แต่เพียงสิ่งดีๆ

อุปกรณ์สำหรับทำพิธีจะมี 1.แพ 2.อาหาร 3.ขนมหวาน 4.ข้าวเหนียว ส่วนบริเวณประกอบพิธีจะอยู่ที่ริมชายหาด เป็นสถานที่รวมตัวของคนทั้งหมู่บ้าน เหตุผลที่ทำการสะเดาะเคราะห์ เพื่อเป็นการปล่อยทุกข์ แต่ปัจจุบันที่ไม่ค่อยมีคนทำพิธีดังกล่าว เพราะยุคสมัยที่เปลี่ยนไป คนอิสลามยุคใหม่ไม่ค่อยเชื่อพิธีสะเดาะเคราะห์หน้าบ้าน

ผู้เขียน : กลุ่มเด็กรักหาดสวนกง บ้านสวนกง ตำบลนาทับ อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา โครงการศึกษาภูมิปัญญาที่เกี่ยวข้องกับชายหาดและทะเลบ้านสวนกง ภายใต้โครงการพลังพลเมืองเยาวชนสงขลา โดยสงขลาฟอรั่ม

ด.ญ.สุไลมี ระหมันยะ (มาร์มี่)
ด.ญ.ณัฐกฤตา หมัดเหล่ม (นี)
ด.ญ.พัชริดา หมัดเจริญ (ซินดี้)
นางสาวไครียะห์ ระหมันยะ (ย๊ะห์)
เด็กชายพายฟัด หมัดเจริญ (ซิดดิ๊ก) 
อ่านบทความต้นฉบับที่นี่