เทคนิคการโคชเยาวชนทำโครงการเพื่อชุมชน PBL :
เทคนิคที่ใช้ประจำเวลาโคชเยาวชนจะใช้เทคนิคแตกต่างกันไปเนื่องจากเด็กมีความหลากหลายในกรณีเด็กที่ไม่ค่อยพูดเวลาเราตั้งคำถามเกี่ยวกับโครงการเราจะใช้วิธีการชวนน้องคุยเรื่องงานที่เคยทำมางานเกี่ยวกับเด็กอื่นๆที่เราเคยทำมายกตัวอย่างให้เขาได้เห็นภาพคุยเรื่องส่วนตัวบางเรื่องให้เขาได้รู้เพื่อสร้างความไว้วางใจในการกล้าที่จะเปิดใจกับเราการใช้คำถามจะใช้คำถามแบบง่ายๆตรงๆเข้าใจง่าย เช่น
1.ทำไมเราถึงอยากทำเรื่องนี้
2.เรื่องที่เราทำมันเกี่ยวอะไรกับตัวเราหรือหมู่บ้านเรา
3.แล้วถ้าเราไม่ทำบ้านเราจะเป็นยังไง
4.ถ้าเราทำแล้วหมู่บ้านเราจะเป็นยังไง
5.ถ้าเราทำเรื่องนี้เราต้องเก็บข้อมูลอะไรบ้าง
ถ้าเป็นคำถามระหว่างทางส่วนใหญ่จะถามน้องว่า
1.เป็นยังไงบ้าง
2.เราทำอะไรกันบ้างแล้ว
3.ยังเหลืออะไร มันยากไหม
4.เราได้เรียนรู้อะไรบ้างจากงานที่เราทำวันนี้ / ครั้งนี้
5.อย่าลืมดูวัตถุประสงค์โครงการและเป้าหมายของโครงการ ทวนน้องเป็นระยะเพื่อไม่ให้น้องหลงทาง การทำงานกับเยาวชนเราไม่ได้ทำแค่กับเด็กเราต้องเข้าถึงตัวผู้ปกครองของเด็กแนะนำตัวเองที่มาของเราเพื่อสร้างความไว้วางใจให้กับผู้ปกครองของเด็ก การวางตัวกับน้องตามสถานการณ์ มีทั้งดุ ช่วยเหลือ ที่ปรึกษา
ข้อค้นพบที่ผ่านมาเด็กบางโครงการรู้ข้อมูลชุมชนแต่เวลานำเสนอข้อมูลชุมชนกลับนำเสนอไม่ได้เลยทดลองเอาเครื่องมือบางเครื่องมือ เช่น แผนผังทรัพยากรชุมชน แผนผังภายในชุมชน ปฏิทินวัฒนธรรม มาใช้ให้น้องๆลงพื้นที่เก็บข้อมูลมาแล้วนำมาลงในแผนที่แผนผังและแผนที่สามารถทำให้น้องได้สำรวจชุมชนรู้จักชุมชนตนเองมากขึ้น และเด็กสามารถเล่านำเสนอข้อมูลชุมชนผ่านเครื่องมือได้ดี การนำเครื่องมือมาใช้จะเห็นความร่วมมือของทีม
ข้อค้นพบอีกข้อคือการทำงานกับเด็กและเยาวชนเราต้องทำความเข้าใจพื้นหลังของเด็กแต่ละคนและต้องรู้จักกับครอบครัวของเด็กเข้าถึงผู้ปกครอง ชุมชน พื้นที่ที่เด็กทำโครงการสร้างความไว้วางใจกับเด็กผู้ปกครองและชุมชนที่น้องอยู่ เป็นพี่เลี้ยงน้องได้เป็นได้ทั้งพี่เป็นได้ทั้งเพื่อน