ณัฐนรี สมบุญโสด : บทสัมภาษณ์เยาวชนเด่น โครงการคีตะมวยไทยคนหนองไซหัวใจสามช่า

โครงการคีตะมวยไทยคนหนองไซหัวใจสามช่า

ชื่อ-นามสกุล : นางสาว ณัฐนรี สมบุญโสด  (อายุ 17 ปี )

ชื่อเล่น : ป๊อบ

โรงเรียนสวนบุญโญอุปถัมภ์ ลำพูน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5


ถาม : ถ้าไม่ทำโครงการนี้ปกติใช้ชีวิตแบบไหน เป็นคนนิสัยอย่างไร

ตอบ : เมื่อก่อนเป็นคนไม่ค่อยเข้าหาคนอื่น คุยไม่เก่ง สื่อสารไม่ค่อยรู้เรื่อง ถ้าให้เข้าหาจะไม่เข้าหา แต่จะรอให้เขาเข้าหาเราก่อน

­

ถาม : ปกติเรามีความสามารถ หรือว่าชื่นชอบอะไรเป็นพิเศษ

ตอบ : ปกติไม่ค่อยชอบอะไรที่ตายตัว เป็นนักกีฬาวอลเลย์บอลของโรงเรียน เคยไปแข่งที่สุโขทัยมาก่อน แต่ว่าไม่ได้รางวัลเพราะตอนนั้นไปเป็นอาทิตย์แล้ว ครูบอกว่าเรามาเอาประสบการณ์เฉยๆ วันนั้นเลยโดนฟิกซ์ว่าให้แพ้เพื่อที่เราจะได้กลับไปเรียน เพราะว่าถ้าเราชนะเราจะได้ไปแข่งต่อ เราก็ต้องหยุดเรียนไปเรื่อย ๆ เรามาขนาดนี้แล้วเราก็ทำได้ดีแล้ว ครูก็ให้กำลังใจว่าเรามาเก็บประสบการณ์

­

ถาม : ที่เราเป็นนักวอลเลย์บอลคือเราเต็มใจไปสมัครเองหรือว่าครูเป็นคนชวน

ตอบ : ตอนแรกเพื่อนๆ พาเข้าเพราะว่าเขาไม่มีคู่ซ้อมด้วย เลยไปซ้อมด้วย แล้วก็ชอบด้วย เมื่อก่อนเป็นคนติดเพื่อนแต่ว่าตอนนี้ก็ยังไงก็ได้ อยู่คนเดียวก็ได้ อยู่กับเพื่อนก็ได้

­

ถาม : นอกจากเรื่องกีฬาแล้วเรามีความสามารถอะไรอีกไหมที่คิดว่าเราทำได้ดี

ตอบ : ไม่แน่ใจ

­

ถาม : ก่อนหน้านั้นป๊อบเคยทำงานกับชุมชนบ้างไหมหรือว่าใช้ชีวิตไปเรียนแล้วกลับมาบ้านแค่นั้น

ตอบ : ไปเรียนแล้วก็กลับมาบ้าน ไม่ได้อะไรกับชาวบ้าน หรือเรียกว่าไม่มีเลยก็ได้ค่ะ

­

ถาม : ก่อนหน้านี้หนูรู้จักใครในชุมชนบ้างไหม รู้จักชุมชนตัวเองมากน้อยแค่ไหน

ตอบ : ไม่ค่ะ คนในหมู่บ้านนี้หนูไม่รู้จักเลย นอกจากคนในซอยบ้านเดียวกับหนู แต่ถ้าซอยอื่นก็ไม่รู้จักแล้วค่ะ

­

ถาม : หมู่บ้านหนูเป็นหมู่บ้านใหญ่ไหม มีกี่หลังคาเรือน

ตอบ : ไม่ใหญ่ค่ะ แทบจะไม่มีใครรู้จัก ถ้าเรียกชื่อนี้ หมู่บ้านหนองไซ

­

ถาม : ทั้งหมู่บ้านหนองไซหนูก็รู้จักแค่ซอยเดียวใช่ไหม ก่อนหน้านี้

ตอบ : ค่ะ แล้วก็คนที่มีชื่อเสียงนิดหน่อยที่รู้จัก แต่พ่อหลวงบ้านก็รู้จักนะคะ

­

ถาม : แล้วทำไมถึงได้มารู้จักโครงการนี้ได้

ตอบ : ที่หมู่บ้านเขามีมวยไทยตั้งแต่สมัยเมื่อก่อนแล้ว หนูอยากให้ยังอยู่ เพราะเริ่มหายไปตั้งแต่ปี 2550 หมดตั้งแต่ยุคพี่ของหนูแล้ว หนูเลยอยากให้สานต่อ

­

ถาม : ใครเป็นคนมาชวนเราเข้าทำโครงการ

ตอบ : เพื่อน เขาเห็นเราว่างๆ เลยชวนกันว่าเมื่อก่อนเคยมีมวยเราไปซ้อมมวยไหมเพราะอย่างน้อยก็ได้ศิลปะป้องกันตัว

­

ถาม : แล้วตอนนั้นที่เราฟังเพื่อนเรารู้สึกอย่างไร

ตอบ : ตอนนั้นก็ไปก็ไป เพราะว่าว่างด้วย ตอนแรกสอบถามพี่เลี้ยงแล้วพี่เลี้ยงบอกว่าในช่วงระยะเวลาสองเดือน แต่ไม่คิดว่าจะยาวเท่านี้ คิดว่าประมาณห้าเดือนเพราะว่าเราทำโครงการประมาณ 3-4 เดือนเผื่อตอนเริ่มตอนอะไรด้วยก็ประมาณ 5 เดือน

­

ถาม : แล้วจริง ๆ แล้วทำประมาณกี่เดือน

ตอบ : ตั้งแต่เดือนตุลาคมปีที่แล้ว จนถึงตอนนี้ก็ยังมีอยู่

­

ถาม : แล้วมันดีไหม ที่โครงการมันทำนาน ๆ แบบนี้

ตอบ : ดีค่ะ หนูว่าดีเพราะว่าได้สนิทกับคนในโครงการอื่นที่เขาทำโครงการเหมือนกัน ให้เราได้ทำอะไรในแบบที่ เราไม่เคยทำมาก่อน ไม่เคยรู้แล้วได้ความรู้เพิ่ม

­

ถาม : อะไรบ้างที่ป๊อบบอกว่าไม่เคยได้ทำมาก่อน ยกตัวอย่างให้ฟังหน่อย เช่น

ตอบ : ทำ power point ก่อนหน้านี้เราเคยทำแต่ครั้งนี้เราได้รู้ลูกเล่นเพิ่ม อย่างหนูส่วนใหญ่ไม่ได้ทำพาวเวอร์พ้อยต์ แต่หนูจะได้ทำเรื่อง word ตอนแรกไม่รู้เลยว่าตัวหนังสือมันห่างกัน หนูก็ไม่รู้ว่าช่องว่างมันห่างกัน ทำอย่างไรให้มันเท่ากับบรรทัดอื่นหนูก็ไม่เคยรู้เลย แล้วพอมาทำพี่ ๆ เขาก็สอนหนูว่าทำแบบนี้นะ

­

ถาม : แสดงว่าเราถนัดเรื่องงานเอกสารใช่ไหมในโครงการนี้ ถ้าเป็นเรื่องที่เราถนัดที่สุดเป็นความสามารถของเราจากโครงการนี้บอกว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับเอกสารนี้ได้ไหม

ตอบ : ค่ะ ก่อนหน้านั้นทำได้แบบที่คนทั่วไปเขาทำได้ แต่เดี๋ยวนี้ก็พอจัดรูปเล่มให้ผ่าน เรียงกันดีกว่าเมื่อก่อน เพราะเมื่อก่อนหนูไม่รู้ก็ลบแล้วพิมพ์ใหม่หมดเลยแล้วไล่พิมพ์ตั้งแต่ตัวแรกยันตัวสุดท้าย ตอนนี้ก็ไม่ต้องพิมพ์ใหม่แล้วค่ะ วิธีการคือใช้วิธีการคัดลอก แต่ว่าเมื่อก่อนหนูจะเคาะบาร์ลงมาแล้วพิมพ์ใหม่หมดเลย

­

ถาม : ช่วยให้เราทำงานได้เร็วขึ้น แล้วเราเอาไปใช้ในชั้นเรียนไหม

ตอบ : ใช้ค่ะ แต่ว่าเปิดเทอมมายังไม่ได้ใช้ค่ะ

­

ถาม : ป๊อปรู้วิธีการแก้ปัญหาใหม่ ๆ พวกนี้ได้อย่างไร ที่หนูบอกว่าไม่ต้องมาพิมพ์ใหม่แล้ว

ตอบ : ตอนแรกหนูก็ทำงานแล้วหนูก็ทำงานกับพี่ ๆ สถานบันแล้วก็ทำตรงนั้นเลยเพราะว่าถ้า งง หรือว่าสงสัยก็สอบถามตรงนั้นได้เลยค่ะ แล้วมันไม่สวยหนูก็เลยถามพี่เขาว่าจะทำตรงนี้ให้มันเท่ากันอย่างไรแล้วพี่เขาบอกมา

­

ถาม : นอกจากเรื่องของการจัดทำเอกสารแล้วเราไม่เคยทำมาก่อนแล้วเรามาทำโครงการแล้วเราได้ลองทำ

ตอบ : เอกสารการเงินค่ะ ตอนแรกชิว ๆ ไปก่อน พอมารู้ทีหลังว่าต้องทำแบบนี้นะ ก็สับสน งงมาก

­

ถาม : เรางง เรื่องอะไร เรื่องของเอกสารหรือว่าเรื่องของตัวเลขที่เราต้องมาบวกลบ

ตอบ : หนูพึ่งเข้ามาปีแรกก็ไม่รู้ว่าควรไปถอนเงินวันนี้นะ ช่วงเวลานี้นะ หรือเวลาซื้อของก็ควรไปซื้อคนละวัน ไม่ใช่วันเดียวกัน ตอนแรกหนูก็ซื้อมาทีเดียวเลยมันก็ไม่ได้ จะต้องวันนี้ห้ามเกินหกร้อย ห้ามเกินที่เราวางเอาไว้

­

ถาม : แล้วเรามารู้เทคนิคเหล่านี้ได้อย่างใครเป็นคนบอกเรา

ตอบ : พี่ทางสถาบันเขาบอก

­

ถาม : จุดเริ่มต้นที่เราบอกว่าเพื่อนเราเป็นคนมาบอกให้เราไปทำโครงการ ตอนที่เพื่อนชวนไปทำโครงการมันเป็นโครงการที่สนใจอยู่แล้วไหมหรือเพื่อนเขาคิดมาก่อน หรือว่าช่วยกันคิดว่าจะทำโครงการนี้กันดี

ตอบ : อันนี้เราสนใจกันตั้งแต่เด็ก ๆ แล้วค่ะ ตั้งแต่ประถมแล้ว อยากไปซ้อม แล้วพวกหนูก็ชอบกันด้วย

­

ถาม : ทำไมเราถึงชอบ ถึงอยากไปซ้อม มันมีเสน่ห์ตรงไหนมวย

ตอบ : หนูว่ามันเป็นการออกกำลังกายอย่างหนึ่งที่เราไม่ต้องวิ่ง เราทำอย่างนั้นแล้วร่างกายก็แข็งแรง

­

ถาม : ที่หมู่บ้านเขามีชมรม หรือว่ายังไงลองเล่าให้พี่ฟังหน่อยได้ไหม

ตอบ : เมื่อก่อนตอนเขามีเป็นค่ายของเขาอยู่แล้ว แต่ยุบตัวลง เป็นค่ายที่จะขึ้นชกตามค่ายวัดไม่ได้เป็นค่ายใหญ่ อยู่ในหมู่บ้านที่เราอยู่

­

ถาม : ไกลจากบ้านเราไหม

ตอบ : ไม่ไกลมาก ไม่ถึงโลประมาณ 500-700 เมตร

­

ถาม : เป็นความต้องการของเราอยู่แล้วโครงการนี้เพราะเราเห็นมาตั้งแต่เด็ก ลึก ๆ เราอยากเข้าไปฝึกซ้อมไปเล่นอยู่แล้ว พอมีโครงการนี้เลยมาปรึกษากัน ตอนที่ปรึกษากันมีคนอื่นที่เขาอยากทำโครงการอื่นไหม หรือว่าเห็นด้วยกันหมด

ตอบ : เห็นด้วยเหมือนกันหมดว่าจะทำหมดเลยว่าอยากจะทำมวย ตอนแรกทีมเราเป็นผู้หญิงทั้งหมด

­

ถาม : เป็นผู้หญิงทั้งหมดแล้วทำไมถึงสนใจมวยกัน ทำไมไม่สนใจพวกนาฎศิลป์หรือว่าเรื่องความสวยความงาม

ตอบ : พวกหนูไม่ใช่แนวแบบนั้น หนูว่าพวกหนูเหมาะกับทางนี้มากกว่า หนูรู้สึกว่านาฎศิลป์อะไรพวกนั้นมันไม่เหมาะกับหนู

­

ถาม : ก่อนที่เราจะไปร่วมโครงการเรารู้ไหมว่าในหมู่บ้านเรามีผู้รู้เรื่องมวยกี่คน ใครบ้างหรือเรารู้แค่ว่าบ้านเรามีมวย

ตอบ : มีพี่เลี้ยง หนูคุยกับเขาตั้งแต่เด็ก ๆ แล้วว่าถ้าเปิดค่ายอีกให้บอกด้วย เพราะหนูอยากซ้อมบ้าง แล้วก็รู้ว่าเขาเป็นนักมวยมาก่อนรู้ด้วยว่าคนในหมู่บ้านคนนี้ คนนั้นเป็นนักมวย

­

ถาม : ที่หนูบอกว่าตอนเด็ก ๆ ตอนนั้นหนูอายุเท่าไหร่

ตอบ : ประมาณ 12-14 ประมาณนี้ค่ะ เมื่อประมาณ 3-4 ปีที่แล้ว

­

ถาม : แสดงว่าเราก็มีความสนใจ เพราะพอถามว่ารู้จักคนในชุมชนไหมเราก็ยังไม่ค่อยรู้เท่าไหร่แต่พอถามเกี่ยวกับมวยเราตอบได้

ตอบ : คนพูดถึงกันเวลาที่ไปตลาด เขาก็พูดกันว่าคนนั้นคนนี้เป็นนักมวยเก่า สมมุติว่าคนนี้มีข่าวมาหนูก็ถามพ่อกับแม่ เขาก็บอกว่าคนนี้เคยเป็นนักมวยเก่า อาศัยถามจากพ่อแม่เพิ่มเติมด้วย

­

ถาม : พอตัดสินใจทำโครงการแล้วว่าจะทำเกี่ยวกับเรื่องมวย มวยในที่นี้คือท่ามวยที่ใช้ในการออกกำลังกายใช่ไหม

ตอบ : ตอนแรกก็อยากจะซ้อมแบบที่เขาซ้อมกัน แต่ไหนๆ เรามาทำโครงการแล้ว เลยคิดว่าในเมื่อรื้อฟื้นมวยขึ้นมาแล้วก็อนุรักษ์ไปด้วยเลย ศึกษาท่ามวยอะไรด้วย แล้วก็เอามาดัดแปลงเป็นคีตะ พวกหนูก็สนใจด้วยเพราะเป็นการนำท่ามวยมาออกกำลังกาย

­

ถาม : ที่เราสนใจมวยก็คือเราสนใจอะไรตรงไหน เราไม่กลัวเจ็บหรอ

ตอบ : ไม่ค่ะ หนูชอบการเตะกระสอบทรายอะไรแบบนี้ ตอนที่เขาซ้อม

­

ถาม : แล้วตอนทำโครงการน้องป๊อบรับหน้าที่อะไรในโครงการ บทบาทหน้าที่ที่เราได้รับผิดชอบในโครงการนี้

ตอบ : เป็นประธานโครงการ

­

ถาม : ที่เป็นคือเราแบ่งหน้าที่กันอย่างไรใช้วิธีการไหนในการแบ่งหน้าที่

ตอบ : แบ่งตามความถนัดของแต่ละคนและความสามารถของเรา

­

ถาม : ทำไมเราถึงได้เป็นประธานเพราะอะไร

ตอบ : เพื่อนเป็นคนเลือกให้หนูเป็นค่ะ เขาเชื่อใจเราก็เลยเป็น

­

ถาม : แล้วประธานต้องทำอะไรบ้างหน้าที่ของประธานคืออะไรเล่าให้ฟังหน่อย

ตอบ : ทำทุกอย่าง เช่น เรื่องเอกสาร เราไปฟังเขามาก็แนะนำให้เพื่อน บอกให้เพื่อนทำ เพื่อนจะได้รู้ว่างานแบบนี้ทำแบบนี้ถึงจะถูก แล้วก็กลายเป็นว่าเราทำหน้าที่นั้นไปด้วย ก็แบ่งให้เขาทำด้วย แล้วก็การเงินบ้าง เอกสารบ้างแบบที่เราต้องเคลียร์กิจกรรม

­

ถาม : แล้วตอนทำกิจกรรมประธานทำอะไร

ตอบ : ตอนทำกิจกรรมก็เหมือนเป็นคนกลางคอยฟังความคิดเห็นของทุกคนว่าเราจะเริ่มทำแบบนี้นะ แล้วก็เริ่มทำตามแผนค่ะ โดยที่เราเป็นคนดูแลว่าต้องทำอันนี้ก่อนนะถึงจะไปอันอื่นต่อได้ อย่าทำข้ามนะ

­

ถาม : หนูต้องเป็นคนชวนเพื่อนคุยหรือว่าเราต่างคนต่างคุยกันได้เอง เราต้องนำเพื่อนคุยไหม

ตอบ : คุยกันได้เองเลยค่ะ

­

ถาม : ส่วนใหญ่ใครตามงาน

ตอบ : หนูน่าจะเป็นคนตามงานเพราะว่าหนูได้รับงานจากพี่มาแล้วเขาบอกว่างานนี้ส่งวันที่นี้ต้องส่งก่อนนะ แล้วก็จะแบ่งงานให้เขาทำ แล้วถ้าเขายังไม่เสร็จก็จะช่วยเร่งงานให้ส่งให้ทัน

­

ถาม : แล้วเป็นประธานยากไหมครั้งแรกของเราหรือเปล่าที่ได้เป็นประธานโครงการ

ตอบ : ไม่ค่ะ ถ้าเป็นงานกลุ่มหรือว่าไปนั่นไปนี่ก็จะเป็นคนนำเขาอยู่แล้ว

­

ถาม : แสดงว่าปกติเราก็จะได้รับบทบาทพวกนี้อยู่แล้ว เขาเลยตัดสินใจให้เราเป็นประธาน ลึก ๆ จริงๆ เราอยากได้รับตำแหน่งไหน ถ้าไม่ใช่ประธาน

ตอบ : ตอนแรกที่หนูคิดไว้ก็ไม่ได้อะไร ก็สามารถทำได้ทุกหน้าที่แต่ว่าทุกคนมองเห็นว่าคนนี้ควรทำอันนี้

­

ถาม : เพื่อนที่ทำโครงการอยู่โรงเรียนเดียวกันหมดไหม

ตอบ : ค่ะ อยู่ด้วยกันหมดเลย มีบางคนที่อยู่ต่างโรงเรียนแต่ส่วนใหญ่อยู่ที่เดียวกัน ชั้นเดียวกัน แต่คนละสาย แต่ก็อยู่ในชุมชนเดียวกัน

­

ถาม : เคยมีปัญหากันไหมภายในกลุ่ม

ตอบ : มีบ้าง มีคนกลางคอยห้าม คนกลางก็จะเป็นเพื่อนๆ ในกลุ่มที่คอยห้ามกัน คอยเคลียร์ปัญหากันให้จบ

­

ถาม : ส่วนใหญ่ปัญหาหลัก ๆ ที่ทะเลาะกันบ่อยคือ

ตอบ : เข้าใจไม่ตรงกัน เราเข้าใจแบบนี้แต่ว่าอีกคนไม่ได้เข้าใจเหมือนที่เราเข้าใจแล้วก็ทำให้ทะเลาะกัน

­

ถาม : แล้วเราแก้ปัญหาอย่างไรในเมื่ออีกคนเข้าใจอีกแบบหนึ่งอีกคนเข้าใจอีกอย่างหนึ่ง

ตอบ : ก็คุยกับเขาเลยค่ะ ว่าจริง ๆ ต้องเป็นแบบนี้นะ ให้เขาเข้าใจ

­

ถาม : เล่าเหตุการณ์ให้ฟังหน่อยว่าเราคุยเรื่องอะไรกันทำไมถึงเข้าใจไม่ตรงกัน

ตอบ : เป็นใบกิจกรรมที่เราวางเอาไว้ตั้งแต่กิจกรรมที่ 1 เราควรทำอย่างนี้ ซึ่งหนูเข้าใจอีกแบบหนึ่ง แต่เพื่อนๆ เข้าใจกันถูกแล้ว หนูเข้าใจว่าเราต้อง แบ่งงานกันทำ บางงานเขาให้เราแบ่งให้เขา เขาก็ฟังครึ่งไม่ฟังครึ่ง แล้วก็ทำพลาดทะเลาะกันนิดหน่อย แล้วเพื่อก็มาเคลียร์ให้ว่าทำแบบนี้นะ เอาง่ายๆ เลยคือหนูอธิบายลวกๆ ไม่ได้ละเอียดขนาดนั้น

­

ถาม : ตอนแจกงานหนูไม่ได้ลงรายละเอียดกับเพื่อน ให้เพื่อนเข้าใจ ไม่ได้เช็คว่าเพื่อนอยากทำไหม เข้าใจไหม

ตอบ : งานมันมาทีเดียวแล้วทีนี้หนูแบ่งให้เพื่อนบอกเขาว่าตรงนี้เอาตรงนี้มาเขียนนะ คือหนูไม่ได้ลงรายละเอียดว่าคำ ๆ นั้นเป็นอะไร หนูบอกแค่ว่าอันนี้อันนั้น ๆ แล้วเขาก็งงๆ เห็นครั้งเดียวแค่ตอนที่บอก

­

ถาม : ทะเลาะกันแรงไหมตอนนั้น

ตอบ : ไม่แรงค่ะ งอลกันแค่ 5 นาทีก็ไม่ถึง งอลแค่แป๊บเดียวแล้วก็กลับมาคุยกันปกติ ที่เล่าเป็นช่วงแรก ๆ ที่ยังไม่ค่อยเข้าใจกัน

­

ถาม : แล้วพอหลังจากนั้นเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้เราได้เรียนรู้อะไรบ้าง

ตอบ : เวลาฟังพี่ๆ ที่สถาบันไม่ได้มีหนูแค่คนเดียวก็จะมีเพื่อนอีกสองสามคน พอหนูพูดไม่รู้เรื่องอีกสองคนก็จะมาช่วยอธิบาย

­

ถาม : เล่าให้ฟังหน่อยว่าโครงการที่เราทำมีอะไรบ้าง มีกี่กิจกรรมคร่าวๆ ก็ได้

ตอบ : ที่วางเอาไว้มี 9 กิจกรรมตอนแรกเลย มีเรียกประชุมทีมว่าเราจะทำกิจกรรมอันนี้เป็นขั้นแรก ขั้นต่อไปเราก็วางแผนไปเรื่อย ๆ แล้วก็ไปศึกษาข้อมูลมาฝึกปฏิบัติติกับคนในกลุ่มเองก่อนที่จะไปปฏิบัติติกับคนในชุมชน การประกาศเสียงตามสายว่าบ้านเราทำโครงการนี้อยู่ มีเด็กคนไหนสนใจออกกำลังกายหรือว่าสนใจทางด้านนี้ก็มาร่วมกิจกรรมได้

­

ถาม : คราวนี้ลองเล่าลงรายละเอียดให้ฟังหน่อยแต่ละกิจกรรมเราทำอะไรบ้าง ทำกับใคร

ตอบ : ขั้นตอนแรกพวกหนูรวมทีมพูดคุยกันว่าเราจะทำโครงการอะไรกันดี เราจะเริ่มทำอะไรก่อน เป็นลำดับขั้นตอนไป แล้วขึ้นบอร์ดเลยว่าทีมหาข้อมูลมาเท่านี้แล้ว ส่วนวันซ้อมก็ระบุชัดเจนว่าวันไหนบ้าง เราก็ประกาศกับชุมชนว่าใครสนใจก็มา

­

ถาม : ที่หนูบอกว่าหาข้อมูลต้องหาข้อมูลอะไร

ตอบ : ข้อมูลท่าชกมวย บางท่าที่เอามาเต้นอาจจะยากเกินไปกลัวเสี่ยงอุบัติเหตุตอนออกกำลังกาย

­

ถาม : แล้วหนูหาจากไหนบ้าง

ตอบ : อินเตอร์เน็ตค่ะ เว็บไซต์ ยูทูปบ้าง

­

ถาม : นอกจากอินเตอร์เน็ตแล้วเราไปถามนักมวยเก่าๆ ในหมู่บ้านเราบ้างไหมหรือว่าอาศัยจากอินเตอร์เน็ตเป็นหลัก

ตอบ : เราดูจากอินเตอร์เน็ตเป็นหลัก แต่เราก็สอบถามผู้รู้ด้วยค่ะเพราะว่าเขาก็เป็นนักมวยเก่า เราก็ถามเขาว่าท่านี้มีไหมหรือว่าท่านี้ไม่มีทำไมถึงมาโผล่ในเว็บ ทำอย่างไร ประมาณนี้

­

ถาม : ยกตัวอย่างให้ฟังได้ไหมว่าท่าที่หนูศึกษามามันมีท่าอะไรบ้างหรือหนูชอบท่าอะไร

ตอบ : มีท่าจระเข้ฟาดหาง สอดสร้อยมาลา เราทำทั้งหมด 15 ท่า หลัก ๆ จะชอบท่าฟาดหางจระเข้

­

ถาม : หาข้อมูลแล้วเราทำอย่างไรต่อ

ตอบ : ไปดูยูทูปของหลายๆ ช่องที่เขาเอาลงว่าเขาเอาท่านี้ ประกอบเพลงนี้ พวกเราศึกษาจากยูทูปเป็นตัวอย่างไปเรื่อยๆ แล้วเลือกเพลงคิดท่าประกอบด้วยตัวเอง

­

ถาม : เพลงมันเกี่ยวข้องกันอย่างไรกับท่ามวยเรา

ตอบ : ช่วยให้กระฉับกระเฉงขึ้น เหมือนมีไฟในตัวในการออกกำลังกาย เพลงส่วนมากหนูไม่ได้ดูชื่อเพลง ส่วนใหญ่ดึงมาจากยูทูปเป็นเพลงที่ตัดต่อมาแล้ว

­

ถาม : มันเป็นเพลงแบบไหน บรรเลงหรือว่ามีเนื้อเพลง หรือเพลงทั่วไป

ตอบ : เป็นเพลงแบบมีเนื้อเพลง ช่วงแรก ๆ มีเนื้อพูด เป็นดนตรีช้า ๆ พอกลางๆ จะเร่งจังหวะขึ้น ประมาณว่าในคลิปเพลงที่เราเต้นจะมีสองเพลงที่เราจัดมาไว้ ช่วงแรกจะเป็นท่ามวยช้า ๆ แล้วพอท่อนกลางๆ ขึ้นไปเป็นเพลงสากลแล้วแต่เราเลยว่าจะเอาเพลงเร็ว ช้า หรือช้าเร็วสลับกันไป

­

ถาม : เราต้องตัดคลิปวิดีโอด้วยไหมใครเป็นมือตัด

ตอบ : เพื่อนอีกคนเป็นคนตัด แล้วเป็นเพื่อนผู้ชายเขาเป็นคนแสดง

­

ถาม : ไปหามาจากไหน ตอนแรกบอกเป็นทีมหญิงล้วน

ตอบ : ตอนแรกเฉยๆ ตอนนั้นไปบอกเพื่อนว่ามีกิจกรรมนี้จะมาเล่น หรือมาเข้าร่วมก็ได้ก็มีผู้ชายเข้ามา

­

ถาม : แล้วทำไมเราไม่แสดงเอง

ตอบ : เขินค่ะ แต่ว่าผู้ชายเขามีเขินบ้าง แต่ถ้าเป็นท่าทาง ารแสดงหนูว่าเขาน่าทำได้ดีกว่า

­

ถาม : ทำคลิปวิดีโอยากไหมตอนทำ

ตอบ : ครั้งแรกที่เริ่มทำมันก็ยากเพราะว่าเราไม่เคยทำ ไม่รู้ว่าสิ่งที่เราต้องการต้องกดตรงไหน พอทำได้เราก็โอเคขึ้น

­

ถาม : ทำไมเราถึงสามารถทำได้

ตอบ : กดไปเรื่อย ๆ ค่ะ อย่างในโปรแกรมที่เราเข้าไปจะมีลูกเล่นให้เรา พวกหนูก็กดทุกตัวลองดูว่าตัวไหนใช้ได้ ใช้มือถือตัดต่อก็ไม่ยากเท่าไหร่พอทำได้

­

ถาม : เราใช้พื้นที่ตรงไหนในการอัดคลิปวิดีโอ

ตอบ : พื้นที่ในหมู่บ้าน เป็นค่ายมวยที่พวกหนูไม่รู้ชื่อเพราะว่าเขายุบมานานแล้ว พึ่งมาเริ่มใหม่ตอนรุ่นหนู แพวกหนูก็จะพูดแค่ว่าเป็นค่ายครูสมเดชนะ

­

ถาม : ตอนที่เราไปขอใช้พื้นที่เขา เขาถามเราไหมว่ามาทำอะไร

ตอบ : ตอนที่พวกหนูอยู่ประถมปลายเขาเป็นครูสอนหนูที่ประถมด้วย ก็เลยรู้จักกันมาตั้งแต่เด็กแล้ว พอมีโครงการนี้เขาก็มาชวนพวกหนูว่าอยากฝึกมวยใช่ไหม ทำโครงการนี้ไหม

­

ถาม : ก็คือเป็นพี่เลี้ยงคนนี้แหละที่เราไปใช้สถานที่เขาเป็นบ้านของพี่เลี้ยง พี่อยากรู้ว่าทำไมในเมื่อเราบอกว่ามีนักมวยทั้งที่เป็นนักมวยเก่าทำไมเราถึงไม่เลือกที่จะไปหาข้อมูลจากพวกเขา แต่ทำไมถึงเลือกไปหาข้อมูลจากเน็ต

ตอบ : เพราะว่าบางคนเป็นนักมวยเมื่อนานมาแล้ว เพราะค่ายมวยก็ยุบมา 20-30 ปี ตอนไปสอบถามบางคนก็บ้าง จำไม่ค่อยได้แล้ว คนที่เขาเป็นนักมวยไม่ค่อยว่างด้วย ถ้าเปรียบเทียบอายุ ตอนที่เป็นนักมวยเขาก็เพิ่งอายุประมาณ 20 ปี

­

ถาม : ตอนแรกคิดว่าเป็นคนเฒ่าคนแก่ที่อยู่ในหมู่บ้าน แต่ความจริงคือยุครุ่งเรืองเขาเป็นเด็กแล้วตอนนี้เขาโตก็เลยไปทำงาน ไม่มีเวลาไปถาม เลยหาข้อมูลในเน็ตดีว่าเพราะว่าอยากจะอนุรักษ์ไว้ อีกอย่างคนส่วนใหญ่ไปทำงานกันหมดแล้ว ซึ่งข้อมูลที่เราหามาเราอยากรู้ว่าใช่ไม่ใช่เราจะถามจากพี่เลี้ยงเราที่เขาเป็นนักมวย แล้วพวกเราอัดคลิปวิดีโอไปทำไม เอาคลิปไปทำอะไร

ตอบ : ทางพี่สถาบันเขาก็มีเรียกประชุมกันแล้วมีพี่ที่ทำโครงการเขาเสนอว่าเราทำโครงการนี้นะ เพื่อให้เขาเห็นว่าเราทำจริงๆ นะให้คนอื่นได้เห็น เผื่อคนอื่นสนใจมาทำกิจกรรมกับเรา

­

ถาม : แล้วมันอยู่ในแผนของเราไหมคะการทำคลิปวิดีโอนี้

ตอบ : ไม่ค่ะ ในแผนพวกนี้ทำแค่ในชุมชนเราก่อนแล้วค่อยออกนอกชุมชน

­

ถาม : แบบสอนในชุมชนตัวต่อตัวแบบนี้ใช่ไหม

ตอบ : ค่ะ อย่างพวกหนูชอบเล่นโซเซียลก็จะโพสต์ลงสตอรี่ว่าในตำบลนี้มีตรงนี้นะ ใครสนใจก็มาได้ ก็บอกประมาณแค่นี้ก่อน ยังไม่ได้คิดว่าจะไปถึงคนนอกอำเภอ นอกจังหวัด อย่างเพื่อนหนูที่สนใจตอนนี้ไปเรียนนอกพื้นที่ เวลาเราโพสต์เพื่อนๆ ก็ได้เห็นด้วยว่าตอนนี้ที่นี่เกิดอะไรขึ้นบ้าง ดูกันผ่านสตอรี่

­

ถาม : คลิปเราเอาไปอัพลงยูทูบไหมหรือว่ายังเก็บไว้อยู่

ตอบ : อัพลงยูทูบค่ะ

­

ถาม : ขั้นตอนต่อไปของโครงการเรามีอะไรบ้างนอกจากอัพลงยูทูปลองเล่าให้ฟังหน่อยว่าหลังจากเราอัดวิดีโอลงยูทูปแล้วเราทำอะไรต่อ

ตอบ : คืนข้อมูลสู่ชุมชน เขาจะมีประชุมของหมู่บ้านก็บอกผ่านที่ประชุมของหมู่บ้านว่ามีกิจกรรมแบบนี้นะ ลูกหลานใครที่สนใจก็มา

­

ถาม : คนที่เป็นคนที่ประกาศคือเราเองหรือว่าให้ผู้ใหญ่เป็นคนประกาศ

ตอบ : ผู้ใหญ่เป็นคนประกาศค่ะ แต่ว่าเนื้อหาเราจะไปสื่อสารกับทางผู้ใหญ่ก่อน

­

ถาม : ยากไหมตอนที่เราเข้าไปขอให้เขาประกาศให้เรา

ตอบ : ไม่ค่ะ นัดกับเขาก่อนว่าให้เขาประกาศวันไหน คุยให้เขาเข้าใจว่าเรากำลังทำอะไรอยู่ให้เขาเข้าใจเราก่อนแล้วค่อยถ่ายทอดให้เขา

­

ถาม : เขาสนใจให้ความร่วมมือกับเราดีไหม

ตอบ : ก็มีสอบถามบ้างแต่หลังๆ เขาก็มาออกกำลังกายด้วย

­

ถาม : ตอนที่เราไปคืนข้อมูล มีปัญหาอะไรบ้างไหม

ตอบ : ราบรื่นไปได้ด้วยดี ทุกคนตั้งใจฟัง ไม่รู้อะไรก็ถามพอเสร็จแล้วตอนแยกย้ายกันก็ไม่มีปัญหาอะไร

­

ถาม : คนเยอะไหม

ตอบ : เยอะค่ะ

­

ถาม : เราเอาข้อมูลอะไรไปให้เขา เขาถึงสนใจเรามีการสาธิตไหม

ตอบ : ไม่ได้สาธิตค่ะเพราะว่าพวกหนูใช้เป็นกระดาษบรู๊ฟ พูดว่าพวกหนูทำโครงการนี้นะ ทำอย่างไร

­

ถาม : จำบรรยากาศได้ไหมลองเล่าให้ฟังหน่อย

ตอบ : หนูก็พูดภาษาบ้านๆ ประมาณว่าตอนนี้เรากำลังทำโครงการนี้อยู่ ที่ออกกำลังกายจะเป็นแบบนี้ เด็กคนไหนสนใจสามารถมาร่วมได้ ถ้าไม่เข้าใจตรงไหนก็สอบถามได้

­

ถาม : ส่วนใหญ่เราเน้นเป็นเด็กใช่ไหมที่ให้มาร่วมโครงการกับเรา คนที่สอนเป็นใคร

ตอบ : ค่ะ เพราะว่าพวกหนูก็หาข้อมูลแล้วก็ฝึกเอง

­

ถาม : ตอนสอน สอนช่วงเวลาไหน

ตอบ : ช่วงเย็นค่ะ ประมาณห้าโมงถึงหนึ่งทุ่ม

­

ถาม : ก็คือสอนที่ค่ายมวยของพี่เลี้ยงใช้พื้นที่ตรงไหน

ตอบ : สอนที่ค่ายมวยเลยค่ะเพราะว่าเขามีโปรเจคเตอร์ด้วย มีลำโพงพร้อม

­

ถาม : แล้วอย่างก่อนสอนพวกเราต้องเตรียมตัวไหมคะ กว่าจะจัดกิจกรรมนั้นได้

ตอบ : ไม่ค่อยเยอะ จะเตรียมโปรเจคเตอร์แล้วก็คอมพิวเตอร์ สถานที่


ถาม : ได้ซ้อมก่อนที่จะมาจัดงานไหม

ตอบ : ซ้อมก่อนค่ะ


ถาม : พอเราประกาศรับสมัครน้องๆ ให้มาเข้าร่วมกิจกรรมเป็นอย่างไรบ้าง เด็ก ๆ ไปกันเยอะไหม

ตอบ : เยอะค่ะ ไม่คิดว่าจะเยอะขนาดนี้ ประมาณ10 คนบ้างครั้งก็ 10 กว่าคนเหมือนเด็กในหมู่บ้านเขารู้แล้วเขาไปโรงเรียนเขาก็บอกเพื่อน เพื่อนก็มาด้วย


ถาม : ถ้าสมมุติว่าใกล้จะถึงเวลาที่จะต้องสอนน้องออกกำลังกายเราต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง เปิดเสียงเพลงรอเด็ก ๆ ก่อนไหม

ตอบ : หนูมาถึงเด็ก ๆ เขาก็มาแล้ว หนูก็เลยเปิดคอม แล้วก็บอกน้องๆ ทำแบบนี้นะ


ถาม : มีการแบ่งหน้าที่ไหมว่าใครคอยดูแลเด็ก ๆ ใครคอยเปิดวิดีโอ

ตอบ : มันก็ไม่ได้เชิงขนาดนั้นค่ะ ใครที่ใช้คอมเครื่องนั้นเป็นให้เขาดูคอมตรงนั้น แต่เด็ก ๆ เขาก็ไม่ได้ดื้อขนาดนั้น


ถาม : แล้วมีปัญหาอะไรช่วงที่เราสอนน้องๆ ที่รู้สึกหนักใจหรือว่าไม่มี

ตอบ : ไม่มีค่ะ


ถาม : แล้วผู้ปกครองเขามามีส่วนร่วมกับเราไหม

ตอบ : มีค่ะ เขาก็มาดูลูกเขา บางคนก็มาเองบ้าง


ถาม : กิจกรรมสุดท้ายของเราในโครงการคือกิจกรรมนี้ไหม

ตอบ : กิจกรรมสุดท้ายของเราคือการคืนความเวทีให้กับชุมชนค่ะ


ถาม : เป็นอย่างไรบ้าง

ตอบ : ตอนนั้นเกร็งมากค่ะ เพราะว่าหนูเป็นคนที่ไปโรงเรียนแล้วก็กลับบ้านอยู่แค่นั้น ไม่รู้จักใคร ไม่รู้จะเข้าหาอย่างไรดี ไม่รู้จะวางตัวอย่างไรดี เขาจะเข้าใจตรงกันไหม มันเกร็งไปหมดเลย


ถาม : แต่ว่าเราก็มีการซักซ้อม การวางแผนภายในทีมไหม เราเป็นคนพูดใช่ไหม

ตอบ : มีแบ่งให้เพื่อนพูดด้วยค่ะ


ถาม : ตั้งแต่เราทำโครงการมาเราคิดว่ามีปัญหาอะไรบ้างที่เราหนักใจ หรือท้อแท้มีบ้างไหม เอาส่วนตัวของเรา มันอาจจะไม่ยากสำหรับคนอื่นแต่ว่ามันยากสำหรับเรา

ตอบ : ส่วนตัวหนูไม่ค่อยอะไร


ถาม : แล้วช่วงไหนที่เรารู้สึกว่าเรามีความสุขที่สุดตั้งแต่ทำโครงการมา

ตอบ : หนูว่าตอนซ้อมค่ะ ตอนซ้อมมีความสุขมากที่สุดแล้ว เพราะบรรยากาศไม่เคร่งเครียด เหมือนได้มาเล่นสนุกกัน


ถาม : แล้วตอนไหนที่เครียดสุด

ตอบ : เครียดสุดคือวันพรุ่งนี้เป็นวันส่งงานแล้วงานยังไม่เสร็จ หนูก็จะช่วยเพื่อนๆ เพื่อให้เพื่อน ๆ ทำงานเสร็จแล้วมันก็ผ่านไป


ถาม : พี่ที่สถาบันบอกว่าเราเป็นคณะทำงานเครือข่ายด้วยใช่ไหม เป็นทีมที่ทำงานมหกรรม เราเข้าไปอยู่ตรงนั้นได้อย่างไร

ตอบ : มีฝ่ายออแกร์ไนท์กับฝ่ายวิชาการ ออแกไนซ์ก็จะเป็นดูแลสถานที่ ฝ่ายวิชาการก็จะดูแลเรื่องเอกสารทั่วไป หนูอยู่ฝ่ายวิชาการ


ถาม : แล้วเราไปอยู่ตรงนั้นได้อย่างไรเล่าให้ฟังหน่อย

ตอบ : พวกหนูก็ประชุมกัน ประชุมเฉพาะคณะกรรมการ ประชุมกันว่าเราจะเอาหัวหน้าตรงนี้ห้าคนไปวางไว้ว่าใครเหมาะกับตำแหน่งไหน แล้วซึ่งหนูไม่ถนัดฝ่ายจัดงาน หนูไม่รู้จะทำอะไรก็เลยไปอยู่ฝ่ายวิชาการ


ถาม : แล้วฝ่ายวิชาการเขาต้องทำอย่างไรในคณะทำงาน

ตอบ : เขาแบ่งไว้เลย มีหัวหน้า มีรองหัวหน้าไว้สองคน แบ่งว่าคนนี้ทำเอกสารคนนี้นำเสนอ คนนี้เคลียร์ มีลงทะเบียน ฝ่ายบัญชี


ถาม : แล้วหนูทำอะไร

ตอบ : หนูเป็นรองค่ะ รองวิชาการ


ถาม : แล้วทำงานกับเพื่อนต่างกลุ่มมันยากหรือง่ายกว่าที่ทำงานกับเพื่อนในกลุ่มเดียวกันไหม

ตอบ : หนูว่าเหมือนกันไม่ได้ยากไม่ได้ง่าย


ถาม : เหมือนกันอย่างไรเล่าให้ฟังหน่อย

ตอบ : หนูก็สนิทกับทุกคนเหมือนว่าเราอยู่ด้วยกันมานานแล้ว เวลาพูดอะไรไม่เข้าใจก็ถามกันเลย


ถาม : พี่เขาบอกว่าตอนหนูเข้ามาโครงการแรก ๆ หนูไม่ค่อยเป็นแบบนี้ เล่าให้ฟังหน่อยว่าตอนที่เราเข้ามาแรกๆเป็นอย่างไร

ตอบ : ตอนเข้ามาแรก ๆ หนูเคร่งมากเลยเพราะกลัวว่าจะออกมาไม่ดี เครียดและกังวลว่าถ้าทำแบบนี้จะออกมาดีไหม ถ้าไม่ดีจะทำอย่างไร ไม่เป็นตัวเอง


ถาม : แล้วเราเริ่มเป็นตัวเองตอนไหนมันเริ่มปลดปล่อยตอนไหน

ตอบ : บางอย่างเราก็ต้องสอบถามจากหมู่บ้านที่เขาเคยทำมาเมื่อปีที่แล้ว คุยกันไปคุยกันมาก็สนิทกัน ถูกคอกันก็เลยเป็นตัวเองของตัวเอง


ถาม : เป็นเพราะเพื่อนเหรอเพราะเราได้สนิท

ตอบ : ตอนแรกเราไม่สนิทเลยยังไม่กล้า


ถาม : แล้วใครเข้าหาเราก่อน

ตอบ : เขาเข้าหาหนูค่ะ หนูไม่เข้าหา หนูเข้าหาคนไม่เก่ง


ถาม : ถ้าสรุปว่าตั้งแต่ทำโครงการมาเราได้เรียนรู้อะไรบ้าง ในตัวป๊อบเอง อย่างแรกก่อนความรู้ใหม่ที่เราได้มีอะไรบ้าง

ตอบ : ก็จะเป็นเรื่องของเอกสารที่หนูได้รู้


ถาม : แล้วเรื่องมวยละ เรารู้อยู่ก่อนไหม รู้เรื่องอะไรบ้างเรื่องท่าแล้วมีอะไรอีกไหมที่เราไปค้นมา

ตอบ : ไม่ค่ะ ไม่รู้อะไรเลยแล้วก็ได้รู้


ถาม : เราลองทบทวนดูว่าตั้งแต่ทำโครงการมาเราได้เรียนรู้อะไรบ้างจากโครงการนี้

ตอบ : มีเยอะเลยค่ะ เรื่องเอกสาร การเข้าหาเพื่อน การเข้าหาคน การวางตัวหรือว่าการใช้ศัพท์ในการทำงาน


ถาม : ลองยกตัวอย่างให้ฟังหน่อยได้ไหมว่าก่อนที่เราจะทำโครงการเราเป็นอย่างไร แล้วหลังจากที่เราเข้าร่วมโครงการเราเป็นอย่างไร

ตอบ : ตอนแรกเลยหนูไม่กล้าพูด ไม่กล้าถาม ไม่เข้าใจตรงไหนให้เพื่อนไปถามให้ แต่ตอนนี้ก็กล้าไปถามด้วยตัวเอง


ถาม : ไปถามเขาที่ว่าไปถามใครพี่เลี้ยง หรือว่าคนในโครงการ

ตอบ : ทุกคนเลยค่ะ อย่างพี่สถาบันแล้วก็คนหมู่บ้านด้วย หมายถึงเพื่อนที่ทำโครงการนี้

­

ถาม : ความรู้สึกตอนแรกเราบอกว่าเราไม่ค่อยรู้จักคนในชุมชนเลย แล้วตอนนี้เป็นอย่างไรบ้างเราเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง

ตอบ : เปลี่ยนแปลงไปค่ะก็รู้จักเพิ่มขึ้น ไม่ได้รู้จักแต่ซอยตัวเองแล้ว ตอนนี้รู้จักเพิ่มขึ้นหลังสองหลัง


ถาม : ที่เรารู้จักเพราะอะไร เพราะเด็ก ๆ ที่มาทำโครงการ หรือเพราะเราจัดกิจกรรมเวทีคืนข้อมูล อะไรที่ทำให้เรารู้จักคนในชุมชนเพิ่มมากขึ้น

ตอบ : รู้จักจากลูกหลานเขาเด็ก ๆ ที่มาทำกิจกรรม


ถาม : นอกจากท่าทางของมวยแล้วเราคิดว่าเราได้อะไรมากกว่านั้นอีกไหม ก่อนหน้านี้เรารู้จักมาก่อนไหมว่าบ้านเรามีมวยมาก่อน

ตอบ : รู้แต่ไม่ได้ละเอียด รู้แค่ว่าที่ตรงนี้เขามีมวยด้วยรู้แค่นี้ แต่ว่าตอนนี้รู้แล้วว่ามวยที่หมู่บ้านเรา เคยมีชื่อเสียง ขนาดไปโชว์ตามงานต่างๆ


ถาม : รู้ข้อมูลประวัติของชุมชนเราเพิ่มมากขึ้นจากที่รู้ว่าหมู่บ้านเรามีแค่มวย แล้วเราไปทำอะไรถึงทำให้เรารู้ข้อมูลเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม

ตอบ : ใช่ค่ะ พวกหนูก็ถามว่าทำไมถึงยุบ ทำไมถึงตั้งมาเมื่อก่อนแล้วไปโชว์ที่ไหนบ้าง ถามพี่เลี้ยงเองเลย


ถาม : เราจดคำถามไหมตอนไปถามหรือว่าอยากรู้อะไรก็ถาม

ตอบ : เราอยากรู้อะไรก็ค่อยๆ ถามเลยค่ะ


ถาม : ตอนนั้นสนุกไหม

ตอบ : ตอนเขาเล่าสนุกมาก


ถาม : ภูมิใจไหมที่ชุมชนเรามีมวยอยู่ในชุมชนเรา

ตอบ : ก็ภูมิใจค่ะเพราะว่าบางหมู่บ้านเขาก็ไม่มีอะไรเลย แต่หมู่บ้านเรายังมี


ถาม : ถ้าให้พูดถึงความรู้หรือว่าความสามารถที่เราได้ทำจากโครงการที่คิดว่าเราเชี่ยวชาญมากที่สุดแล้วให้เราลองให้คะแนนเต็ม 10 เราจะให้กี่คะแนน เป็นความเชี่ยวชาญเรื่องอะไร

ตอบ : หนูว่าเป็นเรื่องของเอกสารค่ะ ให้ 8 เพราะว่ามันผิดพลาดมาเยอะ พอเรารู้ว่าเราควรทำแบบนี้ เราก็จะรู้ว่าวิธีทำที่ถูกต้องเป็นอย่างไร อย่างที่ผิดพลาดจะเป็นใบสำคัญรับเงิน ผิดพลาดตรงนั้นเยอะมาก การเขียนชื่อติดกัน ปกติพวกนี้จะเขียนคำนำหน้าแล้วก็เว้นวรรค ชื่อนามสกุล แต่ว่าถ้าทำโครงการนี้ให้เขียนติดกัน ตอนนั้นด้วยความเคยชินก็เลยเอกสารผิด


ถาม : แล้วอีกสองคะแนนที่ไม่ได้คืออะไร

ตอบ : เพราะว่าก็ยังมีหลงลืมบ้างว่าต้องทำแบบนี้นะ


ถาม : เรื่องเอกสารที่เราว่าจะมี word excel power point เราเชี่ยวชาญโปรแกรมไหน และอะไรที่ยังไม่เชี่ยวชาญ

ตอบ : เชี่ยวชาญ word และไม่ถนัดเป็น power point เพราะว่าหนูเป็นคนถนัด word แต่อะไรที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ หรือว่าตกแต่งวาดรูปหนูไม่ถนัดทางนั้น


ถาม : แล้วถ้าก่อนหน้านั้นที่ยังไม่ได้เข้าโครงการ ยังไม่รู้เทคนิคเราจะให้คะแนนเท่าไหร่

ตอบ : หนูให้แค่ 5 ค่ะ เพราะว่าหนูทำแบบทำได้แค่ให้ผ่านๆ ไม่ได้ทำให้มันดีพอสมควร


ถาม : ปกติเราทำรายงานบ่อยไหมในชั้นเรียน

ตอบ : บ่อยค่ะ แต่ว่าก็จะมีปัญหาอะไรตามมา เช่น พิมพ์ผิดบ้าง อ่านไม่ละเอียด การวางหน้ากระดาษไม่ค่อยถูก


ถาม : อนาคตอยากเรียนอะไร แล้วเราคิดว่าทักษะที่เราได้จากโครงการสามารถเอาไปประยุกต์ใช้กับอาชีพที่เราอยากเป็นได้ไหม

ตอบ : อยากเรียนพยาบาล หนูว่าก็ได้อยู่เพราะพยาบาลเขาก็จะอ่านหนังสือเยอะ เวลาเรียนเขาก็ใช้โปรแกรม Word ในการทำงานกลุ่ม ก็น่าจะเอาไปใช้ได้


ถาม : มีเรื่องอะไรไหมที่พอจบโครงการแล้วเรายังรู้สึกว่ายังอยากพัฒนาตรงนั้นให้ดียิ่งขึ้น

ตอบ : ส่วนตัวหนูอยากพัฒนาป่า หมู่บ้านหนูมีป่า อยากให้เป็นป่าชุมชนแล้วก็มีแหล่งท่องเที่ยว อยากเพาะเห็ดด้วย อยากทำอะไรหลายๆ อย่าง


ถาม : แล้วถ้าเป็นตัวเราเอง ความสามารถ การเรียนรู้มันมีอะไรไหมที่เราอยากพัฒนาตัวเราเองให้ดียิ่งขึ้น

ตอบ : หนูก็ยังไม่ได้วางแผนไว้ อะไรที่พัฒนาได้หนูก็จะพัฒนาตรงนั้น


ถาม: แล้วนิสัยหนูเปลี่ยนไปไหมตั้งแต่ทำโครงการมา

ตอบ : เปลี่ยนค่ะ เรื่องของการเข้าหาคนเมื่อก่อนไม่สนใจคนรอบข้าง มีเพื่อนแค่นี้ก็พอแล้วก็ไม่สนแล้ว


ถาม: ทำไมอยู่ๆ มาสน

ตอบ : หนูว่าการมีเพื่อนมันก็ไม่ได้แย่ สามารถปรึกษาอะไรได้ เราสามารถถามในสิ่งที่เราไม่เข้าใจหรือว่าสิ่งที่เราไม่รู้ได้ ไม่ใช่กับทุกคนที่เขาจะติดลบกับเรา


ถาม : มีเรื่องอื่นอีกไหมนอกจากการเข้าหาเพื่อน

ตอบ : การเข้าหาผู้ใหญ่ เมื่อก่อนหนูจะไม่เข้าหาเลย ถ้าผู้ใหญ่ถามหนูจะหาทางหลีกเลี่ยงไม่คุยด้วย


ถาม : แล้วตอนนี้เป็นอย่างไร

ตอบ : ตอนนี้ก็ชวนคุยไปเรื่อย


ถาม : ที่เราบอกว่าทำให้เราเข้าหาผู้ใหญ่มากขึ้นอะไรที่ทำให้เรากล้าเข้าหาเขา เหตุการณ์ไหนที่ทำให้เรากล้า

ตอบ : ถ้าเราไม่ได้ทำอะไรผิดผู้ใหญ่ก็ไม่มองเราติดลบ ผู้ใหญ่ไม่ได้ใจร้ายทุกคน ถ้าเขาจะใจร้ายก็คงมีเหตุผลที่เราไปทำให้เขาใจร้ายกับเรา


ถาม : อยากรู้จังอะไรที่ทำให้เราคิดแบบนี้

ตอบ : หนูเห็นเพื่อนหนูเขาคารมดี เขาคุยได้ทุกคน เราเลยอยากเป็นเหมือนเขาบ้าง เพราะโดยส่วนตัวหนูไม่ค่อยสนิทกับผู้ใหญ่จะอยู่แค่กับเพื่อนไม่ได้เปิดโลก


ถาม : แสดงว่าก่อนหน้านี้เรากลัวเราเลยไม่กล้าเข้าหาเหรอ

ตอบ : เมื่อก่อนทำได้แค่ยิ้ม ไม่สื่อสารอะไรกับเขาเลย


ถาม : เป็นเพราะเราทำกิจกรรมนี้ด้วยไหม

ตอบ : ใช่ค่ะ เพราะคนที่โครงการมีแค่เพื่อนคนเดียว ทุกอย่างจะให้เขาทำคงไม่ไหว เลยแบ่งเบาบ้างแล้วก็แบ่งคนอื่น ๆ บ้าง เพราะว่าคนอื่น ๆ ในกลุ่มนี้ก็เป็นเหมือนหนูไม่กล้าถามผู้ใหญ่เท่าไหร่ ตอนนี้ก็กล้ากันแล้ว เรามองว่าด้านนี้เราสามารถพัฒนาได้ เราสามารถแก้ปัญหาตรงนี้ได้ อะไรที่มันไปทางนั้นก็ลองทำดูก็ไม่ได้เสียหายอะไร


ถาม : ประทับใจอะไรที่สุดในโครงการนี้ตั้งแต่ทำโครงการมา ลองเล่าเหตุการณ์ให้ฟังหน่อย

ตอบ : ที่หนูประทับความร่วมใจของเพื่อน อย่างงานเวลาไปเข้าค่ายหรืองานอะไรหนูไม่อยู่เขาก็สามารถทำแทนได้ไม่เกิดปัญหา หัวหน้าไม่อยู่ก็สามารถทำได้ แบ่งเบากันไปบ้างมีอะไรก็ถามกัน


ถาม : พี่อาจจะย้อนไปหน่อย มันจะมีช่วงหนึ่งที่เหมือนกับว่าพี่เลี้ยงไม่ว่างหรือว่าหายไป มันมีผลอะไรกับแผนงานเราไหมหรือว่าการทำโครงการนี้ไหม

ตอบ : ถ้าถามว่ามีไหมหนูว่ามีค่ะ เช่น เราต้องไปสอบถามข้อมูลแล้วพี่เลี้ยงเขาบอกว่าเขาจะติดต่อให้ แล้วเขาก็หายไปเลย เวลาไปเข้าค่ายพี่เลี้ยงกลุ่มอื่นเขาจะอยู่ให้คำปรึกษาตลอด แต่ว่าพี่เลี้ยงกลุ่มหนูไม่อยู่ ก็คือต้องพูดกันเองทุกอย่าง


ถาม : อย่างตอนที่บอกว่าเขาจะติดต่อคนให้เขายังไม่ได้ติดต่อถูกไหม แล้วเราแก้ปัญหาอย่างไร

ตอบ : หนูก็นำทีมไปเองเลย หนูก็โทรนัดเพื่อนไว้เลยว่าวันพรุ่งนี้เราจะไปหาผู้รู้คนนี้ ไปถามเขาตอนไหน เขาสะดวกกับเราไหม พอถึงวันนั้นเราก็ไปหาเขา ไปอัดวิดีโอ


ถาม : ตอนพี่เลี้ยงเขาเริ่มไม่ว่างมาให้คำปรึกษาเราตั้งแต่ช่วงไหน

ตอบ : ก็เริ่มตั้งแต่แรก ๆ แล้วค่ะ เขาบอกว่าเขาเชื่อใจพวกหนู เขาเชื่อว่าหนูทำได้ หนูก็ต้องทำให้ได้


ถาม : แล้วรู้สึกอย่างไร

ตอบ : ตอนแรกท้อมาก ทำไมหมู่บ้านอื่นเขามีพี่เลี้ยงคอยสนับสนุนตลอด แล้วพี่เลี้ยงเราอยู่ไหน ทำไมไม่มา ภาระทุกอย่างตกที่หนูหมดเลย หนูก็ต้องคอยทำงานกับเพื่อน ตอนนั้นก็เครียดนะคะ แต่ถึงจะเครียดพวกหนูก็หัวเราะ ก็ไม่ได้ขนาดนั้นแต่เราก็ช่วยกันค่ะ เราต้องทำจริง ๆ ก็จะเข้าไปหาเขา อะไรที่ต้องทำให้ได้หนูก็จะทำ


ถาม : แปลว่าตั้งแต่หาข้อมูลหนูก็ทำกันเอง มีใครมาเป็นที่ปรึกษาระหว่างทางไหม

ตอบ : ไม่มีค่ะ พวกหนูก็ดำน้ำตามนั้นเลยค่ะ


ถาม : ตอนที่เราบอกว่าเราไปถามที่ปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องประวัติคือช่วงแรก ๆ ใช่ไหม

ตอบ : หนูมาทำตอนกลางๆ แล้ว แต่จริง ๆ จะเริ่มทำตั้งแต่แรก ๆ แต่ว่าพี่เลี้ยงเขาไม่ยอมติดต่อให้ พวกหนูก็รอพี่เลี้ยงบอกเพราะว่าพี่เลี้ยงเขาบอกจะติดต่อให้ แต่จนถึงตอนกลางๆ จะท้ายๆ แล้วเขาไม่ว่าอะไรเลย พวกหนูก็เลยไปถามเขาบอกว่าเดี๋ยวจะติดต่อให้ ผ่านไปวันสองวันเขาก็ไม่ยอมไปพวกหนูก็ดำเนินการเองเลย


ถาม : เราก็รอไม่นานเพราะรอแค่สี่ห้าวันเห็นเขาไม่ทำให้เราก็จัดการเองเลย

ตอบ : หนูคิดว่า พวกหนูรู้แล้วว่าตอนนี้ควรทำอย่างนี้ ๆ พวกหนูก็บอกเขาว่ามาเป็นพี่เลี้ยงให้หน่อยแต่ไม่ต้องทำอะไรก็ได้เดี๋ยวพวกหนูจะทำให้เอง


ถาม : แปลว่าตอนนี้พวกหนูได้เรียนรู้ขั้นตอนแล้วใช่ไหมถ้าให้ทำอีกครั้งต้องทำอย่าไร

ตอบ : ค่ะพวกหนูก็พอรู้กันแล้วค่ะ


ถาม : ถ้ามีปีหน้าอยากทำอีกไหม

ตอบ : ทำนะคะ แต่พวกหนูก็ยังตกลงกันไม่ได้ว่าจะทำอะไร บางคนอาจจะไม่ทำแต่ตอนนี้คนก็เหลือน้อย หนูก็คิดอยู่ว่าหรือว่าจะยุบดีไหมแล้วไปอยู่กับหมู่บ้านอื่นไปช่วยเขา


ถาม : เหตุผลอะไรที่ทำให้เราอยากที่จะมาทำโครงการนี้ต่อ

ตอบ : หนูว่ามันเป็นความรู้ที่เราหาภายในโรงเรียนไม่ได้


ถาม : แปลว่าเราชอบเรียนรู้เหรอ เพราะเราบอกว่าที่อยากทำโครงการเพราะได้เรียนรู้อะไรเยอ

ตอบ : ไม่แน่ใจว่าจะนิยามว่าตัวเองชอบเรียนรู้ได้ไหม แต่คิดว่ามีหลายเรื่องที่เป็นความรู้รอเราอยู่ เราสามารถไปเรียนรู้ได้ เพราะว่าถ้าอยู่แค่ที่โรงเรียน เราคงไม่รู้เรื่องนอกตำราเรียน แล้วถ้าไม่รู้เรื่องราวภายนอกบ้าง ก็อาจจะส่งผลกับเราในอนาคต


ถาม : แล้วทำไมเราต้องรู้เรื่องพวกนี้ นอกห้องเรียน เรื่องมวย เรื่องชุมชน

ตอบ : ชีวิตของเราไม่ได้อยู่แค่ในห้องเรียน สิ่งที่เรียนในห้องเรียนบางอย่างเอาไปใช้ในชีวิตประจำวันไม่ได้ เลยต้องเรียนรู้จากภายนอกด้วย ถ้าเราไม่ทำเราก็จะไม่รู้


ถาม : เราชอบเข้าค่าย เข้ากิจกรรมนอกโรงเรียนหรือเปล่า ก่อนหน้านี้เคยเข้าค่ายมาก่อนไหม

ตอบ : ไม่เคยทำมาก่อนค่ะ ถ้าในระยะยาวแบบนี้เป็นที่แรก ไม่เหมือนเมื่อก่อนเมื่อก่อนตอนอยู่ประถมก็มีค่ายแต่พอขึ้นมัธยมก็ไม่ค่อยมี


ถาม : จากที่เราเล่ามากิจกรรมในแต่ละวันเราเยอะมาก เรียน เรียนพิเศษอีก เรามีวิธีการจัดสรรอย่างไร

ตอบ : โดยส่วนตัวหนูไม่ได้เรียนเก่ง อยู่กลุ่มกลางๆ ของห้อง

­

ถาม : เหนื่อยไหมต้องทำกิจกรรมทั้งวัน

ตอบ : หนูไม่ได้คิดเลยว่าเหนื่อย ไม่เหนื่อย แค่รู้สึกว่ามันต้องทำ พอทำแล้วมันก็ไม่ได้เหนื่อยอะไร


ถาม : ตอนงานมหกรรมเราทำหน้าที่อะไร อยู่ฝ่ายอะไร

ตอบ : ฝ่ายวิชาการ คอยดูแลเรื่องเอกสารแต่ไม่ได้จัดงาน


ถาม : เรื่องเนื้อหาความรู้อะไรอย่างนี้ใช่ไหม

ตอบ : ค่ะเหมือนเราจัดทุกอย่างเลย อีกฝ่ายก็เป็นฝ่ายใช้แรงงาน


ถาม : ตอนนั้นเหนื่อยไหม

ตอบ : เวลาทำงานเราไม่คิดว่ามันเหนื่อย ถ้าเราเหนื่อยแล้วคนที่ทำงานหนักกว่าเรา เขาก็ต้องเหนื่อยเหมือนกัน แต่เขาไม่บ่นว่าเหนื่อย เราก็เลยไม่เหนื่อย


ถาม : แล้วมีจุดพีคอะไรในโครงการบ้างไหม ที่เรารู้สึกว่าไม่ไหวแล้ว ช่วงที่เราทำโครงการ

ตอบ : ที่ไม่ไหวจริง ๆ คือพี่เลี้ยงค่ะ ที่ท้อที่สุดคือไม่มีพี่เลี้ยงให้ปรึกษา หนูก็เข้าใจว่าเขาไม่ว่าง


ถาม : แล้วตอนนั้นเพื่อนในทีมเป็นอย่างไร ตอนที่เราไม่มีพี่เลี้ยงเลย

ตอบ : พวกหนูก็ทำกันเอง ปรึกษากันเองจริง ๆ พวกหนูก็จะถามพี่ที่สถาบัน


ถาม : ตั้งแต่ทำโครงการมาเราชอบเวทีไหนมากที่สุด

ตอบ : หนูชอบที่อบรมสื่อ เพราะว่าหนูเริ่มรู้จักทุกคนตอนเวทีนั้น เราต้องแยกจากคนในทีมไปเล่นเกมแบบนี้ทำให้เรารู้จักคนอื่นมากขึ้น