โครงการการออกแบบกิจกรรมในด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นบ้านป่าไร่เหนือ ตำบลพระธาตุ อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก สัมภาษณ์วันที่ 20 มกราคม 2563
ถาม แนะนำตัวก่อนนะคะว่าชื่อจริงนามสกุลชื่อเล่นและตำแหน่งในชุมชน?
ตอบ ชื่อวิชัย ประทับใจ ชื่อเล่น หอย แล้วก็เขาก็จะเรียกกันผู้ช่วยหอย เป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน เป็นรองประธานของชุมชนท่องเที่ยวในหมู่บ้านวิสาหกิจชุมชนท่องเที่ยว ผู้ใหญ่เป็นประธานผมรองประธานทำเรื่องท่องเที่ยว
ถามเรามาทำงานเกี่ยวกับชุมชนของบ้านตัวเองตั้งแต่ตอนไหนคะ?
ตอบ ผมดูในชุมชนหมู่บ้านเรา เห็นการเจริญเติบโตของบ้าน เห็นการเปลี่ยนแปลงมาเรื่อยๆ คนในหมู่บ้านเราไปเรียนหนังสือในเมือง ผมมีโอกาสทำงานในเมืองเห็นอะไรหลายอย่างที่สำคัญคือความเจริญ ผมคิดว่าวันหนึ่งอยากกลับมาอยู่บ้าน ทำงานในเมืองเราไม่ค่อยอยากทำงานแล้วกลับมาอยู่บ้าน กลับมาใช้ชีวิตอยู่ที่บ้านเวลาในชุมชนเขามีกิจกรรมอะไร เราก็ทำตลอด ผมชอบกิจกรรมตั้งแต่เด็ก ทำกิจกรรมอยากพัฒนาหมู่บ้าน เวลาพัฒนาหมู่บ้านในวันสำคัญต่างๆ จะเข้าร่วมตลอด
ถามไปทำงานอะไรในเมือง?
ตอบ อยู่ทำงานอยู่โรงพิมพ์ เป็นคนขายประกัน เป็นลูกจ้างร้านโทรศัพท์
ถามผู้ช่วยรู้สึกอย่างไรความต่างระหว่างทำงานในเมืองแล้วกลับมาทำงานที่บ้าน?
ตอบ เรื่องความสบายใจ ทำงานในเมืองเป็นลูกน้อง มีความกดดันหลายอย่าง ผมอยากมีเงินอยากมีชีวิตที่ดีผมไปขายประกัน มันก็ทำได้ แต่กดดันเกินไป หนีห่างจากความเป็นตัวเราเองมากเกินไป เราถูกคนในเมืองกลืน เราไม่ได้เป็นตัวของเราเองเลย อันนี้มันเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้เรากลับมาอยู่บ้าน แล้วมาใช้ชีวิตอยู่ที่บ้าน ช่วงนั้นพอดีผู้ใหญ่ขาดผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน ไม่มีใครจะเป็นผู้ช่วย เมื่อก่อนผมไม่เคยสนใจเรื่องการเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน เป็นผู้นำหมู่บ้าน ผมก็รับ ผมเล่นกีฬาเป็นนักกีฬาชอบพูดคุยกับคนทุกวัยก็มีพื้นฐานตรงนี้
ถามทำไมถึงมาทำโครงการเป็นพี่เลี้ยงให้กับน้องๆ ในโครงการ?
ตอบ ผมทำเกี่ยวกับเรื่องท่องเที่ยวชุมชนทำกิจกรรม ผมเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านด้วย แล้วเวลาเราทำกิจกรรมบางอย่างในหมู่บ้าน ผมรู้สึกว่าเวลาเราทำกิจกรรมในหมู่บ้านมีความห่างระหว่างผู้ใหญ่กับเด็ก ช่องว่างในการทำงาน มีความห่าง เด็กน่าจะมีส่วนร่วมมีความคิดอะไรบ้าง ช่วยพัฒนาในมุมที่ผู้ใหญ่ไม่ได้คิด ผมเป็นผู้ช่วยความคิดของผมก็ยังดูเด็กอยู่ ความคิดของผู้ใหญ่ก็โตกว่า มันมีช่องว่างอยู่ อยากให้เด็กมีส่วนร่วมมากกว่านี้ ที่ผ่านมาเราจัดกิจกรรมให้เด็กได้แข่งกีฬาอย่างเดียว คิดว่าอยากให้เด็กมีส่วนร่วม มีโครงการของอาจารย์ชิที่เขาแนะนำว่า โครงการนี้น่าจะมีประโยชน์ทำให้ดึงเด็กเข้ามาได้ อย่างเรื่องท่องเที่ยวเองก็เหมือนกัน ในชุมชนเวลาทำงานผมเห็นใน LINE หมู่บ้านอื่นเยาวชนเข้ามาช่วยเข้ามาทำ แต่ว่าในหมู่บ้านผมเป็นแม่บ้านเป็นคนแก่
ถามบทบาทของพี่เลี้ยงในโครงการนี้ผู้ช่วยทำอะไรบ้าง?
ตอบ ผมดึงเยาวชนเข้ามาเพื่อให้เขามีกิจกรรม ผมเป็นพี่เลี้ยงคอยแนะนำว่ากิจกรรมในหมู่บ้านเราจะต้องเข้าร่วม มาช่วยคิดจะทำอะไรก็ได้ อย่างพื้นที่ลานวัฒนธรรม บอกให้เด็กทำอย่างไรก็ได้ น้องก็ลงมือทำ ทำไม่ได้ติดตรงไหนเด็กก็บอก แก้วิธีไหนเราก็ช่วยกัน ผมจะปล่อยให้เขาคิด แล้วผมคอยสนับสนุน ถ้ามันขาดตรงนี้เราก็จะเติมให้พวกเขา
ถามเปิดโอกาสให้เขาได้คิดและทำเอง?
ตอบ กิจกรรมที่เขาทำผ่านมาเรื่องของการเรียนรู้วัฒนธรรม การเย็บผ้า ของเล่น บางอย่างรู้สึกเหนื่อย เด็กบอกทำก็ต้องทำ ถ้าขาดอะไรก็ให้บอก ปล่อยให้เขาคิด ผมคอยช่วยเหลือ แนะนำเขาว่า มีเยาวชนอีกหลายคนในหมู่บ้าน เราน่าจะหาน้องๆ กลุ่มนั้น ที่ยังไม่อยู่ในกลุ่มเราเข้ามา เขาบอกว่าไม่สามารถดึงเข้ามาในกลุ่มได้ เราก็หาวิธีการ
ถามยกตัวอย่างการดึงเยาวชนที่พอจะมีศักยภาพ ผู้ช่วยมีวิธีการดึงน้องกลุ่มนั้นอย่างไร?
ตอบ ผมมีกลุ่ม LINE และ Facebook จะดึงเด็กเข้ามา แล้วก็โยนกิจกรรมเข้าไปในนั้น บอกว่าต้องการตำแหน่งนี้เป็นการเปิดรับน้อง มีโยนากับนัทสองคนที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงเข้ามาช่วยกัน น้องผู้หญิงสองคนที่เป็นแฝด มีบุคลิกดีก็ให้ช่วยทำ จัดผ้าเวลามีกิจกรรม คนนี้ร้องเพลงได้ ให้มาร้องเล่นกีต้าร์ เดี๋ยวให้โชว์ในงานกิจกรรม ตอนแบ่งกลุ่มให้เขาทำงาน เป็นพี่เลี้ยงกลุ่มของเยาวชนอีกรุ่นหนึ่งด้วย ปล่อยให้คิดปล่อยให้ทำ ส่วนใหญ่เขาก็ทำได้ มีติดเรื่องของคน น้องจะบอกว่าไม่ได้พี่เขาไม่มา
ถามผู้ช่วยแก้ปัญหาอย่างไรบ้าง?
ตอบ ไปคุยกับน้องๆ ที่ไม่มาว่าติดอะไรตรงไหน ทำอะไรไม่ว่างอย่างไร บางคนบอกติดกิจกรรมที่โรงเรียนต้องไปติว ผมก็บอกว่ากันนัดแล้ว ติดทั้งหมดเลยเหรอ จะแก้ปัญหาอย่างนี้ให้ไปสืบมา
ถามพ่อแม่ไม่ให้น้องมาช่วยน้องแก้ปัญหานี้ไหม?
ตอบ ถ้าเป็นพ่อแม่ไม่ให้น้องมาไม่ค่อยมี ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มที่มาช่วยงานอยู่ในกลุ่มจะเป็นเด็กกิจกรรม พ่อแม่ให้ทำสนับสนุน บางคนติดทำงานอยู่ในไร่นาก็ต้องปล่อย ถ้าว่างเสร็จแล้วก็มาก็ได้
ถามนัทบอกว่าแม่เขาช่วยมาทำอาหารด้วย?
ตอบ ใช่ครับ
ถามวางกลยุทย์ไว้ว่านอกจากเด็กมาทำโครงการแล้ว พ่อแม่หรือคนในชุมชนต้องมาช่วยด้วย?
ตอบ ในชุมชนผมอยากให้หลายคนมีส่วนร่วม โดยผมเริ่มแล้วคุยกับพ่อแม่ของเขาก่อน เริ่มจากกิจกรรมที่พวกผมทำ ลูกหลานเก่งนะทำไมไม่มา พอเราเริ่มก็คุยกับพ่อแม่ของเขา ว่าอยากชวนนัท อยากชวนโยนามา พ่อแม่บอกว่าไปชวนมาเลย ก็ได้มา ปัญหาคือเด็กมีกิจกรรมที่โรงเรียนเยอะ
ถามผู้ช่วยทำกิจกรรมอื่นๆ กับคนในชุมชนอยู่แล้ว ผู้ช่วยเห็นลูกหลานเขามีศักยภาพก็เลยชวนมาทำเลยไม่มีปัญหาเรื่องพ่อแม่ จุดเด่นการเป็นพี่เลี้ยงของเราคืออะไร?
ตอบ ผมเป็นคนจริงจังทำอะไรแล้วก็ทำให้ออกมาดี ในกิจกรรมที่ทำ ในหมู่บ้านลานวัฒนธรรมที่เด็กๆ ช่วยกันออกแบบ เริ่มจากสวนผม ผมปลูกข้าวโพด ปลูกมัน ผมอยากมีลานวัฒนธรรมแหล่งรวมวัฒนธรรมของคนกระเหรี่ยงบ้านป่าไร่เหนือ ตั้งใจว่าอยากทำก็สละพื้นที่ทำ ตรงนี้ก็มีปัญหาเยอะกว่าจะออกมาในรูปแบบนี้ ปัญหาเศรษฐกิจ
ถามก่อนมีลานวัฒนธรรมเด็กต้องไปสืบหาความรู้ภูมิปัญญาวัฒนธรรม ไปสืบค้นหัวข้ออะไรบ้าง ผู้ช่วยหอยมีบทบาทหน้าที่ช่วยเหลืออย่างไรบ้าง?
ตอบ ลานวัฒนธรรมน้องชุดนี้ออกแบบกิจกรรม ออกแบบพื้นที่เราทำก่อนหน้านี้แล้ว มีลานวัฒนธรรมแต่ไม่มีชีวิตเข้าไปดูไม่มีข้อมูล น้องก็เข้ามาออกแบบ ถ้าเขาเข้ามาตรงนี้น่าจะมีทอผ้า ตรงนี้ด้านภูมิปัญญา ตรงนั้นเป็นโซนอาหาร ให้คนมาดูวนรอบหนึ่งสองสามสี่ ไปตามจุด
ถามเรื่องทอผ้าน้องตามหาอย่างไร?
ตอบ ไปตามหาคนทอ ตามแม่บ้านคนนั้นมาอยู่ ผมบอกว่า อยากให้เด็กในกลุ่มอยู่ร่วมกับแม่ๆ มากกว่าเวลาที่เรามีงานกิจกรรม
ถามคือเด็กๆ ได้มีการออกแบบให้พื้นที่ตรงนี้มีชีวิต มาอยู่ตามซุ้มกับผู้ใหญ่ เด็กมีการไปตามหาข้อมูลในกิจกรรมบ้างไหม ทำอย่างไร?
ตอบ ของเหล่านี้มีอยู่ในหมู่บ้านอยู่แล้ว เขาก็แค่จับมา
ถามพอเสร็จแล้ว ผู้ช่วยหอยเป็นนักสังเกตการณ์เห็นน้องมีความรู้ภูมิปัญญาในหมู่บ้านมากขึ้นไหม?
ตอบ รู้มากขึ้นในหมู่บ้าน เขารู้จากกิจกรรมที่เขาได้ทำ ความรู้บางอย่างเขาก็ไม่รู้อะไรก่อนหน้านี้แม้กระทั่งประวัติศาสตร์หมู่บ้าน เรามีเวลาให้เขาสอนของเล่นบางอย่าง เขาไม่เคยเห็นบางคนบอกว่ามันทำง่าย
ถามในช่วงที่เด็กทำงานด้วยกัน มีปัญหากันบ้างไหม?
ตอบ ปัญหาหลักเวลาที่จัดกิจกรรม เขาก็มีกิจกรรมที่โรงเรียน ก็ต้องจัดเวลาพยายามที่จะไปส่ง ผมจะเป็นคนไปส่งตอนที่เราทำกิจกรรมเขาก็มีกิจกรรมที่นู่น หรือว่าต้องการขออะไรผมก็ประสานกับอาจารย์เอ็กส์ขอทำหนังสือให้ทางโรงเรียน อีกอย่างเด็กกลุ่มนี้จะทำ Portfolio ผมก็แนะนำ บอกว่าผมไม่ใช่คนเรียนเก่ง ผมชอบทำกิจกรรม การเรียนดีเรียนเก่งทำให้เราสอบทำงานได้ แต่การทำกิจกรรมจะทำให้เราอยู่กับสังคมได้ ใช้ชีวิตในการทำงานได้เด็กเข้าใจ ผมเห็นมีคนสองสามคนที่เข้าใจ นัท โยนา โบเก้ มองว่าการผ่านกิจกรรมพวกนี้ได้ก็เก็บใน Portfolio ได้
ถาม เราให้เด็กระดมจัดการพื้นที่ให้มีชีวิตจนถึงตอนนี้มีเทคนิคอะไรบ้าง ที่คิดว่าใช้ได้สำหรับการเป็นพี่เลี้ยง?
ตอบ เรื่องใจ ผมเต็มที่ทำงานกับเด็กผมก็ให้ใจ เขาทำงานทุ่มเทเราก็ให้ใจเขา
ถามทำไปด้วยกัน?
ตอบ ผมอยู่ด้วยตลอด วันก่อนที่ผมไปรับไม่ได้ยังรู้สึกผิด มีภารกิจอื่นสำคัญเป็นเรื่องระดับตำบล มีข้อพิพาทต้องมาแก้ตรงนี้ ผมเริ่มต้นในการทำงานตรงนี้ต้องอยู่ จึงขอน้องว่าพี่ไปรับไม่ได้
ถามมีช่วงไหนที่รู้สึกอิ่มเอมใจที่สุด?
ตอบ กิจกรรมที่เพิ่งทำผ่านมาผมรู้สึกน้องทำได้ดี ผมรู้สึกว่าได้แรงกลับมา เขามาตามเวลานัด จัดเตรียมสถานที่ บอกเขาว่าไม่ต้องดีขนาดนี้ก็ได้เวลาเก็บจะเก็บยาก น้องบอกไม่ได้ ผมรู้สึกว่าในตัวเด็ก เวลาเขาทำงานเขาทำเต็มที่ อันนี้อยากเห็นที่สุด แต่ไม่ได้ขอให้พวกเขามาช่วยผมทุกครั้ง แค่ได้เห็นเขาแสดงพลังผมรู้สึกดี นี่คือเมล็ดพันธุ์ที่จะเติบโตมาพัฒนาหมู่บ้าน
ถามเป้าความคาดหวังของพี่เลี้ยงที่มีต่อหมู่บ้านและเยาวชนคืออะไร?
ตอบ อยากเห็นเด็กเยาวชนที่ไปเรียนหรือทำงานที่อื่นกลับมา มีส่วนร่วมทำงานพัฒนาในหมู่บ้าน ไม่ต้องกลับมาพัฒนาอะไรก็ได้ ขอให้กลับมาอยู่บ้านรักบ้านเกิดคือสิ่งที่อยากเห็น อยากเห็นเพื่อนรุ่นเดียวกันและรุ่นน้องกลับมามีอาชีพและอยู่ที่บ้าน รู้สึกว่ากลับมาอยู่บ้านแล้วมีความสุข เวลาเราอยู่ที่อื่นกดดันและเหนื่อย
ถามอยากพัฒนาตัวเองในฐานะพี่เลี้ยงคนทำงานในชุมชนอย่างไรบ้าง?
ตอบ ผมไม่ใช่โคชที่ดี อยากได้ความรู้ วิชาการ ทักษะ อย่างอาจารย์ชิเองเราชื่นชอบ เราก็อยากเก่งอยากเป็นเหมือนเขา แต่ไม่รู้ว่าด้านไหนที่เราจะเป็นได้ ผมชอบการเรียนรู้เข้าไปในเวที เราอยู่ในหมู่บ้าน ไหนจะอาชีพตัวเองในครอบครัว อยากไปเรียนไปอบรมหลายวัน บางทีทิ้งอะไรไม่ได้ ผมต้องไปตลาดทุกเช้าซื้อของมาขายที่บ้าน อาชีพเกษตรด้วย
ถามหัวใจการเป็นพี่เลี้ยงในความคิดของผู้ช่วยหอยคืออะไร?
ตอบ ผมก็ไม่ได้ประสบความสำเร็จในการเป็นพี่เลี้ยงให้กับเด็กเท่าไร รู้สึกว่าเด็กเขามาทำงานกับผม ผมรู้สึกว่าเป็นบันไดขั้นแรก ที่ผมทำมันโอเคมีอีกหลายขั้นอยากจะทำอีก แค่เขาเข้ามามีส่วนร่วมผมก็รู้สึกว่าประทับใจ
ถามขอให้ผู้ช่วยพูดถึงเด็กเป็นรายบุคคล นัท โบเก้ โยนา อยากให้บอกว่าตอนแรกเราเห็นเขาเป็นอย่างไร พอผ่านโครงการแล้วเขาเกิดการเปลี่ยนแปลงที่เห็นเป็นรูปธรรม?
ตอบ นัท เขาเป็นขี้เล่นเห็นมาตั้งแต่เด็กๆ ว่าเขาเข้ากับใครก็ได้ พอเราโยนหน้าที่ให้เป็นกำลังสำคัญในหมู่บ้านยกอย่างนั้น ผมรู้สึกเขามีความรับผิดชอบต่อหน้าที่จะจัดการ ตามเพื่อน ไม่ขี้เล่นอย่างเดียว ทำจริงก็ทำได้ กล้า
โยนา เป็นคนไม่ค่อยมั่นใจในตัวเองแรกๆ พอเขาได้แสดงศักยภาพหลายครั้งเขามั่นใจขึ้นนะ เวทีล่าสุด ผมให้น้องอีกคนหนึ่งซึ่งเป็นพิธีกรคู่กับนัท พอไปเอาเข้าจริงไปไม่ได้ โยนาก็คว้าไมค์มาช่วย รู้สึกว่ามันใจกล้ามากขึ้น ผมดูอยู่ห่างๆ
โบเก้ ไม่ค่อยได้คลุกคลี ไม่รู้ด้วยซ้ำว่าทำอะไร โบเก้ ขี้อายวัยรุ่นทำอะไรก็ได้หมด ไม่ได้มาทำโครงการก็เล่นกีฬาอย่างเดียว พอมาทำทำได้ ตอนเย็นค่ำๆ ก็มาทำกิจกรรมช่วยกันในทีมไปด้วยกันได้
ถามประเมินจากการที่เราช่วยน้องดูมาตลอด ทีมเราที่ทำโครงการนี้เป็นอย่างไรบ้าง?
ตอบ ในร้อยเปอร์เซ็นต์ผมได้หนึ่งถึงสองคนเข้ามา เสี้ยวหนึ่ง เมล็ดพันธุ์ที่เราหว่านกัน ได้มาหนึ่งสองคนก็โอเคประสบความสำเร็จแล้ว เราไม่ได้คาดหวังว่าทุกคนในชุมชน ผู้ใหญ่แต่ละคนก็เหมือนกัน สักคนที่มีความรับผิดชอบเปลี่ยนแปลงก็โอเคแล้วสำหรับผม
ถามหลังจากได้ทวนประสบการณ์การดูแลน้องเยาวชน อยากให้พี่หอยสรุปการเรียนรู้สำหรับตัวเองการได้เป็นพี่เลี้ยงช่วงหกเดือนที่ผ่านมาสร้างการเรียนรู้อะไรให้กับเราบ้าง?
ตอบ สิ่งที่ได้เรียนรู้จากน้องๆ สิ่งที่เราคิดไม่ได้ เขาคิดได้ ความคิดไม่เหมือนกัน เราปล่อยให้เขาคิดและทำ เขาได้ทำในสิ่งที่เขาคิด รู้สึกดี น้องๆ ทำ
ถามเวลาที่เขาคิดเองทำเองเราจะเห็นเขาเต็มใจทำจริงๆ?
ตอบ เขาก็แบ่งงานของเขาเอง แบ่งหน้าที่กันเองว่าคนนั้นทำตรงนี้ คนนี้ทำตรงนั้น
ถามทั่วไปเวลาทำโครงการชุมชน เด็กมักถูกบอกให้ทำ บริบทชุมชนเด็กมาลงแรงทำไปเลย เขาไม่ได้อยู่ในส่วนการคิด พอเขาได้คิดเองทำเองเราได้เห็นว่าอันนี้เขาทำได้จริงๆ เราเปิดพื้นที่ให้เขา?
ตอบเ ขาทำได้จริง เขาแบ่งทีมทำได้ ทำออกมาระดับหนึ่งที่ผมโอเคแล้ว ผมมองแค่ว่าให้เด็กมามีส่วนร่วมกับผมก็ดีใจแล้ว
ถามจะบอกได้ไหมว่าเทคนิควิธีการของพี่หอยคือให้เขาคิด เด็กจะรู้สึกว่าเขามีส่วนร่วมในโครงการด้วย ซึ่งแตกต่างจากเดิมที่มาช่วยกัน ไหว้วานแต่เขาไม่ได้มีส่วนร่วมตั้งแต่กระบวนการคิด การเปิดพื้นที่ของพี่หอยก็สำคัญ
ตอบ ปกติในหมู่บ้านก่อนหน้าไม่มีกิจกรรมให้เยาวชน เยาวชนเหรอ กีฬา เต้น ส่วนใหญ่กิจกรรมอยู่ที่โรงเรียน ในหมู่บ้านก็มีอบรมต่อต้านยาเสพติด กีฬาต่อต้านยาเสพติด ไม่ค่อยมีกิจกรรมอย่างอื่น อย่างกิจกรรมต้อนรับนักท่องเที่ยว เดินแบบชุด มีน้องคนหนึ่ง ผมถามเล่นตือหน่าได้ไหม ตอนแรกบอกไม่ได้ ก็บอกว่าเปิดพื้นที่ให้เต็มที่ละนะ น้องก็เล่นกล้าเล่นต่อหน้าคน ผมก็ปล่อย ผู้ใหญ่ อบต. บอกปล่อยให้เล่นไปเลย ผมเป็นพี่เลี้ยงไม่ใช่ตัวผมคนเดียว ผมก็มีผู้หลักผู้ใหญ่เป็นพี่เลี้ยงที่คอยอยู่ข้างหลังผม ก็พ่อแม่พวกเขานั่นล่ะ คอยอยู่ข้างหลังผม คอยสนับสนุนความคิดผมและเด็กๆ ไม่ใช่แค่ผมคนเดียวเวลาเราทำ ยกตัวอย่างที่ทำข้าวยำ เด็กทำไม่เป็นก็ไปหาข้อมูลจากแม่ๆ ป้าๆ เขาก็สนับสนุนเด็กๆ
ถามขอบคุณมากค่ะ
ตอบ ครับ