เวทีพูนพลังครู ครั้งที่ 1: ครูผู้สร้างคุณลักษณะนิสัยที่ดีให้เด็ก

ครูผู้สร้างลักษณะนิสัยที่ดีของเด็ก

เรื่องเล่า

สังคม คือ กลุ่มคนอย่างน้อยสองคนขึ้นไปมาอาศัยอยู่รวมกันในบริเวณหนึ่ง ซึ่งคนเหล่านั้นต้องมีความสัมพันธ์ การกระทำโต้ตอบซึ่งกันและกัน ทั้งทางตรงทางอ้อม เช่นการพูดจาทักทายการทำงานร่วมกัน หรือแม้กระทั้งการเดินผ่านกันถึงจะไม่รู้จักแต่ก็เป็นชาติเดียวกันนักเรียนใช้เวลาอยู่ในสังคมโรงเรียนมากที่สุด โดยเฉพาะสังคมเพื่อนๆสังคมในห้องเรียน และการที่นักเรียนจะอยู่ในสังคมเหล่านี้อย่างมีความสุขได้นั้น จะต้องสร้างความรักความสามัคคี การยอมรับการให้เกียรติ การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน อันเป็นพื้นฐานของการอยู่ร่วมกันในสังคมเพราะนักเรียนเหล่าจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในวันข้างหน้าที่จะคอยเสริมสร้างสังคมที่ดีต่อไป

ทุกๆเช้ากิจกรรมรักษ์ธรรมชาติเป็นกิจกรรมที่ทุกคนทำร่วมกันในสังคมห้องเรียนซึ่งเป็นหน้าที่ของคนทุกคนเป็นการช่วยกันดูแลความสะอาดบริเวณที่รับผิดชอบโดยครูคอยดูแล และร่วมทำกิจกรรมกับนักเรียน พร้อมทั้งคอยเสริมสร้างจิตสำนึกในหน้าที่ ความสามัคคี การอยู่ร่วมกันในสังคมกิจกรรมหน้าเสาธงคุณครูก็ต้องคอยสังเกตและดูแลให้นักเรียนร่วมกิจกรรมโดยการพยายามฝึกให้นักเรียนสังเกต คิดวิเคราะห์ว่าจะทำอย่างไรให้เป็นระเบียบมีวินัย หลังจากกิจกรรมหน้าเสาธง คุณครูใช้กิจกรรมจิตศึกษาซึ่งเป็นกิจกรรมที่ทำให้เข้าใจตนเอง รู้ตัว ทำให้เกิดการเปลี่ยนมุมมองเกี่ยวกับโลกและผู้อื่น เกิดเป็นความสุข ความอิสระ ความรักต่อเพื่อนมนุษย์และธรรมชาติ และทุกครั้งที่ทำกิจกรรมจิตศึกษานักเรียนครูก็จะยกมือไหว้ทุกครั้งที่เพื่อนๆส่งมอบสิ่งของหรือกิจกรรมให้ทำต่อเป็นการเสริมสร้างความรัก ความเคารพ การให้เกียรติ และคอยส่งกำลังใจให้เพื่อนๆทำกิจกรรมให้สำเร็จ หลังจากกิจกรรมจิตศึกษาก็จะเข้าสู้กิจกรรมการเรียนรู้ซึ่งเป็นกิจกรรมที่นักเรียนต้องแสวงหาความรู้ด้วยกระบวนการเรียนการสอนแบบPBL (Problem-based Learning)การสอนที่เน้นให้ผู้เรียนได้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองโดยใช้ปัญหาเป็นเครื่องกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการที่จะศึกษาค้นคว้าหาความรู้โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาได้ด้วยตนเองเพื่อให้ผู้เรียนมีการตัดสินใจที่ดีมีความคิดอย่างมีวิจารณญาณสามารถเรียนรู้การทำงานเป็นทีม ใฝ่รู้ และมีการเรียนรู้อย่าง ต่อเนื่องตลอดชีวิตและเกิดกระบวนการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์สร้างสรรค์

ร่วมอภิปรายในกลุ่มย่อยแล้วขยายออกเป็นกลุ่มใหญ่ อันเป็นการสร้างสำนึกการอยู่ร่วมกันในสังคม สุดท้ายนักเรียนก็จะร่วมกันดูแลความสะอาดความเป็นระเบียบเรียบร้อยของห้องเรียน บริเวณที่รับผิดชอบ และเสริมถึงการช่วยกันดูแลความสะอาดบริเวณอื่นๆที่เราใช้ร่วมกันหรืออยู่ร่วมกัน

จากกิจกรรมที่นักเรียนคุณครูร่วมกันทำร่วมกันปฏิบัติทั้งวัน นักเรียนเกิดการเรียนรู้ทั้งทางปัญญา ทางสังคม ซึ่งเมื่อนักเรียนร่วมกิจกรรมทุกครั้งเราจะเห็นการเปลี่ยนแปลงไม่ว่าจะเป็นการวางตัว ไม่ก้าวร้าว มีเหตุ มีผล รู้จักพูดจา ควบคุมอารมณ์ตนเอง การมีน้ำใจการช่วยเหลือผู้อื่น และการเป็นผู้นำผู้ตามที่ดี ที่จะแสดงออกถึงมารยาทของสมาชิกที่ดีในสังคมห้องเรียน สังคมโรงเรียน

สิ่งที่ได้จากกิจกรรมของนักเรียน นักเรียนเป็นบุคคลที่มีมารยาทและทักษะในสังคมรู้จักอยู่ร่วมกันในสังคมมีเหตุ มีผล รู้จักพูดจา มีน้ำใจการช่วยเหลือผู้อื่น มีความรักและให้เกียรติผู้อื่น ดูแลเพื่อนๆ รู้จักหน้าที่ตนเองมีความตั้งเอาใจใส่ในการเรียนมุ่งมั่นตั้งใจเรียน รับผิดชอบต่อหน้าที่ มีระเบียบวินัยในตนเองรักและมีความสุขที่จะมาโรงเรียน

สิ่งที่คุณครูได้จากกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียน ได้เข้าใจนักเรียนมากขึ้นว่าในการจะทำกิจกรรมร่วมกับผู้อื่นต้องค่อยเป็นค่อยไปค่อยปรับค่อยเปลี่ยนรู้จักนักเรียนมากขึ้นและเป็นการเรียนรู้โดยอัตโนมัติ สุดท้ายคือการเห็นนักเรียนเจริญงอกงามทั้งทางสติปัญญาและสังคม

โดย ครูจิรวัฒน์สิงห์ทอง โรงเรียนบ้านหนองดุม

ต.ไพบูลย์ อ.น้ำขุ่น จ.อุบลราชธานี

สพป.อบ เขต5

­