เรื่องเล่าสะท้อนจากครูผู้สอนสถานการณ์เรื่องราวที่เป็นจุเริ่มต้นให้เกิดการพัฒนาด.ช.พงษ์พิพัฒน์ สะเกษ (พี่บูม) เนื่องจากนักเรียนไม่อยากมาโรงเรียน ไม่อยากเข้าห้อง ไม่อยากเรียนหนังสือหรือร่วมกิจกรรมต่างๆในชั่วโมงเรียน และไม่อยากทำชิ้นงานที่ต้องเขียน หลบหลีกเพื่อหาพื้นที่ปลอดภัยสำหรับตนเอง เช่นไม่สบายปาดเจ็บเป็นแผล มีเรื่องไม่พอใจกับเพื่อน เพื่อเป็นสาเหตุให้ไม่ต้องมาโรงเรียน ถ้าถูกบังคับให้มาเรียนก็จะหาทางหลบออกมานอกห้องอยู่ใต้ต้นไม้ ลานจอดรถ บริเวณป้อมยาม หรือไปช่วยพนักงานทำงานทั้งคนที่รู้จัก และคนที่ไม่รู้จักหากถูกถามด้วยคำถาม “ว่ามาทำไม ทำไมไม่ไปเรียน” ก็จะหลบไปที่อื่นเมื่อครูเดินตามหาพี่บูมจะไปซ้อนตัวไม่ให้เห็น แต่บางทีก็แสดงตัวให้เห็นโดยก้มหน้านั่งร้องไห้พอครูพูดคุยจนรู้สาเหตุของวันนี้ก็จะรู้ว่าสถานการณ์เป็นเช่นไร ถ้ามีท่าทีว่าจะยอมเข้าห้องครูจะใช้จิตวิทยาเชิงบวกในการพูด และให้กำลังใจเพื่อให้พี่บูมพร้อมกลับเข้ามาในห้องกับคุณครูด้วยการจับสัมผัสมือเดินมาด้วยกัน หรือหากต้องการแรงเสริมมากๆเมื่อพี่บูมมีอาการท้อ เสียใจ ครูจะเสริมแรงและให้กำลังใจด้วยการกอดมอบความรักพร้อมกับคำพูดในเชิงบวก “ครูรักพี่บูมนะคะครูก็เสียใจเมื่อเห็นพี่บูมเสียใจ ครูชอบตอนที่พี่บูมร่าเริงมากกว่า” พี่บูมจะชอบพูดกลับมาเสมอว่าผมก็รักคุณครูครับ ผมจะเข้าห้องกับครู ในกรณีที่ไม่เข้าห้องจริงๆครูจะชักชวนไปห้องสมุดด้วยกันเพื่ออ่านนิทานเมื่ออารมณ์เปลี่ยนไปแล้วค่อยๆถามถึงสิ่งที่เกิดขึ้น “ในวันนี้ เกิดอะไรขึ้นบ้างพี่บูมช่วยบอกครูหน่อยสิคะ” เพื่อให้นักเรียนได้เล่าสิ่งที่เกิดขึ้นเป็นการทบทวนและได้ใคร่ครวญและเรียนรู้กับปัญหาที่เกิดขึ้นด้วยตนเองวันหลังพี่ก็เข้าห้องปกติครูใช้จิตศึกษาที่ทุกคนร่วมกิจกรรมโดยนั่งเป็นวงกลมให้พี่บูมมีส่วนร่วมและฝึกฝนการเรียนรู้ร่วมกับเพื่อนๆในชั้นเรียน แรกๆพี่บูมร่วมกิจกรรมเหมือนไม่เติมใจ แต่คนก็จะให้กำลังใจชื่นชมในขณะที่เขาตั้งใจไม่จับจ้องจนเกินไป เมื่อพี่บูมได้แสดงความคิดเห็นแล้วครูชื่นชมด้วยคำว่า เยี่ยมมากค่ะ ทำให้ครูสัมผัสได้ว่าพี่บูมเริ่มตอบรับกิจกรรมนี้และชอบไม่ปฏิเสธเหมือนกิจกรรมอื่นเช่นการมานั่งเรียนเป็นแถวที่อยากนั่งหลังสุดแล้วค่อยๆถอยห่างออกมา เมื่อจิตศึกษาช่วยให้พี่บูมสามารถทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อนๆได้ดีแล้วครูสร้างความเข้าใจร่วมกับเพื่อนๆของพี่บูมเพื่อเปิดโอกาสที่มากขึ้นทุกคนก็ช่วยให้ความร่วมมือด้วยดีเช่นเรียนแบบนั่งวงกลมไม่มีคนนั่งสุดท้ายและหน้าสุดเพื่อนๆก็ชวนให้พี่บูมมานั่งใกล้ ชวนทำงานด้วยกันบ้าง ครูก็เช่นกันหากสถานการณ์เป็นปกติครูจะให้พี่บูมร่วมเรียนไปกับเพื่อนๆ แต่ถ้าเริ่มที่จะหลบครูจะเข้าไปช่วยเช่นพี่บูมเข้าใจไหมคะ ช่วยอธิบายและเรียนไปพร้อมกัน แรกๆเข้าเรียนแค่บางวิชาแต่ก็ถามว่ามีงานค้างอะไรบ้าง จนพักหลังๆใน Q.4 พี่บูมเริ่มเรียนรู้ว่าถ้าทำงานไปพร้อมๆกับเพื่อนงานก็จะไม่ค้างมีเวลาได้เล่นมากขึ้นได้กลับบ้านเร็วจึงทำให้เข้าเรียนทุกวิชา ส่งทุกชิ้นงานตามศักยภาพของตัวเอง ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของพี่บูมมากขึ้น ตอนบ่ายก่อนเรียนพี่บูมจะชอบมากเพราะเป็นเวลาที่ได้ผ่อนคลาย โดย Body scan เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการเรียนรู้ในช่วงบ่ายพี่บูมจะหลับทุกครั้งไม่ว่าจะอยู่ห่างจากวงเพื่อนหรือร่วมวงเดียวกันก็ตาม ซึ่งเมื่อพี่บูมตื่นขึ้นมาครูรู้สึกว่าพี่บูมตั้งใจฟังมาขึ้น มีสมาธิในการทำงานดีขึ้น อาจเป็นเพราะได้พักผ่อนอย่างเพียงพอและคลื่นสมองต่ำลง ช่วงบ่ายไม่ค่อยมีปัญหาเพราะพี่บูมชอบเรียน PBL ชอบทำกิจกรรมที่ได้ลงมือปฏิบัติจริงได้แก้ปัญหาที่ท้าทาย แล้วหลังจากทำกิจกรรมในช่วงบ่ายเสร็จสิ้น นักเรียนช่วยกันทำความสะอาดห้องเรียนและพี่บูมจะอาสาเสมอ เพื่อนๆชอบชมพี่บูมบ่อยๆว่าพี่บูมขยันและทำความสะอาดเก่งเมื่อทุกคนจดการบ้านและเก็บของเรียบร้อย ทุกคนจะมานั่งเป็นพี่วงกลมอีกครั้งหนึ่งเพื่อทำพิธีนมร่วมกัน กลับมาอยู่กับตัวเองและได้ทบทวนเรื่องราวต่างๆที่ทำในวันนี้ สิ่งที่ทำได้ดีแล้วและสิ่งที่จะพัฒนาเพิ่มเติมในวันต่อๆไป ทุกคนได้มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนร่วมกันรวมถึงพี่บูมและทุกคนต่างให้กำลังใจกันด้วยการยอมรับในสิ่งที่เพื่อนๆทำได้ดีแล้ว และพร้อมที่จะพัฒนาต่อไปให้ดีมากขึ้น สิ่งที่มองเห็นจากตัวพี่บูมในชั้นเรียนป.4 นี้คือการยอมรับตัวเอง มีการปรับเปลี่ยนตัวเองเข้าหาเพื่อนๆ เรียนรู้สิ่งต่างๆมากขึ้น มีความอดทนในการดูแลตัวเองขยันทำงาน รับผิดชอบในหน้าที่ภาระงานที่มีตามศักยภาพของตัวเองและอยากมาโรงเรียนสิ่งที่คุณครูได้เรียนรู้จากพี่บูมคือการตระหนักได้ว่าการเป็นครูไม่ใช่ทำตามหน้าที่คือการสอน แต่ครูจะต้องเข้าใจในตัวนักเรียนทุกคน ว่าทำไม เพราะอะไร แล้วจะช่วยอย่างไร ให้ลูกศิษย์ทุกได้เรียนรู้อย่างแท้จริง และมีความรักให้กับเขาโดยไม่มีเงื่อนไข
ครูฝน. (น้ำฝน. ลาภศึก)