เวทีพูนพลังครู ครั้งที่ 1: ครูผู้สร้างคุณลักษณะที่ดีให้เด็ก

“ครูผู้สร้างการเรียนรู้คุณลักษณะนิสัยที่ดีให้กับเด็ก”

นางหทัยการณ์อินทมาตรครูโรงเรียนวัดโคกทอง

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2

จากการที่ข้าพเจ้าได้รับผิดชอบเป็นครูประจำชั้นประถมศึกษาปีที่4ปีการศึกษา2557 ในภาคเรียนที่ 1พบว่านักเรียนส่วนใหญ่ไม่กล้าคิดไม่กล้าแสดงออกไม่กล้าตอบคำถามทำงานไม่สำเร็จไม่รู้จักการรอคอยขาดสมาธิในการเรียนรู้ ไม่สนใจเรียน ไม่ช่วยเหลือและแบ่งปันให้เพื่อนไม่มีความสุขในการเรียนรู้เนื่องจากครูใช้กระบวนการเรียนรู้แบบบอกความรู้เห็นได้จากการที่นักเรียนขออนุญาตไปเข้าห้องน้ำดื่มน้ำบ่อยครั้งอีกทั้งนักเรียนยังถูกทอดทิ้งบ่อยๆเนื่องจากครูมีภาระงานที่นอกเหนือจากงานสอนจำนวนมากรวมทั้งครูต้องเข้ารับการอบรมสัมมนาส่งผลให้การเรียนรู้ของนักเรียนไม่ต่อเนื่องด้านสภาพปัญหาของครอบครัว นักเรียนร้อยละ50มาจากครอบครัวแตกแยกฐานะยากจนผู้ปกครองเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลยส่งผลให้คุณภาพชีวิตไม่ดีเท่าที่ควร

จากสภาพปัญหาดังกล่าวผนวกกับการที่โรงเรียนได้เข้าร่วมโครงการเสริมสร้างพลังอำนาจการจัดการศึกษาที่สร้างสุขภาวะในโรงเรียนและข้าพเจ้าได้เข้าร่วมศึกษาดูงานโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาจ.บุรีรัมย์ด้านการจัดกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาปัญญาภายในและกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการPBL (ProblembasedLearning)ซึ่งจากการศึกษาดูงานโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนาพบว่า นักเรียนของโรงเรียนลำปลายมาศพัฒนากล้าแสดงออกใฝ่เรียนรู้มีความสุขในการเรียนสามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ผ่านชิ้นงานของตนเองได้ทำให้เกิดแรงบันดาลใจที่จะนำรูปแบบและวิธีการที่ได้ไปศึกษาดูงานมาใช้กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่4 ของโรงเรียนวัดโคกทองในภาคเรียนที่2ปีการศึกษา2557 โดยเริ่มจากการที่ครูปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเองคือ มาโรงเรียนแต่เช้าใช้น้ำเสียงเบาลงไม่ตะโกนแข่งกับเด็กงดการอบรมหน้าเสาธงงดการลงโทษด้วยการตีจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้จิตวิทยาเชิงบวกลดการเปรียบเทียบลดการตีค่าลดการตัดสินชี้โทษ ลดการขู่ลดคำพูดด้านลบไม่ใช้ความรุนแรงมีปฏิสัมพันธ์กับผู้ปกครองมากขึ้นใช้กิจกรรมจิตศึกษาและกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการPBL ( ProblembasedLearning )นำรูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หรือชุมชนแห่งการเรียนรู้PLC (Professional Learning Community )เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนครูในโรงเรียน

ในการจัดกิจกรรมจิตศึกษาครูจะใช้เวลาประมาณ20นาทีในช่วงเช้าของทุกวันก่อนที่จะเรียนรู้ใน3วิชาหลักเพื่อปรับคลื่นสมองปรับอารมณ์ของผู้เรียนให้มีสติ มีสมาธิและพร้อมที่จะเรียนรู้ตัวอย่างกิจกรรมเช่นการออกกำลังกายสนามเด็กเล่นโดยใช้หลักการเรียนรู้ของสมองเป็นฐานกิจกรรมกำกับสติการทำเบรนยิมฝึกการทำงานของสมองสองซีกการทำโยคะเพื่อปรับสมดุลของร่างกายซึ่งขณะทำกิจกรรมจะเปิดเสียงดนตรีที่มีลักษณะของคลื่นความถี่ต่ำเพื่อเหนี่ยวนำคลื่นสมองของเด็กให้มีความถี่ต่ำลงการทำบอดีสแกน ก่อนเรียนในภาคบ่าย ใช้เวลาประมาณ15นาทีเพื่อการผ่อนคลายแบบลึกและบ่มเพาะสิ่งที่ดีงามในจิตใต้สำนึกโดยส่งจิตระลึกรู้ไปตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย เพื่อกลับมาฟังเสียงร่างกาย ผ่อนคลายความตึงเครียด ความคิดวิตกกังวลต่างๆ ลง และน้อมนำความรู้สึกตัวมามีสติอยู่กับปัจจุบัน

ในการจัดกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการPBL ( ProblembasedLearning ) การผสมผสานกันของแต่ละวิชาจะทำให้เกิดการเชื่อมโยงผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมายสอดคล้องกับชีวิตประจำวันเพื่อเสริมสร้างทักษะที่จำเป็นต่อการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องเช่นการแก้ปัญหาการสื่อสารการทำงานเป็นทีม

ซึ่งการจัดกิจกรรมเหล่านี้ครูได้ทำทุกวันจนเป็นวิถีช่วยให้เด็กมีระเบียบวินัยมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่กล้าคิดกล้าตอบคำถามทำงานสำเร็จรู้จักการรอคอยมีสมาธิในการเรียนรู้ช่วยเหลือและแบ่งปันให้เพื่อนมีความสุขในการเรียนรู้มีความรู้ที่คงทนจากการเรียนรู้โดยการลงมือปฏิบัติจริงเช่นกรณีศึกษาเด็กชายวุฒิชัยเป็นเด็กบกพร่องทางการเรียนรู้ไม่สนใจในการเรียนมักจะขออนุญาตไปห้องน้ำขณะเรียนบ่อยครั้งจากการที่ครูนำกิจกรรมจิตศึกษามาใช้ทำให้พฤติกรรมของเด็กชายวุฒิชัยเปลี่ยนแปลงไปคือมีสมาธิในการเรียนมากขึ้นมีความพร้อมในการเรียนรู้มากขึ้นกล้าคิด กล้าแสดงออกสามารถแสดงความคิดเห็นของตนเองโดยไม่ลอกเลียนแบบเพื่อนส่วนกระบวนการเรียนรู้แบบบูรณาการPBL ( ProblembasedLearning )และการทำงานเน้นกระบวนการกลุ่มแบบมีส่วนร่วมและสรุปองค์ความรู้ในรูปแบบของmindmappingทำให้เด็กชายวุฒิชัยเกิดความภาคภูมิใจและเรียนรู้อย่างมีความสุขโดยสังเกตได้จากการที่เด็กชายวุฒิชัยไม่ขออนุญาตเข้าห้องน้ำ หรือดื่มน้ำขณะเรียน

จากการที่ครูเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและกระบวนการจัดการเรียนรู้ทำให้ครูใจเย็นมากขึ้นครูลดความเป็นตัวตนของตนเองลงและยอมรับฟังความคิดเห็นของเด็กมากขึ้นมีท่าทีสุภาพอ่อนน้อมใช้น้ำเสียงที่เบาลงใช้คำพูดเชิงบวกครูใช้คำถามกระตุ้นให้เด็กเกิดการเรียนรู้มากขึ้นครูมีการเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้มากขึ้นครูเกิดการเรียนรู้ไปพร้อมกับเด็กครูเกิดการเรียนรู้จากการแลกเปลี่ยนในวงPLC(Professional Learning Community )ส่งผลให้ครูมีความสุขในการทำงานมากขึ้น

-------------------------------------------------------------------------