เวทีพูนพลังครู ครั้งที่ 1: ครูผู้สร้างคุณลักษณะที่ดีให้เด็ก

เรื่องเล่าของครู..สนิดาโกศล

สอนวิชา PBL ชั้นมัธยมศึกษาปีที่3

ครูประจำชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3โรงเรียนบ้านปะทายสพป.ศก.4

ผู้อำนวยการโรงเรียนนายสมศักดิ์ประสาร

จุดเริ่มต้นให้เกิดการพัฒนาเด็กเพราะเด็กที่อยู่ในความรับผิดชอบของตน (ม.3)เป็นเด็กที่มีลักษณะโดยรวมคือเฉยๆ เรื่อยๆ เฉี่อยๆ ไม่กระตือรือร้นไม่สนใจใครอยู่แต่กลุ่มของตัวเอง ทะเลาะกันขัดแย้งกันงอนกันโกรธกันบ่อยๆ แบ่งพรรคแบ่งพวก กลุ่มจะถูกหรือผิดไม่สนขอให้เป็นกลุ่มของตนพวกของตนถูกหมดทำอะไรไม่สำเร็จสักอย่างจะทำงานใดๆ ก็ต่อเมื่อครูอยู่ด้วยหรือนั่งเฝ้าเรียนไม่เก่งไม่มีอะไรโดดเด่นถามไม่ค่อยตอบโต้ทำอะไรไม่ค่อยเป็นไม่คิดทำใช้จ่ายเกินตัวมีค่านิยมการใช้ชีวิตฟุ้งเฟ้อเกินฐานะทั้งๆที่ฐานะทางครอบครัวค่อนข้างยากจนถึงยากจนขี้เกียจ ไม่เห็นคุณค่าของภูมิปัญญาพื้นถิ่น มองอะไรเกินตัวลืมพื้นฐานชีวิตของตัวเองและกรณีหนักสุดคือพี่บ๋อมวุฒิชัย เขาเป็นเรียนดีความประพฤติก้าวร้าว อยากทำอะไรก็ทำไม่สนใจใครแม้กระทั่งครูและยิ่งถ้าครูดุหรือต่อว่ายิ่งจะทำใส่พูดจาไม่เพราะดูถูกเพื่อนผู้หญิงขัดเพื่อนตลอดทุกเรื่อง ไม่มีใครดีในสายตาบ๋อมแต่บ๋อมก็มีอิทธิพลกับเพื่อนผู้ชายทุกคนจะยอมทำตามบ๋อมทั้งๆที่สิ่งที่ทำนั้นอาจจะไม่ดีด้วยพฤติกรรมต่างๆเหล่านี้ทำให้ข้าพเจ้าคิดว่าจะไม่สนใจเด็กคนนี้แล้วจะสนใจแต่เด็กกลุ่มที่ตนคิดว่าพอจะพัฒนาได้แต่พอกลับไปคิดไปเล่าให้พ่อบ้านฟังถึงปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นพ่อบ้านจึงถามว่า“คุณเป็นใครคุณเป็นครูใช่ไหมหน้าที่คุณต้องทำอะไร” จากคำถามนี้ทำให้ข้าพเจ้าฉุกคิดถึงพระราชดำรัสตอนหนึ่งของในหลวง ที่ว่าเด็กกลุ่มนี้ถ้าเราทิ้งเขาแล้วใครจะดูแลช่วยเหลือถ้าครูไม่ช่วยบางทีคุณไม่รู้หรอกว่าตัวเองเป็นอย่างไรพ่อบ้านจึงได้พูดเสริมว่า“คุณอาจจะไม่เคยพูดจาหยาบคายหรือดุด่าเด็กแต่น้ำเสียงหรือสีหน้ามันอาจจะมีส่วนทำให้เด็กกลัวก็ได้คนเรามักจะไม่รู้ตัวเองหรอก”เขาเตือนสติข้าพเจ้าข้าพเจ้าขาดสติใช้อารมณ์ความรู้สึกอยู่เหนือเหตุผลลืมเป้าหมายของการเป็นครูของตัวเองเพราะตัวเองเคยขอพรต่อพระบรมฉายาลักษณ์ของในหลวงก่อนสอบบรรจุเป็นข้าราชการครูว่า “ถ้าลูกพอมีความรู้มีความสามารถที่จะพัฒนาเด็กเพื่อให้เป็นอนาคตที่ดีของชาติได้ลูกขอโอกาสรับใช้ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทด้วยเถิด”เมื่อข้าพเจ้ากลับมารู้ตัวอีกครั้งแล้วข้าพเจ้าจะเริ่มตรงไหนจะเริ่มอย่างไรในหลวงทรงเป็นแบบอย่างในเรื่องของการพัฒนาซึ่งต้อง“เข้าใจเข้าถึงพัฒนา”เมื่อนึกถึงสารคดีที่เคยดูก็ทำให้ตัวเองหาวิธีหากระบวนการที่จะเข้าใจเข้าถึงเพื่อพัฒนาทั้งปัญหาในตัวเองและในตัวเด็กซึ่งตนคิดว่าน่าจะเป็นสาเหตุทำให้เกิดปัญหาดังนั้นข้าพเจ้าจึงเริ่มเปิดใจคุยกับเด็กโดยการให้เด็กเขียนสะท้อนตัวครูว่าเป็นอย่างไรอยากให้ครูเพิ่มหรือลดอะไร มีสิ่งไหนในตัวครูที่ทำให้เรากลัวไหมโดยไม่ต้องระบุชื่อเมื่อเด็กทุกคนเขียนเสร็จครูก็เริ่มอ่านทีละแผ่นและช่วยกันแชร์ความคิดในกลุ่มกับเด็กและครูก็อธิบายเหตุผลที่ตนทำถ้าเหตุเกิดจากเด็กเด็กต้องปรับและช่วยครูไม่ให้มีพฤติกรรมนั้นและสิ่งไหนที่เป็นพฤติกรรมที่เกิดในตัวครูครูก็บอกเด็กว่า “ครูขอบคุณสำหรับคำแนะนำและครูจะพยายามปรับตัว”เราคุยกันแบบไม่โทษใครมีแต่เราจะทำ...ได้อย่างไรเราจะไม่โทษคนอื่นทุกอย่างต้องดูที่ตัวเราก่อนว่าเราดีพอหรือยังถ้ายังเราต้องปรับหลังจากเหตุการณ์วันนั้นทำให้ครูและเด็กกล้าเปิดใจคุยกันมากขึ้นคุยในทุกเรื่องเราช่วยกันแก้ปัญหาในทุกปัญหาที่เกิดขึ้นในห้องเรียนของเราและเราร่วมชื่นชมทุกกิจกรรมที่เราทำสำเร็จและกิจกรรมไหนที่ยังไม่สำเร็จเราก็ร่วมกันวิเคราะห์หาสาเหตุที่ทำให้ไม่สำเร็จผ่านกระบวนการคิดหลัก ปศพพ. คิดพูด ทำ3 ห่วง 2 เงื่อนไขตลอดทั้งวันที่ทำกิจกรรมร่วมกันซึ่งสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นเป็นจุดเริ่มต้นของกิจกรรมในแต่ละวันที่เราทำจนเป็นวิถีเป็นกระบวนการที่ข้าพเจ้าใช้พัฒนาตนเองและเด็กซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

กระบวนการในการเรียนรู้และพัฒนาเด็ก (เครื่องมือ นวัตกรรม)

1. การพัฒนาปัญญาภายในโดยจิตศึกษา มีการสร้างวิถีชุมชนการทำกิจกรรมจิตศึกษาและการใช้จิตวิทยาเชิงบวก

การสร้างวิถีชุมชนในทุกวัน เช้า – เย็นก่อนกลับบ้าน

-เวลา 07.30 – 08.10 เด็กและครูร่วมกันทำความสะอาดเขตรับผิดชอบต่างๆ ในบริเวณโรงเรียน

-เวลา08.10 – 08.30 เราจะทำกิจกรรมหน้าเสาธงร่วมกัน

- เวลา08.30 – 08.50 กิจกรรมจิตศึกษา ซึ่งเราจะทำเป็นประจำคือ ทำสมาธิรูปแบบต่างๆBrainGym เล่าสิ่งดีๆเขียนสิ่งดีๆและเล่าข่าวที่แต่ละคนสนใจและร่วมกันวิเคราะห์ข่าวซึ่งคำถามที่เราถามกันทุกวันขาดไม่ได้คือถ้าเป็นตัวเราเราจะทำอย่างไรซึ่งทุกคนจะคอยฟังคำตอบของแต่ละคนอย่างตั้งใจ (คิดพอประมาณมีเหตุผลมีภูมิคุ้มกัน ไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่นบนพื้นฐานความรู้ที่ถูกต้องและคุณธรรมที่ดี) เราคิด พูดทำ หลักพอเพียงตลอดทุกวันทุกกิจกรรมและร่วมกันสรุปว่าถ้าวันไหนลืมคิด ลืมทำ หลักพอเพียงผลเป็นอย่างไรวันไหนคิด พูดทำหลักพอเพียงเสมอผลเป็นอย่างไร

- เวลา 08.50 – 12.00 เป็นการเรียนในวิชาหลักคือคณิตศาสตร์ภาษาไทยภาษาอังกฤษ

-เวลา12.45 -13.00ทำกิจกรรมกำกับสติ และ Body scan

-เวลา 13.00 – 16.00 เรียน PBL

-เวลา 16.00 – 16.20ทำ AAR ก่อนกลับบ้านว่าวันนี้ทั้งวันได้เรียนรู้อะไรใหม่ประทับใจสิ่งใด และพรุ่งนี้อยากทำสิ่งใดหรือพัฒนาปรับปรุงอะไร แนะแนว ทำความสะอาดห้องเรียน ก่อนกลับบ้าน

สำหรับจิตวิทยาเชิงบวกครูใช้ตลอดทั้งวันที่อยู่ร่วมกับเด็ก

2.การพัฒนาปัญญาภายนอกโดยจัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (PBL) เด็กได้เรียนรู้จากการลงมือมือปฏิบัติจริงผ่านกิจกรรมหลักๆในการแก้ปัญหาเพื่อพัฒนาดังนี้

1.มองปัญหาร่วมกัน

2.ร่วมกันวิเคราะห์ปัญหาหาเหตุหาปัจจัยที่ทำให้เกิดเราจะมองที่ตัวเราก่อนเสมอในทุกเรื่องทุกปัญหาเราจะไม่กล่าวโทษใครแม้แต่คนเดียวมีแต่คำว่า “เราจะ ...ได้อย่างไร”

3.ช่วยกันคิดวางแผนว่าเราจะช่วยกันแก้ปัญหาหรือทำสิ่งนั้นได้อย่างไร (ใช้หลัก 3 ห่วง 2 เงื่อนไขมาคิด เด็กๆเรียก BAR)

4.ลงมือแก้ปัญหา (ใช้หลัก3 ห่วง 2 เงื่อนไขมาคิด)

5. ร่วมกันสรุปและวิเคราะห์ผลการลงมือทำ

6.ถอดบทเรียนว่าสิ่งที่ทำสำเร็จหรือไม่สำเร็จเพราะอะไรไม่สำเร็จเพราะอะไร จะต้องปรับปรุงตรงไหนตรงไหนต้องพัฒนาเพิ่มความรู้ที่ได้รับความรู้สึกต่อกิจกรรมที่ได้ร่วมทำคุณธรรมที่เกิดการนำไปใช้ประโยชน์ทั้งต่อตนเองและผู้อื่น

ซึ่งกิจกรรม PBL นี้ครูจะใช้คำถามเป็นเครื่องมือกระตุ้นการคิดพูดทำของเด็กตั้งแต่ก่อนทำระหว่างทำและหลังทำโดยคำถามของครูเน้นหลัก ปศพพ. เป็นหลักคิดหลักปฏิบัติเสมอทุกกิจกรรมทำซ้ำๆ ย้ำๆบ่อยๆทุกวันและถามย้ำว่าเมื่อเราใช้หลักคิด ปศพพ. มาคิด พูดทำแล้วผลเป็นอย่างไรวันไหนหรือเรื่องไหนที่เราไม่ใช้เกิดอะไรขึ้นซึ่งทุกครั้งที่เราทำแบบนี้ผลที่เด็กได้เรียนรู้คือครั้งไหนที่ไม่ใช้หลัก ปศพพ.ครั้งนั้นคือเกิดปัญหาครั้งไหนที่ใช้คือปัญหาไม่เกิด

เกิดความสำเร็จความเปลี่ยนแปลงกับเด็กดังนี้

1. กล้าคิดกล้าทำมั่นใจในตัวเองมากขึ้นเห็นคุณค่าของตัวเองว่าตัวเองก็สำคัญกล้าพูดกล้าตอบคำถามทุกคนมีความกระตือรือร้นอยากรู้อยากเรียนมากขึ้นผลการเรียนดีขึ้นสามารถวางแผนการเรียนรู้ร่วมกันแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเองมีความรับผิดชอบรู้หน้าที่สนใจความรู้สึกของผู้อื่นมากขึ้น ไม่ทะเลาะกันไม่ขัดแย้งกันไม่งอนกันทำงานเป็นกลุ่มร่วมกับเพื่อนคนไหนก็ได้ รู้หลักประชาธิปไตยไม่เลือกทำในสิ่งที่ผิดถึงแม้จะเป็นเสียงข้างมากทำงานที่ได้รับมอบหมายได้สำเร็จไม่ต้องมีครูมาคอยนั่งเฝ้า

เห็นได้จากเหตุการณ์ที่ครูไปอบรมติดราชการหรือภารกิจต่างๆเด็กๆ สามารถวางแผนการเรียนรู้แบ่งกลุ่มสืบค้นข้อมูลทำกิจกรรมต่างๆที่ได้รับมอบหมายได้สำเร็จครูกลับมาก็จะพบงานบนโต๊ะครูก็ซักถามกระบวนการได้มาซึ่งชิ้นงาน ถามเหตุถามปัจจัยถามวิธีการแก้ปัญหาต่างๆ เด็กก็คอยตอบคำถามและนำเสนอและครั้งหนึ่งงานใหญ่ของเขากิจกรรมปิดควอเตอร์วันนั้นครูไม่อยู่พี่ๆม.3สามารถทำกิจกรรมได้เป็นที่น่าพอใจทุกคนที่เข้าชมนิทรรศการและการสรุปองค์ความรู้ประเมินเป็นเสียงเดียวกันว่าเขาเยี่ยมมากสามารถดำเนินกิจกรรมทุกอย่างได้สมบูรณ์ดูแลแขกดูแลผู้ปกครองพาน้องๆ ทำกิจกรรมได้อย่างน่าสนใจทั้งๆที่ไม่มีครูที่ปรึกษาอยู่ด้วยซื่งครูกลับมาก็ให้เขาถอดบทเรียนและเล่าให้ครูฟังถึงสิ่งที่ประทับใจครูร่วมชื่นชมกับความสำเร็จของเขาและบอกกับเขาว่าเหตุการณ์ครั้งนี้เป็นบทพิสูจน์ให้ครูและใครๆเห็นว่าพวกเราทำได้ เห็นไหมว่ากิจกรรมทุกอย่างไม่จำเป็นต้องมีครูมาคอยบอกคอยสั่งเราก็สามารถทำเองได้แล้วเราทำได้เพราะอะไรเด็กๆก็ช่วยกันตอบทีละคนทุกคนตั้งใจฟังอย่างตั้งใจทุกคนได้ค้นพบว่าเพราะเราทุกคนช่วยกันไม่เอาแต่ใจตัวเองทุกคนเริ่มที่ตัวเองเปลี่ยนที่ตัวเองคิดถึงกลุ่มคิดถึงห้องคิดถึงเป้าหมายที่ทำเป็นหลักเพราะเราใช้หลักพอเพียงในการทำงานในทุกขั้นตอนงานครั้งนี้เลยสำเร็จสมบูรณ์แบบ

2. ใช้ชีวิตอย่างพอเพียงไม่ฟุ้งเฟ้อรู้ฐานะ รู้ประมาณตนไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น รู้จักยับยั้งชั่งใจรู้เป้าหมายในชีวิตของตัวเองมุ่งมั่นมั่นคงมีเหตุผล

บทพิสูจน์การพัฒนาตนเองมีเหตุการณ์เกิดขึ้นเหตุการณ์หนึ่งก่อนจบ ม.3 ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ไม่ได้สร้างสถานการณ์ขึ้นแต่เกิดขึ้นจริงเรื่องมีอยู่ว่าพี่ ม.1-ม.2 จะไปทัศนศึกษาที่หาดจ้าวหลาวจังหวัดจันทบุรีก่อนวันปัจฉิมและปิดควอเตอร์ไม่กี่วันซึ่งคณะที่จะไปทัศนศึกษามีปัญหาเรื่องงบประมาณไม่เพียงพอจึงได้ชวนพี่ ม.3ไปด้วยด้วยเหตุผลที่ว่าอยากให้ไปด้วยกันแต่ต้องช่วยกันออกค่ารถเพิ่มซึ่งพี่ ม.3 ได้ทดสอบตนเองโดยไม่รู้ตัวเหตุการณ์นี้นอกเหนือจากแผนที่พี่ ม.3 ได้วางแผนหรือที่เรียกว่างานจรก็ว่าได้ซึ่งได้ยินราคาค่ารถประมาณ 200 – 350 บาท ประมาณนั้นไม่กล้าตอบเพราะไม่ค่อยทราบเรื่องนี้กับคณะที่จะเดินทางคุณครูที่จะไปทัศนศึกษาก็เปลี่ยนกันมาพูดคุยหลายต่อหลายครั้งด้วยเหตุผลที่ดีและซาบซึ้งกับพี่ ม.3แต่ทุกครั้งเด็กๆก็ตอบว่าไม่ไปข้าพเจ้าจึงอยากรู้ว่าเพราะอะไรจึงได้นั่งล้อมวงคุยกันแบบเปิดใจ แล้วก็ถามเหตุผลทีละคนว่าเพราะอะไรซึ่งคำตอบคือเขาไม่มีเงินเพราะเงินที่เขามีต้องเก็บไว้เพื่อเรียนต่อเพราะมีค่าใช้จ่ายเยอะเก็บไว้จ่ายค่าของที่ระลึกรุ่นให้โรงเรียนในวันปัจฉิมจ่ายค่าถ่ายรูปเพื่อขอจบ ม.3การไปเที่ยวทะเลไปเมื่อไหร่ก็ได้ที่เราพร้อมแต่ตอนนี้คือยังไม่พร้อมปิดเทอมนี้หนูก็จะไปกับครอบครัวอยู่แล้วต้องเก็บเงินไปตอนนั้นเราเสนอให้น้องไปที่อื่นได้ไหมที่ไม่ต้องออกเงินเพิ่มแต่น้องๆไม่ยอมเราก็ไม่มีเงินถ้าไปก็ต้องขอพ่อแม่อีกแล้วท่านก็ไม่มีเงินเหมือนกันจริงอย่างที่คุณครูท่านว่าแหละค่ะว่าหาที่ไหนไม่ได้แล้วนะไปทะเลตั้งไกลจ่ายเงินแค่นี้อาหารฟรีที่พักฟรี แต่หนูว่าถึงฟรีก็ต้องกินจำกัดที่เขากำหนดถ้าเราอยากกินเพิ่มก็ต้องได้หาซื้อมันไม่ใช่เงินแค่นี้เพราะถ้าได้ไปแล้วไหนจะค่าขนมค่าของฝากเราไปเที่ยวก็ต้องอยากซื้ออยากได้นั่นอยากได้นี่หนูว่าต้องเงินเป็นพันโน่นแหละค่ะถึงจะพออย่าว่าแต่พันเลยค่ะตอนนี้แค่ร้อยหนูก็ยังไม่มีหนูอยากไปนะอยากไปมากแต่หนูไม่สามารถไปได้ชวนน้องเปลี่ยนที่ไปน้องก็ไม่เอาแล้วเราก็ยังต้องมีงานปัจฉิมงานปิดควอเตอร์อีกซึ่งต้องใช้เวลาในการทำถ้าเราไปเที่ยวเราก็อาจจะทำไม่ทันหรือต้องเหนื่อยมากขึ้นรีบมากขึ้นดังนั้นเราเลยสรุปว่าเราไม่ไปค่ะ/ครับถ้าท่านเป็นผู้ประเมินท่านคิดว่าเด็กกลุ่มนี้ได้เรียนรู้อย่างที่ข้าพเจ้าว่าหรือไม่ที่ถามเพราะข้าพเจ้าเชื่อว่าการประเมินผลใดๆต้องหลายคนช่วยประเมินดีกว่าการประเมินด้วยคนเพียงคนเดียวซึ่งจากเหตุการณ์นี้ทั้งครูและพี่ ม.3 ได้เรียนรู้ร่วมกันว่า “เป้าหมายมีไว้ให้พุ่งชนปัญหาและอุปสรรคคือบทพิสูจน์ใจ”ถ้าเราบังคับใจตัวเองไม่ได้ลืมเป้าหมายกลางทางความสำเร็จก็จะไม่ครูให้ความมั่นใจและความเชื่อมั่นของเด็กในเหตุการณ์ครั้งนี้ว่าเขาทำได้เขาสามารถเอาชนะใจตัวเองได้ทั้งๆที่อยากไปใจแทบขาดครูก็ไม่ห้าม ผู้ปกครองหลายท่านก็ไม่ได้ห้ามลูกแต่คำตอบของลูกน่าชื่นใจสำหรับพ่อแม่ว่าหนูรู้จักคิดรู้จักห้ามใจรู้จักใช้เงินรู้จักแยกแยะรู้ลำดับความจำเป็นความสำคัญนี่อนาคตของที่มีอันจะกินเลยนะเนี่ยถ้าพี่ทำได้เช่นนี้ในหลายๆเรื่องทั้งเรื่องเล็กๆไปจนถึงเรื่องใหญ่ๆจะไม่มีสิ่งใดทำลายความตั้งใจดีของพี่พี่จะเป็นคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตเธอรู้ไหมครูภูมิใจในตัวพวกเธอมากนี่คือบทพิสูจน์ใจจริงๆ พิสูจน์ให้ครูเห็นว่าพี่จะไม่ได้เป็นแค่เด็กดีบ้านปะทายแต่พี่ทำให้ครูมั่นใจว่าพี่จะเป็นอนาคตที่ดีของชาติได้แน่นอนถ้าพี่มั่นคงศรัทธายึดมั่นถือมั่นในความดีไม่เอนไหวตามสิ่งยั่วยุต่างๆครูเชื่อเช่นนั้น

3.รู้ตัวเองเห็นคุณค่าของตัวเองยอมรับผู้อื่นและให้เกียรติผู้อื่น สามารถเข้าสังคมเป็นเห็นคุณค่าของภูมิปัญญาพื้นถิ่นของตนเห็นคุณค่าของสิ่งต่างๆรอบตัว

เห็นได้จากเหตุการณ์ที่ครูไปเยี่ยมบ้าน ได้คุยกับผู้ปกครองนั่งพูดคุยกันกับเด็กอย่างตั้งใจร่วมกันวิเคราะห์ถึงสาเหตุปัจจัยของปัญหาครูพาไปทัศนศึกษาที่สวนป่ามหาชีวลัยอีสาน ไปอยู่กับพ่อครูสุทธินันท์1 คืน ไปใช้ชีวิตในป่าร่วมกันกินอยู่แบบพอเพียงใช้ประโยชน์จากสิ่งรอบตัวได้ดูแลกันและกันป่าดูแลคนคนดูแลป่าสัตว์ดูแลคนคนดูแลสัตว์ทุกสิ่งต้องดูแลกันและกันเราได้รู้ตัวเองเห็นคุณค่าของตัวเราว่าก็สำคัญกับผู้อื่นผู้อื่นก็สำคัญกับเราเราได้ไปตามหาเป้าหมายในชีวิตจนได้คำตอบและข้อสรุปของแต่ละคนกลับออกมาจากป่าอย่างภูมิใจอย่างคนมีเป้าหมายในชีวิตทั้งครูและเด็กกลับมามาถอดบทเรียนและวางแผนชีวิตในสิ่งที่อยากจะทำแล้วก็เริ่มทำ มีอุปสรรคมีปัญหาบ้างเราก็ช่วยกันแก้เป็นเรื่องๆไปโดยยึดหลัก ปศพพ.มาคิดเสมอคิดทุกเรื่อง

ผลที่เกิดขึ้นจากการได้คิดพูดได้ช่วยกันลงมือแก้ปัญหาต่างๆร่วมกันพบว่าเด็กๆมีความสุขมีเสียงหัวเราะมีรอยยิ้มมากขึ้นเวลาทำงานก็ไม่ทะเลาะกัน ยอมรับกันและกันมากขึ้นโดยเฉพาะพี่บ๋อมก็ไม่ดูถูกเพื่อนไม่พูดตัดกำลังใจเพื่อนไว้ใจเพื่อนมากขึ้นเป็นผู้นำในการทำกิจกรรมหลายๆอย่างจนสำเร็จ เด็กกล้าคุยกับครูในทุกเรื่องแม้แต่เรื่องส่วนตัว

สิ่งที่ครูได้เรียนรู้จากการสร้างการเรียนรู้

  • ครูกับเด็กสามารถเรียนรู้จากกันและกันได้สามารถพัฒนาไปพร้อมๆกันได้
  • รู้เด็กทุกคนเข้าใจเด็กทุกคนที่ตนรับผิดชอบเอ่ยชื่อปุ๊บรู้เลยว่าคนนี้เป็นคนอย่างไรพูดประมาณไหนได้เป้าหมายในชีวิตเขาเป็นใครมีแฟนที่ไหนเกินเลยหรือยังแค่ไหนพูดจาแบบไหนต้องเสริมแรงอย่างไร ต้องเพิ่มเติมประสบการณ์โลกภายนอกเรื่องอะไรบ้าง
  • รู้ว่าหน้าที่ครูนั้นยิ่งใหญ่ครูไม่สามารถทิ้งเด็กได้เลยแม้แต่คนเดียวถึงแม้เขาจะมีพฤติกรรมที่ครูรับไม่ได้เช่นกรณีพี่บ๋อมแต่เพียงครูเปิดใจและมองโลกในแง่ดีมองหาความดีของเขาอดทนรอคอยสิ่งดีงามคอยชื่นชมพฤติกรรมดีและชวนเขาวิเคราะห์พฤติกรรมที่ไม่ดีว่าเกิดจากอะไร ผลจะเป็นอย่างไร ให้เขาคิดเองว่าควรทำต่อหรือไม่โดยครูไม่ต้องไปคาดคั้นคำตอบปล่อยให้เขาคิดครั้งหลังครูจะพบว่าเขาจะไม่ทำถ้าครั้งนั้นข้าพเจ้าปล่อยพี่บ๋อมไปปล่อยเด็กที่ทำผิดกฏโรงเรียนไป วันนี้ข้าพเจ้าก็คงจะไม่เห็นคนดีเพิ่มขึ้นข้าพเจ้าอาจจะมองไม่เห็นคุณค่าและความงามของความเป็นครูเพราะคนเราไม่มีใครดีร้อยเปอร์เซนต์เขาเป็นใคร แล้วเราเป็นใคร เราเกิดก่อนเขาเราเป็นครู ดังนั้นเขาไม่ผิดเพราะเขาอาจจะยังไม่รู้แต่ครูรู้
  • เด็กวัยรุ่นครูจะลงโทษกล่าวโทษหรือคาดโทษเลยไม่ได้ผลเด็กจะไม่เปลี่ยนพฤติกรรมครูต้องอดทนรอคอยค่อยใช้เหตุและผลในการพูดคุยยิ่งดุยิ่งเอาไม่อยู่ต้องใจเย็น
  • ครูจะได้คนดีกลับมาอีกเยอะรวมทั้งตัวครูด้วยจากการมองแต่สิ่งที่ดีในตัวผู้อื่นให้มากเพราะไม่มีใครดี 100% ขอแค่ดีขึ้นก็ควรชื่นชม และเสริมแรงให้ทำดีมากยิ่งขึ้น
  • รู้ว่าครูต้องเป็นแบบอย่างที่ดีเพราะเด็กเขามีเหตุผลเขาคิดเป็นทำเป็นแก้ปัญหาเป็นถ้าครูเป็นตัวอย่างที่ดีไม่ได้เด็กจะขาดศรัทธาไม่เชื่อถือฟังแต่ไม่ทำตาม อยากให้เกิดสิ่งใดกับเด็กเราก็ต้องทำให้เกิดกับเราก่อนทำให้เด็กเห็นยกตัวอย่างได้อย่างไม่ติดขัดไม่ขัดเขินสอนได้อย่างภูมิใจ
  • ครูต้องคอยเสริมแรงชี้แนะแนะแนวในสิ่งที่เด็กฝันอยากจะเป็นให้มองและทำให้เป็นจริง
  • เป็นกันเองกับเด็กรักเด็ก แสดงให้เขาเห็นถึงความจริงใจที่เราให้เขาโดยไม่หวังสิ่งตอบแทน เด็กจะซึมซับเรียนรู้การกระทำต่างๆโดยไม่ต้องบอกสอนวัยรุ่นต้องพยายามเป็นเพื่อนเป็นพี่เป็นที่ปรึกษาที่ดีให้ได้เพราะเขาจะมีความไว้ใจและกล้าเล่าเรื่องต่างๆให้ฟังสามารถช่วยเหลือเด็กได้ทันเมื่อมีปัญหา
  • รู้ว่าเด็กสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองสามารถสืบค้นหาแหล่งเรียนรู้และลงมือทำอะไรหลายๆอย่างได้สำเร็จเพียงแค่ครูต้องวางวิถีปฏิบัติให้ชัดเจนเป็นตัวอย่างที่ดีให้เห็นเด็กจะเกิดการเรียนรู้เองอย่างอัตโนมัติจากตัวอย่างที่เห็นและได้ลงมือทำ
  • รู้ว่าคำถามเป็นเครื่องมือสำคัญที่สามารถกระตุ้นการคิดพูดทำ สิ่งต่างๆของเด็กได้ดี
  • อุปนิสัยพอเพียงสมรรถนะคุณลักษณะค่านิยมต่างๆสามารถสร้างได้จากการลงมือทำทำซ้ำๆทำย้ำๆทำบ่อยๆจนเกิดเป็นอุปนิสัยต้องทำเท่านั้นพูดเฉยๆท่องเฉยๆยังไงก็ไม่เกิดต้องทำทำแล้วก็มา AARกัน
  • รู้ว่าการใช้หลัก ปศพพ.มาคิดมาปฏิบัตินั้นดีมากๆครูต้องใช้หลัก ปศพพ. มาคิดมาปฏิบัติกับตัวเองเสมอๆในทุกๆเรื่องแล้วนำมาใช้กับเด็กในทุกกิจกรรมทุกเรื่องตั้งแต่ก่อนทำระหว่างทำและหลังทำเพื่อปรับปรุงและพัฒนาทุกเรื่อง
  • รู้ว่าครูต้องใช้จิตวิทยาเชิงบวกตลอดเวลาเช่นเดียวกับการใช้หลัก ปศพพ. กับเด็กเพราะจะทำให้ช่องว่างระหว่างครูกับเด็กลดลงจนอาจจะไม่มี
  • ครูจะต้องไว้ใจเด็กและคิดว่าเด็กจะสามารถทำได้ให้ความมั่นใจเขาเมื่อเขาขาดความเชื่อมั่นสร้างพลังโดยการกระทำโดยการพูดให้กำลังใจ ให้เขามั่นใจว่าเขาจะทำได้พอเขาทำได้ก็ชื่นชมเช่น“ครูดีใจด้วยนะครูภูมิใจจริงๆนี่แค่ครั้งแรกนะยังทำได้ขนาดนี้เลยครูเชื่อว่าเราจะทำได้ดีแบบนี้อีกและจะดียิ่งๆขึ้นไปถ้าเราพยายามและตั้งใจช่วยกัน” พอทำไม่ได้หรือไม่สำเร็จก็ปลอบใจเช่น “ไม่เป็นไรไม่มีใครทำเป็นมาตั้งแต่เกิดเราต้องเรียนรู้เรียนรู้เพื่อพัฒนาครั้งหน้าเอาใหม่” เป็นต้น
  • เมื่อวิเคราะห์หรือคุยกันในเรื่องปัญหาครูต้องมองตัวเองก่อนเสมอทุกคนต้องมองตัวเองก่อนเสมอ แล้วเราไม่มีการกล่าวโทษใครคนใดคนหนึ่งมีแต่ เราจะช่วยกันได้อย่างไร

ทุกสิ่งทุกอย่างที่เล่ามาทั้งหมด จะเกิดไม่ได้เลยถ้าครูและเด็กไม่ได้ลงมือคิดพูดและทำร่วมกันอย่างมีสติคำว่าแม่พิมพ์ของชาติยังจำเป็นและควรเป็นที่สุดสำหรับคนเป็นครูเด็กจะเรียนรู้สิ่งที่ดีไม่ได้เลยถ้าขาดตัวอย่างที่ดีที่มีอยู่จริงให้เห็นให้สัมผัสและชวนให้เด็กอยากลงมือทำ