สถานการณ์เรื่องราวที่เป็นจุดเริ่มต้นและกระบวนการพัฒนาเด็ก
นักเรียนคนหนึ่ง ชื่อเด็กชายพิสิฐ ธนะเรือง ตอนนี้อยู่ ป.3 กำลังจะขึ้น ป. 4 แล้ว ตอนที่เขาเข้าเรียนชั้นอนุบาลเขาเป็นเด็กไม่พูดจา กลัวครู ไม่ค่อยเล่นกับเพื่อน กลัวแม้กระทั่งพัดลมที่อยู่บนเพดาน ถ้าเปิดพัดลมเขาจะร้องไห้ตลอด และร้องไห้อยากกลับบ้านทุกวัน พอตอนขึ้นชั้น ป.1 เขาก็ยังเป็นเหมือนเดิมคือไม่กล้าเข้าหาครู ไม่ค่อยกล้าแสดงออก ไม่ค่อยเล่นกับเพื่อน ไม่มีความมั่นใจ พอขึ้นชั้น ป. 2 โรงเรียนของเรานำกิจกรรมจิตศึกษามาใช้ ทำให้เขาได้ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรม เขาก็เริ่มพูดคุยกับเพื่อนมากขึ้น กล้าคุยกับครูบ้างแต่ก็ยังไม่ค่อยกล้าแสดงออกเท่าที่ควร และเขาจะเลือกพูดแต่กับคนที่สนิท ที่เขาเคยพูดคุยบ่อยๆ และพอเขาขึ้น ป.3เขาก็เริ่มมีสัมพันธภาพที่ดีกับเพื่อมากขึ้น กล้าแสดงความคิดเห็น กล้าแสดงออก กล้าถามครู และชอบพูดคุยกับครู และชอบหาคำถามมาถามครูบ่อยๆ ที่นอกเหนือจากการเรียนการสอน
ทั้งนี้ก็เพราะการนำกิจกรรมจิตศึกษามาใช้ เพราะเป็นกิจกรรมที่ทำให้เด็กได้ฝึกกำกับสติ สมาธิ ได้แสดงความคิดเห็น ได้กล้าแสดงออก ได้ทำกิจกรรมร่วมกับเพื่อน ได้มีส่วนร่วม ทำให้เขาได้เห็นคุณค่าในตัวเอง ว่าตัวเองสามารถทำได้เหมือนคนอื่น และที่สำคัญคือท่าทีของครูที่เปลี่ยนไปในทางที่ดี ครูรู้จักเด็กมากขึ้น เข้าอกเข้าใจ เอาใจใส่เด็ก รู้จุดที่ควรพัฒนาปรับปรุงและเสริมสร้างให้เด็ก และ ไว้วางใจ กล้าเข้าหา รู้จักใช้จิตวิทยาเชิงบวก ชมเชยเขา มั่นใจในตัวเขา เห็นคุณค่าในตัวเขา และน้ำเสียงของครูที่พูดเสียงเบา อ่อนโยน ยิ้มแย้ม จึงให้เขามีสัมพันธภาพที่ดีกับครูและเพื่อนๆ (ครูได้มีการเรียนรู้และเข้าใจในกระบวนการกิจกรรมจิตศึกษาเพิ่มมากขึ้น รู้จักใช้จิตวิทยาเชิงบวก เห็นคุณค่าในตัวเขา เชื่อมั่นในตัวเขา และมีท่าทีเชิงบวก)
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นกับเด็ก
จากการนำกิจกรรมจิตศึกษามาใช้ทำให้เด็กชายพิสิฐ ธนะเรือง กล้าพูดคุยกับเพื่อน กับคนอื่นมากขึ้น กล้าเข้าหาครู กล้าพูดคุย กล้าแสดงออก กล้าแสดงความคิดเห็น กล้าทำสิ่งต่างๆ มีความมั่นใจในตนเองมากขึ้น กล้าถามครูมากขึ้น เมื่อไม่เข้าใจเขาจะถามครูตลอด และชอบมีคำถามมาถามครูอยู่เรื่อยๆ นอกเหนือจากการเรียนการสอน เป็นคนที่ใฝ่รู้ใฝ่เรียน รู้จักแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ชอบอ่านหนังสือมีน้ำใจและรู้จักช่วยเหลือคนอื่น เวลาว่างหลังเลิกเรียนก็จะช่วยครูทำงาน บางครั้งเวลาว่างก็เสนอตัวอยากช่วยงาน และอยากมาโรงเรียน มาพบมาเจอเพื่อนๆ และครูและในส่วนของครู ทำให้ครูได้เรียนรู้คือท่าทีของครูที่เปลี่ยนไปในทางที่ดี รู้จักใช้จิตวิทยาเชิงบวก (ชมเชยและให้กำลังใจ ไม่ลดค่า ไม่ตีค่า ไม่เปรียบเทียบเด็ก ไม่ทำให้เขากลัว เห็นคุณค่าในตัวเขา ) ครูรู้จักเด็กมากขึ้น เข้าอกเข้าใจ เอาใจใส่เด็ก รู้จุดที่ควรพัฒนาปรับปรุงและเสริมสร้างให้เด็ก ทำให้เด็ก ไว้วางใจ กล้าเข้าหา รู้จักชมเชยเขา ทำให้เขามั่นใจในตัวเอง เห็นคุณค่าในตัวเขา และการใช้น้ำเสียงของครูควรพูดเสียงเบา อ่อนโยน ยิ้มแย้ม ทำให้ครูและนักเรียนมีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน