สภาพปัญหาของหมอกควันในภาคเหนือตอนบนของประเทศ ถือเป็นปัญหาสำคัญ ที่ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของประชาชน
ในวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ.2555 ที่ผ่านมา สภาพอากาศถือว่าเลวร้ายที่สุด เพราะตรวจพบค่าฝุ่นละอองเกินมาตรฐาน ซึ่งอยู่ในระดับ 200 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตรใน 8 จังหวัดของภาคเหนือ ซึ่งถือว่าคุณภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์ที่อันตราย
คลิกเพื่ออ่านต่อ

จากปัญหาที่เกิดขึ้นอาจเนื่องจากหลายสาเหตุ เช่น การดำเนินชีวิตของคนในชุมชน เพราะส่วนใหญ่ชาวบ้านจะทำการเกษตรเป็นหลัก อาทิ ปลูกข้าว ปลูกสับปะรด และปลูกข้าวโพดและเมื่อเก็บเกี่ยวแล้วจะมีการเผาตอซังเพื่อเป็นการเตรียมหน้าดินในการทำการเกษตรในครั้งต่อไป การเผาตอซังข้าว เศษกอสับปะรด ต้นสับปะรด เศษใบไม้รวมถึงขยะในครัวเรือน ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาหมอกควัน  

จากปัญหาของหมอกควันที่เกิดขึ้นได้ส่งผลกระทบด้านสุขภาพการและสุขภาพจิตของคนในชุมชนโดยเฉพาะผู้ที่มีภูมิต้านทานต่ำ เช่น เด็ก คนแก่หรือผู้เป็นโรคทางเดินหายใจ และยังทำให้เกิดความเสียหายต่ออาคารบ้านเรือน ด้านการเจริญเติบโคทางเศรษฐกิจภายในชุมชน เกิดการบดบังทัศนะวิสับในการจราจร เป็นอุปสรรค์ในการคมนาคมและการขนส่ง ทางด้านการท่องเที่ยว มีผลต่ออารมณ์และพฤติกรรมของคนในชุมช

จากปัญหาดังกล่าวที่เกิดขึ้นทางกลุ่มสภาเด็กและเยาวชนตำบลบ้านดู่ ได้เล็งเห็นความสำคัญจากปัญหาเหล่านี้จึงได้มีการรวมตัวกันจัดทำโครงการ หมอกควัน มหันตภัยเงียบขึ้นเพื่อลดปัญหาหมอกควันที่เกิดจากการเผาเศษใบไม้และขยะในครัวเรือน เพื่อสะท้อนนให้คนในชุมชนตระหนักรู้ว่าปัญหาที่เกิดเป็นเรื่องที่สำคัญและมีผลกระทบกับตัวชาวบ้านโดยตรง โดยสาเหตุส่วนใหญ่นั้นก็คือทุกๆคนในชุมชนนั่นเอง และหวังจะเชื่องโยงไปถึงสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดหมอกควัน เช่น การเผาตอซัง ซึ่งทางกลุ่มของเราคิดว่า พวก้ราทุกคนก็เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ เราจะไม่ให้ธรรมชาติเกิดความเสียหาย หรือเสื่อมโทรมลงไป จึงมีการร่วมกันรณรงค์ในการลดการเผาต่างๆ และปลูกจิตสำนึกให้เด็กในชุมชน ให้ได้รู้ว่าธรรมชาตินั้นเป็นสมบัติอันมีค่าของพวกเขาทุกๆคน ทั้งยังเป็นการลดอัตราการเจ็บป่วยจากโรคที่เกิดจากมลพิษทางอากาศ และเป็นการช่วยกันรักษาธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ถือเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิตมนุษย์ ที่อยู่ใกล้กับตัวเราให้ธำรงอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์สืบไป

วัตถุประสงค์

1.เพื่อรณรงค์สร้างความตระหนัก และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาของเรื่องหมอกควันกับคนในชุมชน

2.เพื่อให้คนในชุมชนปรับเปลี่ยนพฤตกรรมการเผาเศษใบไม้ในบริเวณบ้าน ที่จะนำไปสู่การเปลี่ยนพฤติกรรมในการเผาตอซังในพื้นที่การเกษตร

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ชาวบ้านเกิดความตระหนัก และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาของหมอกควันมากยิ่งขึ้น

2.ปัญหาหมอกควันที่มีสาเหตุมาจาก การเผาเศษใบไม้ และขยะ ภาในบริเวณบ้านลดลง

3.เกิดข้อตกลงร่วมในการแก้ไขปัญหาหมอกควันในชุมชน

4.เกิดองค์ความรู้ในการแก้ปัญหาหมอกควัน หรือการจัดการเศษใบไม้และตอซัง

เป้าหมาย

ลดปัญหาหมอกควันที่เกิดจากการเผาเศษใบไม้และขยะในครัวเรื่อน เพื่อสะท้อนให้คนในชุมชนตระหนักรู้ว่าปัญหาที่เกิดเป็นเรื่องสำคัญและมีผลกระทบต่อตัวชาวบ้านโดยตรง

­

­

ย่อข้อมูลโครงการ
ความเคลื่อนไหวล่าสุด
เวทีความคิด
บุคคล/องค์กรที่เกี่ยวข้อง