ปัจจุบันหมู่บ้านจำขี้มดตั้งอยู่ หมู่ที่ 2 เขตพื้นที่ตำบลศรีบัวบาน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน มีวิถีชีวิตเรียบง่ายตามแบบชาวไทยล้านนาภาคเหนือตอนบน มีวิถีชีวิตและวัฒนธรรมภูมิปัญญาดั้งเดิมสืบทอดมาตั้งแต่บรรพบุรุษ ไม่ว่าจะเป็นการประดิษฐ์เครื่องอุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ในพิธีกรรม ปัจจุบันผู้ที่หาอุปกรณ์เครื่องแต่งดาตามพิธีกรรมก็มักจะเป็นผู้สูงอายุซึ่งมีอายุมากแล้ว ซึ่งงานฝีมือเหล่านี้ใช้ประกอบในพิธีกรรมต่างๆในชุมชน ทางกลุ่มเด็กและเยาวชนบ้านจำขี้มดเห็นว่าเครื่องแต่งดาตามพิธีกรรมสำคัญเป็นอย่างมากจึงอยากที่จะศึกษาเรียนรู้และสืบทอดวิธีการทำเครื่องแต่งดาพิธีกรรมต่างๆสืบไว้เพื่อไม่ให้สูญหายไปพร้อมกับผู้รู้ภูมิปัญญา
คลิกเพื่ออ่านต่อ

ชื่อโครงการ โครงการ สืบฮีตสานฮอยภูมิปัญญา ''ครัวแต่งดาพิธีกรรม"

กลุ่มเยาวชน กลุ่มเยาวชนบ้านจำขี้มด ตำบลศรีบัวบาน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน

บริบทชุมชน เดิมหมู่บ้านจำขี้มด มีชื่อว่าหมู่บ้านจำไคร้มดและมีการเรียกเพี้ยนมาจนกลายเป็นจำขี้มด ปัจจุบันหมู่บ้านจำขี้มดตั้งอยู่ หมู่ที่ 2 เขตพื้นที่ตำบลศรีบัวบาน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน มีวิถีชีวิตเรียบง่ายตามแบบชาวไทยล้านนาภาคเหนือตอนบน ประชากรในหมู่บ้านมีอาชีพทำไร่ทำสวน เกษตรกรรมเป็นส่วนใหญ่ ภายในชุมชนมีต้นดอกเหลืองอินเดียเป็นสัญลักษณ์ของหมู่บ้าน มีสถานที่สำคัญ คือ ดอยพระญายีบา ฝายวังปลาอ่างแม่สาร มีวิถีชีวิตและวัฒนธรรมภูมิปัญญาดั้งเดิมสืบทอดมาตั้งแต่รุ่นปู่ย่าตายาย ไม่ว่าจะเป็นการประดิษฐ์เครื่องอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในพิธีกรรมเช่น งานแต่งงานในงานแต่งงานจะมีขันผูกข้อมือซึ่งภาคเหนือจะนิยมใช้ในพิธีแต่งงาน ส่วนงานขึ้นบ้านใหม่ก็จะมีบายศรีและชุดสืบชะตา ส่วนงานศพก็จะมีเครื่องตามพิธีการของงานศพ ปัจจุบันผู้ที่หาอุปกรณ์เครื่องแต่งดาตามพิธีกรรมก็มักจะเป็นผู้สูงอายุซึ่งมีอายุมากแล้ว ซึ่งงานฝีมือเหล่านี้ใช้ประกอบในพิธีกรรมต่างๆในชุมชนเด็กเยาวชนไม่รู้จักทำไม่เป็นหากไม่มีการสืบสานต่อไปภูมิปัญญาด้านนี้หายไปจากชุมชน

ปัญหาและเป้าหมาย กลุ่มเยาวชนเคยรวมกลุ่มเมื่อปีพ.ศ.2549 ทำกิจกรรมร่วมกัน เช่น ทำกิจกรรมร่วมกับเครือข่ายเด็กและเยาวชนจังหวัดลำพูน ทำกิจกรรมจิตอาสาเดินกล่องส่งน้องเรียนทำฝายวังปลากิจกรรมเกี่ยวกับวัฒนธรรม เช่น ฟ้อน รำ กลองสะบัดชัย จากสถานการณ์ที่กล่าวมาทำให้ทางกลุ่มเด็กและเยาวชนบ้านจำขี้มดเห็นว่าเครื่องแต่งดาตามพิธีกรรมสำคัญเป็นอย่างมากจึงอยากที่จะศึกษาเรียนรู้และสืบทอดวิธีการทำเครื่องแต่งดาพิธีกรรมต่างๆสืบไว้เพื่อไม่ให้สูญหายไปพร้อมกับผู้รู้ภูมิปัญญา หากทำโครงการนี้ทำให้ได้ความรู้จากภูมิปัญญา ได้สืบทอดภูมิปัญญาได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้ใหญ่ในหมู่บ้านทำให้เยาวชนได้รวมกลุ่มทำกิจกรรมร่วมกันกล้าแสดงออก มีการใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ สามารถนำความรู้มาใช้ในชีวิตประจำวันได้ และบางอย่างก็สร้างรายได้ให้กับเยาวชนด้วย  ทำให้เยาวชนได้ทำกิจกรรมร่วมกัน มีการพัฒนาด้านงานฝีมือการประดิษฐ์สิ่งของต่างๆ ทักษะการทำงานร่วมกันรวมทั้งยังทำให้ชุมชนมีภูมิปัญญาคงอยู่คู่กับชุมชน ซึ่งมีการพัฒนาเรื่อย ๆ เป็นอีกช่องทางหนึ่งในการสร้างรายได้เสริมให้กับคนในชุมชนต่อไป

ผลและคุณค่าที่เกิดขึ้น 

1. ได้ข้อมูลความรู้ภูมิปัญญา''ครัวแต่งดาพิธีกรรม" (งานแต่งงาน งานขึ้นบ้านใหม่ และงานศพ งานบวช)ของชุมชนบ้านจำขี้มด

2. มีการสืบสานภูมิปัญญาให้คงอยู่คู่กับชุมชนบ้านจำขี้มด

3. เยาวชนใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ มีรายได้เสริมให้กับเยาวชน

4. เยาวชนเกิดการรวมตัวกันในการทำกิจกรรมร่วมกับชุมชนมากขึ้น

พี่เลี้ยงชุมชน 

1. นายชลวิทย์ ปันสัก 

2. อินทุอร หล้าโสด 

ทีมทำงาน

1.ด.ญ.พัชรินทร์ อุดมทิพย์ เชียร์ 

2.ด.ญ.อัญชิสา ขันนา เนย 

3.ด.ญ.สุชาดา ศรีวิชัย ต้นหนาว 

4.ด.ญ.ธีรนาฏ ขันนา ใหม่ 

5. น.ส.สุภัทรดรา คำธง หมวย   

ย่อข้อมูลโครงการ
ความเคลื่อนไหวล่าสุด
เวทีความคิด
บุคคล/องค์กรที่เกี่ยวข้อง