ปัจจุบันความนิยมในการทอกเพลงบอกกำลังลดน้อยลงยาวชนคนรุ่นใหม่ได้รับอิทธิพลด้านวัฒนธรรมมาจากต่างชาติ และขาดผู้มีความรู้ความสามารถที่จะเผยแพร่ ถ่ายทอดให้แก่เยาวชนคนรุ่นหลัง
เยาวชนในโรงเรียนบ้านส้อง ตำบลบ้านส้อง อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จึงจัดทำโครงการนี้ขึ้นมาเผยแพร่ ส่งเสริม และอนุรักษ์เพลงบอกซึ่งเป็นศิลปะการแสดงภาคใต้ให้คงอยู่สืบไป
คลิกเพื่ออ่านต่อ

หลักการและเหตุผล :

เพลงบอก เป็นการละเล่นอย่างหนึ่งของชาวปักษ์ใต้ บริเวณจังหวัดภาคใต้ตอนบนและตอนล่างได้แก่ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง สตูล และสงขลา นิยมเล่นในวันตรุษสงกรานต์
เป็นการบอกข่าวชาวบ้านทุกละแวกให้ทราบว่าใกล้ถึงวันปีใหม่ไทยแล้ว หรือเป็นการบอกเล่าเรื่องราวข่าวสารต่าง ๆ เช่น บอกข่าวการเชิญไปทำบุญตามเทศกาลต่าง ๆ เรียกได้ว่า เพลงบอก เป็นความเชื่อทางวัฒนธรรมด้านจิตใจอย่างหนึ่งของชาวปักษ์ใต้สืบต่อมาคู่กับวิถีชีวิตชาวบ้านมาตั้งแต่สมัยโบราณและสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

­

เพลงบอกจะแต่งบทเป็นกลอน มีฉันทลักษณ์เป็นแบบเฉพาะของตัวเอง ส่วนมากกลอนหนึ่งบทจะประกอบด้วย 4 วรรค สามวรรคแรกจะมีวรรคละ 6 คำ ส่วนวรรคที่ 4 จะมี 4 หรือ 5 คำ เพลงบอกจะต้องมีลูกคู่คอยร้องรับ ซึ่งเพลงบอกคณะหนึ่งๆ มีจะลูกคู่ 2-4 คน เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการทอกเพลงบอกมี 2 ชนิด คือ ฉิ่ง 1 คู่ และ กรับ 1 คู่ กลอนเพลงบอกดัดแปลงมาจากเพลงพื้นบ้านโบราณชนิดหนึ่งซึ่งเรียกว่า เพลงเห่ หรือ เพลงฉะ บ้างก็เรียกเพลงแปดบท จนถึงรัชกาลที่ 5 พระรัตนรัชมุณี เจ้าคณะมณฑลนครศรีธรรมราช ได้จัดระเบียบ กฎเกณฑ์กลอนเพลงบอกขึ้นใหม่ โดยจะมีการรับของลูกคู่และอาจจะแทรกวลีหรือถ้อยคำระหว่างกลอนที่แม่เพลงกำลังว่าอยู่ เพื่อให้ลีลากลอนครึกครื้นสนุกสนานและช่วยแก้ปัญหาการติดกลอนของแม่เพลงได้ วิธีการนี้ของลูกคู่เรียกว่า “ทอกเพลงบอก”

­

ในปัจจุบันนอกจากจะมีการว่าเพลงบอก เพื่อบอกข่าววันสงกรานต์ซึ่งเป็นวันขึ้นปีใหม่ไทยแล้ว ยังนำไปเล่นในโอกาสต่าง ๆ เช่น บอกข่าวหรือประชาสัมพันธ์งานบุญ งานกุศล เพลงบอกบวงสรวงในพิธีกรรมต่าง ๆ เพลงบอกร้องชา เป็นต้น หากแต่ในปัจจุบันความนิยมในการทอกเพลงบอกกำลังลดน้อยลง เนื่องจากเยาวชนคนรุ่นใหม่ได้รับอิทธิพลด้านวัฒนธรรมมาจากต่างชาติ และอีกอย่างหนึ่งขาดผู้มีความรู้ความสามารถที่จะเผยแพร่ ถ่ายทอดให้แก่เยาวชนคนรุ่นหลังด้วย เราจึงควรร่วมมือกันเผยแพร่มรดกพื้นบ้านประเภทนี้ให้เป็นที่สนใจของเยาวชนและคนทั่วไป ร่วมกันอนุรักษ์ไว้อย่าให้สูญหาย โรงเรียนบ้านส้อง จึงได้กำหนดจัดโครงการพัฒนาคนรุ่นใหม่เพื่อการทอกเพลงบอกขึ้น เพื่อให้ผู้สนใจและเยาวชนคนรุ่นหลังได้หันมานิยมศิลปะวัฒนธรรมพื้นบ้าน ร่วมกันสืบสาน สืบทอดเพลงบอกให้อยู่คู่กับคนไทยตลอดไป

วัตถุประสงค์

1) เพื่อให้เยาวชนมีทักษะพื้นฐานการทอกเพลงบอก

2) เพื่อให้เยาวชนมีส่วนร่วมในการเผยแพร่ ส่งเสริม และอนุรักษ์เพลงบอก

ซึ่งเป็นศิลปะการแสดงภาคใต้

3) เพื่อสร้างฐานข้อมูล และสื่อในการเรียนรู้เพลงบอก

4) เพื่อสร้างความร่วมมือในการเรียนรู้เพลงบอก ระหว่างเยาวชน ครูภูมิปัญญา

และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

­

กลุ่มเป้าหมาย

นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 – 2 โรงเรียนบ้านส้อง จำนวน 140 คน

­

สถานที่

โรงเรียนบ้านส้อง ตำบลบ้านส้อง อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี

­

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1) เยาวชนที่เข้าร่วมโครงการมีทักษะพื้นฐานการทอกเพลงบอก

2) เยาวชนมีส่วนร่วมในการเผยแพร่ ส่งเสริม และอนุรักษ์เพลงบอกซึ่งเป็นศิลปะการแสดง ภาคใต้

3) มีฐานข้อมูล และสื่อในการเรียนรู้เพลงบอก

4) เกิดความร่วมมือในการเรียนรู้เพลงบอก ระหว่างเยาวชน ครูภูมิปัญญา และผู้มีส่วน เกี่ยวข้อง

5) มีแกนนำนักเรียนในการสืบสาน อนุรักษ์เพลงบอก

ย่อข้อมูลโครงการ
ความเคลื่อนไหวล่าสุด
เวทีความคิด
บุคคล/องค์กรที่เกี่ยวข้อง