วิถีชีวิตของชาวบ้านบ้านควนมักจะประกอบอาชีพทำสวนและค้าขาย ใช้ชีวิตแบบเรียบง่ายและมีความผูกพันธ์กับคลองมำบังที่ไหลผ่านทางเส้นทางบ้านควนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน แต่สภาพปัญหาของคลองบริเวณนี้ เห็นได้ชัดถึงสภาพริมคลองที่เปลี่ยนแปลงไป ต้นไม้พันธ์ไม้ริมคลองเริ่มลดลงอย่างเห็นได้ชัด บางต้นตายโดยธรรมชาติ บางต้นถูกตายเพราะขาดการดูแลและบางส่วนไปจากการพัฒนาเพื่อการปรับสภาพคลอง กลุ่มเยาวชนบ้านจึงทำโครงการนี้ เพื่ออนุรักษ์พันธุ์ไม้และพันธุ์พืชในบริเวณริมคลองบ้านควนให้อยู่กับเยาวชนรุ่นหลังได้ศึกษาและเป็นการสร้างการเรียนรู้ปลูกจิตสำนึกให้กับชาวบ้านในชุมชนได้เห็นถึงความสำคัญของป่าไม้ พันธ์ไม้ริมคลองมำบังชุมชนบ้านควนต่อไป
คลิกเพื่ออ่านต่อ

ชื่อโครงการ โศึกษาและอนุรักษ์พันธุ์พืชริมคลองมำบังบริเวณบ้านควนสู่การเรียนรู้ของเยาวชน

กลุ่มเยาวชน เยาวชนบ้านควน

บริบทชุมชน ชุมชนบ้านควน ตั้งอยู่หมู่ที่ 5 ตำบลบ้านควน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล เดิมบ้านควนมีชื่อเรียกว่า กำปงฆวก เป็นภาษามาลายู ซึ่งแปลว่า บ้านควน ซึ่งในชุมชนเองจะมีแหล่งทรัพยากร วัฒนธรรมประเพณีในยุคโบราณที่ล้ำค่าแก่การอนุรักษ์ เช่น กรีกโบราณ บ้านเจ้าเมืองโบราณ อายุกว่า 100 ปี เป็นหมู่บ้านที่มีลำคลองมำบังที่ไหลสู่ทะเล เปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ของชาวสตูล ซึ่งชุมชนบ้านควนนั้นมีลักษณะภูมิศาสตร์เป็นเนิน หรือควนต่ำ วิถีชีวิตของชาวบ้านบริเวณนี้มักจะประกอบอาชีพทำสวนและค้าขาย ใช้ชีวิตแบบเรียบง่ายและมีความผูกพันธ์กับคลองมำบังที่ไหลผ่านทางเส้นทางบ้านควนตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เอกลักษณ์ของชาวบ้านควน คือภาษามลายูท้องถิ่นและมีขนมพื้นบ้านพื้นเมืองที่เป็นต้นกำเนิด เช่น บุหงาปูด๊ะ โรตียาลอ เป็นต้น

ปัญหาและเป้าหมาย สภาพปัญหาของคลองบริเวณนี้ ซึ่งเห็นได้ชัดถึงสภาพริมคลองที่เปลี่ยนแปลงไป ต้นไม้พันธ์ไม้ริมคลองเริ่มลดลงอย่างเห็นได้ชัด บางต้นตายโดยธรรมชาติ บางต้นถูกตายเพราะขาดการดูแล และบางส่วนไปจากการพัฒนาเพื่อการปรับสภาพคลอง โดยกลุ่มเยาวชนบ้านได้มุ่งมั่นว่าจะทำโครงการนี้ เพื่ออนุรักษ์พันธุ์ไม้และพันธุ์พืช ในบริเวณริมคลองบ้านควนให้อยู่กับเยาวชนรุ่นหลังได้ศึกษา และเป็นการสร้างการเรียนรู้ปลูกจิตสำนึกให้กับชาวบ้านในชุมชนได้เห็นถึงความสำคัญของป่าไม้พันธ์ไม้ริมคลองมำบัง ชุมชนบ้านควนต่อไป

ผลและคุณค่าที่เกิดขึ้น 

1.) ได้ข้อมูลพันธุ์ไม้และพันธุ์พืชหายากริมคลองมำบัง

2.) เกิดการอนุรักษ์และสร้างการเรียนรู้ด้านพันธุ์ไม้และพันธุ์พืชหายากริมคลองมำบัง

พี่เลี้ยงชุมชน 

  • นางวิไลวรรณ ฮะอุรา 
  • นายสมาน ฮะอุรา 
  • นางสาวธัญญา ตอหิรัญ 

ทีมทำงาน

  • นางสาวพิยดา ฮะอุรา ชื่อเล่น กุ้ง
  • นางสาวเกศรา กาลีโลน ชื่อเล่น ซอแลฮ๊ะ
  • นางสาวอัสมา สุมาตรา ชื่อเล่น อัสมา อ
  • นางสาวธิดารัตน์ อาจหาญ ชื่อเล่น วีรา
  • เด็กหญิงอังคณา นารีเปน ชื่อเล่น นูรฮายาตี
  • นายสราวุฒิ ปิอาตู ชื่อเล่น ซุล 
ย่อข้อมูลโครงการ
ความเคลื่อนไหวล่าสุด
เวทีความคิด
บุคคล/องค์กรที่เกี่ยวข้อง