โครงการการจัดการขยะในโรงเรียนและชุมชนเพื่อลดภาวะโลกร้อน
โครงการการจัดการขยะในโรงเรียนและชุมชนเพื่อลดภาวะโลกร้อน
พวกเราต้องการ สร้างแนวร่วมในชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน กลุ่มเครือข่ายในชุมชนให้ทราบ รู้เข้าใจ จนเกิดความตระหนักถึงผลกระทบจากการใช้สารเคมี สารปบเปื้อนที่ใช้ในการเกษตร
ชาวบ้านใช้สารเคมีตั้งแต่เพาะปลูกเมล็ด คลุกยากันโรคเน่า ต้องฉีดพ่นเร่งผลการผลิต รักษาโรคของแตงแคนตาลูป กำจัดแมลงศัตรูพืช จนถึงช่วงเก็บต้องนำผลผลิตที่ได้มาล้างเปลือกด้วยสารเคมี ตามตารางที่บริษัทกำหนดให้ พบว่ายังมีการใช้ยาฟูราดาล ในการจำกัดแมลง โดยมีการใช้แรงงานเด็กๆ ป.5-6 พบว่าน่าเป็นห่วงมากเพราะเด็กๆที่สัมผัสกับสารโดยตรง ไม่ใช้อุปกรณ์ในการป้องกันตัวเลย
คลิกเพื่ออ่านต่อ

บ้านแบก ตำบลนาทอง อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม เป็นหมู่บ้านชุมชนที่มีความเข้มแข็งได้รับการยกย่องเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบเฉลิมพระเกีรยติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 84 พรรษา ประชาชนในหมู่บ้านประกอบอาชีพเกษตรกร ได้แก่การปลูกข้าว เป็นส่วนใหญ่ เวลาที่เหลือปลูกสวนผักจำหน่าย แต่เมื่อมีอาชีพใหม่ที่สร้างรายได้งาม คือปลูกแตงแคนตาลูปจำหน่ายเมล็ด ปีหนึ่งปลูกได้ตั้งสามฤดู 

ประชากรในหมู่บ้านจะเน้นหนักประกอบอาชีพปลูกแตงแคนตาลูปจำหน่ายเมล็ดโดยมีประชากรในหมู่บ้านประมาณ 90% ประกอบอาชีพนี้ ซึ่งต้นทุนในารผลิตนี้ได้มาจากบริษัทเป็นผู้ลงทุนทั้งหมดนับตั้งแตรดินปลูกและเมล็ดในการเพาะปลูกเมื่อเพาะปลูกได้ระยะหนึ่งแล้วนายทุนจะนำปุ๋ย ยากันรา ยาฆ่าแมลง ปุ๋ยทางใบ รวมทั้งวัสดุปลูกต่างๆ ตลอดจนอุปกรณ์ช่วยฉีดพ่นมาให้ แต่คิดว่าเสื่อมราคาเมื่อนำผลผลิตไปขาย ชาวบ้านใช้สารเคมีตั้งแต่เพาะปลูกเมล็ด คลุกยากันโรคเน่า ต้องฉีดพ่นเร่งผลการผลิต รักษาโรคของแตงแคนตาลูป กำจัดแมลงศัตรูพืช จนถึงช่วงเก็บต้องนำผลผลิตที่ได้มาล้างเปลือกด้วยสารเคมี ตามตารางที่บริษัทกำหนดให้ พบว่ายังมีการใช้ยาฟูราดาล ในการจำกัดแมลง โดยมีการใช้แรงงานเด็กๆ ป.5-6 พบว่าน่าเป็นห่วงมากเพราะเด็กๆที่สัมผัสกับสารโดยตรง ไม่ใช้อุปกรณ์ในการป้องกันตัวเลย

จากการสำรวจพบว่าเยาวชนซึ่งเป็นบุตรหลานต้องช่วยครอบครัวในการดูแลการปลูกทุกขั้นตอน โดยเฉพาะช่วงผสมพันธุ์ซึ่งจะทำในช่วงแรกทำเฉพาะกลางวัน เมื่อทราบว่าช่วงกลางคืนได้ผลดี จึงเพิ่มเวลากลางคืน ผู้รับจ้างบางราย ทำทั้งกลางวันกลางคืนเฉลี่ยแล้วกลางวัน 500 บาท เป็นค่าแรงที่สูง เป็นแรงจูงใจ (ส่งผลนักเรียนในช่วงนี้นั่งหลับเวลาเรียนหนังสือ บางคนถึงกับขาดเรียน เพื่อทำรายได้ในช่วงนี้) เป็นที่น่าสังเกตว่าในช่วงระยะเก็บดอกมีแรงงานเด็กประถมด้วย เด็กชอบได้ที่เงิน ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับชาวบ้านคือ การป่วยเรื้อรัง การแพ้สารเคมี การเวียนศีรษะจากการสูดดมสารเคมีขณะฉีดพ่น เวลาฝนตกเดินตามพิ้นที่เพาะปลูก คันเท้าเปื่อย ชาวบ้านบางรายไม่กล้าเดินผ่านบริเวณที่ปลูกเพราะแค่เดินผ่าน จะเป็นผื่นและที่สำคัญคือเมื่อพวกเราลงแปลงที่ปลูกสลับกับนาข้าวพบว่าไม่มี จิ้งหรีด มดแดง เขียด งู เลย และบริเวณที่นำเนื้อแตงไปทิ้งพื้นที่ที่มีหญ้า หญ้าจะไหม้ตาย และพวกข้าพเจ้าสังเกตเห็นได้ว่า ชาวบ้านนำน้ำที่ซื้อตามท้องตลาดไปกิน แทนที่จะกินตามบ่อเหมือนเคย จาการสอบถามพบว่าเคยมีบุคคลเสียชีวิตขากการใช้สารเคมีทุกขั้นตอนในการเพาะปลูกติดต่อกันเป็นระยะเวลา 3 ปี  จนสารเคมีตกค้างในร่างกายจนถึงแก่ชีวิต

จากสถานการณ์ดังกล่าวพวกเราต้องการ สร้างแนวร่วมในชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน กลุ่มเครือข่ายในชุมชนให้ทราบ รู้เข้าใจ จนเกิดความตระหนักถึงผลกระทบจากการใช้สารเคมี สารปบเปื้อนที่ใช้ในการเกษตร ซึ่งสารเหล่านี้ล้วนเป็นผลที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนทั้งนั้น และที่สำคัญคือต้องการพลิกฟื้นคืนชีพ คืนสิ่งมีชีวิตให้กับดิน ซึ่งเป็นแหล่งอาหารของคนในหมู่บ้านต่อไป

วัตถุประสงค์

1.เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐาน ผลเลือด ผลกระทบที่เกิดขึ้นและสารตกค้างในดินจากการใช้สารเคมีในการเพาะปลูกพืช

2.เพื่อให้ชุมชนรู้ เข้าใจ และเกิดความตระหนักถึงผลกระทบจากากรใช้สารเคมีในการเพาะปลูก

3.เพื่อสร้างเครือข่ายเยาวชนแนวร่วมศึกษาถึงผลการใช้สารเคมีในการเพาะปลูก

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ได้ข้อมูลพื้นฐาน ผลเลือด ผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการเพาะปลูก

2.ได้ข้อมูลความรู้เรื่องสารเคมีตกค้างในดิน

3.ชุมชนตระหนักถึงผลการใช้สารเคมีในการเพาะปลูก

เป้้าหมาย

สร้างแนวร่วมในชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน กลุ่มเครือข่าย ในชุมชนให้ทราบ รู้เข้าใจ จนเกิดความตระหนักถึงผลกระทบจากการใช้สารเคมี สารปนเปื้อน ที่ใช้ในการเกษตร ซึ่งสารเหล่านี้ล้วนเป็นผลที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนทั้งนั้น

ย่อข้อมูลโครงการ
ความเคลื่อนไหวล่าสุด
เวทีความคิด
บุคคล/องค์กรที่เกี่ยวข้อง