.jpg)
ชื่อโครงการ คนกล้าดี อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
กลุ่มเยาวชน กลุ่มเยาวชนหมู่บ้านทับคริสต์
บริบทชุมชน บ้านทับคริสต์หมู่ที่ 3 ตำบลคลองชะอุ่น เป็นหมู่บ้านที่ตั้งอยู่บนที่ราบเชิงเขา พื้นที่ดังกล่าวเดิมถูกครอบครองโดยสหกรณ์นิคมและมอบให้กับมูลนิธิคาทอลิกสุราษฎร์ธานีในปีพ.ศ. 2512 โดยมุขนายกเปโตร คาเร็ตโต ประมุข สังฆมณฑลสุราษฎร์ธานีได้ขออนุมัติจากรัฐบาลได้จำนวน 5,000 ไร่ สำหรับจัดสรรให้กับครอบครัวคริสตชน 100 ครัวเรือนและทางราชการส่งครอบครัวชาวพุทธ จำนวน 10 ครอบครัวจากนครศรีธรรมราชที่หนีภัยคอมมิวนิสต์มาพักที่อำเภอนาสารจนเรียกซอยนี้ว่า ”ซอยนาสาร” จำนวน 25 - 30 ไร่ / ครัวเรือนเพื่อจัดตั้งเป็น “นิคมเกษตรตามแนวทางคริสต์ศาสนา” ประชากรส่วนใหญ่จึงเป็นครอบครัวที่นับถือคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกที่อพยพ มาจากภาคกลางที่ประกอบอาชีพทางด้านการเกษตร ในปี พ.ศ.2561 ศูนย์ ฯ เห็นว่าเด็ก เยาวชน คนรุ่นใหม่ มีความพร้อมในทักษะพื้นฐาน ในการทำเกษตรได้เสนอให้เด็ก เยาวชน คนรุ่นใหม่ นำองค์ความรู้ที่ได้รับจากการฝึกปฏิบัติและทดลองทำภายในสำนักงานกลับไปทำที่บ้าน ได้นำเสนอแนวคิดในเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้โครงการชุมชนน่าอยู่ เพื่อนำแนวคิดเกษตรในครัวเรือนเพื่อบริโภคในชุมชนโดยเฉพาะในซอยของตนเอง (หมู่บ้านทับคริสต์มีทั้งหมด 6 เขต) แกนนำ (เขต) ซอยนาสารมีความพร้อมและเด็ก เยาวชน คนรุ่นใหม่ มีความพร้อมมากว่าให้ศูนย์ ฯ เข้าไปจัดกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันในชุมชน ซึ่งมีทั้งผู้ปกครองและ เด็ก เยาวชน คนรุ่นใหม่ จำนวน 15 ครัวเรือน เพื่อเป็นเขตพื้นที่ตัวอย่างให้กับชุมชนทับคริสต์ ว่ากระบวนการเรียนรู้เกษตรในครัวเรือนนี้สามารถพัฒนาเด็กให้เกิดองค์ความรู้การพึ่งพาตนเอง มีทักษะชีวิตมีเจตคติที่ดีต่องานเกษตรและสามารถนำสู่อาชีพที่ก่อเกิดรายได้ให้กับครอบครัวได้อย่างไร
ปัญหาและเป้าหมาย ความเดือดร้อนจากภาวะพืชเศรษฐกิจภาคใต้ราคาตกต่ำและไม่ได้รับเงินอุดหนุนช่วยเหลือ คนในซอยนาสารส่วนใหญ่ปลูกยางพาราและปาล์มน้ำมัน ไม่ได้ใส่ใจวิถีเกษตรที่ปลอดภัย นอกจากนี้ยังพบว่ากระแสบริโภคนิยม สื่อโซเซียลต่าง ๆ ส่งผลกระทบกับเด็ก เยาวชน คนรุ่นใหม่ ให้อยู่ในโลกส่วนตัวกับโทรศัพท์มากขึ้น การออกมาเล่นและทำงานร่วมกันน้อยลง การเสพสื่อทำให้พฤติกรรมการบริโภคนำสู่ภาวะโรคอ้วน เค็มและน้ำตาลผ่านสินค้าโฆษณาและบริโภคพืชผักน้อยลงนำสู่การไม่ใส่ใจสุขภาพของตนเอง การเสพสื่อนอนดึกตื่นสายไม่ทำงานช่วยเหลือพ่อแม่ ไม่เข้าสังคมและไม่ได้ใส่ใจต่อวิถีเกษตรที่พ่อแม่ทำเลี้ยงครอบครัวอยู่
ผลและคุณค่าที่เกิดขึ้น
1. มีฐานข้อมูลความรู้และการเปลี่ยนแปลงในประเด็นเรื่องวิถีการเกษตรในชุมชน ตั้งแต่อดีต ถึงปัจจุบัน สามารถนำมาใช้ในการสนับสนุนและแก้ปัญหาการทำเกษตรในชุมชน
2. เด็ก เยาวชน คนรุ่นใหม่ เป็นต้นกล้าที่ดี
- -มีทักษะ องค์ความรู้ รู้เท่าทันสถานการณ์และปัญหาชุมชน วิเคราะห์ สังเคราะห์นำสู่ การลุกขึ้นจับมือกันเปลี่ยนแปลงวิถีเกษตรในชุมชน
- -เกิดแรงบันดาลใจในการทำงานเป็นกลุ่ม เป็นทีม กล้าแสดงออก ยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น
- -เรียนรู้คุณธรรมจากการปลูกพืชผักพื้นบ้านที่ปลอดสารเคมี “คุณธรรมข้าว” จากเมล็ดพืช ที่ยอมเน่าเปื่อยต่อตนเอง ละจากตัวตนเพื่อเกิดชีวิตใหม่ เติบโตขึ้น ออกดอก ออกผล ผ่านเวลาอย่างเพียร อดทน เป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินชีวิตท่ามกลางกระแสสังคมโลกแบบทุนนิยม เป็นคุณธรรมเศรษฐกิจพอเพียงของพ่อหลวงรัชกาลที่ 9
- -ใส่ใจและเห็นความสำคัญของการบริโภคพืชผักที่ปลูกเอง ใส่ใจสุขภาพและสิ่งแวดล้อม ในชุมชน
3) ชุมชนต้นแบบซอยนาสาร หมู่บ้านทับคริสต์
- -ชุมชนมีองค์ความรู้ เห็นคุณค่าเมล็ดพันธุ์พืชผักพื้นบ้านที่มีอยู่ชุมชน
- -15 ครอบครัวต้นแบบการผลิตเกษตรปลอดภัยในครัวเรือน เพื่อการบริโภคในครอบครัวเหลือจากการบริโภคนำสู่การรวบรวมผลผลิตสู่ตลาดพืชผักพื้นบ้านปลอดภัยในชุมชน
- -ลด ละ เลิกใช้สารเคมีในแปลงพืชผักในชุมชน
- -การรวบรวม เก็บรักษา พัฒนาเมล็ดพันธุ์พื้นบ้าน
- - การพัฒนาทักษะ องค์ความรู้วิถีเกษตรปลอดภัย
- -การจัดตั้งธนาคารเมล็ดพันธุ์พื้นบ้านสามารถขยายผลสู่ชุมชนนำไปทดลองปลูกและเก็บเมล็ดพันธุ์ต่อได้
พี่เลี้ยงชุมชน
1. บาทหลวงสุวัฒน์ เหลือสะอาด
2. นายรุ่งโรจน์ ตั้งสุรกิจ
ทีมทำงาน
1. นางนาฎศิลป์ นราชัย
2. นายจำลอง บุญลา
3. น.ส.นิรมล รอดธง
4. นางวิระมล ประวัติ
5. น.ส.กนกวรรณ ประวัติ
6. นายประเสริฐ ประวัติ
7. ด.ญ.วราภรณ์ ประวัติ