เรียนรู้และทดลองแปรรูปหัวปลา สิ่งที่ได้กลับมาคือการแก้ปัญาหาสภาพแวดล้อมในชุมชนและรายได้ที่ได้จากหัวปลาอีกด้วย
เนื่องจากบ้านดงตาดทอง มีการทำปราร้าเกิดขึ้นในชุมชนเป็นจำนวนมาก ผลที่ตามมาคือขยะที่เกิดจากหัวปลาที่ไม่ได้รับการทำลาย ส่งผลให้เกิดการเน่าเสีย อาจเป็นพาหะนำโรคมาสู่ชุมชนได้ กลุ่มเยาวชนจึงรวมตัวกันผุดโครงการขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหานี้
คลิกเพื่ออ่านต่อ

ชื่อโครงการ เรียนรู้และทดลองแปรรูปหัวปลาให้เป็นอาหารไก่โดยเยาวชนบ้านดงตาดทอง

กลุ่มเยาวชน กลุ่มเยาวชนบ้านดงตาดทอง

บริบทชุมชน บ้านดงตาดทอง หมู่ที่ 10 ตำบลโพธิ์ศรี อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ เดิมมีชื่อว่าบ้านสาวร้องไห้หรือบ้านตีนดง-บ้านดงกลาง ตั้งเมื่อ พ.ศ.2478  บ้านดงตาดทองมี 62 ครัวเรือน ประชากรรวมทั้งสิ้น 274 คน ชาย 132 คน หญิง 142 คน สภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การทำนา ปลูกข้าว พืชสวน และเลี้ยงสัตว์ พื้นที่ส่วนใหญ่ของหมู่บ้านมีน้ำใต้ผิวดินที่มีความอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกพืชหลังฤดูการเก็บเกี่ยวและทางด้านทิศตะวันออกของหมู่บ้านอยู่ติดคลองอีสานเขียว ประชาชนในชุมชน ประกอบอาชีพทำนา ทำสวน ค้าขาย เลี้ยงสัตว์ รับราชการ เป็นช่างฝีมือ ทอผ้าไหม และแปรรูปปราร้า คนในชุมชนนับถือศาสนาพุทธ ประเพณีสำคัญของชุมชนคือวันปีใหม่และวันสงกรานต์

ปัญหาและเป้าหมาย เนื่องจากบ้านดงตาดทองกลุ่มมีการทำปราร้าเกิดขึ้นในชุมชนทำให้มีหัวปลาเป็นจำนวนมาก ในหนึ่งฤดูการกลุ่มทำปราร้าบ้านดงตาดทองนำปลาสดมาทำปราร้าจำนวนประมาณ 255 ตัน แยกหัวปลาที่ไม่ได้รับการขจัดทำลายประมาณ 76.5 ตันซึ่งมีปริมาณมาก เดิมทีชาวบ้านได้นำไปทิ้งตามทุ่งนาหรือบริเวณใกล้กับชุมชน ไม่ได้รับการขจัดทำลายให้ถูกวิธี ทำให้เกิดการเน่าเสียของหัวปลา ส่งกลิ่นเหม็นมีแมลงวันรบกวน อาจเป็นพาหะนำโรคต่างๆมาสู่ชุมชน จึงทำให้เยาชนได้เกิดความคิดขึ้นว่าจะนำมาแปรรูปเป็นอาหารสัตว์ให้กับไก่ โดยเล็งเห็นว่ามีวัตถุดิบเศษที่เหลือจากการทำปราร้าของกลุ่มการทำปราร้า จึงมีแนวคิดที่จะนำหัวปลาที่เหลือจากการทำปราร้ามาแปรรูปเป็นอาหารไก่ และศึกษาทดลองเลี้ยงไก่จากอาหารที่เราแปรรูป หากการศึกษาทดลองประสบผลสำเร็จไก่เจริญเติบโตได้ดี จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับหัวปลา อาจจะผลิตอาหารในปริมาณที่มากขึ้นเพื่อจำหน่าย สร้างรายได้ให้กับกลุ่มเยาวชนบ้านดงตาดทอง ต่อตนเอง

ผลและคุณค่าที่เกิดขึ้น

ต่อตนเอง

1.มีความรู้เรื่องการทำอาหารไก่จากหัวปลา

2.เยาวชนได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และเกิดความสามัคคีในกลุ่ม

3.ได้ทักษะในการคิดวิเคราะห์ ให้เหตุผลในการทำโครงการ

ต่อชุมชน

1.แก้ปัญหาสภาพแวดล้อมในหมู่บ้าน

2.ลดปัญหามลพิษเรื่องกลิ่นเหม็นในชุมชน

3.ผู้ปกครองมีความภาคภูมิใจที่เห็นเยาวชนมีกิจกรรมทำร่วมกัน

พี่เลี้ยงชุมชน

1. นายมุณี ไกรวิเศษ (ชื่อเล่น นี)

ทีมทำงาน

1. นาย วัชรินทร์ประโลม (ชื่อเล่น เก๋)

2. นาย ฉัตรพล แก้วใส (ชื่อเล่น ฉัตร)

3. นางสาว ศิริพร กสิภูมิ(ชื่อเล่น ดาว)

4. นายศิริชัย ผาธรรม (ชื่อเล่น ต้า)

5. นายอนุชิต บุญมา (ชื่อเล่น กุ้ง )

6. นายอดิศักดิ์ เตารัตน์(ชื่อเล่น แบงค์)

7. นายกศิวัฒน์ ไกรวิเศษ (ชื่อเล่น ยุทธ)

ย่อข้อมูลโครงการ
ความเคลื่อนไหวล่าสุด
เวทีความคิด
บุคคล/องค์กรที่เกี่ยวข้อง