ที่ผ่านมาทางเทศบาลตำบลบ้านธิและสมาคมไทลื้อแห่งประเทศไทย สาขาลำพูน มีนโยบายเรื่องการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและมีการส่งเสริมให้ชุมชนเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศแบบโฮมสเตย์เพื่อต้องการเผยแพร่วิถีวัฒนธรรมของชาติพันธุ์ไตลื้อ แต่ยังไม่มีรูปแบบที่ชัดเจนและเยาวชนยังไม่ได้ให้ความสนใจมากนักและยังไม่ได้มีบทบาทในการดำเนินงานด้านวัฒนธรรม ทางกลุ่มเยาวชนไตลื้อบ้านธิจึงได้มีแนวคิดที่จะศึกษาและนำวัฒนธรรม ลักษณะทางกายภาพของไตลื้อบ้านธิที่หลากหลายมาสร้างมูลค่าเพิ่มโดยการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ตามวิถีการดำเนินชีวิตของชาวไตลื้อบ้านธิเพื่อให้เยาวชนได้เรียนรู้รากเหง้าของตนเอง มีบทบาทในเรื่องวัฒนธรรมและสามารถสื่อสารให้ผู้ที่มาเยือนได้ชื่นชมและเรียนรู้เอกลักษณ์ความงดงามทางวัฒนธรรมของวิถีชีวิตชาวไตลื้อ เคารพในวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน และก่อเกิดมิตรภาพ ความรู้ ความเข้าใจ และความซาบซึ้งในวัฒนธรรมชมชนไตลื้อ ในขณะเดียวกันชุมชนและเยาวชนก็ได้ประโยชน์จากการท่องเที่ยวเป็นรายได้เสริมที่สร้างประโยชน์กับตนเอง ครอบครัว ชุมชน
คลิกเพื่ออ่านต่อ

ชื่อโครงการ โครงการเรียนรู้รากเหง้าเฝ้ารักษ์วัฒนธรรมไทลื้อ

กลุ่มเยาวชน กลุ่มเยาวชนฮักไทลื้อหละปูน ตำบลบ้านธิ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน

บริบทชุมชน

ตำบลบ้านธิ อำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน มีหมู่บ้านทั้งหมด 20 หมู่บ้าน ประชาชนภายในตำบลบ้านธิประกอบไปด้วยกลุ่มชาติพันธ์ไทลื้อ ไทลื้อเมืองยอง และยวน และมีอยู่ 10 หมู่บ้านเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไตลื้อ ที่อพยพมาจากดินแดนสิบสองปันนาเมื่อ พ.ศ. 2331 และยังคงมีอัตลักษณ์อันโดดเด่นของไตลื้อที่สืบทอดมานาน เช่น ภาษาไตลื้อ การแต่งกายชุดไตลื้อ ศิลปะการฟ้อนลื้อ ฟ้อนของดีของกลุ่มเยาวชนที่ได้รับรางวัลการอนุลักษณ์อัตลักษณ์และแสดงออกถึงวิถีชีวิตของไตลื้ออย่างชัดเจน มีดนตรีพื้นเมือง มีประเพณีเลี้ยงผีขุนน้ำ ประเพณียี่เป็ง ประเพณีกิ๋นหวานตานม่วน ดำโหกุนเฒ่า สืบเก๊าประเพณี อีกทั้งยังมีอาหารพื้นบ้านไตลื้อบ้านธิ ได้แก่ ข้าวแคบข้าว เกรียบลื้อ น้ำพริกน้ำปู ลู่บ่ก้วยเตด น้ำพริกตาแดงลื้อ น้ำผัก แกงแค แอ่งแถะ มีแหล่งโบราณสถานที่เป็นแหล่งที่น่าสนใจ คือ วัดบ้านธิศรีมูลวัดพระธาตุดอยเวียง อุโบสถบ้านแพะ พิพิธภัณฑ์บ้านไตลื้อ บ้านไตลื้อแบบดั้งเดิม มีแหล่งผลิตสินค้าหัตถกรรมอันเลื่องชื่อ คือ การผลิตน้ำถุ้ง เครื่องจักสาน ผ้าทอไตลื้อ ชุดไตลื้อ ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากกะลามะพร้าวและไม้สักที่ส่งขายทั่วประเทศ มีการดำรงชีวิตที่เรียบง่ายตามวิถีไตลื้อ การปลูกผักปลอดสารพิษในครัวเรือน จนอัตลักษณ์เหล่านี้กลายเป็นมรดกภูมิปัญญาอันล้ำค่าที่ตกทอดมาถึงลูกหลานในปัจจุบันด้วยความภาคภูมิใจ นอกจากนี้ทางด้านภูมิศาสตร์ของชุมชนไตลื้อบ้านธิยังพบว่ามีลักษณะทางกายภาพและธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ เช่น มีน้ำตกห้วยหก มีอ่างเก็บน้ำแม่ธิที่มีทัศนียภาพที่สวยงาม ซึ่งความหลากหลายทางวัฒนธรรมของไตลื้อบ้านธินี้ น่าจะเป็นจุดดึงดูดความสนใจของนักท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ได้เป็นอย่างดี

ปัญหาและเป้าหมาย

ที่ผ่านมาทางเทศบาลตำบลบ้านธิและสมาคมไทลื้อแห่งประเทศไทย สาขาลำพูน มีนโยบายเรื่องการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและมีการส่งเสริมให้ชุมชนเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศแบบโฮมสเตย์เพื่อต้องการเผยแพร่วิถีวัฒนธรรมของชาติพันธุ์ไตลื้อ แต่ยังไม่มีรูปแบบที่ชัดเจนและเยาวชนยังไม่ได้ให้ความสนใจมากนักและยังไม่ได้มีบทบาทในการดำเนินงานด้านวัฒนธรรม ดังนั้นทางกลุ่มเยาวชนไตลื้อบ้านธิจึงได้มีแนวคิดที่จะศึกษาและนำวัฒนธรรมและลักษณะทางกายภาพของไตลื้อบ้านธิที่หลากหลายมาสร้างมูลค่าเพิ่มโดยการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ตามวิถีการดำเนินชีวิตของชาวไตลื้อบ้านธิเพื่อให้เยาวชนได้เรียนรู้รากเหง้าของตนเอง มีบทบาทในเรื่องวัฒนธรรมและสามารถสื่อสารให้ผู้ที่มาเยือนได้ชื่นชมและเรียนรู้เอกลักษณ์ความงดงามทางวัฒนธรรมของวิถีชีวิตชาวไตลื้อ เคารพในวัฒนธรรมซึ่งกันและกัน และก่อเกิดมิตรภาพ ความรู้ ความเข้าใจ และความซาบซึ้งในวัฒนธรรมชมชนไตลื้อ ในขณะเดียวกันชุมชนและเยาวชนก็ได้ประโยชน์จากการท่องเที่ยวเป็นรายได้เสริมที่สร้างประโยชน์กับตนเอง ครอบครัว ชุมชน

ผลและคุณค่าที่เกิดขึ้น

1. เยาวชนได้เรียนรู้รากเหง้าวัฒนธรรมไทลื้อของตนเอง

2. เยาวชนสำนึกรักในความเป็นไทลื้อและมีบทบาทสำคัญในการอนุรักษ์วัฒนธรรม

3. ได้รูปแบบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของไทลื้อโดยชุมชนและเยาวชนมีส่วนร่วมที่มีความยั่งยืน

พี่เลี้ยงชุมชน

นายสุจิน ใสสอาด ชื่อเล่น สุจิน 

ครูชาเด ฮันต์ ชื่อเล่น ชาเด   

ทีมทำงาน

1. นายพงศกร ศรีวิชัย ชื่อเล่น ฟลุ๊ก 

2. ด.ญ.ปณันธิตา พือวัน ชื่อเล่น มินนี้ 

3. น.ส.กัญชพร เขื่อนคำ ชื่อเล่น แบม 

4. ด.ญ. พิชญา ไชยวรรณ์ ชื่อเล่น เบียร์ 

5. น.ส. วาสนา ปัญโญใหญ่ ชื่อเล่น นุช 

ย่อข้อมูลโครงการ
ความเคลื่อนไหวล่าสุด
เวทีความคิด
บุคคล/องค์กรที่เกี่ยวข้อง