"เกาะลิบง" อดีตเมืองท่าโบราณที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่หลากหลาย
เกาะลิบง เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของตรัง เคยเป็นเมืองท่าโบราณ มีร่องรอยกำแพงเมืองเก่า บนเกาะมี 4 หมู่บ้าน จำนวนประชากร 2,000 กว่าคน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม อยู่ในเขต อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เกาะแห่งนี้มีความหลากหลาย มีทั้งป่าบก ที่มีอยู่อย่างแน่หนาบนภูเขา ที่ราบ และตามชายฝั่งคลองที่น้ำทะเลท่วมถึงจะอุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าชายเลน
คลิกเพื่ออ่านต่อ

ชื่อโครงการ “ปริศนาหญ้าทะเล” เกาะลิบง อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง

กลุ่มเยาวชน กลุ่มเยาวชนเกาะลิบง

บริบทชุมชน เกาะลิบง เป็นเกาะที่ใหญ่ที่สุดของตรัง เคยเป็นเมืองท่าโบราณ มีร่องรอยกำแพงเมืองเก่า บนเกาะมี 4 หมู่บ้าน จำนวนประชากร 2,000 กว่าคน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม อยู่ในเขต อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง ห่างจากอำเภอเมืองตรังสุดแผ่นดินทางทิศตะวันตกประมาณ 65 กิโลเมตร การเดินทางสะดวก สามารถลงเรือเพื่อไปเกาะลิบงได้ที่ท่าเรือหาดยาว มีเรือออกจากท่าทุกวันทั้งวัน  เกาะลิบงมีสภาพพื้นที่ที่ประกอบไปด้วยภูเขา ที่ราบ และฝั่งทะเล ดังนั้นทรัพยากรธรรมชาติของเกาะแห่งนี้จึงมีความหลากหลาย มีทั้งป่าบก ที่มีอยู่อย่างแน่หนาบนภูเขา ที่ราบ และตามชายฝั่งคลองที่น้ำทะเลท่วมถึงจะอุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าชายเลน หญ้าทะเล ริมชายฝั่งทะเลทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และทิศตะวันตกเฉียงใต้ของตัวเกาะ ซึ่งอยู่ใกล้กับปากแม่น้ำตรังและแม่น้ำปะเหลียนนั้นเป็นบริเวณที่มีหญ้าทะเลขึ้นงอกงามหนาแน่นมาก เป็นแหล่งหญ้าทะเลที่สมบูรณ์ที่สุดของประเทศไทย 

ปัญหาและเป้าหมาย สิ่งหนึ่งที่เป็นทรัพยากรที่สำคัญของเกาะลิบง เป็นที่มาของอาชีพ รายได้ อาหาร และสัตว์ทะเลชนิดอื่นๆ คือ หญ้าทะเล มีความสำคัญมีคุณค่าต่อคน สัตว์ ระบบนิเวศน์โดยรวม ช่วงมีนาคม – เมษายน ที่ผ่านมา ปรากฏข่าวตามสื่อว่า หญ้าทะเลตายจำนวนมาก ทำให้เกิดการตื่นตัว ค้นหาสาเหตุ หลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีความกังวล เนื่องจากหญ้าทะเลเป็นระบบนิเวศน์สำคัญที่เชื่อมโยงกับความเป็นอยู่ของพะยูน หากหญ้าลดน้อยหรือถูกทำลาย ส่งผลกระทบต่อจำนวนประชากรและการย้ายที่อยู่ของพะยูนแน่นอน กระแสดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วงที่ทีมเยาวชนเกาะลิบง ต้องการศึกษาเรื่องหญ้าทะเล การตั้งคำถามเพื่อการค้นหาความรู้เกี่ยวกับหญ้าทะเลครั้งนี้ จึงเป็นการเริ่มศึกษาระบบนิเวศน์เบื้องต้น รู้จัก เข้าใจ ความสำคัญ ความสัมพันธ์การเป็นพื้นที่พิเศษหญ้าทะเล เพื่อนำไปสู่การช่วยกันอนุรักษ์ และบอกความรู้ต่อเยาวชนบนเกาะต่อไป

ผลและคุณค่าที่เกิดขึ้น

1.เข้าใจความสำคัญและความสัมพันธ์ของหญ้าทะเลต่อระบบนิเวศน์ทางทะเล เป็นระบบ

2.สามารถการสื่อสารได้

3.ได้ผลการทดลองเพาะพันธุ์หญ้าทะเลเพื่อการตัดสินใจ

4.เกิดแกนนำเยาวชนแถว 2

พี่เลี้ยงชุมชน 

1.นายสุวิท สารสิทธิ์

2.นางทิพย์อุสา แสงสว่าง 

ทีมทำงาน

1.นายกู้เกียรติ แก้วรุ่ง

2.นายธนาวุฒิ เหมาะกิจ

3.นายกฤษฎา สารสิทธิ์

4.นายติยเชษฐ์ แก้วเสน

5.นายอาดีลัน สารสิทธิ์

6.นายวิลลี่ ป้อนา

7.นายปวุฒิ พิทักษ์ 

ย่อข้อมูลโครงการ
ความเคลื่อนไหวล่าสุด
เวทีความคิด
บุคคล/องค์กรที่เกี่ยวข้อง