"กองทุนวันละบาท" หล่อหลอมการเป็นผู้ให้-รับตามหลักศาสนาอิสลาม
ชุมชนกำพวน พยายามหารูปแบบการพัฒนาจิตสำนึกการเป็นผู้ให้ และรับอย่างมีศักดิ์ศรีด้วยหลักการทางศาสนาอิสลาม เพื่อให้คนในชุมชนเกิดจิตสำนึกการเป็นผู้ให้ การเป็นผู้รับอย่างมีศักดิ์ศรี ผ่านการบริหารจัดการกองทุนวันละบาทที่ถูกพัฒนาให้เป็นระบบมากขึ้น และถ่ายทอดแนวคิดและกระบวนการให้คนรุ่นใหม่เข้ามาสานงานต่อ
คลิกเพื่ออ่านต่อ

หลักการและเหตุผล

หลังเกิดเหตุการณ์สึนามิ ทางกลุ่มผู้หญิงบ้านกำพวนที่รวมตัวกันเป็น “กลุ่มสตรีสัมพันธ์” และมีการจัดตั้ง กองทุนวันละบาท ขึ้นเพื่อช่วยเหลือเด็กกำพร้าและผู้ด้อยโอกาสในชุมชน เชื่อมโยงกับหลักการศาสนา และการพัฒนาจิตใจ “การเป็นผู้ให้ และรับอย่างสมศักดิ์ศรี” โดยได้เชิญชวนคนในชุมชนมาสละเงินวันละหนึ่งบาท โดยเริ่มจากสมาชิกกลุ่มสิบกว่าคนขยายเป็นสามสิบคนในปีแรก จากนั้นก็พัฒนาขึ้นมาเรื่อยๆ จนถึงปัจจุบัน ซึ่งบทเรียนจากการดำเนินงานพบว่า การร่วมบริจาคเงินถือเป็นการสร้างสัมพันธภาพ และลดช่องว่างระหว่างคนจน-คนรวยได้เป็นอย่างดี แต่ก็ประสบปัญหาเรื่องการทำงานที่ยังไม่ต่อเนื่อง เนื่องจากคนที่มาจ่ายก็ไม่ได้มาจ่ายสม่ำเสมอเช่นเดียวกับคนที่ไปเก็บก็ไม่ค่อยได้ไปเก็บอย่างสม่ำเสมอ ในขณะที่ทางกลุ่มเองได้เคยพยายามขยายทุนด้วยการตั้งกองทุนข้าวสาร แต่ก็ประสบปัญหาเรื่องการค้างผ่อนชำระ และหนี้เสีย 

นอกจากนี้ จากการสรุปบทเรียนการดำเนินงานที่ผ่านมายังพบอีกว่า หากกองทุนมีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบน่าจะขยายกองทุนได้อย่างทั่วถึงและรวดเร็วยิ่งขึ้น และข้อจำกัดอีกส่วนคือ งบประมาณของกองทุนในส่วนที่ได้รับบริจาคก็ไม่สามารถนำไปใช้ส่วนอื่นได้ เพราะได้ระบุไว้ว่าเป็นเงินที่จะมอบให้เด็กกำพร้าเท่านั้น เนื่องจากเป็นหลักการทางศาสนาที่กำหนดไว้ว่าต้องทำตามความประสงค์ของผู้บริจาค ทางคณะทำงานกองทุนฯ และชุมชนจึงมีความต้องการในการยกระดับการพัฒนากองทุนในเรื่องฐานข้อมูลที่เป็นระบบ และการพัฒนาด้านสร้างจิตสำนึก ของสมาชิกกลุ่มที่เพิ่มมากขึ้นเพื่อสานต่อการพัฒนาด้านจิตใจในการเป็น “ผู้ให้ ผู้รับ” และสร้างทีมทำงานรุ่นใหม่ในอนาคต

วัตถุประสงค์

  • 1.เพื่อสร้างกระบวนการพัฒนาจิตสำนึกการเป็นผู้ให้ และการเป็นผู้รับอย่างมีศักดิ์ศรี ด้วยหลักการทางศาสนาอิสลาม
  • 2.เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการกองทุนวันละบาทอย่างเป็นระบบ
  • 3.เพื่อถ่ายทอดกระบวนการทำงานสู่คนรุ่นใหม่

ขอบเขตพื้นที่ดำเนินงาน

เทศบาลตำบลกำพวน 6 หมู่บ้าน ได้แก่ หมู่ที่ 2 บ้านเหนือ หมู่ที่ 3 บ้านกำพวน หมู่ที่ 4 บ้านภูเขาทอง หมู่ที่ 5 บ้านสุขสำราญ หมู่ที่ 6 บ้านโตนกลอย และหมู่ที่ 7 บ้านหาดทรายขาว

เอกสารแนบหมายเลข 1

หน้า 2/3

ขั้นตอนการดำเนินงาน

  • 1.แผนการพัฒนาจิตสำนึกการเป็นผู้รับ การเป็นผู้ให้ โดยมีผู้เกี่ยวข้อง ดังนี้ ผู้นำศาสนา คณะกรรมการกองทุน สมาชิกกองทุน และเด็กกำพร้า ซึ่งได้วางแผนการดำเนินงานดังต่อไปนี้
  • -ประชาสัมพันธ์หลังละหมาดวันศุกร์ 6 มัสยิดๆ ละ 2 ครั้งต่อเดือน
  • -จัดทำแผ่นพับประชาสัมพันธ์ กองทุนวันละบาทเพื่อเด็กกำพร้า
  • -อบรมให้ความหน้าที่ของมุสลิมในการดูแลช่วยเหลือเด็กกำพร้าและผู้ด้อยโอกาส
  • -จัดกิจกรรมวันมอบทุนเด็กกำพร้าและผู้ด้อยโอกาสประจำทุกปี
  • -ประชุมคณะกรรมการ ทีมงานและอิหม่าม หรือตัวแทนคณะกรรมการจากทุกมัสยิด เพื่อสรุปทบทวนและประเมินผลการดำเนินกิจกรรม
  • 2.แผนการพัฒนาระบบการบริหารจัดการกองทุนวันละบาท โดยคณะทำงานกองทุนฯ ได้ออกแบบการทำงานด้วยหลักการบริหาร 4M คือ 1) Man = การบริหารกำลังคน จะใช้คนอย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลกับงานให้มากที่สุด 2) Money = การบริหารเงิน จะจัดสรรเงินอย่างไรให้ใช้จ่ายต้นทุนน้อยที่สุดและให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผล 3) Materials = การบริหารวัสดุในการดำเนินงานว่าจะทำอย่างไรให้สิ้นเปลืองน้อยที่สุด หรือเกิดประโยชน์สูงสุด 4) Management = การจัดการ คือกระบวนการจัดการบริหารควบคุมเพื่อให้งานทั้งหมดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลอย่างเต็มที่
  • -ประชุมวางบทบาทหน้าที่คณะทำงานและวางแผนการบริหารจัดการ
  • -การลงพื้นที่ทำความเข้าใจกับผู้นำศาสนาและผู้นำชุมชนแต่ละหมู่บ้าน
  • -ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลครอบครัวเด็กกำพร้าและกลุ่มเป้าหมายอื่น ๆ ในชุมชน เพื่อเยี่ยมเยียนให้กำลังใจและทำความรู้จักต่อครอบครัวของกลุ่มเป้าหมายให้มากขึ้น
  • -สรุป/วิเคราะห์และจัดระบบฐานข้อมูล โดยคณะทำงานนำข้อมูลที่ได้จากการสำรวจมาสรุป แยกแยะสรุปและวิเคราะห์ข้อมูล
  • -จัดเวทีนำเสนอฐานข้อมูลการบริหารจัดการกองทุนวันละบาทต่อสมาชิกกองทุนและผู้ที่เกี่ยวข้อง
  • -ลงพื้นที่เยี่ยมครอบครัวกลุ่มเป้าหมาย 3 เดือน
  • -พัฒนาการเรียนรู้จากการปฏิบัติการเล็กๆ ของเด็กๆ ผ่านกระบวนการคิดแผนงานอาชีพทางเลือกที่หนูทำได้
  • -จัดประชุมถอดบทเรียนการดำเนินงาน (2 ครั้ง) เพื่อทบทวนการดำเนินงานที่ผ่านมาทั้งหมด
  • 3.เพื่อถ่ายทอดกระบวนการทำงานสู่คนทำงานรุ่นใหม่
  • -ปรับทัศนะคติ สร้างความเข้าใจการทำงานชุมชนด้วยจิตอาสา ด้วยกระบวนการ HCD
  • -อบรมพัฒนาศักยภาพคนทำงานรุ่นใหม่ เรียนรู้และเข้าใจหลักสูตรการสร้างคุณค่าให้กับตัวเอง
  • -อบรมให้ความรู้หลักสูตรกระบวนการการเยี่ยมบ้าน ปฏิบัติการภาคสนาม
  • -จัดกิจกรรมเติมความรู้ด้วยการศึกษาดูงานการจัดการสวัสดิการชุมชน
  • -จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางในการพัฒนาสวัสดิการชุมชน จากฐานทุน “กองทุนวันละ 1 บาท”
  • -จัดเวทีนำเสนอผลการดำเนินงานแนวทางการพัฒนาระบบสวัสดิการชุมชน

เอกสารแนบหมายเลข 1

หน้า 3/3

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

ผลที่คาดว่าจะได้รับเมื่อสิ้นสุดโครงการ (Output)

  • ·ได้รูปแบบการพัฒนาจิตสำนึกการเป็นผู้ให้ และรับอย่างมีศักดิ์ศรีด้วยหลักการทางศาสนาอิสลาม
  • ·คนในชุมชนเกิดจิตสำนึกการเป็นผู้ให้ การเป็นผู้รับอย่างมีศักดิ์ศรี
  • ·กองทุนวันละบาทมีการบริหารจัดการกองทุนที่ถูกพัฒนาให้เป็นระบบมากขึ้น
  • ·ได้คนรุ่นใหม่ที่รับการถ่ายทอดแนวคิดและกระบวนการบริหารงานกองทุนวันละบาทเข้ามาสานงานต่อ

ผลที่คาดว่าจะได้รับหลังสิ้นสุดโครงการ (Outcome)

คนในชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของตนเองในการเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาคนในชุมชนให้มีความสุข มีความมั่นคง สามารถพึ่งตนเองได้ ไม่ว่าจะเป็นผู้นำ หรือผู้ตาม ผู้ให้หรือผู้รับ ผู้มีหรือผู้ไม่มี หากมาเรียนรู้ร่วมกันในการพัฒนาตนเองต้องเริ่มจากการสร้างวินัยในการมีส่วนร่วมในการจัดสวัสดิการชุมชน บนพื้นฐานความเข้าใจในองค์ประกอบของคน ชุมชน รวมถึงวิธีการบริหารชุมชน ในการจัดการกับปัญหาของคนในชุมชน สร้างการจัดการสวัสดิการชุมชน และการพัฒนารูปแบบการจัดการสวัสดิการชุมชนที่เหมาะสมกับสภาพการณ์ต่างๆ ที่ช่วยให้คนสามารถพึ่งตนเองได้ และช่วยเหลือผู้อื่นได้บ้าง

ตัวชี้วัดการดำเนินงาน

  • 1.คนในชุมชน เข้าร่วมเป็นสมาชิกกองทุนเพิ่มขึ้น
  • 2.กองทุนได้รูปแบบการให้และรับฯ ที่ถูกพัฒนาให้มีความเหมาะสมกับชุมชนยิ่งขึ้น
  • 3.มีภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเข้ามาร่วมเป็นกลไกในการขับเคลื่อนกองทุนฯ
  • 4.กองทุนฯ มีฐานข้อมูลที่มีการจัดเก็บอย่างเป็นระบบ
  • 5.ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการกองทุน (4M) ดีขึ้น
  • 6.ได้คนรุ่นใหม่ที่ได้รับการถ่ายทอดแนวคิดและกระบวนการเข้ามาร่วมเป็นแกนนำในการบริหารกองทุนเพิ่มขึ้น



วัตถุประสงค์

  • เพื่อให้คนใหม่เข้ามาเรียนรู้ถึงการทำงาน  การจัดการ  ปัญหาอุปสรรค  ของการดำเนินการกองทุนวันละหนึ่งบาท กับคณะทำงานที่ดำเนินการเกี่ยวกับกอง  ทุนฯ
  • เพื่อจะให้คนใหม่ๆ  กับคณะทำงานที่ดำเนินการเกี่ยวกับกองทุนฯ  ได้ถอดบทเรียน  แลกเปลี่ยนแนวคิดประสบการณ์  องค์ความรู้ที่แต่ละคนมีอยู่มาปรับใช้กับการบริหารจัดการกองทุนฯ
  • เพื่อให้ชุมชนร่วมกันวิเคราะห์การดำเนินการเกี่ยวกับกองทุนฯ ตลอดระยะเวลา  4  ปีทีผ่านมาและจะได้นำข้อคิดเห็นข้อเสนอแนะในเวทีวิเคราะห์ไปเป็นแนวทางในการ พัฒนากองทุนฯ  ต่อไป
  • เพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมของกองทุนฯ  ให้สังคมส่วนใหญ่ได้รับทราบและจะได้เข้ามามีส่วนร่วมกับกิจกรรมของกองทุนฯ
  • เพื่อสร้างจิตสำนึกการเป็นผู้ให้อย่างมีความสุข  เป็นผู้รับอย่างมีความศักดิ์ศรี

­

ดาวน์โหลด : 1.ppt งานนำเสนอกองทุนวันละบาท

                   2.เอกสารโครงการย่อยเพื่อพัฒนาแผนงานชุมชนบ้านกำพวน

                   3. โครงการแนวทางการพัฒนาสวัสดิการชุมชนกองทุนวันละบาทชุมชนบ้านกำพวน

ย่อข้อมูลโครงการ
ความเคลื่อนไหวล่าสุด
เวทีความคิด
บุคคล/องค์กรที่เกี่ยวข้อง