โครงการสภาพัฒนาชุมชนบ้านหาดยาวเจ้าไหม ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง (phase 2)
โครงการสภาพัฒนาชุมชนบ้านหาดยาวเจ้าไหม ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง (phase 2)
อนุรักษ์ สืบสาน การละเล่น กันตรึมพื้นบ้าน
ทักษะการร้อง รำ และเล่นดนตรี แบบแว่วเสียงสำเนียงอีสาน เป็นสิ่งที่ทีมงานทำได้อยู่แล้ว แต่สิ่งที่ขาดคือความรู้ด้านประวัติศาสตร์ ความเป็นมาของหมู่บ้าน ประวัติการละเล่นกันตรึม รวมถึงความรู้เรื่องเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงกันตรึมในงานประเพณีต่างๆ ด้วยเหตุผลนี้พวกเขาจึงต้องลงพื้นที่สัมภาษณ์คนในชุมชน เพื่อรวบรวมข้อมูล และนำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดมาบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษรไว้เป็นหลักฐานข้อมูลชุมชน
คลิกเพื่ออ่านต่อ

ชื่อโครงการ   อนุรักษ์สืบสานการละเล่นกันตรึมพื้นบ้าน

กลุ่มเยาวชน  เยาวชนโรงเรียนปรางค์กู่

บริบทชุมชน บ้านระกา ม.4 ต.พิมาย อ.ปรางค์กู่ จ.ศรีสะเกษ มีกลุ่มเยาวชนที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนปรางค์กู่ที่มีความสนใจในศิลปะการแสดงและการสืบสานอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น ซึ่งในระยะต่อมา กลุ่มเยาวชนโรงเรียนปรางค์กู่ได้ก่อตั้งขึ้นมาโดยได้รับการสนับสนุนของพระครูปริยัติสีลาภรณ์ ได้ดำเนินการจัดตั้งวงกันตรึม กันตรึม เป็นการละเล่นพื้นเมืองของชาวไทยเชื้อสายเขมรในเขตอีสานใต้ตามประวัติโบราณใช้สำหรับขับร้องประกอบการร่ายรำบวงสรวง การละเล่นกันตรึมได้รับความนิยมมากในแถบจังหวัดสุรินทร์ บุรีรัมย์ และศรีสะเกษ ซึ่งกันตรึมเป็นการละเล่นดนตรีพื้นบ้านประจำถิ่น

ปัญหาและเป้าหมาย ปัจจุบันกันตรึมพื้นบ้านที่เคยสืบสานกันมาอย่างยาวนาน ค่อยๆเลือนหายไปเนื่องจากขาดผู้สานต่อ เยาวชนในพื้นที่ส่วนใหญ่ละเลยการละเล่นชนิดนี้ และให้ความสนใจกับเกมและสื่อโซเชียลมีเดีย

          กลุ่มเยาวชนจึงคิดทำโครงการอนุรักษ์สืบสานการละเล่นกันตรึมพื้นบ้าน เพื่อใช้เครื่องมือช่วยดึงดูดความสนใจของเด็กและเยาวชนให้ห่างจากสิ่งยั่วยุดังกล่าว โดยมีความเชื่อว่า การแบ่งเวลามาทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อตนเองและสังคมนอกห้องเรียนจะช่วยพัฒนาทักษะชีวิต ทำให้เด็กได้เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่น อีกทั้งยังช่วยกล่อมเกลาจิตใจให้เกิดสมาธิ รู้เท่าทันตัวเองและรู้เท่าทันสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัว และยังช่วยสืบสานและอนุรักษ์ต่อยอดความรู้ภูมิปัญญาศิลปวัฒนธรรมของชุมชนการละเล่นกันตรึมพื้นบ้านไม่ให้สูญหายไป

ผลและคุณค่าที่เกิดขึ้น โครงการไม่เพียงแต่สามารถสร้างงาน สร้างเงิน แต่ยังสร้างคน ให้รู้จักและหวงแหนความดีงามที่มีอยู่ในชุมชนทั้งความดีงามในประเพณีวัฒนธรรมที่เคยหายไปให้คืนกลับมาและสืบสานให้คงอยู่ต่อไปจากรุ่นสู่รุ่น ความดีงามของดนตรียังช่วยขัดเกลาจิตใจจนเกิดสมาธิและสติปัญญาทั้งทางโลกและทางธรรมอันเป็นประโยชน์ต่อการใช้ชีวิตเพื่อตนเองและผู้อื่น

­

พี่เลี้ยงชุมชน     พระครูปริยัติสีลาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดระกา

                        วราภรณ์ แหวนวงษ์ ผู้ปกครอง

ทีมทำงาน

สุกัญญา แพงงาม              มัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนปรางค์กู่

ธัญญารัตน์ แหวนวงษ์        มัธยมศึกษาปีที่ 5โรงเรียนปรางค์กู่

วาสนา อ่อนสุข                  มัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนปรางค์กู่

อาทิตยา แหวนวงษ์           มัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนปรางค์กู่

ปรัชญา ราศี                      มัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนปรางค์กู่

กชกร ขบวนรมย์                มัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนปรางค์กู่

­

E:mail : 

­

­

ย่อข้อมูลโครงการ
ความเคลื่อนไหวล่าสุด
เวทีความคิด
บุคคล/องค์กรที่เกี่ยวข้อง