หลักการและเหตุผล
อาสาสมัคร เป็นภาคส่วนสำคัญในการมีส่วนช่วยแก้ไขปัญหาสังคม รวมถึงการทำงานด้านการพัฒนาประเทศในมิติต่างๆ นับตั้งแต่ภัยพิบัติสึนามิในปี 2547 ที่เป็นจุดเริ่มต้นของกระแสความเคลื่อนไหวด้านการทำงานอาสาสมัครในประเทศไทย จนถึงปัจจุบันที่ผู้คนในสังคมหันมาสนใจการทำงานอาสาสมัครเพิ่มมากขึ้น อาสาสมัครมีบทบาทสำคัญในการเข้าไปช่วยเสริมเติมเต็มให้กับงานพัฒนาในหลากหลายภาคส่วนและหลากหลายประเด็น อาทิ อาสาสมัครในสถานการณ์ภัยพิบัติ ที่เมื่อเกิดเหตุก็จะมีอาสาสมัครจำนวนมากที่นำทักษะความรู้เข้าไปให้ความช่วยเหลือ, งานอาสาสมัครในภาคการศึกษา ที่กำลังเติบโตดังจะเห็นได้ว่าในปัจจุบันเกิดหลักสูตรการเรียนการสอนทั้งกิจกรรมในห้องเรียนและนอกห้องเรียนสนับสนุนให้เด็กออกไปทำงานอาสาสมัครมากขึ้น, งานอาสาสมัครกับประเด็นทางสิ่งแวดล้อม ที่ค่อนข้างเป็นที่นิยมสอดรับกับสภาวะปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นทั่วโลกรวมถึงการทำงานอาสาสมัครในประเด็นทางสังคมอื่นๆ ซึ่งอาจผูกโยงอยู่กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม องค์กรระหว่างประเทศ หรือปัจเจกบุคคลที่มีแนวโน้มในการรวมตัวกันอย่างอิสระมากขึ้น ซึ่งการทำงานอาสาสมัครที่เกิดขึ้นในภาคส่วนต่างๆนี้ มีการสะสมประสบการณ์ องค์ความรู้ เครื่องมือในการทำงาน อันจะเป็นประโยชน์หากได้ถูกนำมาเผยแพร่ แลกเปลี่ยน หรือนำความรู้ไปต่อยอดการทำงานในสังคม
จากมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งได้มีการประชุมปรึกษาเรื่องแนวทางการพัฒนางานอาสาสมัครไทยเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2555 และลงมติตามที่กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เสนอ โดยสาระสำคัญของมติคณะรัฐมนตรีเพื่อการพัฒนางานอาสาสมัครไทย คือ การจัดตั้งองค์กรประสานงานอาสาสมัครระดับชาติ (National Coordinating Agency of Volunteering) ขึ้นเพื่อเป็นหน่วยงานกลางในการประสานงานเชื่อมโยงองค์กรอาสาสมัครทุกภาคส่วน รวมทั้งมีบทบาทในการเป็นศูนย์ความรู้ ข้อมูลข่าวสาร และการเรียนรู้งานอาสาสมัครของไทยฉะนั้นเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีทิศทางดังกล่าว เครือข่ายจิตอาสา ในฐานะผู้แทนภาคประชาสังคมในคณะอนุกรรมการส่งเสริมงานอาสาสมัครแห่งชาติ รวมถึงเป็นภาคส่วนที่ทำงานขับเคลื่อนในโครงการจัดตั้งองค์กรประสานงานอาสาสมัครระดับชาติ (National Volunteer Coordinating Agency) ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในสำรวจสถานการณ์งานอาสาสมัครของสังคมไทยในภาพรวม ไปจนถึงการนำเอาองค์ความรู้ที่มีอยู่จากการทำงานด้านอาสาสมัครเพื่อการพัฒนาในภาคส่วนต่างๆของสังคม เพื่อนำไปสู่การยกระดับการทำงานอาสาสมัครซึ่งเชื่อมโยงกับการพัฒนาประเทศไทยด้วยความตั้งใจดังกล่าวจึงเป็นที่มาของการจัด “งานประชุมระดับชาติด้านการอาสาสมัคร ครั้งที่ 1 “(National Conference on Volunteerism) ภายใต้แนวคิดเรื่อง “งานอาสาสมัครเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ” ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 7-8 พฤษภาคม 2558 ณ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ โดยต้องการจะเปิดพื้นที่ในการนำเสนอ งานความรู้ (Knowledge), ประสบการณ์ (Experience) และตัวแบบของปฏิบัติการ (Practice) ด้านงานอาสาสมัคร อันเชื่อมโยงกับการพัฒนาและแก้ไขปัญหาต่างๆของประเทศ นอกจากนั้นยังส่งเสริมให้ให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างองค์กรที่ส่งเสริมและสนับสนุนงานอาสาสมัคร ยกระดับในการทำงานขับเคลื่อนด้านอาสาสมัครในประเทศไทยต่อไป
วัตถุประสงค์
1.เพื่อสำรวจสถานการณ์งานอาสาสมัครในภาพรวมระดับประเทศ และเป็นการรวบรวมองค์ความรู้ด้านงานอาสาสมัคร
กับประเด็นการพัฒนาประเทศในมิติต่างๆ
2.เพื่อเผยแพร่และนำเสนอองค์ความรู้ ด้านงานอาสาสมัครเพื่อการพัฒนา อันจะนำมาสู่การยกระดับการทำงานอาสาสมัคร
เพื่อการพัฒนาประเทศมากขึ้น
3.เพื่อเป็นพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้างความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่างๆ ซึ่งมีบทบาทส่งเสริมและสนับสนุน
ด้านงานอาสาสมัครในประเทศไทย
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1.เกิดการยกระดับความเข้าใจและตระหนักรู้ของสังคมเกี่ยวกับคุณค่าของงานอาสาสมัครต่อการพัฒนาประเทศ
2.เกิดชุดความรู้และตัวอย่างปฏิบัติการด้านงานอาสาสมัครซึ่งสร้างประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศ
3.เกิดเครือข่ายและเกิดความร่วมมือระหว่างองค์กรภาคส่วนต่างๆในการขับเคลื่อนงานอาสาสมัครในประเทศไทย
รูปแบบการดำเนินงาน
เป็นการจัดงานประชุมเชิงวิชาการ ในประเด็นเรื่องงานอาสาสมัครเพื่อการพัฒนาในมิติต่างๆ โดยมีทั้งรูปแบบ การจัดเวทีเสาวนา, การนำเสนอกรณีศึกษา/ ผลงานทางวิชาการ, การประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เพื่อนำเสนอและเป็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ด้านงานอาสาสมัคร
องค์กรรับผิดชอบ
- เครือข่ายจิตอาสา (Volunteer Spirit Network) : องค์กรประสานงานกลาง
- กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
- มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
- มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- สำนักบัณฑิตอาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- ศูนย์อาสาสมัคร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน กระทรวงสาธารณสุข
- สถาบันคลังสมองของชาติ
- มูลนิธิอาสาสมัครเพื่อสังคม
- มูลนิธิสยามกัมมาจล ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
- มูลนิธิสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประเทศไทย
- มูลนิธิกระจกเงา
- องค์การหน่วยอาสาสมัครอังกฤษ Voluntary Service Overseas (VSO)
- กลุ่มนวัตกรรมเยาวชนเพื่อสังคม
- โครงการธนาคารจิตอาสา
- เครือข่ายพุทธิกาเพื่อพระพุทธศาสนาและสังคมไทย
- Creative Move
- มูลนิธิเพื่อคนไทย
- กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (สำนักงานประเทศไทย)
- สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
วันเวลาสถานที่ในการจัดงาน
วันที่ 7 – 8 พฤษภาคม 2558ณ. มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
การติดต่อประสานงาน
เครือข่ายจิตอาสา
ที่อยู่ : 2044/21 ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ แขวงบางกะปิ เขตห้วยขวาง กทม. 10310
สำนักงาน : โทร 02-319-5017 เว็บไซต์ : www.volunteerspirit.org
ผู้ประสานงาน :
(1)นางสาว ศิวพร ครองวรกุลเบอร์โทร081-495-2948Email : sivaporn@volunteerspirit.org
(2)นางสาว ปรวรรณ ทรงบัณฑิตย เบอร์โทร 084 – 609- 4509 Email : porrawan@volunteerspirit.org