"การเรียนรู้เกิดขึ้นจากการลงมือทำ การเรียนรู้จากการแก้ปัญหา การทำงานเป็นทีม และทำกระบวนการทางความคิด ทบทวนตน (self reflection) ถอดประสบการณ์ที่ได้จากการทำงาน เพื่อยกระดับความคิด ให้เห็นสิ่งที่เราทำจริง สิ่งที่เราทำได้ดี และสิ่งที่ต้องปรับปรุงพัฒนาตนเพิ่มขึ้น ให้ได้ความรู้ หรือชุดประสบการณ์ เพื่อให้มีทักษะใหม่ที่จะทำให้ดียิ่งขึ้น"
"การทบทวน ทำให้เยาวชนเติบโตทางความคิด และค้นพบทักษะใหม่ที่ซ่อนอยู่ รอการบ่มเพาะฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ และรู้จริงทำจริง จากการค้นพบด้วยตัวเอง"
------------------------------------
บันทึกกระบวนการ จัดวงแลกเปลี่ยน ถอดบทเรียน "การเรียนรู้" ของแกนนำเยาวชน 7 กลุ่ม ที่พัฒนา "ทักษะการสื่อสาร" ของตนขึ้น จากการลงมือทำสารคดีสั้น เล่าเรื่องเมืองเรา-เล่าเรื่องการทำงาน "โครงการเพื่อคลี่คลายปัญหาของชุมชน (community project)"
>>>เยาวชนจาก โครงการพลังพลเมืองเยาวชนสงขลา สงขลาฟอรั่ม และ โครงการกองทุนสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาเยาวชน มูลนิธิกองทุนไทย
>>>สนับสนุนการถอดบทเรียนการเรียนรู้ นำโดย คุณศุทธิวัติ นัสการ Suttiwat Naskanและทีมมูลนิธิสยามกัมมาจล Jangy Jang Ratana Kitikorn Boo'm Scoopipeep Esฟุกฟาง ฟุกฟุก
การออกแบบการเรียนรู้เริ่มต้นที่การ "ตั้งโจทย์คำถามชวนคิด" เพื่อชวนเยาวชน ทบทวนตนเอง...จากการลงมือทำสารคดีสั้น มีดังนี้
ประสบการณ์เดิม ก่อนเข้าร่วมค่ายฝึกทักษะการทำสารคดีสั้นเป็นอย่างไร? และเนื้อหาการเรียนรู้ที่เป็นประโยชน์ ที่เราได้รับจากค่ายเพื่อนำไปเริ่มต้นทำสารคดีสั้นมีอะไรบ้าง?
จุดเริ่มต้น และเหตุผลในการเลือก เรื่อง/ประเด็น ที่ต้องการทำสารคดี เล่าเรื่องเมืองเรา มีความเป็นมาเป็นไป อย่างไร?
มีวิธีการทำงาน การออกแบบแผนงาน การจัดการแต่ละขั้นตอนอย่างไร?
ประเด็นปัญหาที่เป็นอุปสรรค คืออะไร? มีวิธีแก้ไขอย่างไร? ปัจจัยหนุนเสริม จุดเด่นของกลุ่ม ที่นำไปสู่ความสำเร็จ คืออะไร?
การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์การลงมือทำ แก้ปัญหา ในแต่ละขั้นตอน มีอะไรบ้าง?
♡ ตัวอย่าง การเรียนรู้ บางตอน ที่สะท้อนผ่านการพูดคุย และโค้ชชิ่ง โดยพี่ๆ มีดังนี้
1. "จุดเริ่มต้น" มาจากความสนใจ แรงบันดาลใจที่เราอยู่กับเรื่องนั้น และเห็นว่าเป็นประเด็นที่น่าจะสื่อสารให้สังคมรับรู้ /// เป็นประเด็นงานที่เรากำลังทำอยู่ และต้องการใช้สารคดี เป็นประโยชน์เพื่อสื่อสารงาน ให้คนทั่วไป หรือคนในชุมชน เข้าใจประเด็นปัญหา-สถานการณ์
2. "วิธีทำงาน" เริ่มจาก...
ลงพื้นที่ ทำความรู้จักคน รู้จักพื้นที่ เพราะการถ่ายทำสารคดีมีความสด ผู้ทำต้องรู้จักพื้นที่ รู้ว่าเราถ่ายทำได้จริง มีใครสามารถอำนวยความสะดวกได้
เขียนโครงเรื่อง จะเล่าอย่างไร? เล่าผ่านใคร? ให้น่าสนใจ ดึงดูดผู้ชม
กำหนดบทบาทของคนในทีม ผู้สัมภาษณ์ ผู้ตัดต่อ ผู้ประสานงานชุมชน ผู้เขียนบท ผู้กำกับ เลือกโดยพิจารณาว่า ใครถนัดอะไร? หรือต้องการเรียนรู้ ฝึกทักษะอะไร?
ถ่ายทำ >>ตัดต่อ>> ถ่ายเพิ่ม>>ตัดต่อ (ถ่ายแล้วถ่ายอีก) เพราะสารคดีสั้นต้องเป็นภาพ เสียง ที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์จริง ถ้าวันที่ไปถ่ายไม่ได้ต้องไปใหม่
การตัดต่อ โดยดูกันภายในทีม เราเข้าใจว่าอะไร ตรงกับที่ต้องการสื่อหรือไม่ ใส่ภาพข้อความ เสียง ดนตรี เพื่อช่วยให้การสื่อสารชัดเจน
แก้ไข ตัดใหม่ ถ่ายเพิ่ม
3. "ปัญหา"
ระหว่างถ่ายทำ มีปัญหาจากสภาพแวดล้อม เช่น แสง ฝน ทำให้ไม่ได้ภาพตามที่ต้องการ ปัญหาจากเสียง ที่เข้ามารบกวน ไม่ได้ยินผู้พูด
เทคนิค การถ่ายภาพ อุปกรณ์มีกล้องมือถือ 1 ตัว ต้องถ่ายหลายครั้งให้ได้หลายมุม เทคนิคการตัดต่อ การทำบท จัดมุมกล้อง
การเล่าเรื่อง จะสื่อสาร อย่างไรให้น่าสนใจ
4. "การเรียนรู้"
เรียนรู้ทักษะการถ่ายภาพ มุมกล้อง การใช้ความคิดสร้างสรรค์
เรียนรู้ทักษะ การใช้โปรแกรมในการตัดต่อ
เรียนรู้เรื่อง การใช้สารคดีเพื่อสร้างความรับรู้ สื่อสารงาน
เรียนรู้ทักษะ การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า ปรับตัว ปรับแผน
เรียนรู้ วินัยในการทำงาน การทำงานร่วมกันต้องตรงเวลา การเคารพกันและกัน และต้องทำงานกับชุมชน
เรียนรู้ความอดทน การทำงานถ่ายทำ จะเหนื่อย ร้อน ท้อ กดดัน
การเรียนรู้ ให้รู้ลึกกับเนื้อหาเรื่องที่ทำ ต้องมีข้อมูล ต้องฝึกฟัง และจับประเด็นเนื้อหาปัญหา สาเหตุ ต้องเข้าใจชุมชน
เรียนรู้ทักษะ การทำงานกับเพื่อน การขัดแย้งกันทางความคิด จะมีวิธีการหาจุดร่วม และปรับจูนอย่างไร ให้ทำงานต่อได้
>>>การลงมือทำ และกลับมาทบทวน ทำให้เยาวชนเติบโตทางความคิด และค้นพบทักษะใหม่ที่ซ่อนอยู่ รอการบ่มเพาะฝึกฝนให้เกิดความชำนาญ และรู้จริง ทำจริงจากการค้นพบด้วยตัวเอง>>>