แผนการสอน ป. 1
Angkhana Kaewprasert


หน่วยการเรียนรู้  กินดีมีสุข  ( PBL)

  ชั้นประถมศึกษาปีที่  1โรงเรียนบ้านห้วยหว้า  อำเภอเมือง  จังหวัดชัยภูมิ

  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ  เขต 1

 

เป้าหมาย

  นักเรียนตระหนักและเห็นความสำคัญในการปลูกข้าว  และวิถีชีวิตชาวนาไทย เพราะข้าวเป็นอาหารหลักของคนไทย  รู้จักการบริโภคอย่างปลอดภัยและคุณค่าทางโภชนาการที่มีประโยชน์ต่อร่างกายของตนเอง  ข้าวสามารถสร้างรายได้ให้กับครอบครัว ตลอดจนสามารถนำข้าวไปประกอบเป็นอาหารได้หลากหลายชนิดและเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจ

ทำไม

  ข้าวเป็นอาหารหลักที่คนไทยทุกคนต้องรับประทาน  และประชากรในท้องถิ่นส่วนใหญ่มีอาชีพทำนา

 

สัปดาห์

Input

Process

Output

Outcome

  1

เนื้อหา

ความสำคัญของข้าว

เป้าหมายย่อย

-นักเรียนรู้ประวัติของข้าวและประโยชน์ของข้าว

คำถาม

-ข้าวมีความสำคัญกับประเทศไทยอย่างไร

สื่อ / แหล่งเรียนรู้

-หนังสือประวัติข้าว

-ภาพอาหารที่ทำจากข้าว

กิจกรรม

- ครูเล่านิทานประวัติของข้าว เรื่องแม่โพสพ ให้นักเรียนฟัง

- ครูนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับนิทานเรื่องแม่โพสพ

- ครูตั้งคำถามเรื่องประโยชน์ของข้าวเป็นอย่างไร

- ครูให้นักเรียนเขียนเมนูอาหารในแต่ละวันทั้ง  3 มื้อว่ามีเมนูไหนที่ทำจากข้าว(ความรู้)

-ครูให้นักเรียนนำเสนอผลงานของตัวเอง

- ครูให้คำแนะนำและสรุปความสำคัญของข้าว

ชิ้นงาน / ภาระงาน

- ภาพวาดตัวละครจากนิทาน

- รายชื่ออาหารที่ทำจากข้าว

ความรู้( K)

- ข้าวให้สารอาหารที่สำคัญต่อร่างกาย

ทักษะ( S)

- แสวงหาความรู้จากการฟังนิทาน

คุณลักษณะ( A)

- ความตั้งใจ

- ความรับผิดชอบ

สัปดาห์

Input

Process

Output

Outcome

   2

เนื้อหา

ลักษณะของเมล็ดข้าว

เป้าหมายย่อย

นักเรียนรู้จักส่วนประกอบต่างๆของเมล็ดข้าว

คำถาม

- นักเรียนรู้จักส่วนประกอบของเมล็ดข้าวอย่างไรบ้าง

สื่อ / แหล่งเรียนรู้

- เมล็ดข้าว

- แหล่งเรียนรู้นาข้าว

กิจกรรม

- ให้นักเรียนเล่าถึงลักษณะของเมล็ดข้าวมีอะไรบ้าง

- ครูเอาเมล็ดข้าวของจริงให้นักเรียนศึกษาลักษณะของเมล็ดข้าวภายนอกและภายใน

- ครูนักเรียนช่วยกันสรุปพร้อมวาดภาพส่วนประกอบของข้าว

- นักเรียนนำเสนอผลงาน

ชิ้นงาน / ภาระงาน

- ภาพวาดพร้อมบอกส่วนประกอบของเมล็ดข้าว

ความรู้

- รู้ส่วนประกอบของเมล็ดข้าว

ทักษะ

- การแสวงหาความรู้

คุณลักษณะ

- การแบ่งปัน  ความรับผิดชอบ

สัปดาห์

Input

Process

Output

Outcome

  3

เนื้อหา

ประเภทของข้าว

เป้าหมายย่อย

คุณค่าของข้าวต่อคนเรียนรู้กระบวนการนำเมล็ดข้าวมาแยกประเภทของข้าวและสร้างงานศิลปะจากเมล็ดพันธุ์พืช

คำถาม

นักเรียนสามารถแยกประเภทของพันธุ์ข้าวได้อย่างไร

สื่อ / แหล่งเรียนรู้

- เมล็ดพันธุ์ชนิดต่าง ๆ

กิจกรรม

- ครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนสิ่งที่เรียนรู้ในชั่วโมงที่ผ่านมา

- ครูใช้คำถามกระตุ้นความคิด นักเรียนจะแยกประเภทของข้าวได้อย่างไร

- ครูนำเมล็ดข้าวชนิดต่างมาให้นักเรียนระดมความคิดแยกประเภทและร่วมกันสรุป

- นักเรียนสร้างสรรค์ผลงานภาพปะติดจากเมล็ดข้าว

- ครูชื่นชมผลงานของนักเรียนและความตั้งใจในการทำงาน

ชิ้นงาน

- ภาพปะติดจากเมล็ดข้าว

ความรู้

ข้าวมีลักษณะของเมล็ดและสีแตกต่างกัน

ทักษะ

- การแสวงหาความรู้

คุณลักษณะ

- การสังเกต

- ความตั้งใจ

- อดทน

สัปดาห์

Input

Process

Output

Outcome

  4

เนื้อหา

อุปกรณ์การทำนา

เป้าหมายย่อย

นักเรียนสามารถบอกอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำนาได้

คำถาม

นักเรียนสามารถแยกอุปกรณ์การทำนาในอดีตและปัจจุบันได้อย่างไร

สื่อ / แหล่งเรียนรู้

สืบค้นจากภูมิปัญญาท้องถิ่น

- แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น

กิจกรรม

- ให้นักเรียนสืบค้นจากภูมิปัญญาท้องถิ่น

- นักเรียนแบ่งกลุ่มนักเรียนเขียนชื่ออุปกรณ์การทำนา

- ครูร่วมกับนักเรียนศึกษาแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่นจากของจริง

- ครูนักเรียนช่วยกันสรุปอุปกรณ์ที่ใช้ในการทำนา

- ให้นักเรียนวาดภาพอุปกรณ์พร้อมเขียนชื่อให้ถูกต้อง

- นักเรียนนำเสนอผลงานและส่งครู

ชิ้นงาน

- ภาพวาดอุปกรณ์การทำนา

ความรู้

- มีความรู้ในเรื่องอุปกรณ์การทำนา

ทักษะ

- การสืบค้นข้อมูล

คุณลักษณะ

- ความตั้งใจ

- มีความคิดสร้างสรรค์

สัปดาห์

Input

Process

Output

Outcome

  5

เนื้อหา

ขั้นตอนการทำนา

เป้าหมายย่อย

นักเรียนสามารถบอกขั้นตอนการทำนาดำและนาหว่านได้

คำถาม

การทำนามีวิธีและขั้นตอนการทำอย่างบ้าง

สื่อ / แหล่งเรียนรู้

- แหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น

กิจกรรม

- ให้นักเรียนสอบถามจากภูมิปัญญาท้องถิ่น

- แบ่งกลุ่มนักเรียนเป็น 3 กลุ่มให้เรียงลำดับขั้นตอนการทำนาดำและนาหว่าน

- ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน

- ให้นักเรียนสรุปผลงานเป็น  Mind  mappingส่งครู

 ชิ้นงาน

-Mind  mapping

ความรู้

- เข้าใจขั้นตอนการทำงาน

ทักษะ

- กระบวนการคิด

- การเชื่อมโยง

คุณลักษณะ

- มีวินัย ใฝ่เรียนรู้

- รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น

- มีความคิดเชื่อมโยง