การถอดบทเรียนจากฐานการเรียนรู้ สหกรณ์น้ำดื่มคลองไคร
๑.๑. สาเหตุที่มา/เป้าหมายของฐาน/วัตถุประสงค์
สหกรณ์น้ำดื่มคลองไครเกิดขึ้นเนื่องจาก โรงเรียนบ้านคลองไครมีปัญหาเรื่องขาดแคลนน้ำดื่มอย่างมากทางโรงเรียนจึงเล็ง เห็นความสำคัญได้เสนอโครงการไปยังบริษัทชินคอร์ปคอเปอร์เรชั่นของบประมาณ สนับสนุนเครื่องกรองน้ำส่วนด้านโรงเรือนทางโรงเรียนและชุมชนผู้ปกครอง นักเรียน ได้ระดมทุนในรูปแบบของสหกรณ์ ทุกคนเป็นเจ้าของ มีจำนวน สมาชิกทั้งหมด 506 คน
ทางโรงเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาเห็นว่า เรามีทรัพยากร แหล่งเรียนรู้ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นอยู่แล้วน่าจะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ สูงสุด จึงได้ให้สหกรณ์น้ำดื่มเป็นฐานการเรียนรู้เพื่อศึกษาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง
๑.๒. คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของการเรียนรู้
- ด้านเจตคติ
นักเรียนทุกคนมีส่วนร่วม รักและจะอนุรักษ์ทรัพยากรน้ำที่มีอยู่ให้ได้ใช้ระโยชน์นานที่สุด และเข้าใจความสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงชัดเจนยิ่งขึ้นสามารถ นำไปปฏิบัติในชีวิตประจำวันได้เป็นอย่างดี
- ด้านทักษะ
นักเรียนทีทักษะในการผลิตน้ำเพื่อดื่มเอง
- ด้านความรู้
นักเรียนมีความรู้ในรูปแบบของสหกรณ์ ขั้นตอนการผลิตน้ำ ความสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
๑.๓. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเชื่อมโยงกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้อย่างไร
- การมีเหตุผลในการตัดสินใจ ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
- การใช้หลักความพอประมาณ ต้องใช้หลักความพอประมาณกับทุกด้าน ศักยภาพของครู เวลา จำนวนนักเรียน วัยของผู้เรียน วิธีการสอน ใบงานต้องสอดคล้องกับความสามารถของเด็กแต่ละระดับชั้น ความยากง่ายของเนื้อหา
- การใช้หลักการมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี
นักเรียน ครู บุคลากรในโรงเรียนมีน้ำดื่มที่สะอาด ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อน้ำดื่มเป็นการแก้ปัญหาระยะยาว เป็นฐานการเรียนรู้ที่ให้นักเรียน ชุมชน หรือผู้ที่สนใจได้ศึกษาหาความรู้
- เงื่อนไขคุณธรรม
นักเรียนมีความรัก สามัคคี เสียสละ รู้จักประหยัดหวงแหนทรัพยากรที่มีอยู่ให้คุมค่า การมีจิตอาสา เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
- เงื่อนไขความรู้
-ขั้นตอนการผลิตน้ำดื่ม
- รูปแบบการจัดการแบบสหกรณ์
- ความสอดคล้องกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
- มิติด้านวัตถุ ( เศรษฐกิจ )
- นักเรียน ชุมชน ได้ดื่มน้ำที่สะอาดและราคาถูก ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อน้ำดื่ม
- มิติด้านสิ่งแวดล้อม
- น้ำที่นำมาผ่านเครื่องกรองนำมาจากหมู่บ้านในเขตบริการของโรงเรียนคือหมู่ที่ 14
ทำให้นักเรียนเห็นคุณค่าและใช้ทรัพยากรอย่างประหยัดคุ้มค่าที่สุด
- มิติด้านสังคม
- เกิดความร่วมมือร่วมใจกันพัฒนาดูได้จากการร่วมกันสร้างโรงเรือนและการระดมทุนทุกคนเห็นความสำคัญและร่วมกันเป็นเจ้าของ
- มีข้อตกลงร่วมกันในรูปแบบของสหกรณ์
- มิติด้านวัฒนธรรม
- สอดคล้องกับความเป็นอยู่ของชุมชนเพราะจะได้ดื่มน้ำที่สะอาดลดค่าใช้จ่ายใน การซื้อน้ำดื่ม เกิดความภาคภูมิใจในการเป็นเจ้าของ
๑.๔ บูรณาการกับวิชาใดบ้าง
สาระวิชา วิทยาศาสตร์
สาระสังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม สาระเศรษฐศาสตร์ ( รูปแบบการสหกรณ์ )
สาระการงานอาชีพและเทคโนโลยี (การผลิตน้ำดื่ม )
ขั้นตอนที่ ๒ วิธีการ
๒.๑ ขั้นตอนการใช้ฐานการเรียนรู้
ฐานการเรียนรู้ใช้สอนในวันพุธคาบสุดท้ายของสัปดาห์-
๒.๒ใช้วัสดุอุปกรณ์งบประมาณอะไรบ้าง
ใช้ป้ายนิทรรศการเป็นสื่อในการเรียนรู้ ใบความรู้ ใบงานตามความยากง่ายของแต่ระดับชั้น
๒.๓ มีวิธีการจัดการเรียนรู้ มีข้อมูลประกอบฐานอะไรบ้าง
ให้นักเรียนศึกษาใบความรู้ แล้วทำใบงานส่งเป็นชิ้นงาน
๒.๔ มีวิธีการประเมินผล/วัดผลการเรียนรู้ในการจัดการเรียนรู้อย่างไร
วัดผลจากการเข้าร่วมกิจกรรม การมีส่วนร่วมในการทำกิจรรม ผลงานที่ทำ เกณฑ์การประเมิน มี ผ่าน กับ ไม่ผ่าน