เวทีความคิดจาก: ค่ายเยาวชนเศรษฐกิจพอเพียง ระยะที่ 2
รุ่งนภา จินดาโสม

"จากกิจกรรมค่ายเยาวชนเศรษฐกิจพอเพียงครั้งที่ 1 ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 14 -18 มีนาคม 2556 ที่ผ่านมา โดยทางมูลนิธิฯ ได้ส่งเสริมการเรียนรู้เรื่องการทำงานจิตอาสาเพื่อชุมชนภายใต้หลักคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ส่งผลให้เยาวชนเกิดความตระหนักต่อการเป็นพลเมืองของสังคมที่มีจิตอาสาและมีความมุ่งมั่นที่จะทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม ทำให้นักเรียนกลุ่มดังกล่าวเกิดความคิดริเริ่มที่จะทำโครงการจิตอาสาให้เกิดขึ้นในพื้นที่ของตนเอง ทั้งนี้เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เยาวชนมีหลักคิดในการทำงานมากยิ่งขึ้น มูลนิธิฯ จึงมีความประสงค์ที่จัดค่ายเยาวชนเศรษฐกิจพอเพียง ระยะที่ 2 ขึ้น เพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพของเยาวชนในเรื่องวิธีการคิด การวางแผนดำเนินโครงการให้สอดคล้องกับหลักคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง พร้อมทั้งเสริมสร้างพลังใจให้เกิดขึ้นในระหว่างการทำโครงการ และสนับสนุงบประมาณในการทำโครงการจิตอาสาให้แก่เยาวชน"


เป้าหมาย 
เพื่อพัฒนาโครงการจิตอาสาของเยาวชนให้มีประสิทธิภาพและสามารถดำเนินการได้จริง

วัตถุประสงค์ของโครงการ

     1.เพื่อพัฒนาวิธีคิดและการวางแผนโครงการจิตอาสาภายใต้หลักปรัชญา
        ของเศรษฐกิจพอเพียง

     2.เพื่อกระตุ้นและเสริมสร้างพลังใจในการทำงานจิตอาสาเพื่อส่วนรวม

    3. เพื่อสนับสนุนงบประมาณในการทำโครงการจิตอาสาของนักเรียน


ประชากรและกลุ่มเป้าหมาย

    • กลุ่มนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนที่ผ่านการเข้าร่วม “โครงการเรื่องเล่าเยาวชนเศรษฐกิจพอเพียง และค่ายเยาวชนเศรษฐกิจพอเพียงระยะที่ 1  จำนวน 37 คน
    • กลุ่มนักเรียนที่เป็นทีมงานหลักในการร่วมทำโครงการจิตอาสา
      จำนวน 43 คน
    • ครูพี่เลี้ยงจำนวน 16 คน


กิจกรรม

    •  กระบวนการพัฒนาและกระตุ้นพลังใจ
    •  กระบวนการพัฒนาวิธีคิดการบริหารจัดการโครงการ
    •  วิธีการนำเสนอผลงานและความคืบหน้าโครงการบนเว็บไซต์ของมูลนิธิฯ


ผลที่คาดว่าจะได้รับ

    • นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมได้รับประสบการณ์ในการวางแผนการทำงานภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
    • ได้โครงการที่เป็นประโยชน์และสามารถดำเนินงานได้จริง
    • เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างนักเรียนแต่ละโรงเรียน


ระยะเวลาดำเนินการ  

 13 -16 มิถุนายน 2556


            

           กิจกรรมค่ายเยาวชนเศรษฐกิจพอเพียง ระยะที่ 2  ที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 13 -16 มิถุนายน 2556 ณ เอ็นสิริ รีสอร์ท แอนด์ โฮเตล  อ.ลำลูกกา จ.ปทุมธานี ที่ผ่านมา มีนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมค่ายฯ จำนวน 75 คน คุณครูพี่เลี้ยง 15 คน จากจำนวนโรงเรียนทั้งสิ้น 15 โรงเรียน กิจกรรมในครั้งนี้มีความมุ่งหวังให้น้องๆ ได้พัฒนาศักยภาพในด้านการวางแผนพัฒนาโครงการจิตอาสาภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และ เรียนรู้เรื่องการนำเสนอข้อมูลโครงการของตนเองบนเว็บไซต์มูลนิธิสยามกัมมาจล จากการดำเนินกิจกรรมพบว่า


              ภาพรวมในส่วนของการเรียนรู้การพัฒนาโครงการจิตอาสา  น้องๆ มีความมุ่งมั่นและตั้งใจในการเรียนรู้ ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยากและต้องใช้เวลาในการทำความเข้าใจ แต่น้องๆ ก็มีความพยายามและสามารถปรับเปลี่ยน พัฒนาโครงการจิตอาสาของตนเองให้ตอบโจทย์กับความต้องการของพื้นที่ สามารถเป็นไปได้จริงและอยู่บนศักยภาพของกลุ่มได้สำเร็จ รวมทั้งสามารถทำความเข้าใจในกรอบความคิดของการเลือกทำโครงการจิตอาสาภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้ชัดเจนขึ้น ทั้งนี้ น้องๆ ได้ให้นิยามการทำจิตอาสาร่วมกัน ดังนี้ 


  "จิตอาสา"  คือ การช่วยคนอื่นที่มีปัญหาโดยใช้สติปัญญา แรงกายและเวลาของเรา ด้วยความเต็มใจ โดยปรารถนาให้เขาหลุดพ้นจากปัญหา โดยที่เราไม่หวังผลตอบแทน ทำให้เราเกิดความสุขที่ได้ช่วย และผู้รับได้ประโยชน์จากสิ่งที่เราทำ



 หลังจากที่น้องๆ ได้กระบวนการคิดจากพี่เลี้ยงที่ดูแลโครงการแล้วนั้น น้องๆ แต่ละโรงเรียนใช้เวลาว่างจากการทำกิจกรรม เพื่อรวมตัวกันปรับโครงการของตนเอง จนเกิดผลสำเร็จเป็นโครงการจิตอาสาจำนวน 15 โครงการ โดยแบ่งตามประเภทของโครงการได้ดังนี้


โครงการเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม จำนวน 5 โครงการ ดังนี้


  1. โครงการ อาสาพัฒนาลดขยะ สร้างคุณค่า รักษาสิ่งแวดล้อม 
    (โรงเรียนทาขุมเงินวิทยาคาร จ.ลำพูน) 
  2. โครงการชุมชนสดใส ด้วยใจอาสาเด็กดอย
    (
    โรงเรียนบ้านวนาหลวง จ.แม่ฮ่องสอน) 

  3. โครงการจิตอาสา”ชีวภาพ”ดับกลิ่น
    (
    โรงเรียนลาซาลจันทบุรี(มารดาพิทักษ์) จ.จันทบุรี )

  4. โครงการ “ส่งขยะกลับบ้าน”
    (
    โรงเรียนศรีวิชัยวิทยา จ.นครปฐม) 
  5. โครงการ จิตอาสาพัฒนาโรงอาหารเสริมงามวิทยาคม
    (
    โรงเรียนเสริมงามวิทยาคม จ.ลำปาง) 


โครงการเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรม จำนวน  4 โครงการ ดังนี้


  1.  โครงการ  สื่ออาสางานจักสานใบตาล สืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น
    เพชรบุรีด้วยวิถีพอเพียง
    (โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี จ.เพชรบุรี)
  2. โครงการ สืบสานภูมิปัญญาผ้าทอทองแสนขัน
    (โรงเรียนทองแสนขันวิทยา จ.อุตรดิถต์)

  3. โครงการ แสดเขียวร่วมใจ สืบสานไว้การแซวผ้า
    (
    โรงเรียนสำโรงทาบวิทยาคม จ.สุรินทร์)

  4. โครงการอนุรักษ์  เผยแพร่การแต่งกายชาวเผ่า
    (
    โรงเรียนศึกษาสงเคราะห์ตาก จ.ตาก) 


โครงการเกี่ยวกับวิชาการ การศึกษา จำนวน 3 โครงการ ดังนี้


  1. โครงการจิตอาสา  “พี่ชวนน้องอ่าน ภายใต้หลักปรัชญา
    ของเศรษฐกิจพอเพียง
    (โรงเรียนชำนาญสามัคคีวิทยา จ.ระยอง)
  2. โครงการ จิตอาสาพัฒนาห้องสมุดชุมชน
    (โรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์ จ.เชียงราย)

  3. โครงการสอนภาษาอังกฤษให้น้อง
    (
    โรงเรียนสตรีมารดาพิทักษ์ จ.จันทบุรี) 


โครงการจิตอาสาอื่นๆ  จำนวน 3 โครงการ ดังนี้


  1. โครงการเสริมสร้างวินัย  ใส่ใจโรงเรียน
    (โรงเรียนเชียงขวัญพิทยาคม จ.ร้อยเอ็ด)

  2. โครงการ แบ่งปันความสุขให้น้อง ร้อง เล่น เต้น ยิ้ม
    (
    โรงเรียนศีขรภูมิพิสัย จ.สุรินทร์ )

  3. โครงการ เยาวชนอาสาพาน้องยิ้ม (singing contest ปี 2)
    (
    โรงเรียนแม่สรวยวิทยาคม จ.เชียงราย)




           นอกจากกระบวนการคิดเรื่องการพัฒนาโครงการและการจัดการโครงการแล้วนั้น ยังเกิดการสร้างเครือข่ายระหว่างโรงเรียน ผ่านการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการนำเสนอโครงการระหว่างโรงเรียน เพื่อทำความเข้าใจในรูปแบบ แนวคิดและการดำเนินกิจกรรมของแต่ละโรงเรียน เพื่อนำไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับสิ่งที่โรงเรียนตนเองกำลังดำเนินงานอยู่  และเพื่อเป็นการเสริมสร้างกำลังใจให้กับน้องๆ ทั้งๆ 15 โรงเรียน ผู้ดำเนินโครงการจึงได้จัดกิจกรรม "บายศรีสู่ขวัญ" ขึ้น ทำให้เกิดความใกล้ชิดระหว่างพี่มูลนิธิฯ พี่เลี้ยง ครู และ ตัวนักเรียนเอง ซึ่งผลตอบรับจากกิจกรรมดังกล่าว