เราไม่ใช่มูลนิธิ หรือ นักสังคมสงเคราะห์นะลูก....!
RATTANAPORN

­

"ทำอะไรก็เเล้วเเต่ อย่าคิดว่าเราต้องเป็นผู้ให้เเละผู้เสียสละเสมอไป ต้องคิดด้วยว่าเราได้เรียนรู้หรือสร้างเสริมศักยภาพด้านใดให้กับเราบ้าง" นี้คือคำพูดของ "ป้าหนู พรรณิภา" คุณป้าผู้ใหญ่ที่ใจดี ที่ได้กระตุกต่อมความคิดให้กับพวกผม ในครั้งการประชุมเสริมสร้างศักยภาพ เมื่อครั้งที่ผ่านมา 23 - 24 พฤศจิกายน 2555 "ป้าหนู" ยังได้เสริมให้อีกว่า ลูกลิฟเเละเพื่อนจำป้าไว้นะว่าเราไม่ใช่มูลนิธิ หรือหน่วยงานสังคมสงเคราะห์นะ ดังนั้นเราจึงไม่ต้องเอาของไปบริจาคหรือมอบให้เขาเพียงเเค่่เราต้องเปลี่ยนมุมมองเเล้วมองเสียใหม่

­

               "การรวมกลุ่มของพวกหนูเนี้ยเป็นความคิดที่ดีอยู่เเล้วสำหรับวัยรุ่นในยุคนี้ ป้าขอชื่นชมจริง เเต่หนู้ต้องไม่ลืมว่า สิ่งที่เราจะไปทำเนี้ยคือการสร้างองค์ความรู้ให้กับตัวเองเเล้วก็กลุ่มคนที่หนูจะไปทำร่วมด้วย ดังนั้นวิธีการที่จะทำโครงการเนี้ย ต้องจำไว้เสมอว่า เราไม่ใช้ผู้ให้ เเต่เราต้องเป็นผู้จุดประกายความคิดให้กับ เพื่อให้เขาได้เอาความรู้เหล่านั้นไปใช้ต่อในการดำเนินชีวิต"

­

­

              ตอนนี้มันก็เริ่มทำให้พวกผมเริ่มเปลี่ยนความคิดใหม่ที่ว่า จากเดิมพวกผมจะไปสร้างโรงเรือนเพาะเห็ดให้กับน้องๆรวมทั้งการมอบอุปกรณ์การเรียนไว้กับโรงเรียนตำรวจตระเวณชายเเดนบ้านบาโรย ถึงกลับเปลี่ยนเเปลงไปจากเดิมเลยทีเดียว กล่าวคือผมต้องกลับมาทบทวนอีกครั้งว่า ตอนนี้เรากำลังจะทำอะไร เเล้วที่สำคัญเราจะทำเพื่อใคร

­

             อย่างที่รู้กันอยู่เเล้วว่า โรงเรียน ตชด.บ้านบาโรยนั้น ตั้งอยู่ในพื้นที่ทุรกันดาน บวกกับพื้นดินที่เป็นดินทราย จึงยากที่จะปลูกพืชผักต่างๆเพื่อใช้ในการรับประทานเป็นอาหารกลางวัน ครั้งหนึ่งจากที่ได้มีโอกาสพูดคุยกับอาจารย์จากโรงเรียน ตชด.บ้านบาโรย ซึ่งอาจารย์ท่านก็เล่าให้ฟัง ด้วยความน้อยใจว่า เห็ดที่โรงเรียนเนี้ย มีทุกปีเเหละลูก เเต่มักจะมีเเค่ 1 - 2 อาทิตย์ก็หมดไป เป็นเพราะอะไรรู้ไหม เป็นเพราะทางราชการน่ะ เขามักจะมาทำเพื่อเอาไว้ให้สมเด็จพระเทพทอดพระเนตร เป็นการทำเเบบผักชีโรยหน้านะ.......มันก็เลยทำให้วุตถุดิบในด้านอาหารกลางวันของเราค่อนข้างจะขาดเเคลนเลยทีเดียวจึงต้องใช้งบประมาณจำนวนหนึ่งไปซื้อตามตลาดนั้นเเหละเพื่อให้น้องๆได้มีอาหารดีๆได้ทานกับเขาบ้าง (เเล้วอาจารย์ก็หัวเราะ)

­

­

               ฟังเพียงเเค่นี้ผมก็ได้เเต่ยิ้มเเล้วก็อึ้งเลยทีเดียว พร้อมกับตั้งคำถามกับตัวเองว่า เอ๊ะ! โรงเรียนก็อยู่ในถิ่นทุรกันดานเเล้ว อีกอย่างฐานะทางครอบครัวก็ลำบาก โรงเรียนก็เป็นโรงเรียนในพระราชดำริ เเล้วจะเอาเงินที่ไหนไปซื้ออาหารล่ะ เเทนที่จะได้นำเงินส่วนนั้นไปใช้ในด้านการซื้ออุปกรณ์การเรียน ถ้าทำเเบบนี้เเล้วน้องๆที่เป็นนักเรียนล่ะ เขาจะมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้หรอ ....? น่าสงสารจังทำไมทางราชการถึงทำเเบบนี้

­

             ดังนั้นมันก็เลยทำให้พวกผมจึงมีเเนวคิดว่า เอาล่ะ..! ในเมื่อปลูกผักไม่ได้ งั้นเราก็จำเป็นต้องปลูกเห็ดนั้นเเหละ เเต่เราจะไม่ทำเหมือนหน่วยงานราชการ ทำเเล้วมันต้องยั่งยืน ที่สำคัญน้องๆสามารถใช้ประโยชน์ได้มากที่สุด จึงมีเเนวคิดต่อไปว่า เราจะสร้างโรงเรือนเพาะเห็ดขนาดกลาง ที่มีก้อนเห็ดจำนวน 700 ก้อน โดยการดึงชาวบ้านเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้าง เพื่อที่จะให้เขาเห็นความสำคัญเเล้วก็ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการดูเเล เพราะอย่างน้อยๆ ลูกๆเขานั้นเเหละที่ได้ประโยชน์

­

­

             จากนั้นก็จะฝึกนักเรียนในโรงเรียนให้เป็นผู้ดูเเลเห็ด ตั้งเเต่ด้านกระบวนการเพาะปลูก การดูเเลรักษา เเละการเก็บเกี่ยว นอกจากนี้ให้น้องนำผลผลิตที่ได้จากการบริโภคมาจัดจำหน่าย หรือเเปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า สามารถนำเอาไปขายในชุมชนที่อยู่อาศัยได้ อีกทั้งเงินที่ได้จากการจำหน่ายนั้น เราสามารถนำมาสร้างเป็นอย่างอื่นอีกได้ เช่น การปลูกพืชเเบบไม่ใช้ดิน การเลี้ยงไก่ไข่ หรืออาจจะซื้อลูกหมูตัวน้อยๆ มาเลี้ยงต่อก็ได้ เพราะผลผลิตที่เห็ดให้กับน้องๆ นั้น สามารถเก็บเกี่ยวได้ถึง 4 เดือนเเหนะ ดังนั้นช่วง 2 - 3 เดือนเเรก เราก็เอาเงินที่ได้มาสร้างให้เกิดประโยชน์มากที่สุด หลังจากเดือนที 3 เราก็เก็บเงินเเยกเอาไว้ เพื่อใช้เป็นต้นทุนในการเพาะปลูกเห็ดรุ่นต่อไป

­

­

              เเค่นี้ยังไม่พอนะ สิ่งที่สำคัญคือจะทำอย่างไรล่ะให้เด็กมีความรู้เเละความเข้าใจรวมทั้งให้ความสำคัญกับการเพาะปลูกเห็ด ดังนั้นเราจึงต้องสร้างเเหล่งเรียนรู้ขนาดเล็กไว้หน้าโรงเรือนเลย ภายในเเหล่งเรียนรู้เหล่านั้นก็จะประกอยบไปด้วย วิธีการเพาะปลูก วิธีการดูเเล เเละวิธีการเก็บเกี่ยว ที่สำคัญคือการหาวิธีการบูรณาการณ์ ระหว่าง เห็ด กับ การเรียนในหลักสูตร ซึ่งถือว่าเป็นโจทย์ที่ท้าทาย ว่า การจะดำเนินงานให้ยั่งยืนนั้น สิ่งที่สำคัญคือ การบูรณาการณ์ร่วมกับสิ่งต่างๆ.......!

­

               อิอิ ดูเเล้วเป็นงานที่ท้าทายเหมือนกันนะครับ ไม่รู้ว่า พวกผมจะดำเนินโครงการนี้ต่อไปได้นานเเค่ไหน ที่สำคัญเมื่อโครงการดำเนินไปได้เเล้ว ความยั่งยืนของมันล่ะ จะนานเเค่ไหน เเต่เอาเป็นว่า พวกผมก็ดีใจเเล้วล่ะครับ ที่วันนี้ได้มีโอกาสเข้าร่วมกิจกรรมดีๆเหล่านี้ อย่างน้อยก้พูดกับลูกศิษย์ได้เต็มปากว่า นี้..! หนูรู้ไหมว่าครูที่ดีนะ เขาทำได้มากกว่าการสอน....!

­

              ..............ลูกๆ อย่าท้อนะ ป้าเชื่่อว่าลลูกๆต้องทำได้ เเล้วป้าจะติดตามดูผลงานของลูกนะ.......(เเล้วป้าหนูก็ยิ้มด้วยรอยยิ้มเเละเเววตาที่เป็นห่วงเเละเป็นกำลังใจให้กับพวกผม)

­

­

­

8/12/55 โดย นายณัฐพล ราตรีพฤกษ์