เวทีความคิดจาก: โครงการขนมพื้นบ้านอาหารพื้นเมือง
ออไท บัวทอง

          โครงการขนมพื้นบ้านอาหารพื้นเมือง ตามโครงการส่งเสริมสร้างศักยภาพการบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นพื้นฐาน (SBMLD) 30 ก.ค. 2555

         

         โลกปัจจุบันมีความเจริญก้าวหน้าทางวิยาศาสตร์ และเทคโนโลยีใหม่ๆเป็นสังคมข้อมูลข่าวสาร และมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงจำเป็นที่ "คน" จะต้องเรียนรู้เพื่อปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาคนให้มีคุณภาพ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งในการทำให้เป็นคนที่รู้จักคิด วิเคราะห์ รู้จักแก้ปัญหา มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ รู้จักเรียนรู้ด้วยตนเอง สามารถปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น เป้าหมายจองการจัดการศึกษาจึงต้องมุ่งสร้างสรรค์สังคมให้มีลักษณะที่เอื้อ ต่อการพัฒนาประเทศชาติ และมุ่งสร้าง คน หรือ ผู้เรียน ซึ่งเป็นผลผลิตโดยตรง ให้มีคุณลักษณะ มีศักยภาพ และสามารถที่จะพัฒนาตนเอง และสังคมไปสู่ความสำเร็จ

           แนวคิดใหม่ในการจัดการศึกษา คือ การให้ชุมชนและท้องถิ่น และทุกส่วนร่วมของสังคม มีส่วนในการจัดการศึกษา ทั้งนี้เนื่องจากโรงเรียนเป็นหน่วยงานของสังคม โรงเรียนจึงควรเป็นโรงเรียนของชุมชนและชุมชนมีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดการ เรียนการสอน โดยการรู้เห็นและความร่วมมือของประชาชนและชุมชน การมีส่วนร่วมของชุมชนจึงมีความสำคัญ เนื่องจากทำให้ประชาชนได้ทราบเกี่ยวกับการดำเนินงาน และกิจกรรมต่างๆของโรงเรียน เป็นการสร้างความเชื่อถือ ความมั่นใจ และความนิยมให้เกิดขึ้นในชุมชน นอกจากนั้นยังเป็นการสนับสนุนให้ประชาชน ชุมชน ผู้ปกครองนักเรียนเข้ามาช่วยเหลือเกื้อกูลกิจกรรมต่างๆของโรงเรียน ทั้งด้านการเงิน วัสดุ แรงงาน และกำลังใจ มีส่วนดูแลจัดการศึกษาและให้ความร่วมมือในการนำภูมิปัญญาในชุมชนเพื่อจัดทำ กิจกรรมตามความต้องการของชุมชนขึ้น


   วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจและนำไปปฏิบัติในการจัดทำขนมพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง
2. เพื่อให้นักเรียนอนุรักษ์วัฒนธรรมขนมพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง
3. เพื่อให้นักเรียนนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน
4. เพื่อเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา
   

เป้าหมาย

  • ด้านปริมาณ

1. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – 6 จำนวน 122  คน

  • ด้านคุณภาพ

1. นักเรียนร้อยละ 70 รู้จักและลงมือทำขนมพื้นบ้าน อาหารพื้นเมือง
2. นักเรียนร้อยละ 70 มีความรู้และประสบการณ์ในการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน

1. นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจในการทำอาหารพื้นเมืองปฏิบัติเป็นขั้นตอนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงได้
2. นักเรียนนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในชีวิตประจำวัน
3. เป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง