เรียนรู้วิถีพอเพียงจากบทเรียนชาวนาไทย
ออไท บัวทอง
เมื่อครั้งที่ข้าพเจ้าได้ยินเรื่องราวของปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงข้าพเจ้ามีความรู้สึกปราบปลื้มใจที่ได้เกิดมาผืนแผ่นดินไทยเพราะเหตุอะไรนั้นเชื่อว่าประชาชนชาวไทยทุกคนคงให้คำตอบเดียวกันได้ว่า “เพราะเราในหลวง และเพราะในหลวงเราจึงมีทุกวันนี้” ข้าพเจ้าจึงตั้งใจว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนปรัชญานี้ให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นข้าพเจ้าได้อ่านบทสัมภาษณ์ ของ ดร.จิรายุ อิศรางกูร ณ อยุธยา ซึงท่านได้น าพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานผ่านมูลนิธิชัยพัฒนาตอนหนึ่งที่ว่า “...เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเสมือนรากฐานของชีวิต รากฐานความมั่นคงของแผ่นดิน เปรียบเสมือนเสาเข็มที่ตอกรองรับบ้านเรือนตัวอาคารไว้นั่นเอง สิ่งก่อสร้างจะมั่นคงได้ก็อยู่ที่เสาเข็ม แต่คนส่วนมากมองไม่เห็นเสาเข็มและลืมเสาเข็มเสียด้วยซ้ าไป...”


ซึ่งเป็นตอนที่ประทับใจข้าพเจ้ามากเพราะด้วยอาชีพครูของเราที่มีหน้าที่สร้างเสาเข็ม สร้างรากฐานของประเทศจากเด็ก หรือเยาวชนตัวเล็กๆ นำไปสู่ความแข็งแกร่งและมั่นคงของประเทศชาติ โรงเรียนเทศบาลจามเทวีเป็นสถานศึกษาพอเพียงที่ผู้บริหารได้ให้ความส าคัญของการสร้างเสาเข็ม ข้าพเจ้าจึงเป็นส่วนหนึ่งที่ได้น าโอกาสอันดีนี้ช่วยสร้างนักเรียนของเรา เราได้มีการบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในกิจกรรมการเรียนการสอนในรายวิชาต่างๆ รวมถึงในชีวิตประจ าวันของนักเรียนด้วย โดยเฉพาะในรายวิชาเศรษฐกิจพอเพียง ที่ทุกระดับชั้นคือ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑–๖ จะได้เรียนสัปดาห์ละ ๒ ชั่วโมง ซึ่งมีหน่วยการเรียนรู้อยู่ ๕ หน่วย คือ



๑. หน่วยพืชผักรักไทย



๒. หน่วยไร่นาสาธิต



๓. หน่วยชีวิตจิ้งหรีดน้อย



๔. หน่วยสับ ซอย หมักเพิ่มคุณค่า และ



๕. หน่วยเลี้ยงปลาได้ประโยชน์



ซึ่งจะมีครูผู้สอนดูแลอยู่ชั้นละ ๒ ท่าน ข้าพเจ้ารับผิดชอบระดับ ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ ร่วมกับครูจุฑามาศ จริยาวัฒนะ ซึ่งข้าพเจ้าต้องขอขอบคุณมากที่ได้ให้คำแนะนำและช่วยเหลือตลอดมา รวมถึงท่านผู้อ านวยการกรรณิการ์ มาบุญมีและคณะครูทุกท่าน



สนใจอ่านเรียนรู้วิถีพอเพียงจากบทเรียนชาวนาไทยเพิ่มเติม เรียนรู้วิถีพอเพียงจากบทเรียนชาวนาไทย.pdf