กระบวน
การเสริมศักยภาพโรงเรียนจะแตกต่างกันไปตามบริบท
ความต้องการที่แท้จริงของแต่ละโรงเรียน
(จากการวิเคราะห์ของมหาวิทยาลัย)และความเชี่ยวชาญของผู้ประสานงานโครงการใน
แต่ละพื้นที่ แต่โดยรวมประกอบด้วย
-
เวทีเสริมศักยภาพรวมเพื่อเติมพลัง ทำความเข้าใจโครงการ เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างโรงเรียน และสร้างเครือข่ายระหว่างโรงเรียน
-
เวที
ผู้บริหารเพื่อวางแผนขับเคลื่อนโรงเรียนเป็นศูนย์การเรียนรู้
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการบริหารจัดการโรงเรียน การสร้างบรรยากาศ
สภาพแวดล้อม การดึงการมีส่วนร่วมของชุมชน
-
เวที
ครูเพื่อเสริมพลัง ปรับความเข้าใจในเศรษฐกิจพอเพียงให้ตรงกัน
เติมเครื่องมือด้านการออกแบบการเรียนรู้
และเทคนิคการจัดการเรียนรู้เพื่อให้เกิดอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียง
(ทักษะในการหาความรู้ก่อนทำ การรู้ศักยภาพตน
บริบทตนและดึงสิ่งที่มีอยู่มาใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างรู้คุณค่า
คำนึงถึงความพอดี คิดและทำอย่างเหตุผลบนความเป็นจริง มีการวางแผนในการทำงาน
ให้ความสำคัญกับผู้อื่นและสิ่งแวดล้อม)
-
นิเทศ
และเสริมพลัง
ทำให้บุคลากรเข้าใจบทบาทหน้าที่ในการพัฒนาโรงเรียนเป็นศูนย์การเรียนรู้ฯ
เสริมศักยภาพรายโรงเรียนตามความต้องการที่แท้จริง
ค้นพบแบบปฏิบัติที่ดีเพื่อนำมาเป็นตัวอย่าง
กระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงของผู้บริหาร
ครู นักเรียน กรรมการสถานศึกษา และหน่วยงานต้นสังกัด
-
ตลาด
นัดความรู้เพื่อให้โรงเรียนต่างๆ ที่มีความก้าวหน้า
มีนวัตกรรมในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงมีโอกาสมาแสดงผลงาน
มาร่วมกันออกแบบจัดกระบวนการเสริมศักยภาพผู้มาเรียนรู้
ตลอดจนสร้างการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวงกว้างขึ้น
(รายละเอียดดูในกำหนดการ)
ความเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิ
-
เป้าหมายใหญ่ของโครงการนี้
คือการปฏิรูปการเรียนรู้ของสังคมไทย เป็นทักษะที่เชื่อมโยงสู่พฤติกรรม
สู่หลักสูตร ที่ซ้อนทับกับ 21st Century Skills
เป็นการสร้างการเรียนรู้ที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายชั้นมหาวิทยาลัย
ผู้บริหาร ครู นักเรียนและผู้ปกครอง
ผลสำเร็จที่สำคัญที่สุดของโครงการอยู่ที่เด็กเกิดอุปนิสัยอยู่อย่างพอเพียง
-
ศูนย์การเรียนรู้
|
|
-
ความสำเร็จของโครงการอยู่ที่ผู้บริหาร ครูมีศรัทธาและเป็นแบบอย่างนำมาใช้เกิดเป็นวิถีชีวิต และพึ่งตัวเองได้
-
การพัฒนาโรงเรียนควรใช้ฐานของ ร.ร. (School Based) เชื่อมโยงในแต่ละระดับชั้นประถมต้องเป็นรูปธรรมง่ายๆก่อน ยากขึ้นและมัธยมจึงจะสามารถเชื่อมโยงเป็นนามธรรม
-
ผู้
บริหารและครูสามารถอธิบายให้ โรงเรียนอื่นๆ เข้าใจกระบวนการพัฒนาตน
พัฒนาเด็กได้ว่าทำอย่างไร เพื่อผู้มาดูงานสามารถนำไปใช้เป็นแนวทาง
|
|
|
-
บทบาทของมหาวิทยาลัยในการเสริมศักยภาพโรงเรียน
|
|
-
การเข้าไปโรงเรียนอย่างกัลยาณมิตรสร้างสัมพันธภาพที่ดีจะนำสู่การติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพร่วมเรียนรู้
-
มหาวิทยาลัยต้องชัดว่าอุปนิสัยพอเพียงคืออะไร และเข้าไปช่วยให้ครูตีความเศรษฐกิจพอเพียง หนุนเสริมให้ครูออกแบบการเรียนรู้เอง เสริมสร้างให้ครูมีความมั่นใจจากการทำงานของตน และสามารถสื่อสารให้ผู้อื่นได้ชัดเจน
-
จัดกระบวนการเพื่อให้ครู เกิดศรัทธา มีทักษะในการออกแบบการเรียนรู้
ให้นักเรียน เกิดทักษะ และเห็นคุณค่าทำซ้ำๆ จนเกิดเป็นวิถี
เช่นการใช้โครงงาน (Project Based) เทคนิคการตั้งคำถาม (Problem Based)
ต้องเข้าใจ concept เศรษฐกิจพอเพียงที่ถูกต้อง ไม่ใช่แค่เนื้อหา
ไม่ใช่แค่หลักคิด แต่เป็น character building
-
มหาวิทยาลัย มองกว้าง มีความรู้ทฤษฎี ความรู้ปฏิบัติอยู่ที่ครู อ. มหาวิทยาลัยกับครูต้องทำงานร่วมกัน รู้จุดอ่อนจุดแข็งของตน เห็นเป้าหมายร่วมกันชัดเจน แล้วทำงานร่วมกันจึงสำเร็จ
-
เครือ
ข่ายชุมชนการเรียนรู้ (PLC:Professional Learning Communityหรือ COP:
Community of Practice) จะทำให้การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงมีประสิทธิภาพ
และมีความยั่งยืน มหาวิทยาลัยจึงควรเสริมศักยภาพให้ครูร่วมกันจัดตั้งและบริหารจัดการ PLC กันเองในโรงเรียน และในพื้นที่ แต่ทั้งนี้มหาวิทยาลัยควรเริ่มต้นจัดทำ PLC เองที่มหาวิทยาลัยด้วย
-
เชื่อมโยง และบูรณาการโครงการนี้กับงานและหน่วยงานในมหาวิทยาลัย เช่นให้นักศึกษาได้มามีส่วนร่วมเรียนรู้
-
เชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับโครงการประเภทเดียวกันในมหาวิทยาลัยเพื่อได้องค์ความรู้ในการพัฒนาโรงเรียน
-
ต้องมีการนิเทศติดตาม หนุนเสริมแบบฉับพลัน และจัดทำบันทึกการนิเทศจะทำให้ได้ความรู้ในการเสริมศักยภาพครูที่ทำงานบนฐานเด็กไม่ใช่จากทฤษฎี
|
|
|
|
|
-
การพัฒนาศักยภาพตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไม่ยึดติดสาระแต่เป็นกระบวนการพัฒนามนุษย์จากภายใน การซาบซึ้งเป็นภายนอก แต่แรงบันดาลใจให้อึด ฮึด สู้ เป็นเงื่อนไขที่จะนำความรู้และคุณธรรมปลูกฝังในคน
-
ครูต้องศรัทธา และทำตนเป็นแบบอย่างนำหลักปรัชญามาใช้ปรับปรุงตัวครูเองก่อน แล้วนักเรียนจึงจะซึมซับ
-
เงื่อนไขสำคัญของความสำเร็จในการบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การเรียนการสอน
|
|
|
-
ครูต้องเข้าใจปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและตีโจทย์แตก
-
ครูต้องออกแบบการเรียนรู้เป็น (requirement ปกติ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง)
-
ต้องรู้วิธีบูรณาการปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเข้าไปในการจัดการเรียนรู้
|
|
|
-
เสริมทักษะการถอดบทเรียน การให้ครูมีเครื่องมือประเมินตัวเอง นำสู่การวิเคราะห์และพัฒนาตน
-
การพัฒนาครูควรเน้นประโยชน์จากการเรียนการสอน อย่าทำให้เป็นภาระ ผลพลอยได้ของ รร.คือผ่าน สมศ. ได้วิทยฐานะ
-
ท้าให้ทำ ทำให้ดู ลุยงานร่วมกัน จะทำให้สำเร็จ
-
การ
พัฒนาครูต้องทำให้รู้ เข้าใจ ทำได้ มีทักษะ ทำแล้วเห็นคุณค่า เห็นประโยชน์
เชื่อว่าดี มีใจ ทำบ่อยๆ ทำได้ ทำเรื่อยๆ แล้วทำเป็นอัตโนมัติ
แต่ละคนจะใช้เวลาต่างกัน แต่วิธีคิดต้องทำให้ชัด กระบวนการที่จะคิด
ทำอย่างไร ต้องแปลงให้ง่าย
-
ต้องตั้งเป้าว่าอยู่ในหลักสูตร ต้องอยู่กับผู้เรียน ทำอย่างไรให้การขับเคลื่อนหลักสูตรเกิดกับผู้เรียน
|
|
|
-
การดึงความร่วมมือ/ภาคีเครือข่าย
|
|
-
กระทรวงศึกษาธิการเป็นตัวตั้ง
เป็นการทำงานแบบรวมพลังทุกฝ่ายทั้งความคิด ทฤษฎี ความรู้จากการปฏิบัติ 84
ศูนย์ของมูลนิธิเป็นตัวป้อน ควรถอดบทเรียนการทำงาน
วิธีการพัฒนาครูแนวใหม่มีรูปแบบต่างๆ เป็น in service training
ให้กระทรวงศึกษาธิการ
-
โครงการต้องชัดเจนว่าเมื่อได้ 84 ศูนย์การเรียนรู้แล้วกระทรวงมีการรับไม้ต่ออย่างไร
-
ขอ
ให้กระทรวงดึงศักยภาพรองผอ.เขตพื้นที่
ศึกษานิเทศที่เป็นพลังแฝงที่อยู่ในที่ต่างๆ มาช่วยจะเป็นประโยชน์
และเรายังมีแหล่งคนทำดีที่จะมาช่วยอีกมาก
-
การเชื่อมโยงการทำงานกับโครงการที่คล้ายกันเช่น LLEN จะช่วยการขับเคลื่อน
- โครงการให้ได้ 84 ศูนย์การเรียนรู้ง่ายขึ้น
|
|