ระหว่างวันที่ 6-7 สิงหาคม 2557 โครงการพัฒนาเยาวชนโดยการเรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง (โครงการเสริมศักยภาพการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา) มูลนิธิสยามกัมมาจล ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการสังเคราะห์ความรู้การขับเคลื่อนโครงการในภูมิภาคขึ้น ณ โรงแรมอมารี ดอนเมือง กรุงเทพฯ โดยมีมหาวิทยาลัยผู้ประสานงานภูมิภาค และโรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา เข้าร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์
- เริ่มสังเคราะห์วันแรก -
คุณศศินี ลิ้มพงษ์ ผู้จัดการโครงการฯ กล่าวต้อนรับอาจารย์จากมหาวิทยาลัย-หัวหน้าโครงการฯและอาจารย์จากศูนย์การเรียนรู้ฯทั้งภาคเหนือ ภาคอีสาน ภาคกลาง และภาคใต้ "วันนี้เชิญทุกท่านมาร่วมกันถอดบทเรียนในบทบาทของการเป็นพี่เลี้ยงเพื่อดึงคุณค่าของการทำงานที่ทุกท่านไปช่วยขับเคลื่อนฯให้โรงเรียนเป็นศูนย์การเรียนรู้และนำหลักปรัชญาของเรษฐกิจพอเพียงไปใช้"
ประเด็นการแลกเปลี่ยนวงย่อยของวันนี้
- มหาวิทยาลัย -
บทบาทในการขับเคลื่อนโรงเรียนเครือข่ายเป็นโรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ฯ อย่างไร
บทบาทการทำงานกับโรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ฯ ในการขับเคลื่อนโรงเรียนเครือข่ายเป็นโรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ฯ อย่างไร
ความสำเร็จ / ปัจจัยความสำเร็จ
ปัญหา / อุปสรรค วิธีแก้ไข
- โรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ฯ -
(ทำงานกับมหาวิทยาลัย)
คุณลักษณะโรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ฯ ที่ดี
การคงคุณลักษณะของโรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ฯ ที่ดี
การขยายผลไปโรงเรียนอื่น
ความสำเร็จ / ปัจจัยความสำเร็จ
ปัญหา / อุปสรรค วิธีแก้ไข
วงแลกเปลี่ยนฯ วันนี้ได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.เลขา ปิยะอัจฉริยะ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของสภา
วงแลกเปลี่ยนโรงเรียนศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา คุณครูกัญพิมา เชื่อมชิต อดีตผู้บริหาร และผู้ริเริ่มการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย เพชรบุรี เล่าว่า การขับเคลื่อนฯ โรงเรียนไม่ได้เน้นการสร้างเครือข่าย แต่เน้น "การขยายความรู้" สำหรับเรื่องการขยายผลภายนอกเป็นไปในลักษณะวิทยากรตามที่ได้รับเชิญ เริ่มตั้งแต่บรรยายให้เขาฟัง จากนั้นฝึกให้เขาวิเคราะห์สามห่วงสองเงื่อนไขได้ ต่อมาจึงสาธิตการสอนให้เขาดู วางบทบาทให้เราเป็นครูและเขาเป็นลูกศิษย์ที่เราพาคิดวิเคราะห์ วิธีนี้เขานำไปทำกับเด็กเองได้ ถามเขาว่าวิธีนี้ ครูสนุกไหม ถ้าครูสนุก ลูกศิษย์ก็สนุกไปด้วย ครูหลายคนบอกว่าการสาธิตการสอนทำให้เขาเข้าใจจริง
อ.ดุษิต พรหมชนะ ผู้บริหารและคุณครูแกนนำขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนปริ้นส์รอยแยลส์วิทยาลัย จ.เชียงใหม่ บอกว่า ความสำเร็จของโรงเรียนที่ภาคภูมิใจมากคือ การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงที่ได้ละลายไปเป็นเนื้อเดียวกันกับงานปกติ สอดคล้องไปกับวิถีชีวิตครู และมีกิจกรรมใหม่ๆ ต่อเนื่อง มีวง PLC ที่ผู้บริหารมอบโจทย์ให้ครูแกนนำใช้ทำวิจัยแล้วนำเอาสิ่งที่ได้ไปใช้ในการนิเทศก์ขับเคลื่อนขยายผลเศรษฐกิจพอเพียงกับโรงเรียนเครือข่าย มีไทม์ไลน์ชัดเจน และกำหนดวันที่ครูจะนำผลงานของเด็กมาแสดง เป็นการยิงกระสุนนัดเดียวได้นกสองตัว คือ ได้พัฒนาบุคลากร ทั้งเรื่องการเขียนแผน การนิเทศก์ ฯลฯ พร้อมๆ กับ 2. การขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาเครือข่าย
สำหรับลักษณะของศูนย์การเรียนรู้ฯ ที่ดี มองว่าคือโรงเรียนต้องรู้จักเรียนรู้จากบริบทของตัวเอง และสร้างองค์ความรู้ของตัวเองจากสิ่งที่ตัวเองมี สามารถต่อยอดองค์ความรู้ของตนเองได้ มีกิจกรรมส่งเสริมอย่างต่อเนื่องและแปลกใหม่ ไม่ซ้ำซากจำเจ ทำให้มีผลงานออกมาเรื่อยๆ และมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของครูและนักเรียนเพื่อเป็นพื้นที่นำผลงานมาแสดง รวมถึงมีกุศโลบายการขับเคลื่อน เช่น ผู้บริหารมอบโจทย์ให้ครูทำวิจัย ทำให้การขับเคลื่อนเข้มแข็ง ที่สำคัญคือต้องมีเพื่อนร่วมทาง เพราะเราจะได้ทำงานไม่โดดเดี่ยว มีเพื่อนไว้คอยปรึกษาหารือ และได้เห็นวิธีการทำงานของเพื่อนซึ่งมีความหลากหลาย
ด้าน อ.สมจริง อินทรักเดช และ อ.สุทธิรัตน์ เสนีชัย รร.ห้วยยอด จ.ตรัง บอกว่าที่โรงเรียนมีการขยายผลเศรษฐกิจพอเพียง
1.การศึกษาดูงานที่โรงเรียน
2.เปิดบ้านจัดอบรมครูบูรณาก
3.การส่งวิทยากรประจำศูนย์ไ
4.การเป็นพี่เลี้ยงให้สถานศ
อ.ฉลาด ปาโส ครูแกนนำโรงเรียนเชียงขวัญพิทยา บอกว่า ลักษณะที่ดีของศูนย์เรียนรู
ดร.ฤทธิไกร ไชยงาม หัวหน้าโครงการภาคอีสานตอนบน ได้นำเสนอTimeline การขับเคลื่อนโครงการในระดับภาคพบว่าการขับเคลื่อนโรงเรียนให้มีความยั่งยืนคือโรงเรียนที่นำการเรียนการสอนเข้าไปบูรณาการในรายวิชาโดยโฉพาะโรงเรียนที่เข้าใจหลักสูตรปี 51 การเกิดโมเดล 6 เหลี่ยม มหาวิทยาลัยเป็นศูนย์กลางเชื่อมไปที่โรงเรียนศูนย์และโรงเรียนศูนย์เชื่อมไปโรงเรียนเครือข่ายจนเกิดโมเดลที่สร้างความสำเร็จได้ในที่สุด
อ.อนันต์ แม้นพยัคฆ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี หัวหน้าโครงการภาคอีสานตอนล่าง กล่าวว่า "ผมติดตามโดยลงไปที่โรงเรียน ทำหน้าที่เป็นเลขาฯ ตั้ง"คำถาม"กระตุ้นให้เกิดการเรียนรู้"
ด้าน รศ.ไพโรจน์ คีรีรัตน์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์หัวหน้าโครงการภาคใต้ แลกเปลี่ยนบ้างว่า "การประเมินว่าครูสอนหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้ผลหรือไม่ ให้ดูที่"เด็กหลังห้อง" เพราะว่าถ้าเด็กหลังห้องเข้าใจแสดงว่าเด็กทั้งห้องก็เข้าใจ"
ส่วน ผศ.ดร.เรขา อรัญวงศ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชรหัวหน้าโครงการภาคเหนือตอนล่าง บอกว่า "ผู้บริหารสำคัญมากกับความสำเร็จของการเป็นศูนย์การเรียนรู้ฯ และผู้บริหารต้องมีพลังขับเคลื่อนให้ครูทำงานได้ทั้งเต็มใจและไม่เต็มใจก็ตาม"
ในกลุ่มย่อย"มหาวิทยาลัย"ช่วงบ่าย ทั้ง 4 มหาวิทยาลัย ม.ราชภัฏกำแพงเพชร ม.มหาสารคาม ม.ราชภัฏอุบลราชธานี และม.สงขลานครินทร์ เริ่มถอดบทเรียนtimeline ของแต่ละมหาวิทยาลัยต่อเริ่มที่ อาจารย์ต๋อย - ดร.ฤทธิไกร ไชยงาม หัวหน้าโครงการภาคอีสานตอนบน ม.มหาสารคาม บอกเล่าผ่านโมเดลบันไดสามขั้นการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ในการเรียนการสอน
- ขั้นแรก บอก-สอน-ป้อน-สั่ง
- ขั้นที่สอง ถอดบทเรียน ตั้งคำถาม
- ขั้นที่สาม บูรณาการ แบบ CAL C=classroom (ห้องเรียน) A=(กิจกรรม)Active L=life
สะท้อนบทบาทการทำงานเป็น 8 หัวข้อ
โดย อ.อนันต์ แม้นพยัคฆ์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี หัวหน้าโครงการภาคอีสานตอนล่าง
1.ทำความเข้าใจศูนย์ฯ ทำความเข้าใจความหมายของศูนย์การเรียนรู้ให้ตรงกันเสียก่อน
2.ออกแบบการทำงานร่วมกัน
3.สร้างความเข้าใจในโรงเรียน(ผู้บริหาร ครู)
4.พัฒนา การเขียนแผน ออกแบบ การสอน ถอดบทเรียน (ครูแกนนำ)
5.จัดวงCOP ทีม ติดตามงาน เสริมกำลังใจ
6.พัฒนานักเรียนแกนนำ ถอดบทเรียน การตั้งคำถาม เลือกมาโรงเรียนละ 5 คน จัดกิจกรรมค่าย
7.พัฒนาฐานการเรียนรู้ (สอนอย่างไร วัดอย่างไร)
8.นิเทศติดตาม
รศ.ไพโรจน์ คีรีรัตน์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์หั
ในวงของอาจารย์มหาวิทยาลัยส
- บทบาทของมหาวิทยาลัยในการขั
- ปัจจัยความสำเร็จ
- ความมุ่งหวังในการขับเคลื่อ
- วิธีการประเมิน
- การ feedback
- การขยายผล
- รูปแบบวิธีการขยายผล
- บทเรียนของอาจารย์มหาวิทยาล
โดย ดร.เจือจันทร์ได้ให้คำถามเป
- อะไรที่เป็นความสำเร็จของโค
- มีใครเกิดการเปลี่ยนแปลง ในด้านไหน อย่างไร ?
- บทเรียนที่แต่ละคนได้รับจาก
ดร.ฤทธิไกร ไชยงาม หัวหน้าโครงการภาคอีสานตอนบน ม.มหาสารคาม ได้สรุปสิ่งที่เกิดขึ้นจากการดำเนินโครงการขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของตนเองได้เกิดผลดังนี้
• เกิดเครือข่ายการขับเคลื่อนฯ หลายระดับ (LLEN มหาสารคาม)
• ได้รูปแบบการขับเคลื่อนฯ ที่ประสบผลสำเร็จ ได้แนวปฏิบัติที่ดี และปัจจัยแห่งความสำเร็จในการขับเคลื่อนฯ สู่โรงเรียนในบริบทต่างๆ
• บุคลากรของโรงเรียนจำนวนมาก รู้และเข้าใจปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาจำนวนมาก สามารถนำไปปรับใช้ในการจัดการเรียนรู้ในโรงเรียนได้อย่างถูกต้อง
• เกิดการเปลี่ยนแปลงกับนักเรียนแกนนำจำนวนมาก ทำให้นักเรียนแกนนำรู้จักตนเอง ภูมิใจในตนเอง และมั่นใจในตนเอง มีการวางแผนชีวิตและกล้าตัดสินใจดำเนินตามความมุ่งมั่นของตนเอง หลายคนอยากเป็นครู บางคนอย่างเรียนต่อเพื่อทำงานสังคมสงเคราะห์ ฯลฯ
• ทำให้มหาวิทยาลัยมหาสารคามเห็นความสำคัญของการขับเคลื่อนฯ ภายในมหาวิทยาลัย จนมอบหมายเป็นนโยบายให้สำนักศึกษาทั่วไป โดยศูนย์พัฒนาวิชาการเพื่อการเรียนรู้ ดำเนินการอย่างเป็นระบบ
จากมหาวิทยาลัยมหาสารคามในฐานะผู้ดูแลโครงการระดับภาคอีสานตอนบน สู่โรงเรียนเชียงขวัญพิทยาคม โรงเรียนศูนย์การเรียนรู้ฯ โดย อาจารย์ฉลาด ปาโส เสริมว่า การทำงานร่วมกับม.มหาสารคามใช้หลักเดินไปพร้อมๆกัน ทั้งทำความเข้าใจเรื่องหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการนำไปใช้ในโรงเรียนโดยใช้หลักสูตรแกนกลาง 51พร้อมทั้งออกแบบกระบวนการร่วมกัน และที่น่าสนใจคือให้คุณครูศูนย์ฯ สาธิตการสอนว่ามีวิธีนำหลักฯไปลงสู่ตัวเด็กได้อย่างไรทำให้คุณครูเกิดความเข้าใจได้อย่างแท้จริง
ผู้อำนวยการธนิตา กุลสุวรรณ โรงเรียนเทศบาลวัดป่าเรไร ผู้บริหารศูนย์การเรียนรู้ฯ เรียนรู้จากโรงเรียนเชียงขวัญฯ จนเกิดเป็นศูนย์ฯ เรียบร้อยแล้วและได้นำความรู้เรื่องการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่การเรียน การสอน อาทิโรงเรียนหนองผักชี โรงเรียนโคกเพชร จนทั้งสองโรงเรียนเกิดความเข้าใจหลักคิดได้ดีขึ้นจนเห็นผลเช่นให้โรงเรียนโคกเพชรไปดูงานที่โรงเรียนหนองผักชีเมื่อเห็นว่าโรงเรียนเขาสะอาด สะอ้านกว่าก็กลับมาปรับปรุงโรงเรียนตัวเองโดยใช้งบประมาณไม่มากแต่ผลที่ได้โรงเรียนถูกซ่อมแซมจนดูดีขึ้น
รศ.ไพโรจน์ คีรีรัตน์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ หัวหน้าโครงการภาคใต้ นำเสนอมีวิธีการสอนครูให้เข้าใจหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างไร มี 4 หลักได้แก่ ให้ความรู้ ฝึกทักษะที่จำเป็น ทดลองสอน สรุปผล/แลกเปลี่ยนเรียนรู้
อาจารย์จรวยพรรณ เย่าเฉื้อง ครูศูนย์การเรียนรู้ฯ โรงเรียนห้วยยอด นำเสนอว่า "ข้อค้นพบคือถ้ามีศูนย์การเรียนรู้ฯ ใด ต้องการให้โรงเรียนห้วยยอดเข้าไปช่วยพัฒนาเราจะจัดเวทีครูและนักเรียนควบคู่กันไปด้วยถึงจะเห็นผลและประสบความสำเร็จได้"
โดยขยายการจัดกระบวนการเรียนรู้หน่อยการเรียนรู้ครูพอเพียง มี8 หน่วยดังนี้
หน่วยที่ 1.Bar เปิดใจครูพอเพียง
หน่วยที่ 2.ใช้หลักเพียงพอ
หน่วยที่ 3.ต่อยอดด้วยหลักคิด หลักยึด หลักปฏิบัติ
หน่วยที่ 4 จัดฐานการเรียนรู้สู่จิตอาสา
หน่วยที่ 5 พาสู่การจัดการเรียนรู้
หน่วยที่ 6 บูรณาการด้วยโครงงาน
หน่วยที่ 7 สานต่องานวิจัย
หน่วยที่ 8 ใส่ใจพัฒนา
หน่วยที่ 9 AAR สรุปบทเรียน
คุณปิยาภรณ์ มัณฑะจิตร ผู้จัดการมูลนิธิสยามกัมมาจล กล่าวว่า “ท่านที่สามารถหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงจนประสบความสำเร็จในโรงเรียนจะมุ่งไปที่ตัวครูเป็นหลัก เป็นจุดสำคัญมากที่ไปทำเรื่องการศึกษาไม่ใช่เฉพาะเรื่องการใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปทำให้เป็นเรื่องซีเรียสมาก ได้มองเห็นสถานการณ์เป็นจริงของไทย บันไดก้าวแรกทำความเข้าใจ ครู – เด็ก เข้าใจ ปรับใช้เป็นหลักคิด วิเคราะห์ บันไดขั้นสุดยอดคือสามารถนำไปใช้ให้เกิดเป็นคาแร็คเตอร์ บิ้วดิ้ง ก่อนเราจะปรับบุคลิกเด็กให้มีคาแร็คเตอร์แบบนี้ไม่ใช่ไปพูดได้อย่างเดียวต้องไปออกแบบให้เด็กนำหลักฯ ไปฝึกใช้บ่อยๆ ตั้งแต่ระดับประถม ถึงมัธยมฯ ค่อยๆ ฝึก ค่อยๆ ใช้เป็น เพราะหลักฯ นี้เป็นทักษะอย่างหนึ่งจึงจำเป็นต้องฝึกใช้ เน้นแอ็คทีฟเลิร์นนิ่งให้เด็กฝึกในทุกกระบวนการใช้ ส่วนมหาวิทยาลัยก็ใช้ความเชี่ยวชาญมาเสริม เติม มาช่วยแบบเพื่อนช่วยเพื่อส จุดเงื่อนไขความสำเร็จคือการปรับเปลี่ยนครู และให้เชื่อมรอยต่อระหว่างครูกับเด็ก ผู้อำนวยการก็สร้างบรรยากาศหนุนให้ครูทำได้สำเร็จ”
ผู้อำนวยการธีระเชษฐ์ ป้องจันมณีสกุล โรงเรียนอนุบาลประชารัฐสามัคคี ผู้บริหารศูนย์การเรียนรู้ บอกว่า "ต้องให้ผู้ปกครองเห็นพฤติกรรมของเด็กเป็นรายบุคคล โดยให้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการปลูกฝังเด็ก และที่สำคัญเราใช้ป้อนคำถามด้วย mindmaping กับครูและนักเรียน"
อ.กัญพิมา เชื่อมชิต อดีต ผอ.โรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย เพชรบุรี กล่าวว่า "การทำเรื่องการใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงทำเรื่องซ้ำๆ เดิมๆ ไม่ได้ เพราะทำให้เกิดความเบื่อหน่าย ต้องหากิจกรรมใหม่ๆ อยู่เรื่อยๆ กิจกรรมใหม่ๆ ทำให้เกิดการตื่นตาตื่นใจ คนที่เป็นผู้บริหารต้องคิดงานอยู่เรื่อยๆ คิดเรื่องใหม่ๆ คิดบนหลักปศพพ. ให้หลักปศพพ.ซึมซับอยู่ตลอด และต้องทำให้ทุกคนมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ"
ก่อนปิดเวที ผศ.ดร.เลขา ปิยะอัจฉริยะ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิของสภา
ติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่