วนตัวมีโอกาสได้เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการเสริมศักยภาพสถานศึกษาเพื่อพัฒนาเป็นศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา รุ่นที่ ๓ ระดับประถมศึกษา จัดโดยมูลนิธิสยามกัมมาจล ระหว่างวันที่ ๒ - ๕ มิถุนายนที่ผ่านมา ณ อัมพวา จ.สมุทรสงคราม โดยหนึ่งในกระบวนการเรียนรู้น่าสนใจ อยู่ในช่วงของ ครูอุ้ย อภิสิรี จรัลชวนะเพท ที่มาบอกเล่ากับเราถึงความสัมพันธ์กันระหว่างช่วงวัยของคนเราและการพัฒนาการเรียนรู้ที่บุคคลนั้นๆ ควรจะได้รับในวัยเด็ก ...
เนื้อหาการบรรยายสรุปใจความสำคัญได้ถูกเรียบเรียงให้สั้น กระชับ เข้าใจง่าย โดยพี่ปุ้ย พรทวี ยอดมงคล ที่มาช่วยบันทึกการเรียนรู้แบบเกาะติด สรุปมาให้เราอ่านเข้าใจง่ายๆ ดังนี้ครับ
· วัยแรกเกิดถึง ๗ ขวบ มีความมุ่งมั่น Will ที่จะทำให้สำเร็จ สิ่งที่เราเตรียมให้เขาคือ โลกที่สวยงาม ทำให้เขามั่นใจ ในการทำสิ่งต่างๆ ให้สำเร็จ เด็กๆ จะเรียนรู้จากตัวอย่างที่ดี
· วัย ๗ ถึง ๑๔ ปี มีความปรารถนา รู้สึกถึงความงาม Feeling สิ่งที่ให้งามจากข้างในคือ ศิลปะ ไม่ว่าจะสอนวิชาอะไร เข้าทางโลกศิลปะให้หมด ไปในทางความงามให้หมด
· วัย ๑๔ ถึง ๒๑ ปี เป็นวัย Thinking มีความคิดเป็นของตนเอง เมื่อเขาขอคิด เขาไม่เชื่อพวกเรา เขาต้องการคนที่มีประสบการณ์โดยตรงและเป็นผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น วัย ๔๒ ถึง ๖๓ ก็จะกลับมาเป็นช่วง Thinking อีกครั้ง คนจะเขียนหนังสือดีๆ เพราะเราอยากถ่ายทอดให้คนรุ่นหลัง เราจะใคร่ครวญความคิด กลั่นออกมาเป็นผลงานของเราออกมาที่น่าพอใจ
· วัย ๑๔ ถึง ๒๑ ส่งผลพ่วงให้วัย ๒๘ ถึง ๓๙ ถ้าวัย ๑๔ ถึง ๒๑ รู้เป้าหมายแล้วจะมีแรงทำงานต่อ ถ้า ๑๔ ถึง ๒๑ ไม่รู้เป้าหมายก็จะส่งแรงถึง วัย ๒๘ ถึง ๓๙ ที่จะรู้สึกหงอยๆ เหงาๆ ต้องหาตนเองต่อไป
· พระ ท่านบอกว่า การทำอะไรให้สำเร็จ สม่ำเสมอ อันดับแรก ต้องมีศรัทธา จากศรัทธาแล้วมีปัญญา แต่ในระหว่างกลางของศรัทธา-ปัญญา มีเวทนาน้อย คือ ร่างกายต้องแข็งแรง ข้อที่ ๑ ศรัทธา ข้อที่ ๒ มีเวทนาน้อย คือร่างกายต้องแข็งแรง ข้อที่ ๓ พระบอกว่า ไม่มารยา เรามารยากับตัวเอง ข้อที่ ๔ สม่ำเสมอ ข้อที่ ๕ มีปัญญา