การนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการบริหารการเงินโครงการ
นานมากแล้วที่เราได้ยินคำว่า “หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” แต่จะมีสักกี่คนที่เข้าใจจริงๆ ว่า หลักปรัชญาฯ ดังกล่าวหมายถึงอะไร และนำไปใช้จริงได้อย่างไร .... บางคนอาจเข้าใจว่าหลักปรัชญาฯ คือ การทำเกษตรแบบผสมผสาน บ้างก็เข้าใจว่าคือการออมเงิน หรือการใช้เงินเท่าที่จำเป็น ไม่ว่าใครจะเข้าใจอย่างไรก็ตาม ความเข้าใจเหล่านั้นอาจไม่ได้ผิดอะไร แต่สิ่งที่หลายคนเข้าใจนั้นเป็นเพียงวิธีการปฏิบัติ หากแท้จริงแล้ว “หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง” นั้น คือ หลักคิดและหลักการจัดการสิ่งต่างให้เกิดประสิทธิภาพโดยใช้ ความมีเหตุผล ความพอประมาณ การมีภูมิคุ้มกัน ภายใต้เงื่อนไขของความรู้และความพอประมาณ วันนี้ผมเลยนำเรื่องดังกล่าวมาประยุกต์ให้เห็นภาพมากขึ้น โดยยกตัวอย่างในเรื่องของการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในการบริหารการเงินของโครงการ
ที่ผมยกตัวอย่างเรื่องนี้ให้หลายๆ คนได้อ่านกัน ก็เพราะว่า หลายครั้งที่มีโอกาสเป็นพี่เลี้ยงโครงการให้กับน้องๆ ผมมักจะพบว่าน้องๆ ส่วนใหญ่ที่ได้รับการสนับสนุนทุนในการทำโครงการหรือกิจกรรมต่างๆ นั้น ให้ความสนใจในเรื่องกระบวนการ เรื่องการออกแบบกิจกรรมเป็นหลัก โดยลืมไปว่าแท้จริงแล้ว เรื่องของงบประมาณก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้โครงการหรือกิจกรรมนั้นดำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นกัน อ่านอย่างนี้แล้วอาจจะยังไม่เห็นภาพ เลยยกตัวอย่างเป็นภาพให้น้องๆ ทุกคนได้ดูกันว่าเราจะใช้หลักปรัชญาชองเศรษฐกิจพอเพียงมาจัดการได้อย่างไร
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
จากภาพคงจะทำให้พอนึกออกแล้วบ้างไม่มากก็น้อยว่า หลักปรัชญาฯ มีประโยชน์ต่อการคิดและวางแผนเรื่องการจัดการการเงินได้อย่างไร ที่เหลือคือการนำเอาไปปฏิบัติว่าจะสามารถทำให้เกิดขึ้นได้จริงอย่างไร .... เพื่อความชัดเจนสามารถอ่านตัวอย่างประกอบเพิ่มเติมด้านล่างนี้
ยกตัวอย่าง
เรื่องเหตุผลของการใช้จ่ายเงินนั้นอาจขึ้นอยู่กับความสำคัญของกิจกรรมที่จะทำ ว่าจำเป็นมากน้อยเพียงใด หากจำเป็นแล้วนั้น จะใช้จ่ายเงินอย่างสมเหตุสมผลอย่างไร ... หลายครั้งที่ผมจะให้น้องคิดว่าถ้าเงินก้อนนั้นเป็นเงินของตัวเอง เราจะใช้อย่างไรให้เกิดคุณค่า เพราะ เวลาที่น้องๆ หลายๆ คนได้รับสนับสนุนงบประมาณในการทำโครงการ ก็จะพยายามทำกิจกรรมให้เยอะ ซึ่งในความเป็นจริงปริมาณกิจกรรมที่เยอะ อาจไม่ได้หมายถึงผลสำเร็จของโครงการ อีกทั้งยังทำให้ต้องใช้เวลา และงบประมาณเพิ่มขึ้นอีกด้วย ดังนั้นเหตุผลในการทำกิจกรรมจึงสอดคล้องต่อเรื่องเหตุผลของการใช้งบประมาณอย่างแยกไม่ได้
ในส่วนของความพอประมาณก็ทำให้น้องๆ ในโครงการหลายๆ คนได้คิดว่า เราควรจะใช้เงินหรือการจ่ายเงินของเราในแต่ละครั้งนั้นเหมาะสม และจะส่งผลกระทบต่องานอื่นๆ หรือไม่ จะทำอย่างไรให้งานกับเงินที่จ่ายออกไปนั้นเกิดความคุ้มค่ามากที่สุด
ภูมิคุ้มกันก็เป็นอีกส่วนหนึ่งที่ทำให้เกิดความเสี่ยงในการใช้จ่ายงบประมาณน้อยที่สุด เพราะถ้าเราเห็นความเสี่ยงของปัญหาที่จะเกิดขึ้นได้ ก็ยิ่งจะทำให้เราสามารถเตรียมหนทางในการป้องกันความเสี่ยงเหล่านั้นได้ดียิ่งขึ้น ความเสี่ยงในการใช้งบประมาณ มีทั้งในเรื่องของการจัดสรรงบประมาณในแต่ละกิจกรรมให้เหมาะสม ว่าจะทำอย่างไรให้ใช้งบประมาณได้จนจบโครงการ การตรวจสอบราคาหรือค่าใช้จ่ายบางอย่าล่วงหน้า การเปรียบเทียบความคุ้มค่าต่างๆ นอกจากนั้นยังรวมไปถึงเรื่องของระบบการเบิกจ่าย การเก็บรวบรวมเอกสาร ที่จะทำอย่างไรให้รัดกุมและตรวจสอบได้ และการวางหน้าที่ของผู้รับผิดชอบอีกด้วย
ส่วนความรู้และคุณธรรมนั้น ก็ต้องย้อนกลับไปคิดว่า ในการจัดการงบประมาณนั้นต้องอาศัยความรู้ ทักษะ ประสบการณ์อะไรบ้าง และจะต้องใช้คุณธรรมอย่างไรในการจัดการการเงินให้เกิดประสิทธิภาพโดยไม่ส่งผลกระทบต่อคนในทีมและผู้อื่น
ผมเชื่อว่าถ้าได้ลองสัมผัสกับเรื่องหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงอย่างลึกซึ้งจริงๆ แล้วนั้น
จะทำให้ใครหลายคนเห็นประโยชน์และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการดำเนินชีวิตเรื่องอื่นๆ
ได้อีกมายมายทีเดียว
abcd abcd
- เดือนที่แล้ว
|
abcd abcd
- เดือนที่แล้ว
|
abcd abcd
- เดือนที่แล้ว
|
abcd abcd
- เดือนที่แล้ว
|
abcd abcd
- เดือนที่แล้ว
|