ค่าของคำสอนเมื่อวัยเยาว์
สมเกียรติ พุทธิจรุงวงศ์

­

         เพราะมีความเชื่อที่ถอดบทเรียนมาจากชีวิตตัวเองว่า "การปลูกฝังให้เด็กๆ มีความคิด ความเชื่อ ตลอดจนอุปนิสัย เป็นอย่างไรนั้น ขึ้นอยู่ที่ว่ามันเป็นคำสอนแรกๆ ในเรื่องนั้นๆ ที่ผ่านเข้ามาในชีวิตของเขาหรือเปล่า ? ซึ่งจะมีผลมากกว่าการตอกย้ำซ้ำเตือนเมื่อเขาโตแล้ว"

­

         ยิ่งเป็นคำสอนใหม่ที่ขัดกับคำสอนเดิมที่ถูกปลูกฝังมาแต่อดีตด้วยแล้ว ดีไม่ดีอาจเกิดแรงต้าน หรือเกิดอาการ "ท่องได้จำได้แต่ไม่ปฏิบัติ" เพราะไม่มีตั้งแต่เรื่องของ "ฉันทะ" ที่จะน้อมนำคำสอนใหม่ไปพินิจพิจารณาให้ลงลึกถึงความคิดจิตใจ จึงไม่ได้ขยายผลไปปรับใช้ให้กลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกับชีวิต ให้รู้สึกว่าต้องนำไปใช้จริง แต่อยู่ในลักษณะของ "คำสั่ง" มากกว่าคำสอน

­

         ในทางกลับกัน คำสอนใหม่ที่มีความสอดคล้องเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับคำสอนเดิมที่มีมา กลับมีโอกาสงอกงามและต่อยอดต่อไปได้มากขึ้นในอนาคต อาทิ เด็กๆ ที่ถูกปลูกฝังให้ไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต เด็กคนนั้นก็มีแนวโน้มเติบโตขึ้นมาเป็นผู้ที่มีความกรุณา เมตตา และเห็นคุณค่าในชีวิตของสัตว์และผู้คน เด็กๆ ที่ได้รับการปลูกฝังนิสัยรักการอ่านก็จะมีแนวโน้มเป็นคนชอบแสวงหาความรู้ในขอบเขตที่กว้างขวางขึ้น ส่วนเด็กๆ ที่ถูกปลูกฝังมาให้รู้จักเรื่องของการให้ก็จะมีแนวโน้มที่จะแบ่งปัน และมีจิตอาสาอย่างไม่ต้องสงสัย

        ไม่แปลกที่ "พ่อแม่" ตลอดจนผู้ใหญ่รอบตัวเด็ก โดยเฉพาะคนในครอบครัว จึงถือเป็นบุคคลสำคัญและเป็นบุคคลแรกๆ ที่สามารถปลูกฝัง "ความคิด ความเชื่อ" รวมไปถึง "คุณค่าและค่านิยม" ที่ถูกต้อง เหมาะควร เพื่อปูฐานเป็นพื้นจิตพื้นใจ (Mindset) ให้แก่เด็กๆ ได้ตั้งแต่ช่วงปฐมวัย เพื่อจะเป็นรากฐานที่จะติดตัวเด็กไปตลอดทั้งชีวิต เป็นที่ (Platform) ที่ให้คำสอนใหม่ๆ ได้เกาะยึด แทงหน่อต่อยอดและเติบใหญ่อย่างงดงาม

­

        ขณะที่การปรับเปลี่ยนพื้นฐานความคิดจิตใจสำหรับเด็กๆ ที่เริ่มมีความคิดความอ่านเป็นของตนเองแล้ว ทางลัดที่เราจะปรับรูปและต่อยอดความคิดความเชื่อเดิมนั้น อาจเป็นการเรียนรู้ผ่านการลงมือทำ ที่ซึ่งการทำงานจริงผ่านกิจกรรมหรือโครงงานจะสอนโดยอ้อมให้เขาเปิดใจเรียนรู้ รับฟัง และเฟ้นหาความคิด ความเชื่อ คุณค่า ค่านิยม ฯลฯ ที่ดีที่สุด เหมาะควรที่สุด เพื่อเป็นเครื่องมือการใช้ชีวิต และเครื่องมือการแก้ปัญหา ที่เมื่อกระทำซ้ำบ่อยๆ จะเกิดเป็นอุปนิสัยฝังลึกในที่สุด ทั้งนี้จะดีมากหากมีผู้ใหญ่ทำหน้าที่คอยให้คำปรึกษา แนะนำ คอยสร้างแรงบันดาลใจ หรือแม้แต่คอยปลอบโยน อยู่ใกล้ๆ ยามที่เขาผิดหวัง หรือต้องการกำลังใจ

­

      สำหรับผู้เป็นพ่อแม่ผู้ปกครองอาจใช้แนวทางต่อไปนี้ไปปรับใช้กับเด็กๆ ของท่านอย่างเหมาะสม เพื่อให้เขาเติบโตเป็นคนรุ่นใหม่ที่ดีที่ท่านและสังคมปรารถนา.

lll

lll

กระทู้ที่คุณอาจสนใจ
abcd abcd - เดือนที่แล้ว
abcd abcd - เดือนที่แล้ว
abcd abcd - เดือนที่แล้ว
abcd abcd - เดือนที่แล้ว
abcd abcd - เดือนที่แล้ว