TEP Forum 2019 Reflection
ญาณิน พรหมมลมาศ

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการมางาน TEP FORUM 2019

1.แนวคิดเกี่ยวกับการศึกษาจากบุคคลชั้นนำแห่งการศึกษาไทย

-จากการได้ฟัง รศ.ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ เกี่ยวกับ“ภาพใหม่การศึกษา เพื่อการสร้างเสริมสมรรถนะเด็กไทย” ทำให้ตระหนักถึงภาระหน้าที่ที่เราเป็นคนคนหนึ่งที่จะสร้างเด็กไทยให้พร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของโลกใบนี้และเห็นความสำคัญของการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่จะทำให้เด็กเกิดทักษะต่างๆ สิ่งสำคัญคือเราต้องสร้างให้เด็กไทยเป็นเด็กที่ต้องใฝ่หาความรู้ อดทน มีทักษะ ask เพราะงั้นเด็กต้องมีทักษะแห่งศตวรรษที่ ๒๑ ทักษะที่สำคัญมาก คือ ความคิดสร้างสรรค์ (ความเป็นนวัตกร) ความรู้ เด็กต้องเข้าใจเทคโนโลยีที่พลิกผัน เด็กต้องเข้าใจทฤษฎีความรู้ เราต้องสร้างการเรียนรู้ใหม่ เพือให้เด็กสามารถสร้างทักษะการเรียนรู้ใหม่ มีการยืดหยุ่นและปรับตัวได้มากขึ้น อาจเป็นกิจกรรมนอกห้องเรียน การทำของเล่น การเล่นละคร ซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบ Active Learning

2.เปิดมุมมองการศึกษาของตนเอง

-ได้สัมผัสกับบุคคลชั้นนำของการศึกษาทราบแนวคิดและวิธีการคิด ทำให้เราเปิดมุมมองการศึกษาของตนเองให้กว้างมากยิ่งขึ้น สามารถนำแนวคิดและวิธีการเหล่านั้นมาปรับใช้กับการบริหารงานเพื่อให้บรรลุเป้าหมายของโรงเรียน และเป็นแรงผลักดันให้เราคิดที่จะเปลี่ยนแปลง พัฒนาอย่างเป็นระบบมากยิ่งขึ้น

-เมื่อได้ฟังแนวคิดและประสบการณ์ของบุคคลในฐานะต่างๆ ทำให้เราเกิดมุมมองว่าสิ่งที่จะทำให้การศึกษาของประเทศไทยก้าวตามทันโลกได้คือทุกคนต้องร่วมมือกันไม่ว่าจะเป็นตัวเด็กเอง ผู้ปกครอง ครู ผู้บริหาร องค์กรต่างๆ จากหน่วยงานระดับล่างจนถึงระดับสูง ตัวอย่างแนวคิดและประสบการณ์ของบุคคลเหล่านั้น ได้แก่

นายขจรเกียรติ (น้องตี๋) เก่งจันทร์วรกุล นักเรียน ม.๖ รร.มัธยมวัดดุสิตาราม เขากล่าวว่า

การศึกษาเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้เราเรียนรู้ได้มากขึ้น ทำให้เรามีทักษะ เช่น ด้านภาษา การอยู่ร่วมคนอื่น และประสบการณ์ ครูบอกว่าโรงเรียนคือสังคมจำลอง เขาจึงลองไปทำงานร้านอาหารเล็กๆ เวลาทำงาน ตอนเช้าเปิดร้าน กวาดพื้น ถูพื้น ล้างจาน เก็บของ ลูกค้ามาเขารับออเดอร์ คีงาน เสริฟ ปิดร้าน ทำได้ ๔-๕ เดือน เขาค้นพบ สองอย่าง คือ เขาได้รู้ว่าเวลาเราเรียนแล้วเรามาทำงานเราสามารถนำความรู้ที่เรียนมามาใช้ได้ เช่น ทักษะด้านภาษาเมื่อพูดกับต่างชาติ การเสริฟ การจัดวางของที่ไปเสริฟ(ทักษะการคิดวิเคราะห์) ทำให้เขาคิดว่าถ้าเราขาดการประยุกต์ใช้ทักษะที่ได้มาไม่เกิดประโยชน์ สองงานที่ทำเขาไม่ชอบ ทำให้เขาลองคิดว่า สมมุติการศึกษายังไม่สามารถให้เด็กคนหนึ่งค้นพบตัวเองได้ พอจบไปทำงานเขาจะทรมานกับการทำงาน ซึ่งการศึกษาควรให้เด็กค้นพบตนเองว่าถนัดหรือชอบอะไร ้ถ้าการศึกษาเป้นของทุกๆคน เพราะงั้น

กระทรวง ฟังเสียงจากพ่อแม่ และเด็ก

ครูอยู่กับเด็กมากที่สุด ควรทำให้รร.เป็นพื้นที่ปลอดภัยให้เด็ก

เด็กต้องกล้าคิด กล้าลอง และลงมือทำ

แม่บี คุณมิรา ชัยมหาวงค์ ตัวแทนพ่อแม่ “คุณค่าของความเป็นแม่อยู่ตรงไหน ทำอย่างไร”

คำถาม ๒๐ ปีทันไหม? แม่บีทำโฮมสคูล โดยเริ่มเขียนแผนครั้งเดียวใช้กับลูกสองคน แต่ไม่ใช่ เพราะเด็กแต่ละคนมีความแตกต่างกัน ทำให้ต้องทำแผนใหม่สำหรับลูกสองคน พาเด็กเข้าป่า เพื่อให้เด็กรู้ว่าความหลากหลายของป่าบอกอะไรเราบ้าง เราต้องอยู่ใกล้ๆเขาและเล่าสิ่งที่เราทำ และบอกเขาว่าถ้าสิ่งที่เราฝันและมันยิ่งใหญ่ สิ่งที่ผิดพลาดไปมันเล็กนิดเดียว เรารู้สึกว่าการแบ่งปันความผิดพลาดให้เขาฟังจะดี ทำให้เขาไม่กลัวการผิดพลาดเขาสามารถลุกขึ้นมาทำใหม่ได้

แค่โรงเรียนอย่างเดียวพอมั้ย? การเรียนรู้ไม่ใช่แค่เรื่องของรร.อย่างเดียว แต่เป็นของคนทุกคน เพราะงั้นทุกคนต้องมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา Transfrom และมีส่วนร่วมสร้างการเปลี่ยนแปลงได้

สมองเติบโต จากการผิดพลาด

ครูมิ้น รร.บดินทร์เดชา

ครูมิ้นเชิญชวนทุกท่านให้โอกาสเด็กให้เขามองเห็นอนาคตเขาไม่ว่าเขาจะมีพฤติกรรมแบบไหน เพราะทุกคนมีความสำคัญกับเด็ก พาเขาค้นหาความถนักของตนเองผ่านวิชาต่างๆ ได้ เป็นเรื่องน่าเศร้าที่ประเทศไทยเรายังใช้เกณฑ์อย่างเดียวมาวัด ควรมีการวัดที่หลากหลาย “เราส่งให้เด็ก เด็กก็จะส่งให้คนอื่นๆเหมือนกัน”

พระครูวิมลปัญญาคุณ รร.ศรีแสงธรรม หมู่บ้านดงดิบ จ.อุบลราชธานี

Green Energy school วิชา Sola cell แรงงานแบบไหนจะเป็นที่ต้องการในอนาคต

เรียนแล้วได้อะไรและเอาไปทำอะไร โดยการลงมือทำ ทำทุกอย่างที่มีในโลกที่เกี่ยวกับพลังงานให้อยู่ในรร. เด็กเขียนโคดดิ้ง เอไอ พึ่งพาตนเองเรื่องพลังงาน….ลดค่าไฟได้ ๑๐๐%

พระครูถือคติที่ว่า “เด็กที่มาเรียนจะได้อะไรจากอาตมา”

นางสาวชุติกาญจน์ กนกกันทรากร นักเรียนรร.รุ่งอรุณ

เป็นเด็กขี้อาย แต่กลับบ้านไปเล่าสิ่งต่างๆให้พ่อแม่ฟัง พ่อแม่ให้โอกาสและเปิดพื้นที่ให้ความเชื่อมั่นกับเขา และครูให้โอกาส โดยเชื่อว่าเด็กทุกคนมีศักยภาพ ครูเป็นเพื่อนกับเด็ก ทำให้เขารู้สึกว่ารร.เป็นบ้านหลังที่สอง มีเรื่องใหม่ๆให้เซอร์ไพรส์ตลอด และมีการให้อิสระและไว้วางใจในการทำอะไรด้วยตนเอง เขาไปเป็นเด็กแลกเปลี่ยนในฟินแลนด์ มีความแตกต่างจากเรา คือ เด็กเดินเรียน มีเด็กห้องละ ๒๐ คน โดยไม่มีการบอกเด็กว่าเขาอยู่ระดับไหน ทำให้ไม่เกิดการเปรียบเทียบ

ครูให้ความไว้วางใจกับเด็ก ทำให้เขาเกิดการเรียนรู้” เขาต้องการการศึกษาที่ทำให้เด็กเป็นคนดี การไว้ใจเป็นสิ่งเริ่มต้นที่ดี “ทักษะแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้

-ได้เปิดมุมมองใหม่ ด้วยได้พบและสัมผัสกับหน่วยงาน องค์กรต่างๆ ที่ทำกิจกรรมเพื่อการศึกษาไทย เช่น มูลนิธิโรงเรียนสตาร์ฟิชคันทรีโฮม มีกิจกรรมดีๆ ที่เป็นการเพิ่มทักษะการเรียนรู้ให้กับเด็กที่เป็นรูปธรรมชัดเจน คณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์กับภาคเครือข่ายผู้เชี่ยวชาญที่ทำงานด้านการศึกษาและการพัฒนามนุษย์ จัดทำโครงการก่อการครู เพื่อที่จะสร้างครูผู้นำการเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาสู่สังคมไทย เป็นต้น

ทำให้เราได้ทราบว่ายังมีบุคคล หน่วยงาน องค์กรต่างๆที่มีแนวคิดที่จะพัฒนาการศึกษาไทยอยู่ตลอดเวลา

3.เกิดแรงบันดาลใจ

-จากคำกล่าวของ รศ.ดร.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ ว่า “การศึกษาวันนี้เหมือนเรือในมหาสมุทร เราต้องเตรียมพร้อมทุกสถานการณ์ เรือน้อยออกจากฝั่งแล้วให้ทุกคนช่วยกันสร้างสรรค์” เป็นแรงผลักดันและแรงใจที่ทำให้เราเกิดพลังในการจัดการศึกษาในรูปแบบใหม่ เพื่อพัฒนาสรรถนะของเด็กไทย

-ได้พบและรู้จักกับโรงเรียนพื้นที่นวัตกรรมจังหวัดอื่นๆ เห็นตัวอย่างที่ดีที่สามารถนำมาเป็นแรงบันดาลใจในการที่เราจะนำพาโรงเรียนก้าวต่อไป และเป็นพลังสำคัญว่าเราไม่ได้โดดเดี่ยว เรายังมีเพื่อนก้าวเดินไปด้วยกัน

-ได้พบกับโรงเรียนที่มีแนวความคิดและเป้าหมายที่คล้ายกันกับโรงเรียนของเรา ได้แก่ รร.ศรีแสงธรรม หมู่บ้านดงดิบ จ.อุบลราชธานี ของท่านพระครูวิมลปัญญาคุณ ประทับใจในแนวคิดและการกระทำของท่านมาก โดยเฉพาะ คติของพระครูที่ว่า “เด็กที่มาเรียนจะได้อะไรจากอาตมา” เป็นพลังสำคัญที่ทำให้เกิดแรงผลักดันให้เราก้าวต่อไปเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ และรร.ของท่านพระครูจะเป็นแหล่งเรียนรู้ของเราที่ดียิ่ง