เมื่อ “แรงบันดาลใจอยู่ใกล้ตัวนี่เอง” ของ “สาว” หรือ นางสาววิณัฐดา หมื่นอาด แกนนำเยาวชน โครงการแนวทางการสร้างการเรียนรู้ด้านดนตรีปันจักสิลัตของชุมชนบ้านทุ่ง ที่เห็นคุณค่าศิลปะการต่อสู้ “ปันจักสีลัต” เป็นศิลปะการต่อสู้ของ “จังหวัดสตูล” ที่หาดูได้ยาก ซึ่งมีเฉพาะงานต้อนรับเจ้าพระยาในอดีต เรียกได้ว่า “คนรุ่นหลัง” ไม่มีโอกาสที่จะได้ชื่นชม คนที่รู้ศิลปะประเภทนี้นับวัน ก็เริ่มหายไปตามอายุไข แต่คุณปู่ของ “สาว” เป็นหนึ่งในผู้รู้ศิลปะแขนงนี้ ทำให้ “สาว” เห็น “คุณค่า” และอยากสืบทอดต่อ...
เมื่อเห็น “คุณค่า” “แรงบันดาลใจที่อยากสืบสานต่ออยู่ไม่ไกล” การมีเป้าหมายกับสิ่งที่อยากทำชัดเจนแล้ว เราจะสามารถไปต่อได้อย่างไร? ลองมาทำความรู้จักกับ “สาว” แกนนำเยาวชน “บ้านทุ่ง” กับมุมมองและ “แรงผลักดัน” ที่ทำให้ “สาว” อยากสืบสาน ศิลปะวัฒนธรรมของบ้านเกิดตัวเอง... รวมถึง “การเรียนรู้” ในช่วงของ “การเริ่มต้น” และ การ “ไปต่อ” ด้วยวิธีการใด
ที่มาของการอยาก “สืบทอด”
นอกจากประโยคที่ว่า “ล้มหายตายจาก
จะเป็นจุดเริ่มต้นของกำลังใจที่อยากสืบสานต่อ ของ “สาว” เนื่องจาก “ปันจักสีลัต”
เป็นศิลปะการต่อสู้ที่มีอยู่ “ชิ้นเดียว” ในจังหวัดสตูล และผู้รู้ก็เหลือเพียง 3
คนสุดท้าย ซึ่งใน 3 คนสุดท้าย
แต่ละคนก็ยังมีความรู้ในแต่ละเรื่องที่แตกต่างกันไป รวมถึงหนึ่งใน 3 คนสุดท้าย ก็คือ “ปู่”
ของสาวเอง ที่เก็บรักษาเครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบในศิลปะการต่อสู้
“ปันจักสีลัต” จึงเป็นเหตุที่ทำให้สาวเห็นความสำคัญที่จะสืบทอด โดยเริ่มที่ตัวเองและน้องชายก่อน
เพราะนึกถึงว่าอย่างน้อยต้องเริ่มจากตัวเองและคนในครอบครัวก่อนที่เห็นคุณค่าและพยายามเก็บองค์ความรู้เหล่านั้นให้ได้มากที่สุด
การ “สานต่อ” ไม่ใช่เรื่องง่าย
“เราเริ่มจากคนที่สนใจก่อนในหมู่บ้าน
จะพยายามดึงผู้ชาย เพราะเดี๋ยวนี้วัยรุ่นผู้ชายในหมู่บ้านไม่ค่อยอยู่บ้าน
และเที่ยวกลางคืนเลยจะเริ่มจากตรงนี้ค่ะ
ซึ่งตอนนี้ได้สมาชิกในทีม 12 คนแล้ว “
“โดยเวลาที่เราเริ่ม เราจะเริ่มจากศึกษาเรื่องดนตรีที่เราเข้าใจได้ง่ายก่อนรวมถึงคนให้ความสนใจน้อย ซึ่งทางพี่ ๆ ศูนย์ประสานงานวิจัยฯ จ.สตูล ตั้งคำถามและให้หลักคิดโดยให้เราเริ่มที่จะทำจาก “สิ่งเล็ก ๆ ไปหาสิ่งใหญ่ และ มาเยี่ยมชมทุกครั้งที่เรามีกิจกรรมและให้ความสนใจมากค่ะ มันเหมือนทำให้มี “กำลังใจ”
“ความยากในการทำงานเป็น “ทีม” คือ เรานัดเยาวชนมาทำงานร่วมกันซึ่งบางคนเรียน บางคนไม่เรียน เพราะ ชีวิตประจำวันเราไม่เหมือนกัน ทำให้เราต้องหาเวลาว่างที่ตรงกันจริง ๆ คือ บ่าย ๆ เย็น ๆ พอตอนเย็น ผู้รู้ดนตรีเค้าก็ไม่มีเวลาพอที่จะสอนหรือว่างให้พวกเราแล้ว มันก็ยากจริง ๆ ค่ะ”
ซึ่งจากตรงนี้ มันทำให้เราต้องแก้ปัญหา ต้องวางตารางให้ชัดเจน ว่าช่วงไหนจะต้องซ้อม ช่วงไหนเราต้องเสียสละเวลา หน้าที่ที่รับผิดชอบก็ต้องชัดเจน บางทีเรารู้แล้วว่าเราจะทำอะไรแม้ความคิดเห็นตรงกันแต่พอลงมือทำจริงมันไม่ง่ายเลยค่ะ”
รู้คุณค่า สืบสานต่อ แล้วจะเดินต่ออย่างไร?
“อย่างที่บอก
“ผู้รู้” แต่ละคนเริ่มที่จะเสียชีวิตและความรู้มันก็กำลังจะ “หายไป”
ถ้าเขาได้รับรู้ว่าสิ่งที่เขาสร้างมา
สิ่งที่เขาตั้งใจฝึกฝนมันมีคุณค่าต่อคนรุ่นหลัง เขาก็คงจะภูมิใจ
เพราะว่าตอนนี้ก็เริ่มหายไปทีละคน ๆ
“ซึ่งทำให้แผนต่อไปหลังจากที่เราได้ทีมมาแล้ว ต้องลงไปทำความรู้จักกับครูภูมิปัญญาและเก็บความรู้มาให้ได้มากที่สุด โดยขอคำแนะนำวิธีการสอนกับเขาต้องทำอย่างไร รวมถึงตัวเยาวชนผู้เรียนต้องการเรียนรู้แบบไหน เพื่อที่เราจะได้นำองค์ความรู้มาให้ประโยชน์ได้มากที่สุด”
...............................................................................................................................
เยาวชนใน “โครงการกลไกชุมชนสู่การพัฒนาเยาวชนจังหวัดสตูล”Satun Active Citizen ดำเนินการโดยศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดสตูล
สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)และมูลนิธิสยามกัมมาจล
สามารถติดตามองค์ความรู้จากโครงการ Active Citizen ได้ที่ http://bit.ly/2xPLCVe
#มูลนิธิสยามกัมมาจล #activecitizen #satunactivecitizen #satun #scb #scbf