คิดได้แล้วทำ ดูแล้วเป็นเรื่อง “ง่าย” แต่เมื่อลงมือทำจริง “ไม่ใช่เรื่องง่าย” ซึ่งอาจจะทำให้เราพบเจอ หัวใจของการทำงานที่แท้จริง อาจจะไม่ได้อยู่ที่เรา “มีองค์ความรู้มาก คิดเก่ง นำเสนอเก่ง” เพียงอย่างเดียว แต่คือ การที่เราสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้หรือไม่ บทเรียนบางอย่างที่เกิดขึ้น การศึกษาหา “องค์ความรู้” อาจจะเป็นเครื่องมือหนึ่ง ที่นำทางให้เราค้นพบคุณค่าของการเรียนรู้ นำมาสู่การ “พัฒนาตนเอง”
ลองมาทำความรู้จักกับ “น้องเฝา” หรือ นางสาวเฝาซีย๊ะ ขุนรักษ์ ที่มีตำแหน่งแกนนำสภาเยาวชนในชุมชนเกตรี ที่ใช้โครงการ “เล่าขาน” ตำนาน “บูเก๊ตบุตรี” ที่นี่บ้านฉัน” (หนึ่งในหมู่บ้านที่มีเรื่องเล่าและตำนานในจังหวัด “สตูล”) เป็นเครื่องมือในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง และพยายามถ่ายทอดให้กับรุ่นน้องรุ่นต่อไป “เส้นทางการเรียนรู้” อาจจะไม่ได้สวยงามราบรื่นอย่างที่คิด แต่มันอยู่ที่อะไร ? ซึ่งเราอาจจะต้องค้นหาคำตอบด้วยโจทย์ที่เราเลือกเอง
#เริ่มจากความอยากรู้อยากศึกษา
“ชุมชนเกตรี” มีข้อมูลทางประวัติศาสตร์ เรื่องเล่ามากมาย แต่ไม่เคยมีการบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นเพียงข้อมูลบอกเล่า ซึ่งคำบอกเล่าของผู้รู้แต่ละคนก็ไม่เหมือนกัน จึงทำให้เยาวชนเกตรีมี “แรงบันดาลใจ” ที่อยากจะบันทึกรวบรวมข้อมูลทางประวัติศาสตร์จากคำบอกเล่าของผู้รู้ในชุมชน อย่างน้อยก็ทำให้เยาวชนเริ่มตั้งคำถามกับตัวเองว่ามาจากไหน? มาอยู่ที่นี่ได้อย่างไร? และเริ่มอยากรู้ความเป็นไปของชุมชน
#การศึกษาประวัติศาสตร์ในชุมชนเป็นเครื่องมือในการพัฒนาตัวเอง
สิ่งที่คาดหวังจากที่เราได้มาทำโครงการก็คือ “การได้พัฒนาตัวเอง” จากการลงมือเก็บข้อมูลด้วยตัวของพวกเราเอง ได้มีโอกาสสร้างความสัมพันธ์กับคนในชุมชน สิ่งสำคัญคงต้องมี “รุ่นน้อง” มาสืบสานต่อ เพราะเราทำงานสภาเด็ก และกำลังเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งก็อยากให้รุ่นน้องที่ทำโครงการกับเราตอนนี้มีโอกาสได้เข้ามาเป็นแกนนำได้อย่างที่พวกเราทำ”
#คิดแล้วทำไม่ใช่เรื่องง่าย
“พอมาเริ่มทำงานจริง ๆ แล้วไม่ใช่เรื่องง่ายเลยค่ะ ต้องนั่งทำงานด้วยกันจนดึกเพื่อที่จะให้โครงการมันออกมาดี ก็ต้องหาข้อมูล ไปบ้านผู้ใหญ่บ้าน ไปอบต. เพื่อไปหาข้อมูลมาทำฐานข้อมูลโครงการ พูดคุยเพื่อให้ได้ความรู้มาเพิ่ม เพราะโครงการที่เราทำนี้ต้องทำเองทั้งหมด ประสบการณ์เรายังไม่เยอะก็ต้องทำให้เยอะขึ้นกว่าเดิม”
“การที่เราเป็นสภาเยาวชน” โครงการที่เรารับผิดชอบก็มีมาก ทำให้มีโครงการที่งานชนกันค่ะ ต้องแบ่งงานกันทำแล้วแกนนำมีน้อย ทำให้เรารู้สึกท้อ มีปัญหากันเองภายในกลุ่ม ต้องมาตั้งสติใหม่ “นี่มันแค่เริ่มต้น” เราจึงแบ่งเวลา และดูความถนัดของคนในทีม ใครถนัดส่วนไหนให้ไปทำหน้าที่ตรงนั้น เพื่อให้มีหน้าที่ในทุก ๆ ส่วนงาน”
“ซึ่งความกังวลที่เกิดขึ้นในการทำงานก็คือ “คน” และการทำงานภายในทีมค่ะ
.........................................................................................................
เยาวชนใน “โครงการกลไกชุมชนสู่การพัฒนาเยาวชนจังหวัดสตูล” Satun Active Citizen ดำเนินการโดยศูนย์ประสานงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นจังหวัดสตูล
สนับสนุนโดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และมูลนิธิสยามกัมมาจล
สามารถติดตามองค์ความรู้จากโครงการ Active Citizen ได้ที่ http://bit.ly/2xPLCVe
#มูลนิธิสยามกัมมาจล #activecitizen #satunactivecitizen #satun #scb #scbf