“กลองปู่จา” อยู่คู่วัฒนธรรมชุมชนบ้านบวก ตำบลดงดำ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน มานาน แต่ไม่มีรวมคนมาที่วัด หรือตีบรรเลงเท่านั้น เยาวชนจากชุมชนบ้านบวก จึงประยุกต์นำกลองปู่จา ที่มีอยู่ในโรงเรียนบ้านบวกการรำฟ้อนร่วมด้วย เป็นเพียงการตีเพื่อบูชาเฉย ๆ ตีเพื่อเรียกแต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ มาเป็นพระเอกในโครงการสืบสานนาฏลีลา กลองปู่จาของชุมชน เพื่อถ่ายทอดเรื่องราววิถีชีวิตของผู้คนในอดีตของชุมชนตัวเอง ด้วยการนำศิลปะการฟ้อนและศิลปะการตีกลองปู่จามาผสมผสานเข้าด้วยกัน เพื่อให้ดูแปลกใหม่และเป็นสิ่งที่น่าสนใจ
“กว่าจะได้ท่ารำ กว่าจะได้คำร้อง”เยาวชนกลุ่มนื้ต้องวางแผนสัมภาษณ์ เก็บข้อมูลวิถีชีวิต ภูมิปัญญา จากผู้ใหญ่ในชุมชนมาร้อยเรียงเป็นบทเพลง ทั้งออกแบบท่าทางฟ้อนรำประกอบจังหวะ และบรรเลงกลองปู่จาด้วยตัวเอง จนวันนี้ได้มีโอกาสออกงานแสดงแล้วกว่า 5 ครั้ง
จากการทำโครงการนี้ ไม่เพียงแต่มีโอกาสได้ทำความเข้าใจ เรียนรู้วิถีชีวิต ภูมิปัญญาในอดีต รวมถึงฝึกฝนเฉพาะตนเองเท่านั้น แต่ยังถ่ายทอดการฟ้อนรำให้กับน้องรุ่นต่อไปด้วย กระบวนการทำงานในโครงการไม่เพียงแต่ทำให้ชุมชนบ้านบวกเกิดการแสดงนาฏลีลาร่วมกับกลองปู่จาที่สะท้อนถึงวิถีการดำเนินชีวิตของคนในชุมชนเท่านั้น แต่กระบวนการทำงานยังทำให้ทีมงาน “เกิดทักษะใหม่” เพิ่มขึ้นกับตัวเองอีกด้วย
“อยากให้เด็กรุ่นใหม่เรียนรู้วิถีชีวิตของคนรุ่นก่อน สามารถเล่าเรื่องวิถีชีวิตของชาวบ้าน โดยใช้ความเชี่ยวชาญด้านการฟ้อนรำที่เรามีสื่อสารได้”
เดียร์ เคยเป็นคนขี้อาย เวลารำจะตัวสั่นเกร็ง แต่ประสบการณ์ในโครงการ และการหมั่นฝึกซ้อมทำให้เธอเกิดความมั่นใจในตัวเอง และกล้าแสดงออก อาการสั่นหายไป กลายเป็นคนฟ้อนรำพร้อมรอยยิ้ม ด้วยความภาคภูมิใจ เพราะเป็นบทเพลงที่พวกเราแต่งเอง
เดียร์-จิณห์นิภา ธิกันงา
“ถ้าไม่มาเข้าร่วมโครงการก็คงใช้เวลาแว้นรถไปมา สลับกับรับจ้างเก็บลำใย แต่ตอนนี้ก็เปลี่ยนจากแว้นรถมาแบ่งเวลาซ้อมตีกลองปู่จาแทน”
จากความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับตัวเอง สายฟ้ายังได้ชักชวน ก๊วนเพื่อนสายแว้นให้มาร่วมตีกลองปูจาด้วย สายฟ้าบอกว่าที่เขาสามารถผ่านสถานการณ์นั้นมาได้ส่วนหนึ่งเพราะความตั้งใจที่อยากตีกลองปู่จาให้ได้อยู่แล้ว เลยทำให้เขาอดทน และหมั่นซ้อมอยู่เรื่อย ๆ จนชำนาญ
สายฟ้า-สิรภัทร หล้าเป็ง
“ก่อนหน้านี้ไม่เคยมีทักษะการตัดต่อวิดีโอมาก่อนเลย แต่โอกาสในโครงการกระตุ้นความสนใจ ทำให้ต้องหาข้อมูลด้วยตัวเองจนสามารถตัดต่อวิดีโอได้ดีขึ้น”
น้ำมนต์เป็นอีกคนที่ค้นพบศักยภาพของตัวเองจากการทำโครงการนี้ คือ ส่วนความกล้าแสดงออกก็มีมากขึ้น จากเดิมที่ไม่ค่อยพูดกับใคร แต่การได้ลงพื้นที่พูดคุยกับกับชาวบ้านที่ต้องถามข้อมูล ทำให้ต้องกล้า ไม่เช่นนั้นจะไม่ได้ข้อมูล รวมถึงทักษะการตัดต่อวิดีโอที่เธอที่ทำให้เธอรู้สึกภูมิใจ
น้ำมนต์-ธัญญาภรณ์ สมฝั้น
เพราะพวกเขาได้ทำในสิ่งที่รักและถนัด การแสดงนาฏลีลาและกลองปู่จาจึงเปี่ยมไปด้วยรอยยิ้ม ท่วงท่า ลีลา และแววตาที่มุ่งมั่นตั้งใจ ทำให้คนที่พบเห็นรู้สึกมีความสุขและยิ้มตามไปกับความสวยงามของการร่ายรำ ท่วงท่าที่หนักแน่นของการตีกลองในทุก ๆ ตัวโน้ต และยิ้มในศักยภาพของพวกเขาที่สามารถสร้างอัตลักษณ์ให้กับชุมชนของตนเองได้อย่างที่ตั้งใจ