กบยัดไส้...งานวิจัยเพื่อเศรษฐกิจฐานราก
--------------------------------------
องค์การบริหารตำบลสลักได สนใจเข้าไปร่วมเรียนรู้ตามเวทีต่าง ๆ ที่มูลนิธิฯ จัดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 และค้นพบว่ามูลนิธิฯ มี “กระบวนการและองค์ความรู้” ในการพัฒนาเด็กและเยาวชนที่พัฒนาศักยภาพเจ้าหน้าที่ อบต. และมี “เครื่องมือ” ในการลงไปสร้างการเรียนรู้แก่เด็กเยาวชนในชุมชนจึงตัดสินใจเข้าร่วมโครงการด้วย เพราะเห็นว่าตรงกับแนวทางของตัวเอง โดยมีเป้าหมายในใจที่อยากให้ “กลไกในชุมชน” มีความเข้มแข็งโดยตัวของพี่น้องประชาชนเอง คือเขาต้องมีเครื่องมือทางความคิดที่เขาสามารถคิดเป็นและหาวิธีการที่จะใช้ประโยชน์ได้ และสามารถที่จะสร้างเด็กเยาวชนลูกหลานรุ่นต่อรุ่นให้ทำงานกับเขาเป็น ซึ่งจะบ่งบอกถึงความยั่งยืน
“งานวิจัย” เป็น “เครื่องมือ” ในการทำงานพัฒนาโจทย์ของชุมชนบนพื้นฐานข้อมูลความรู้ และนำไปสู่การสร้างความสัมพันธ์ของคนในชุมชนกับการทำงานวิจัย
“งานวิจัย” เป็น “เครื่องมือ” หนึ่งในการทำงานพัฒนา เพราะเครื่องมือวิจัยจะใช้ในการ เลือกโจทย์ และพัฒนาบนฐานความรู้ กรณีการแปรรูปกบยัดไส้สมุนไพรภูมิปัญญาท้องถิ่น ชาวบ้านเองก็มีโจทย์อยู่แล้ว ที่เหลือเพียงหาแนวทางว่าการจะได้กบสมุนไพรภูมิปัญญาท้องถิ่นจะต้องทำอะไรบ้าง มีบริบทอะไร เก็บมาทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นผังชุมชน วัฒนธรรม ทุนชุมชน การวิเคราะห์เศรษฐกิจของชุมชน ให้ชุมชนรับรู้ร่วมกัน เพื่อที่จะมาวางแนวทางให้การกบยัดไส้ให้สำเร็จ”
--------------------------------
นายมานพ แสงดำ
นายกอบต. สลักได
“ดีใจที่งานวิจัยช่วยดึงลูกหลานมาสนใจอาชีพของครอบครัว ทำให้เขาเห็นคุณค่าของกบยัดไส้อาชีพของชุมชนมากขึ้น ”
พ่อสำเนียงยอมรับว่า“ดีใจมากที่เด็กเขามาเรียนรู้เรื่องพวกนี้ ผมอยากทำอย่างนี้มานานมากแล้ว อยากทำมาก ๆ เลย แต่ไม่ได้มีการสนับสนุนเหมือนในปัจจุบัน ส่วนใหญ่เขาก็จะเป็นเรื่องกีฬาที่ได้รับการสนับุสน แต่พอเป็นเรื่องสุขภาพ การทำมาหากิน มันไม่มีใครสนับสนุนให้เราเลย เราทำแล้วเรามีความสุข ทำแล้วเราก็มีกินมีใช้ของเราเองหมด ทำปลาร้า อยากกินไก่ก็มีกิน ผักก็ไม่ต้องซื้อใครเลย”
------------------------------
พ่อสำเนียง ธรรมุมา
นักวิจัยท้องถิ่น
“งานวิจัย ช่วยกระตุ้นให้ผมใฝ่รู้ นำไปสู่การกล้าแสดงออก กล้าแลกเปลี่ยนความคิดเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน ”
สาโรจน์ เที่ยงตรง นักพัฒนาชุมชน บอกว่า ที่ผ่านมาการทำงานของเขาจะมีปัญหาซ้ำ ๆ เหมือนเดิมทุกครั้ง แต่เราก็ไม่รู้ว่ามันติดขัดตรงไหน แต่พอนำเครื่องมือมาใช้ เราจะดูเลยว่ามีปัญหาตรงไหนแล้วจดบันทึกไว้ พอคราวต่อไปรู้แล้วว่ามีปัญหาตรงนี้นะ เราก็เริ่มแก้ตรงนี้ มันอาจแก้จะไม่ได้ 100 เปอร์เซ็นต์หรอก แต่อย่างน้อยเราก็ได้ปรับแก้ตรงนี้แล้วให้มันดีขึ้น เพราะงานวิจัยมากระตุ้นให้เขาเป็นคนใฝ่รู้ กระทั่งนำไปสู่การพูดคุย แลกเปลี่ยน หาแนวทางในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน
--------------------------
สาโรจน์ เที่ยงตรง นักพัฒนาชุมชน
“เดิมเราไม่มีชุดความรู้ เลยไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไร ทำแค่ให้เสร็จไป แต่กระบวนการวิจัยฝึกให้คิดออกแบบการทำงาน ทำกับใคร เป้าหมายคืออะไร ทำให้งานที่ทำละเอียดขึ้น”
จากเมื่อก็ทำงานให้เสร็จ ๆ ไป ไม่สามารถคลี่งานของตัวเองออกมาได้ ทำงานแบบเดิมซ้ำ ๆ แต่กระบวนการวิจัยทำให้ต้องคิดออกแบบเครื่องมือการทำงานว่ามีกิจกรรมอะไร มีแผนอย่างไร กิจกรรมนี้ทำแล้วดีหรือไม่ดีอย่างไร กิจกรรมนี้ทำกับใคร เป้าหมายคืออะไร ทำให้สามารถแยกแยะงานได้ละเอียดขึ้น
-------------------------------
นันทนะ บุญสอน
นักวิเคราะห์นโยบายและแผน
งานวิจัยเป็นศาสตร์ที่ทำให้รู้ลึก รู้จริงในสิ่งที่อยากรู้ เมื่อเรานำงานวิจัยมาเกี่ยวข้องกับเนื้องานทำให้เราเกิดความชัดเจนในงานขึ้น
สุรินทร์ อยู่ดีรำ บอกว่า การเข้ามาร่วมงานกับชุมชนในฐานะนักถักทอชุมชนในครั้งนี้ทำให้เข้าได้เรียนรู้ และได้ประสบการณ์หลาย ๆ เรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทำงานวิจัย และการเก็บข้อมูลของชุมชน
“ก่อนหน้านี้เราขาดกระบวนการในการในการจัดการ ทำให้เขายังวนเวียนอยู่กับสิ่งเดิม ๆ ปัญหาเดิม ๆ พองานวิจัยเข้ามาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในชุมชน ทำให้เราสามารถนำมาปรับใช้ในการทำงานคือ การยอมรับสิ่งใหม่ ๆ สิ่งไหนที่เราทำแล้วเราว่ามันไม่ดี ไม่เกิดการพัฒนา ไม่ต่อยอดอะไร เราต้องศึกษาหาความรู้ต่อ”
---------------------
นายสุรินทร์ อยู่ดีรำ
นักวิเคราะห์นโยบายและแผนชำนาญการ