
1.ชื่อทอ-ไอ-ยอไทย
2.ทีมผู้พัฒนา:
ณัฐกนกโภคทรัพย์ไพบูลย์มัธยมศึกษาปี่ที่ 6 แผนกการเรียนวิทย์-คณิตโรงเรียนเซนต์ฟรังซัสซาเวียร์คอนแวนต์
ไอริณยุกตจรงค์มัธยมศึกษาปี่ที่ 6 แผนกการเรียนวิทย์-คณิตโรงเรียนเซนต์ฟรังซัสซาเวียร์คอนแวนต์
ศิริพักตร์ชาเวชกามามัธยมศึกษาปี่ที่ 2 โรงเรียนเซนต์ฟรังซัสซาเวียร์คอนแวนต์
3.อาจารย์ที่ปรึกษา: อ.ศราหรูจิตตวิวัตณ์
4.รายละเอียด:
สื่อการเรียนการสอนวิชาภาษาไทยสอนในเรื่องการอ่านสะกดคำที่จะช่วยแก้ไขปัญหาเด็กที่อ่านไม่ออกเหมาะสำหรับคุณครูหรือผู้ปกครองที่มีเด็กอ่านไม่ออกในความควบคุมดูแลเนื้อหาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-2 นำเสนอเนื้อหาในรูปแบบ infograhic และ interactive ซึ่งสุ่มโจทย์มาจากคลังคำศัพท์กว่า 2,000 คำซึ่งในวิชาภาษาไทยเป็นเรื่องที่นักเรียนส่วนใหญ่ละเลยที่จะให้ความสำคัญและยากต่อการเข้าใจจึงทำให้เกิดปัญหาเด็กไม่สามารถอ่านภาษาไทยได้ถูกต้องโดยเฉพาะอย่างยิ่งนักเรียนชั้นอนุบาล 2 ถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งกำลังเป็นปัญหาที่สำคัญอีกปัญหาหนึ่งของประเทศไทยอีกทั้งการฝึกการออกเสียงนั้นอาจเป็นไปได้ยากแต่ถ้าผู้เรียนได้ฝึกทำแบบฝึกหัดหรือฟังการออกเสียงบ่อยๆก็จะทำให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้และทักษะนี้ไปใช้ศึกษาในระดับสูงต่อไป
โปรแกรมส่งเสริมการเรียนรู้ “ทอ-ไอ-ยอไทย” (THOR-I-YOR Thai) ประกอบไปด้วยเนื้อเรื่องเนื้อหาแบบทดสอบและเกมโดยเนื้อเรื่องจะมีตัวละครหลักคือเด็กชายไม้เอกและหมาน้อยผู้พิทักษ์ “แดง”จะต้องเดินทางตามหาความรู้ภาษาไทยจากปีศาจหุ่นยนต์ “ป๋อง”กลับคืนมาโดยเนื้อเรื่องนี้จะสอดแทรกไปกับการศึกษาเนื้อหาอีกทั้งยังมีแบบฝึกหัดและแบบทดสอบมากมายเพื่อให้ผู้เรียนได้รับความสนุกสนานและรู้สึกสนใจในเนื้อหาเพิ่มมากขึ้นโดยโปรแกรมที่ใช้พัฒนาโปรแกรมได้แก่ Adobe Illustrator CS6, Adobe Animate CC 2015 และ VAJA โดยใช้ภาษา Action Script 3.0 และ PHP ในการเขียนควบคุมโปรแกรม
5.แผนการพัฒนาต่อยอดผลงานจากเดิมและแผนการนำไปสู่ผู้ใช้ : พัฒนาโปรแกรมเป็นระบบออฟไลน์ให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้โดยไม่ต้องเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตและพัฒนาเนื้อหาให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
6ความก้าวหน้าการพัฒนาผลงานต่อยอด
6.1 ความก้าวหน้าระยะที่ 1 (มิถุนายน-กันยายน)
6.1.1 ผลงานความก้าวหน้า: พัฒนาผลงานเป็นระบบออฟไลน์ในบางส่วนเพิ่มระบบtutorial เพื่อให้ผู้ใช้สามารถเข้าใจโปรแกรมของเราได้มากยิ่งขึ้นและแบ่งระดับความยากง่ายของฐานข้อมูลคลังคำศัพท์ 2,000 คำ
6.1.2 การพัฒนาสำเร็จตามแผนหรือไม่อย่างไร: มีเวลาในการทำงานที่น้อยเนื่องจากผู้พัฒนาในทีมแต่ละมีหาระหน้าที่ความรับผิดชอบที่ต้องเรียนภายในโรงเรียนและเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัย
6.1.3 แผนพัฒนาระยะที่ 2 (ตุลาคม-ธันวาคม): พัฒนาโปรแกรมเป็นระบบออฟไลน์ทั้งหมดและพัฒนาเนื้อหาบทเรียนให้มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
6.2 ความก้าวหน้าระยะที่ 2 (ตุลาคม-ธันวาคม)
6.2.1 ผลงานความก้าวหน้า: -
6.2.2 การพัฒนาสำเร็จตามแผนหรือไม่อย่างไร: -
7.ช่องทางการติดต่อ: https://www.facebook.com/p.natkanok
8.การเผยแพร่ผลงานผ่านสื่อสาธารณะ: -