
- ชื่อผลงาน
DIZCARD - ทีมผู้พัฒนา
2.1 นาย ธิติวัฒน์ ธัญภัคลือพงค์ มัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
2.2 นาย ปิยะ ไกรทัศน์ มัธยมศึกษาปีที่ 6 แผนการเรียนวิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย - อาจารย์ที่ปรึกษา
นาย เกษม สวัสดี - รายละเอียดผลงาน (สถานะก่อนการต่อยอด)
4.1 ที่มา
ในปัจจุบัน เราพบปัญหาระหว่างการซื้อขายสินค้าของร้านค้าขนาดเล็กและขนาดกลาง ทั้งในด้านของผู้ซื้อ ที่มีปัญหาในด้านของการค้นหาแคตตาลอค โปรโมชัน และการเก็บคูปองสะสมหรือลดราคา เก็บประวัติการซื้อของตน และในด้านของผู้ขาย ที่มีปัญหาในด้านการจัดการร้าน และการส่งข่าวสารให้ลูกค้าร้านของตนได้รับทราบ เมื่อคณะผู้จัดทำได้เล็งเห็นปัญหาข้างต้น จึงมีความคิดจะสร้างโปรเจคท์นี้ขึ้นมา
4.2 การใช้งาน
ในด้านของแอพพลิเคชันลูกค้า โดยหลักๆจะมีในเรื่องของการค้นหาร้านค้าต่างๆ สินค้าและโปรโมชันของร้านนั้นๆ การทำการซื้อขาย เก็บใบเสร็จ และในส่วนของแอพพลิเคชันร้านค้า จะมีการจัดการร้านของตน การตั้งสินค้าที่ร้านตนเองมีเพื่อให้ลูกค้าสามารถเข้ามาเลือกซื้อ การเก็บประวัติการขาย และการจัดการในระบบหลังร้าน
4.3 สิ่งที่ทำได้
เก็บประวัติการซื้อขาย ทำการซื้อขายแบบซึ่งหน้า แสดงโปรโมชันร้านค้า เก็บคูปองและโปรโมชันต่างๆ - แผนการพัฒนาต่อยอดผลงานจากเดิมและแผนการนำไปสู่ผู้ใช้ (User)
5.1 ออกแบบ UX และ Workflow การใช้งานของผู้ใช้ฉบับปรับปรุง (ทำ Paper Prototype)
5.2 พัฒนาแอพพลิเคชันตาม UX ใหม่
5.3 ลงพื้นที่สำรวจความคิดเห็นจากร้านค้าต่างๆ
5.4 เจรจาเบื้องต้นกับร้านค้าต้นแบบเพื่อทดสอบการใช้งานในสถานการณ์จริง
5.5 สรุปข้อบกพร่องต่างๆและทำการปรับปรุงเบื้องต้นตาม feedback ที่ได้รับ
5.6 ทดสอบการใช้งานกับร้านค้า (Beta Testing 1)
5.7 รับ feedback จากทางร้านค้าและลูกค้าของร้านค้านั้นๆ
5.8 นำ feedback ที่ได้รับล่าสุดมาปรับปรุงอีกครั้ง
5.9 ย้ายระบบฐานข้อมูลจาก Parse
5.10 เก็บรายละเอียดภาพรวมนำลง Play Store - ความก้าวหน้าการพัฒนาผลงานต่อยอด
6.1 ความก้าวหน้าระยะที่ 1 ( มิถุนายน - กันยายน )
6.1.1 มิถุนายน - กรกฎาคม
หลังจากที่พวกเราได้ทำการออกแบบ UI/UX ฉบับปรับปรุงของแอปพลิเคชันทั้งฝั่งร้านค้า และลูกค้าให้ใช้งานได้ง่ายยิ่งขึ้น ในช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมาในเดือนกรกฎาคม พวกเราได้นำ design ใหม่มาพัฒนาใส่ในตัวแอปพลิเคชันฝั่งร้านค้า โดยหน้าหลักของแอปพลิเคชันฝั่งร้านค้ารูปแบบใหม่จะประกอบด้วย 3 แท็บ ตามการทำงานในแต่ละส่วนของตัวแอป ซึ่งได้แก่
1. "Cashier" - ใช้ใส่เบอร์โทรศัพท์ของลูกค้าเพื่อเปิดดูยอดสะสมการ stamp ของลูกค้ารายนั้นๆ และสามารถกดเพิ่มการ stamp ให้ลูกค้า หรือกดแลกรับ reward จากการ stamp สะสมของลูกค้าได้
2. "Rewards" - ใช้เรียกดูและแก้ไข reward ต่างๆ ที่ลูกค้าสามารถสะสมการ stamp เพื่อแลกรับได้
3. "My Shop" - เป็นโปรไฟล์ของร้านค้า ซึ่งลูกค้าสามารถเข้ามาดูข้อมูลต่างๆ ตามที่ร้านค้ากำหนดไว้ได้ เช่น เบอร์โทรติดต่อ อีเมลล์ แคตตาล็อคสินค้าของร้านค้า เป็นต้น
ซึ่งความคืบหน้าการปรับปรุงแอพลิเคชันฝั่งร้านค้า ณ ปัจจุบัน เสร็จสมบูรณ์ไปแล้ว 75%
โดยต่อจากนี้ พวกเราจะทำการปรับปรุงแอปพลิเคชันของฝั่งร้านค้าให้เสร็จสมบูรณ์ และเริ่มทำการปรับปรุงแอปพลิเคชันฝั่งลูกค้าต่อไป
6.1.2 การพัฒนาสำเร็จตามแผนหรือไม่อย่างไร
6.1.3 แผนการพัฒนาระยะที่ 2 ( ตุลาคม - ธันวาคม )
6.2 ความก้าวหน้าระยะที่ 2 ( ตุลาคม - ธันวาคม )
6.2.1 ผลความก้าวหน้า
6.2.2 การพัฒนาสำเร็จตามแผนหรือไม่อย่างไร - ช่องทางการติดต่อ
https://www.facebook.com/fresh.thit
https://www.facebook.com/piyakraitus - การเผยแพร่ผลงานผ่านสื่อสาธารณะ