โรงเรียนสุนทโรเมตตา ประชาสรรค์
จัดตั้ง: 8 ต.ค. 2558
ข้อมูลองค์กร

สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานี เขต ๑


ผู้บริหาร
นายสายันต์ เอี่ยมมิ
โทรศัพท์ ๐๘๕-๑๘๖-๔๓๓๒

­

ระดับชั้นที่เปิดสอน
มัธยมศึกษาปีที่ ๑-๖ จำนวนครู ๑๒ คน จำนวนนักเรียน ๒๐๓ คน


ครูผู้รับผิดชอบโครงการเศรษฐกิจพอเพียง
นางบุญเสมอ ปิตินานนท์
โทรศัพท์ ๐๘๔-๗๕๒-๑๙๖๓

­

“กิจกรรมสืบสานงานอาชีพ” เป็นกิจกรรมเด่น ที่ทางโรงเรียนสุนทโรเมตตาประชาสรรค์เลือกขึ้นมาให้นักเรียนได้เรียนรู้ เกี่ยวกับแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

­

­

๑. ทางโรงเรียนได้จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร การนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษา โดยจัดตั้งกลุ่มสนใจภายใต้การสนับสนุนของโรงเรียน ครู ผู้ปกครอง รวมถึงชุมชน นักเรียนมีการรวมกลุ่มกันในอาชีพที่สนใจ จำนวนกลุ่มละ ๒๖ คน จำนวน ๑๐ สาขาอาชีพ ได้แก่ เลี้ยงไก่ไข่ เลี้ยงปลาในบ่อดินและในกระชัง เพาะถั่วงอกปลอดสารพิษ ปลูกผักปลอดสารพิษ เพาะเห็ดนางฟ้าฮังการี่ แปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร นวดฝ่าเท้า การแสดงเพลงพื้นบ้านลำตัด ผูกผ้าประดับอาคารและ มัคคุเทศก์น้อย



๒. เชิญวิทยากรจากหน่วยงานภายนอก และปราชญ์ชาวบ้านที่มีความรู้ในแต่ละสาขาอาชีพ มาถ่ายทอดความรู้และเป็นที่ปรึกษาแก่นักเรียนในแต่ละกลุ่มสาขาอาชีพ

­

๓. ในกลุ่มสาขาอาชีพที่มีการลงทุนเริ่มต้น เช่น กลุ่มเพาะเห็ดนางฟ้าฮังการี่ เลี้ยงไก่ไข่ เลี้ยงปลาในบ่อดินและในกระชัง เพาะถั่วงอกปลอดสารพิษ และผูกผ้าประดับอาคาร ทางโรงเรียนได้จัดหาเงินทุนสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชน และบางกลุ่มสาขาอาชีพ เช่น การแสดงลำตัด นวดฝ่าเท้า และกลุ่มมัคคุเทศก์น้อย นักเรียนภายในกลุ่มมีการร่วมกันระดมทุนส่วนตัวในการ
ลงทุนเริ่มต้น



๔. นักเรียนมีการดำเนินกิจกรรมด้วยตนเอง ประกอบด้วยการวางแผน การดำเนินกิจกรรมภายในกลุ่ม การจัด จำหน่าย
ผลผลิต และการให้บริการแก่ประชาชน การจัดการเรื่องบัญชี
รายรับ-รายจ่าย และเมื่อเกิดปัญหาจะดำเนินการแก้ไข โดยการจัดประชุมภายในกลุ่ม และขอคำปรึกษาจากครู และวิทยาการในสาขาอาชีพนั้นๆ

­

­

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรม

ความพอประมาณ
๑. นักเรียนในแต่ละกลุ่มเกิดการเรียนรู้ในการดำเนินกิจกรรมบริหารงานภายในกลุ่ม ให้เกิดความเรียบร้อยและมีการบริหารรายรับรายจ่ายให้สามารถดำเนินกิจกรรม ภายในกลุ่มไปได้ด้วยดี
๒. นักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมเกิดการเรียนรู้ในการใช้จ่ายเงินที่ได้รับให้ เกิดประสิทธิภาพ ไม่ใช้จ่ายฟุ่มเฟือย และรู้จักเก็บออมเพื่อไว้ใช้ในการศึกษาเล่าเรียน

ความมีเหตุผล
๑. นักเรียนสามารถตัดสินใจในการทำงานด้วยความเหมาะสม โดยอาศัยหลักเหตุผลในการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น
๒. นักเรียนเรียนรู้การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มโดยยึดหลักเหตุผลในการทำงานร่วมกัน

ความมีภูมิคุ้มกัน
๑. นักเรียนสามารถยอมรับความเปลี่ยนแปลงของงานแต่ละครั้งและนำมาปรับปรุงแก้ไขในครั้งต่อไป
๒. นักเรียนเกิดการเรียนรู้ในเรื่องของการยอมรับและปรับเปลี่ยนการทำงานให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๓. นักเรียนรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ ห่างไกลจากอบายมุข


เงื่อนไขความรู้
๑. นักเรียนสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพในอนาคต
๒. นักเรียนมีความรอบคอบ รู้จักการวางแผนในการทำงาน
๓. นักเรียนสามารถเป็นผู้สืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่าไว้ให้อนุชนรุ่นหลัง


เงื่อนไขคุณธรรม
๑. นักเรียนมีความสามัคคีในการทำงานช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
๒. นักเรียนมีน้ำใจกับผู้อื่น มีความเสียสละในการทำงานเพื่อส่วนรวมโดยไม่หวังผลตอบแทน
๓. นักเรียนมีความอดทนในการทำงาน การให้บริการผู้อื่นและมีความสุภาพต่อสาธารณชน
๔. นักเรียนมีความรับผิดชอบต่องานและรับผิดชอบต่อตนเองในการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี


เงื่อนไขความสำเร็จ

๑.บุคลากร ของโรงเรียน ประกอบด้วย ผู้บริหาร ครู นักเรียน และนักการภารโรง ทุ่มเททำงานเต็มกำลังความสามารถด้วยความมุ่งมั่นโดยไม่คำนึงถึงเวลา มีความเสียสละ อดทน พากเพียรมานะ พยายาม เมื่อเกิดปัญหาไม่ย่อท้อ ร่วมกันแก้ไขจนสามารถสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
๒.ชุมชน และหน่วยงานภายนอก มีบทบาทในด้านงบประมาณ มีวิทยากรมาช่วยให้ความรู้ ในอาชีพที่บุคลากรภายในยังขาดความชำนาญ ปราชญ์ชาวบ้านผู้มีความรู้ประสบการณ์ให้ความร่วมมือในการถ่ายทอดความรู้ อย่างดีเยี่ยม
๓. ขวัญและกำลังใจ เป็นปัจจัยที่สำคัญเมื่อเกิดปัญหาระหว่างการปฏิบัติงาน ผู้ปฏิบัติงานมีการให้กำลังใจซึ่งกันและกัน
รวมทั้งบุคคลภายนอกที่เข้ามาเยี่ยมชมเป็นกำลังใจที่ดีเยี่ยมอีกทางหนึ่ง

­