สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา แม่ฮ่องสอน เขต ๒
ผู้บริหาร
นายเกษม กันทาหอม
โทรศัพท์ ๐๘๑-๗๐๖-๐๑๖๘
E-mail : kasem.kth@hotmail.com
ระดับชั้นที่เปิดสอน
อนุบาล – มัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวนครู ๒๒ คน จำนวนนักเรียน ๔๘๑ คน
ครูผู้รับผิดชอบโครงการเศรษฐกิจพอเพียง
๑.นายดิเรก จินดารัตน์
โทรศัพท์ ๐๘๑-๙๕๐-๔๓๔๐ E-mail : derek.jdr@hotmail.com
๒.นางประทับใจ เปาหย่า
โทรศัพท์ ๐๘๙-๙๕๖-๗๓๘๕ E-mail : nok-211@hotmail.com
๓.นางพชรพล บุญประเสริฐ
โทรศัพท์ ๐๘๐-๕๐๐-๐๒๐๒ E-mail : Pb.krit@hotmail.com
เพื่อให้ความเป็นอยู่ของนักเรียนเป็นไปอย่างมีคุณภาพตามหลักทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียน จึงได้จัดทำ “โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามทฤษฎีหลักเศรษฐกิจพอเพียง” ขึ้นมา เพื่อเป็นสื่อตัวสาคัญที่สามารถกระตุ้นให้นักเรียนเกิดแนวความคิดแนวปฏิบัติ หากมีการส่งเสริมและสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อให้นักเรียนดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้ โดยยึดหลักทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง
๒. เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต ด้านการดำรงชีวิต สุขอนามัย และการอยู่ร่วมกันในสังคมให้ดีขึ้น
๓. เพื่อฝึกให้นักเรียนมีความสามัคคี มีความอดทน มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ และรู้จักบทบาท หน้าที่ของตัวเอง
๔. เพื่อให้มีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต
๕. เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ ในการดำรงชีวิตอยู่ในสังคมต่อไป
ขั้นตอนการดำเนินการโครงการ
๑. แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน
๒. ประชุมคณะกรรมการวางแผนการดำเนินงาน
๓. จัดทำโครงการ เสนอโครงการ
๔. ดำเนินกิจกรรมตามโครงการ นักเรียนทำกิจกรรม ดังนี้
(ก) การปลูกชาโยเต้
(ข) การปลูกผักในถุง
(ค) การเลี้ยงหมูหลุม
๕. มีการติดตาม นิเทศ และประเมินผลโครงการ
๖. ประชุมคณะกรรมการ สรุปผลงาน
๗. รายงานสรุปผลการดำเนินงานให้ผู้บริหารรับทราบ
๘. นำผลที่ได้ปฏิบัติไปปรับปรุงแก้ไข
ระยะเวลาดำเนินโครงการ
ตลอดปีการศึกษา ๒๕๕๐
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรม
ครูสามารถนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปประยุกต์ใช้กับการทำงานของตนเอง สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้ โดยยึดหลักทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง และมีการพัฒนาคุณภาพชีวิต การดำรงชีวิต และการอยู่ร่วมกันในสังคมให้ดีขึ้น
นักเรียนสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้ โดยยึดหลักทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง มีการพัฒนาคุณภาพชีวิต การดำรงชีวิต และการอยู่ร่วมกันในสังคมให้ดีขึ้น มีความสามัคคี ความอดทน ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ และรู้จักบทบาทหน้าที่ของตัวเอง มีเจตคติที่ดีต่ออาชีพสุจริต
ในส่วนผู้ที่เกี่ยวข้อง พบว่า ครอบครัว ชุมชนมีความเข็มแข็งขึ้น มีการพัฒนาคุณภาพชีวิต การดำรงชีวิต และการอยู่ร่วมกันในสังคมที่ดีขึ้น โดยยึดหลักทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง
เงื่อนไขความสำเร็จ
นักเรียนมีความรู้เข้าใจความหมาย ของคำว่า “เศรษฐกิจพอเพียง” สามารถนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันของตนเองได้
กิจกรรมเด่นอื่นๆ
๑. ธนาคารขยะรีไซเคิล
๒. ยุวเกษตร ประกอบด้วย การเลี้ยงปลา และการปลูกสมุนไพรพื้นบ้าน
๓. กิจกรรมสนับสนุนโครงการอาหารกลางวัน ได้แก่ การเพาะเห็ดนางฟ้า
โรงเรียนสังวาลย์วิทยา
ที่อยู่: หมู่ที่ ๔ ตำบลแม่เหาะ อำเภอแม่สะเรียง แม่ฮ่องสอน
โทรศัพท์: ๐๕๓-๖๙๒-๘๗๘
โทรสาร: ๐๕๓-๖๙๒-๙๗๑
Email: kasem.kth@hotmail.com
|