สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต ๔
ผู้บริหาร
นายอุทัย ขัติวงษ์
โทรศัพท์ ๐๘๑-๘๘๒-๖๐๘๑
Email : Utai@songkaew.ac.th
ระดับชั้นที่เปิดสอน
มัธยมศึกษาปีที่ ๑-๖ จำนวนครู ๔๑ คน จำนวนนักเรียน ๘๒๐ คน
ครูผู้รับผิดชอบโครงการเศรษฐกิจพอเพียง
๑.นายระวี คงภาษี
โทรศัพท์ ๐๘๖-๖๗๓-๒๕๙๔ Email : rawee_ko@hotmail.com
๒.นางเพ็ญศรี ตั้งใจ
โทรศัพท์ ๐๘๙-๙๕๕-๑๔๕๙ Email : Pensri@songkaew.ac.th
๓.นางอำพร ดวงวาส
โทรศัพท์ ๐๘๙-๙๕๕-๑๔๕๙ Email : Amporn@songkaew.ac.th
๔.นางสาวทิพย์วดี บางแวก
โทรศัพท์ ๐๘๙-๙๕๕-๑๔๕๙ Email : tipwadee.bw@windowslive.com
โรงเรียนสองแคววิทยาคมได้ให้โอกาสทางการศึกษาแก่นักเรียนที่ด้อยโอกาสโดยจัดที่พักใน โรงเรียนให้กับนักเรียนเหล่านี้ ซึ่งมีทั้งเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย งบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะได้รับในส่วนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นเท่านั้น ทำให้งบประมาณไม่เพียงพอในการบริหารจัดการ อีกทั้งโรงเรียนได้เปิดสอนรายวิชาการเพาะเลี้ยงลูกปลา (ง 30247) มาโดยตลอดจึงเล็งเห็นความสำคัญของการทำ “โครงการเลี้ยงปลาดุกครบวงจร”
วัตถุประสงค์
๑.เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้ทักษะกระบวนการในการเพาะเลี้ยงลูกปลาอย่างถูกวิธี
๒.เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการในเรื่องอาหารให้กับนักเรียนหอพัก
๓.เพื่อให้นักเรียนในโครงการได้มีทักษะกระบวนการเรียนรู้ตั้งแต่การผสมพันธุ์ปลาดุกจนถึงการหาตลาดจัดจำหน่ายได้อย่างมืออาชีพ
ขั้นตอนการดำเนินโครงการ
๑.สำรวจนักเรียนในโรงเรียนที่สนใจการเพาะเลี้ยงปลาดุกครบวงจรแล้วแบ่งเป็น ๒ กลุ่ม คือ กลุ่มที่เป็นนักเรียนเดินทางไป-กลับ และกลุ่มที่เป็นนักเรียนหอพัก
๒.ให้ความรู้เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงปลาชนิดต่างๆ และมุ่งเน้นเกี่ยวกับปลาดุกแบบครบวงจรตั้งแต่การผสมพันธุ์เพาะเลี้ยงตลอดจนถึงการจัดจำหน่าย
๓. จัดซื้ออุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการดำเนินโครงการเพาะเลี้ยงปลาดุกครบวงจร
๔. ฝึกให้นักเรียนลงมือปฏิบัติทุกขั้นตอน จนถึงขั้นการจัดจำหน่ายโดยมีอาจารย์ควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด
๕.นำปลาดุกไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดใหม่
๖.จัดทำบัญชีควบคุมการใช้จ่ายเงินอย่างละเอียด
๗.แบ่งปันรายได้กำไรที่ได้จากการจำหน่ายให้กับนักเรียนในโครงการ
๘.รายงานผลการดำเนินงานโครงการต่อผู้บริหารสถานศึกษา
ระยะเวลาดำเนินโครงการ
ตลอดปีการศึกษา ๒๕๕๑
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรม
• ครูที่รับผิดชอบเป็นวิทยากรหลักให้กับสถานศึกษาอื่น และองค์กรภายนอกที่มาศึกษาดูงาน และครูมีการพัฒนาตนเองจนสามารถเลื่อนวิทยฐานะที่สูงขึ้นเป็นจำนวนมาก
• นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการเพาะเลี้ยงปลาดุกครบวงจรได้ฝึกปฏิบัติจริงมีความรู้พื้นฐานในการเลี้ยงปลาดุก และปลาอื่นๆ ซึ่งสามารถจะนำไปประกอบอาชีพได้ต่อไปในอนาคต
• นักเรียนหอพักทุกคน ได้รับปลาดุกซึ่งมีโปรตีนไว้บริโภคอย่างเพียงพอ
• นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการเพาะเลี้ยงปลาดุกครบวงจร เป็นผู้ที่ทำงานกลุ่มและฝึกปฏิบัติจริงได้เป็นอย่างดี ซึ่งส่งผลให้ระดับผลการเรียนวิชา การเพาะเลี้ยงลูกปลาสูงขึ้น
• นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการทุกคนมีรายได้ระหว่างเรียน
• ผู้ปกครอง/ชุมชน ให้การสนับสนุนแก่สถานศึกษาในทุกๆด้าน
• สถานศึกษาเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ต้องการศึกษาการเลี้ยงปลาดุกครบวงจร
เงื่อนไขความสำเร็จ
๑.ผู้บริหารสถานศึกษา เป็นผู้ที่ให้ขวัญกำลังใจ ให้คำปรึกษาแนะนำ และช่วยแก้ปัญหาแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา
๒.นโยบายการทำงานในสถานศึกษาโดยใช้กรอบแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่บุคลากรทุกคนในสถานศึกษาได้ทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้
๓.บุคลากรในสถานศึกษาทุกคน ตลอดจนถึงนักเรียนเป็นตัวจักรที่สำคัญที่ทำให้โครงการการเพาะเลี้ยงปลาดุกครบวงจร หรือการขับเคลื่อนในการดำเนินโครงการด้านเศรษฐกิจพอเพียงของสถานศึกษาประสบผลสำเร็จ
๔.ชุมชน/ผู้ปกครอง/องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้การสนับสนุนแก่สถานศึกษาในทุกๆด้าน
๕.สิ่งแวดล้อม/แหล่งเรียนรู้ทั้งในและนอกสถานศึกษาที่มีอยู่มากมาย ช่วยทำให้โครงการประสบผลสำเร็จ
กิจกรรมเด่นอื่นๆ
๑.โครงการการทำน้ำยาชีวภาพ
๒.โครงการขยะที่มีค่า
โรงเรียนสองแคววิทยาคม
ที่อยู่: ๙๔ หมู่ ๑๔ ตำบลดอยหล่อ อำเภอดอยหล่อ เชียงใหม่ ๕๐๑๖๐
โทรศัพท์: ๐๕๓-๓๖๙-๔๐๗
โทรสาร: ๐๕๓-๓๖๙-๕๗๖
Email: Utai@songkaew.ac.th
Website: http://www.songkaew.ac.th
|