โรงเรียนวังข่อยพิทยา
จัดตั้ง: 8 ต.ค. 2558
ข้อมูลองค์กร

สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครสวรรค์ เขต ๓


ผู้บริหาร
นายสมจิตร นุชสุข
โทรศัพท์ ๐๘๗-๒๐๙-๒๙๓๔

­

ระดับชั้นที่เปิดสอน
มัธยมศึกษาปีที่ ๑-๖ จำนวนครู ๑๐ คน จำนวนนักเรียน ๒๑๓ คน


ครูผู้รับผิดชอบโครงการเศรษฐกิจพอเพียง
นางอัญชนา บุญพุฒ
โทรศัพท์ ๐๘๗-๘๔๑-๙๓๐๔

­

สืบเนื่องจากสังคมในปัจจุบันความผูกพัน ในครอบครัวโดยเฉพาะระหว่าง พ่อ แม่ ลูก เริ่มห่างเหินกันมากขึ้นทุกวัน เพราะเหตุปัจจัยหลายประการ ที่สำคัญประการหนึ่งคือ การฝึกฝน อบรม บ่มเพาะ ส่งผลให้คุณธรรมด้านความกตัญญูกตเวที ที่ลูกมีต่อพ่อแม่ อ่อนล้า โรยราเป็นลำดับ ด้วยเหตุนี้โรงเรียนวังข่อยพิทยา ตระหนักเป็นอย่างยิ่งจึงใช้โอกาส วันมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระชนมายุ ๘๐ พรรษา ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ จัดกิจกรรม “ทำความดีเพื่อพ่อ ๘๐ คน ๘๐ ความดี ถวายในหลวง”

­

­

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ
๑. เดือนพฤษภาคม ๒๕๕๐ ประกาศรับสมัครบุคคลที่มีจิตเป็นกุศล มีน้ำใจ ตามเงื่อนไขคุณธรรม “การแบ่งปัน” ในหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง “๓ ห่วง ๒ เงื่อนไข” จำนวน ๘๐ คนให้ออมเงินไว้สัปดาห์ละ ๘ บาท เป็นเวลา ๘ สัปดาห์ เมื่อครบ ๘ สัปดาห์ จะเก็บเงินได้คนละ ๖๔ บาท รวม ๘๐ คน จะได้รับเงินออมทั้งสิ้น ๕,๑๒๐ บาท แล้วนำไปซื้อผ้าห่มนวม คุณภาพดี จำนวน ๘ ผืน

๒. จากนั้นช่วงเดือน ตุลาคม - พฤศจิกายน ๒๕๕๐ แต่งตั้งคณะทำงานประกอบด้วย ประธานนักเรียน ผู้แทนนักเรียน ผู้แทนครู ผู้แทนผู้ใหญ่บ้าน กำนัน ดำเนินการสรรหา “พ่อ” ซึ่งอยู่ในวัยชรา มีภาวะยากไร้ ดำรงชีวิตด้วยความลำเค็ญ เพราะถูกทอดทิ้งหรือขาดการดูแลเอาใจใส่ เมื่อสรรหาได้ครบ 8 คนแล้ว ประกาศผลให้ทุกคนในโรงเรียนและในชุมชนทราบ

๓. ครั้นถึงวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๕๐ ซึ่งเป็นวันมหามงคล ได้จัดกิจกรรมถวายพระพรในโอกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระชนมายุ ๘๐ พรรษา พร้อมเชิญ พ่อผู้ยากไร้ ไปรับผ้าห่มนวม พร้อมเงินค่าเดินทาง ณ ที่ประชุมของครู นักเรียนและผู้มีเกียรติในพิธีดังกล่าว

เสร็จแล้วได้สัมภาษณ์ความรู้สึกของพ่อทั้ง ๘ คน และสัมภาษณ์นักเรียนผู้บริจาค บางส่วนต่างปลื้ม ปีติยินดี และมีความสุขทั้งผู้รับและผู้บริจาค พร้อมทั้งเสนอข้อคิดเห็นว่าให้จัดทำทุกปี

­

­

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรม

๑. นักเรียน ครู ภารโรง ผู้นำชุมชน ผู้ปกครองนักเรียนได้ทำความดีถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัว ในโอกาสมีพระชนมายุ ๘๐ พรรษา
๒.นักเรียนได้รับการฝึกเกี่ยวกับการประหยัดและออม
๓. นักเรียนมีทัศนคติที่ดี ต่อการเสียสละเพื่อส่วนรวม การแสดงความมีน้ำใจ และกตัญญูกตเวทีต่อผู้มีพระคุณ
๔. ปลูกฝังความรับผิดชอบของนักเรียนที่มีต่อสังคมไม่ทอดทิ้งผู้ยากไร้ และด้อยโอกาสในสังคม
๕. ส่งเสริมคุณลักษณะเป็นบุคคลมีจิตสาธารณะ


เงื่อนไขความสำเร็จ

๑ ความร่วมมือ ร่วมใจ ของครู นักเรียน ภารโรง กรรมการสถานศึกษา ผู้ปกครองมีความกลมเกลียว สมานฉันท์ดีมาก จึงเป็นพื้นฐานสำคัญ เมื่อขอความร่วมมือประกอบกิจกรรมใดๆ บรรลุผลตามเป้าหมายได้ง่ายและสำเร็จด้วยดี
๒.ผู้ บริหารโรงเรียนเป็นผู้นำสำคัญ การขับเคลื่อนหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้บริหารจัดการในสถานศึกษา สามารถสร้างความรู้ความเข้าใจ ขยายผลให้แก่บุคคลในโรงเรียนได้ด้วยความเชื่อมั่นและรวดเร็ว

­