สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครศรีธรรมราช เขต ๑
ผู้บริหาร
นายอำพล ยะสะนพ
โทรศัพท์ ๐๘๙ – ๘๗๓-๕๒๒๐
ระดับชั้นที่เปิดสอน
มัธยมศึกษาปีที่ ๑ – ๖ จำนวนครู ๗๗ คน จำนวนนักเรียน ๑,๑๙๕ คน
ครูผู้รับผิดชอบโครงการเศรษฐกิจพอเพียง
นายฉลาด จินดาวัฒน์
โทรศัพท์ ๐๘๖ – ๕๙๔-๗๘๙๐
“โครงการธนาคารโรงเรียน” เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๔๖ มีสมาชิกแรกเริ่ม ๓๒๐ คน มี
แนวคิดในการดำเนินกิจกรรมว่า
โรงเรียนควรจะมีกิจกรรมการออมเงินของนักเรียนที่เป็นรูปธรรมและชัดเจน
เพื่อมุ่งส่งเสริม สนับสนุน และปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม
มีกิจนิสัยที่ดีในการใช้จ่ายให้เกิดประโยชน์ ประหยัด และคุ้มค่า
เน้นการปลูกฝัง มีค่านิยมที่พึงประสงค์ในการบริโภค
ให้รู้จักวางแผนการใช้จ่ายเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อตนเองและครอบครัว
โดยส่งเสริมให้มีการออมเงินส่วนหนึ่งฝากไว้กับธนาคารนักเรียน
และรวบรวมกิจกรรมอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเงินของนักเรียนเข้ามาอยู่ในที่เดียวกันเพื่อให้เกิดรูปธรรมที่ชัดเจน
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อรับฝากเงินจากนักเรียน
๒. เพื่ออำนวยความสะดวกและเพิ่มความปลอดภัยในการฝากเงินของนักเรียน
๓. เพื่อปลูกฝังลักษณะนิสัยที่ดีในการบริโภคอย่างชาญฉลาด ประหยัด และคุ้มค่า
๔. เพื่อให้ตระหนักถึงความสำคัญในการวางแผนการใช้จ่ายเพื่อการบริโภค
๕. เพื่อให้เห็นคุณค่าของเงินด้วยการใช้จ่ายให้เกิดประโยชน์สูงสุด
๖. เพื่อให้รู้จักประหยัด เก็บออมเงินไว้ใช้ในยามจำเป็น
๗. เพื่อให้รู้วิธีการออมทรัพย์ที่ปลอดภัยตามวิธีการของธนาคาร
๘. เพื่อลดปัญหาการใช้จ่ายของนักเรียนที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ และเสี่ยงต่อสารเสพติด
ขั้นตอนการดำเนินโครงการ
๑. นักเรียนที่เลือกเรียนวิชาการบัญชี เป็นผู้รวมตัวเริ่มต้นเมื่อปีการศึกษา ๒๕๔๘ โรงเรียนได้สนับสนุนในการจัดซื้อวัสดุครุภัณฑ์ ในการดำเนินการรับฝากเงิน เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๔๘
๒. แต่งตั้งคณะกรรมการผู้รับผิดชอบ
๓. ดำเนินกิจการรับฝากเงินจากนักเรียน / บุคลากรในโรงเรียนโดยใช้สำนักงานวิชาการเป็นที่ทำการ
๔. เงินที่รับฝากจากนักเรียนนำไปปล่อยให้บุคลากรของโรงเรียนกู้เป็นสวัสดิการและนำดอกเบี้ยซึ้งเป็นดอกผลมาจ่ายให้กับนักเรียนผู้ฝากเงิน ตามอัตราที่กำหนด
ระยะเวลาดำเนินโครงการ
๒๕๔๘ - ปัจจุบัน
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรม
ทุกคนตระหนักถึงความสำคัญของการออม รู้จักวางแผนการใช้จ่าย และการจัดทำบัญชีส่วนบุคคล สามารถบริหารเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในส่วนบุคคล ครอบครัว
นักเรียน / บุคลากรของโรงเรียน มีความสะดวกในการออมเงิน
นักเรียน / บุคลากรของโรงเรียน มีความรู้ในการออมเงินตามระบบของธนาคาร
นักเรียน / บุคลากรของโรงเรียน มีการใช้จ่ายและดำรงชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
เงื่อนไขความสำเร็จ
บุคลากรของสถานศึกษามีความรับผิดชอบ และความรู้ ความสามารถในการดำเนินงาน
นักเรียนอยู่ในชุมชนเกษตรกรรมที่มีรายได้ไม่แน่นอน ทำให้เห็นความจำเป็นในการออมเงินและใช้ชีวิตตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง
สถานศึกษามีการกำหนดนโยบาย การบริหารจัดการสถานศึกษาตามแนวเศรษฐกิจพอเพียงที่ชัดเจนและต่อเนื่อง
โรงเรียนลานสกา ประชาสรรค์
ที่อยู่: หมู่ที่ ๑๑ ตำบลกำโลน อำเภอลานสกา นครศรีธรรมราช ๘๐๒๓๐
โทรศัพท์: ๐๗๕- ๓๗๔-๗๙๔
โทรสาร: ๐๗๕- ๓๙๑-๐๕๑
|