สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพะเยา เขต ๒
ผู้บริหาร
นายมานะ พิริยพัฒนา
โทรศัพท์ ๐๘๙-๙๕๑-๗๔๔๘
ระดับชั้นที่เปิดสอน
อนุบาล ๑ – มัธยมศึกษาปีที่ ๓ จำนวนครู ๑๗ คน จำนวนนักเรียน ๓๑๒ คน
ครูผู้รับผิดชอบโครงการเศรษฐกิจพอเพียง
นางวันดี ทองเลิศ
โทรศัพท์ ๐๘๕-๖๙๕๒๓๗๗
จากสภาพปัญหาและบริบทของโรงเรียน ชุมชนท้องถิ่น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการปลูกฝัง เพื่อให้เป็นต้นแบบในการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนิน ชีวิตอย่างยั่งยืน ด้วยเหตุนี้ทางโรงเรียนจึงจัดทำ “โครงการเศรษฐกิจพอเพียง” ขึ้นมา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้แก่นักเรียน
วัตถุประสงค์
๑.เพื่อแก้ไขสภาพปัญหาของนักเรียนชาวไทยภูเขา
๒.ยึดเป็นต้นแบบในการดำเนินชีวิต
๓.เพื่อเผยแพร่และสร้างเครือข่ายสู่สังคม
ขั้นตอนการดำเนินโครงการ
๑.จัดทำโครงการเพื่อเสนอขออนุมัติงบประมาณมาสนับสนุนทุกกิจกรรมโดยพัฒนาบุคลากรและขยายผลลงสู่ผู้เรียน สู่ชุมชนและโรงเรียนในเครือข่าย
๒.นักเรียน
แบ่งกลุ่มรับผิดชอบแยกเป็นระดับชั้น โดยเริ่มตั้งแต่ระดับช่วงชั้นที่ ๒ (
ประถมศึกษาปีที่ ๔-๖)ถึงช่วงชั้นที่ ๓ ( มัธยมศึกษาปีที่ ๑-๓)
๓.จัดสรรพื้นที่ดำเนินงานตามระดับช่วงชั้นแต่ละชั้นเรียน โดยมีครูควบคุม กำกับ ติดตามดูแลให้ความรู้อย่างใกล้ชิด
๔.นักเรียน
แต่ละระดับชั้นเรียนจะดำเนินกิจกรรมตามความต้องการปลูกพืชแต่ละชนิด
โดยจะมีหัวหน้าชั้นพิจารณาประชุมร่วมในการกำหนดชนิดของพืชที่จะปลูก
เพื่อที่จะนำไปจำหน่ายให้กับโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียน
๕.นักเรียนเข้าสู่กระบวนการกิจกรรมเศรษฐกิจพอเพียง โดยนักเรียนจะได้รับความรู้จากการบูรณาการการสอนทุกกลุ่มสาระในชั้นเรียนและ ในสาระเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งโรงเรียนได้กำหนดเป็นหลักสูตรที่จะต้องให้ความรู้กับนักเรียน โดยนักเรียนจะต้องนำผลผลิตทั้งหมดสนับสนุนโครงการอาหารกลางวัน
ระยะเวลาดำเนินโครงการ
ตลอดปีการศึกษา
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรม
๑.ด้านการบริหารจัดการ มีการวางแผนการปฏิบัติงาน การนิเทศก์ กำกับติดตาม ให้เป็นไปตามเป้าหมายอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นการมีส่วนร่วมของบุคลากรทุกคน
๒.ด้านหลักสูตร มีหลักสูตรท้องถิ่นบูรณาการแบบองค์รวม “แหล่งอาหารชาวดอยตามทฤษฎีใหม่” และมีการนำมาใช้ในการเรียนการสอนอย่างชัดเจนในปัจจุบัน
๓.ด้านการจัดการเรียนการสอน มีการสอดแทรกกิจกรรม องค์ความรู้ คุณธรรมจริยธรรม ในการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่องทุกรายวิชา
๔.ด้าน
สื่อการเรียนการสอน มีการผลิตสื่อป้ายนิเทศให้ความรู้
จัดแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษา และแผ่นพับประชาสัมพันธ์ การเผยแพร่ทาง Web
site ให้ความรู้อย่างต่อเนื่อง เป็นปัจจุบัน
สิ่งที่ได้เรียนรู้จากกิจกรรม
ครู
ได้รับความรู้
ความเข้าใจในการเชื่อมโยงปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางปฏิบัติและนำ
สู่ผู้เรียน
นักเรียนสามารถนำความรู้จากกิจกรรมไปเป็นแนวปฏิบัติในการดำเนินชีวิตประจำ
วันได้
ผู้ปกครองและชุมชนสามารถนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปเป็นแนวทางในการ
ดำเนินชีวิตประจำวันได้
เงื่อนไขความสำเร็จ
๑.ครู นักเรียน ชุมชนท้องถิ่นสามารถนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตได้
๒.ความมุ่งมั่นและตั้งใจในการปฏิบัติงานอย่างเป็นรูปธรรมต่อเนื่องส่งผลให้เกิดผลลัพธ์กับนักเรียน
๓.นักเรียนได้รับการปลูกฝังให้เป็นบุคคลที่มีคุณลักษณะตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
๔.โรงเรียนสามารถพึ่งตนเองได้ รวมทั้งเป็นตัวอย่าง ต้นแบบ และเป็นที่ยอมรับจากหน่วยงาน องค์กรและชุมชน
กิจกรรมเด่นอื่นๆ
๑.กิจกรรมเกษตรพอเพียง จะประกอบด้วยการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ เพื่อนำผลผลิตสนับสนุนโครงการอาหารกลางวัน ส่วนที่เหลือจำหน่ายเพื่อเกิดรายได้ระหว่างเรียน
๒.กิจกรรมคุณธรรม เพื่อเป็นการพัฒนาด้านจิตใจให้นักเรียนรู้จักการอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข
โรงเรียนราชานุเคราะห์ พะเยา
ที่อยู่: เลขที่ ๔๓ หมู่ที่ ๗ ตำบลผาช้างน้อย อำเภอปง พะเยา
โทรศัพท์: ๐๕๔-๔๗๐-๐๑๙
Email: py2pong433@gmail.com
|